Skip to main content

เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ


ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก


สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่ คนที่ถูกข่มขืนบางรายจึงคิดว่าตายเสียกว่าดีมีชีวิตอยู่


อย่างไรก็ตาม มีบางรายเหมือนกันที่สามารถปรับตัวปรับใจเข้ากับการทำรัฐประหารหรือการถูกข่มขืนได้โดยไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาแต่อย่างใด หรือไม่ก็ลืม ๆ มันไปเสียเพื่อที่จะได้มีชีวิตอยู่ต่อไป เหยื่อบางรายไปไกลกว่านั้นมาก คือติดใจชมชอบการทำรัฐประหารหรือการถูกข่มขืนไปเลย แต่ชีวิตของคนแบบนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากสัตว์


เราก็รู้ๆ กันอยู่ว่า รัฐประหารนั้นเป็นการใช้กำลังอันป่าเถื่อนเพื่อบังคับอย่างตรงไปตรงมา และโดยอ้อมให้ยอมรับ ยอมจำนนต่อกติกาอันไร้เหตุผล จากนั้นก็ทำการยัดเยียดสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งที่เป็นพิษเข้าไปในร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ในระบอบประชาธิปไตยรัฐประหารคือสิ่งสุดท้ายของพรมแดนแห่งจินตนาการทางการเมืองที่มนุษย์จะนึกคิดได้หรือที่จะอนุญาตให้เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับที่ไม่มีใครอยากให้ตนเองหรือลูกหลานของตนเองถูกข่มขืน


ดังนั้น เราจึงพยายามหลีกเลี่ยงรัฐประหารหรือการถูกข่มขืนโดยการออกแบบการปกครองที่ไม่ป้องกันการใช้กำลังกระทำต่อผู้อื่น หรือป้องกันการฆ่ากันในยามที่ทะเลาะกัน หรือใช้ความรุนแรงในการตัดสินแพ้ชนะ พูดง่าย ๆ ว่าระบอบประชาธิปไตยถูกออกแบบขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความป่าเถื่อนและการฆ่ากันตายโหงโดยไม่จำเป็น ตามความเชื่อที่ว่าชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าไม่ควรจะตายกันง่าย ๆ เพราะความบ้าและหลงอำนาจของคนที่ไม่รู้จักคำว่า “พอเพียง”


แต่แล้ว รัฐประหารกลับทำลายสิ่งที่ว่านี้ไปพร้อมทั้งสร้างความเชื่อขึ้นมาว่ารถถังหรือปืนหรือการใช้กำลังทหารในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง) สามารถชี้แพ้ชนะ สามารถตัดสินถูกผิดดีชั่วได้


สามารถเอาตัวคน “ที่ถูกกล่าวหา” มาลงโทษหรือตั้งองค์กรเถื่อน (อย่างคตส.) ขึ้นมาเพื่อเอาผิด “ผู้ถูกกล่าวหา” แล้วเรียกหน้าด้าน ๆ ว่าเป็นการ “เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม” โดยไม่คิดสักนิดเลยว่ากระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นไม่ได้ภายใต้อำนาจเถื่อนของปากกระบอกปืน


จะว่าไปแล้ววิธีคิดตลอดจนความเชื่อ ที่รัฐประหารสร้างขึ้นมายาวนานหลายปี ไม่ได้ต่างอะไรกับพฤติกรรมของสัตว์ หรือให้ดีขึ้นมาหน่อยก็อาจเปรียบเทียบได้กับการที่กลุ่มโจรเข้ามาปล้นฆ่าผู้นำและลูกบ้านบางคนแล้วตั้งตนเป็นใหญ่ปกครองชุมชนนั้นต่อไป


ในทางการเมืองรัฐประหารจึงเป็นความเลวร้ายสูงสุดที่เราต้องต่อต้าน แต่ไฉนนักสิทธิสตรีหรือนักสิทธิมนุษยชนหรือนักวิชาการในเมืองไทยหลายรายกลับเฉย ๆ กระทั่งเห็นดีเห็นงามกับการรัฐประหาร (ในขณะที่นักสิทธิมนุษยชนอย่างคุณจรัล ดิษฐาอภิชัย ที่เลือกข้างความถูกต้อง กลับได้รับก้อนอิฐตอบแทน)


เป็นไปได้หรือไม่ว่า รัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเมืองไทยที่หลายคนคุ้นเคยจนมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา ? และเห็นว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาทางการเมืองที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับที่การข่มขืนก็เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถตกลงยอมความกันได้โดยอาจจะจ่ายค่าเสียหายเพื่อเป็นการชดเชย ?


การรัฐประหารครั้งล่าสุด 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของความเลวร้ายและเลวทรามในเรื่องของการละเมิดรวมหมู่ในหลักการพื้นฐานของความเป็นมนุษย์แล้วนำกติกาเก่าแก่ที่ป่าเถื่อนล้าหลังแบบเดียวกับสัตว์กลับมาใช้นั้นแยกไม่ออกจากบทบาทการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่อาจหาญเรียกตัวเองว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”


การเรียกตัวเองเช่นนี้ให้คำว่า “ประชาธิปไตย” สามานย์และสาธารณ์ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคนกลุ่มนี้นี่เองที่เปิดประตูเชื้อเชิญให้คณะทหารเข้ามายึดอำนาจ ดังนั้นการเลือกใช้คำของกลุ่มคนกลุ่มนี้จึงเป็นเหมือนการเล่นตลกที่กลับตาลปัตรกันไปหมด ไม่ว่าพวกเขาจะคิดอย่างนั้นหรือไม่ก็ตาม


หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่การนำมวลชนจัดตั้งมาปักหลักอยู่หน้าทำเนียบเป็นแรมเดือนของคนกลุ่มนี้จะถูกมองว่าจงใจทำให้เกิดการรัฐประหารหรือการข่มขืนรวมหมู่ขึ้นอีกครั้งหลังจากที่เคยทำสำเร็จมาหนหนึ่งแล้ว


แม้ว่าแกนนำบางรายของกลุ่มผู้ชุมนุมจะประกาศอารยะขัดขืนแต่มันก็ไม่ช่วยม็อบกลุ่มนี้ดูดีขึ้นมาเลย เพราะอารยะขัดขืนนั้นต้องขับเคลื่อนด้วยความจริง ความถูกต้อง รวมไปถึงการไม่ใช้ความรุนแรงทางวาจา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ม็อบที่เรียกว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ไม่มีเลย ดังนั้นน่าจะเปลี่ยนจากคำว่า “อารยะขัดขืน” เป็น “อารยะข่มขืน” ที่แปลว่า “การข่มขืนแบบเนียน ๆ” น่าจะตรงกว่า.

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…