ช่วงนี้การเมืองของประเทศไทยดูค่อนข้างสงบเรียบร้อยดีนะครับ ไม่ค่อยมีเหตุการณ์ที่ชวนให้เสียวบั่นท้ายแบบเมื่อเดือนที่แล้วหรือเมื่อหลายปีก่อนเท่าไหร่นักราวกับ พายุฝนได้พัดผ่านไปแล้ว ทว่า ความสงบนี้เองกลับเป็นความรู้สึกที่ไม่เป็นมิตรเท่าใด เพราะมีคำกล่าวไว้ว่า
น้ำนิ่งย่อมไหลลึก หรือ ความสงบสุขก่อนพายุลูกใหม่จะมาถึง
คำกล่าวเหล่านี้ไม่ได้ไกลเกินจริงเพราะยังได้เห็นความพยายามในการแย่งชิงอำนาจกันอยู่เนื่องๆไม่ว่าจะเป็น สงครามแย่งชิงมวลชน การสาดโคลนไปมาหรือ การเล่นทุกวิธีทางเพื่อเอาชนะกันและก้าวไปสู่การเป็นผู้นำให้ได้ แม้กระทั่งการเห็นอดีตนักการเมืองหนุ่มอนาคตทำตัวแปลกๆ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา
ไม่เว้นแม้แต่ต้นตำหรับประชาธิปไตยตัวแม่อย่าง อเมริกาที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนั้น ใครจะคิดว่า การเมืองของประเทศที่เจริญแล้วนั้นก็มีสภาพไม่ต่างกันเพราะ นิยามหลักของการเมืองก็คือ การต่อสู้เพื่ออำนาจและต่อรองผลประโยชน์
และที่สำคัญมันไม่ขาวสะอาดอย่างที่คิด
ดั่ง เรื่องราวของชายหนุ่มอนาคตไกลนามว่า สตีเว่น เมเยอร์ รองหัวหน้าทีมหาเสียงของพรรคเดโมแครตที่กำลังมีการยั่งเสียงหาคนสมัครเป็นตัวแทนพรรคเพื่อชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีคนใหม่อยู่ โดยเขาทำงานให้กับไมค์ มอร์ริส วุฒิสมาชิกหนุ่มอนาคตไกล ที่ตัวสตีเว่นนั้นมองว่า เขาคืออนาคตของประเทศนี้และมั่นใจว่า เขาจะต้องเป็นประธานาธิบดีคนต่อไปแน่ๆหากชนะการเลือกตั้งในพรรคได้ แน่นอนว่าการที่เขามาทำงานนี้ เขาต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ไมค์ มอร์ริสชนะ รวมทั้งต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่รู้ว่า การเข้ามายุ่งกับการเมืองนี้จะทำให้เขาเริ่มหมดความเชื่อมั่นในอุดมการณ์ลงไปทีล่ะน้อยๆ
หากนิยามคำว่าการเมืองได้ดีที่สุดก็คงเป็นนิยามที่ว่า การเมืองเป็นเรื่องของตัณหา
หนังได้สร้างตัวละครอย่าง สตีเว่น เมเยอร์ขึ้นมา ให้เป็นชายหนุ่มที่เชื่อมั่นว่า การเมืองนั้นเป็นทางออกให้กับประชาชนได้ สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ ตัวละครของเขาจึงเป็นเสมือนมายาคติของประชาชนทั่วไปที่เชื่อว่า โลกใบนี้มีเหรียญแค่สองด้าน หรือ เชื่อว่า โลกใบนี้มีเพียงสีขาวและดำเท่านั้น ราวกับโลกใบนี้เป็นโลกในนิทานก่อนนอนของเด็กๆ ซึ่งนั้นเป็นเหตุการณ์ก่อนที่เขาจะได้พบกับความจริงที่ลอยมากระแทกเข้ากับสมองของเขาอย่างจัง
ปลุกให้เขาตื่นขึ้นจากความฝัน
เพราะวินาทีแรกที่เขาเข้ามาเหยียบย่างในวิถีการเมืองนั้น เขาก็เป็นเหมือนกระดาษสีขาวที่ยังไม่แต่งแต้มอะไรลงไป แต่เมื่อเขาเข้ามาทำงานนี้ เขาก็เริ่มถูกแต่งแต้มสีลงไปในตัวเองมากขึ้นทุกที อย่างเช่นการพยายามเอาชนะคู่แข่งให้ได้ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็ตามอย่างเช่น การสาดโคลนหรือ การใช้ข้อมูลเท็จเล่นงานฝ่ายตรงกันข้าม
หรือกระทั่งเล่นเกมใต้โต๊ะต่างๆนานา
ล้วนแล้วแต่เป็นการบอกว่า เขากำลังถูกการเมืองย้อมสีลงไปในกระดาษของเขา
ในฉากหนึ่งที่เขากินข้าวกับหนังสือศึกษาสาว สตีเว่นบรรยายให้เธอรู้เลยด้วยซ้ำว่า ทำไมเขาถึงช่วยไมค์ มอร์ริส ด้วยเหตุผลที่ว่า เขาเป็นคนหัวก้าวหน้า เก่ง และมีความเป็นผู้นำพอที่จะช่วยเหลือประเทศนี้ได้ ตอนที่เขาบรรยายความรู้สึกให้เธอฟังนั้นดวงตาของเขาเปล่งประกายด้วยความชื่นชมเหมือนเด็กที่กำลังพูดถึงพวกซุปเปอร์ฮีโร่ที่ตนเองชื่นชอบอย่างไงอย่างงั้น
อันเป็นภาพสะท้อนของความบริสุทธิ์
และเมื่อคะแนนของไมค์ มอร์ริส เริ่มนำฝ่ายตรงข้ามก็ทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องหาทางทำอะไรสักอย่างเพื่อพลิกเกมนี้ให้ได้
นั้นคือจุดเปลี่ยนของเรื่องเมื่อหัวหน้าฝ่ายการเมืองของฝั่งตรงข้ามเรียกให้สตีเว่นไปพบที่บาร์แห่งหนึ่ง
ไม่นานนักเขาก็ได้พบว่า ไมค์ มอร์ริสที่เขาแสนจะชื่นชมนั้นดันไปมีสัมพันธ์สวาทกับนักศึกษาสาวที่เขาหลงรักอยู่จนเธอท้อง ซึ่งอาจจะทำให้ทุกอย่างแย่ลงก็เป็นได้หากเรื่องนี้แดงขึ้นมา ไมค์ มอร์ริสจะต้องพ่ายแพ้ ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจที่จะพาเธอไปทำแท้งเสียก่อน ในขณะที่เขานั้นได้ถูกนักข่าวสาวที่รู้จักกันถามว่า เขาไปคุยอะไรกับหัวหน้าฝ่ายตรงข้ามที่บาร์แห่งหนึ่ง แน่นอนว่าตอนแรกเขาไม่ได้สนใจจนกระทั่งเธอคนนั้นบอกว่า หัวหน้าฝ่ายการเมืองตรงข้ามนั้นกินอะไรด้วย เขาจึงเริ่มรู้สึกว่า ตัวเองกำลังอยู่ในสถานะไม่ปลอดภัยที่มีคนล่วงรู้ความลับนี้
จนในที่สุดสตีเว่นก็ถูกไล่ออกจากทีม เพราะหัวหน้าทีมของเขานี่เองที่เอาเรื่องนี้บอกนักข่าวเพื่อให้เขาร้อนรนออกมา
เหตุผลที่ไล่สตีเว่นออกก็เพราะหัวหน้าของเขาบอกว่า ไม่สามารถเชื่อใจสตีเว่นได้อีกแล้ว
ไม่ใช่เพราะเขาไปคุยกับหัวหน้าฝ่ายตรงข้าม ไม่ใช่เพราะเขาไปหาข่าวกับฝ่ายตรงข้าม แต่เป็นเหตุผลด้านความซื่อสัตย์ สตีเว่นจะไปที่นั้น ฉะนั้นเขาไม่สามารถเชื่อใจสตีเว่นได้อีกแล้วนั้นเอง
แต่ว่าการโดนไล่ออกของสตีเว่นนั้นก็ได้ส่งผลร้ายกับนักศึกษาสาวที่เขาหลงรัก เพราะเธอคิดว่า เธอเป็นคนทำให้เขาต้องเป็นแบบนี้ เธอจึงกินยาฆ่าตัวตายไปในที่สุด และนั้นทำให้ฟางเส้นสุดท้ายของสตีเว่นขาดลงไป
เขาจึงหมายมั่นปั้นมือจะทำลายไมค์ มอร์ริสให้ได้
เขาจึงไปที่สำนักงานของอีกฝ่ายเพื่อจะขอร่วมมือเล่นงานไมค์ มอร์ริสให้ได้ โดยบอกว่า เขามีแผนจะเอาชนะ มอร์ริสได้ แต่ทว่า หัวหน้าฝ่ายนั้นกลับไม่เอาด้วยเพราะ เขาไม่เชื่อใจตัวของสตีเว่นและอีกอย่าง นี่คือผลที่มาจากแผนการของเขา ที่ต้องการทำลายสตีเว่นเสียนั้นเอง
ด้วยเหตุผลง่ายๆว่า สตีเว่นคือคนที่เก่งที่สุดในทีมของไมค์ มอร์ริส
ดังนั้นถ้าไม่สามารถทำให้เขาย้ายมาอยู่ข้างนี้ได้ ก็ต้องทำลายอนาคตของเขาเสีย
เหมือนสุภาษิตว่า ตัดไฟแต่ต้นลม
และบัดนี้เขาได้สิ่งที่ต้องการแล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นกับสตีเว่นนั้นเปรียบเสมือนกับการที่หนังพยายามจะบอกเราว่า การเมืองไม่ใช่เรื่องใสสะอาดแบบนิทานก่อนนอนที่ใช้เล่าให้เด็กฟัง เป็นการตอกย้ำว่า การเมืองคือ การทำทุกอย่างเพื่อชัยชนะของฝ่ายตัวเองโดยไม่สนใจว่า ใครจะเป็นเช่นไร ซึ่งในที่นี่มีเหยื่อจากการเมืองนี้หลายคนและหนึ่งในนั้นก็คือ สตีเว่น
เราเคยได้ยินคำโฆษณาที่ว่า เลือกตั้งเป็นหน้าที่ เลือกคนดีไปปกครอง กันบ้างไหมครับ เอาจริงแล้วมันเป็นก็เพียงนิทานหลอกเด็กอีกเรื่องที่ใช้หลอกใครต่อใครว่า ประเทศนี้จะดีได้ ถ้าให้คนดีปกครอง โดยที่จงอย่าลืมว่า การเมืองคือเรื่องการต่อรองผลประโยชน์ หากผลประโยชน์ลงตัว ทุกอย่างก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ฉะนั้นมายาคติว่าด้วยคนดีทั้งหลายจึงไม่มีทางเป็นไปได้ในโลกใบนี้
เพราะไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็ไม่มีมนุษย์คนไหนเป็นคนดีเป็นสีขาวทั้งเนื้อทั้งตัวได้แน่ๆ
ดังนั้นคำโฆษณาจริงๆของการเมืองนั้นควรจะ เลือกตั้งเป็นหน้าที่ เลือกคนที่เลวน้อยที่สุดเข้าไปปกครองต่างหาก
พูดถึงนักการเมืองอย่าง ไมค์ มอร์ริส แล้ว สิ่งที่เราได้เห็นก็คือ ภาพของความหวังใหม่ของผู้นำรุ่นใหม่ที่มีหัวความคิดเสรี ทั้งการเปิดรับสิทธิภาพของเพศที่สาม การประกาศจะเข้มงวดเรื่องการขายปืน และสิทธิต่างๆมากมายจนทำให้ภาพของไมค์ มอร์ริสนั้นในช่วงแรกนั้นราวกับไม่ใช่มนุษย์ เราเห็นว่าเขาพร้อมจะปฏิเสธที่จะร่วมมือกับผู้มีอิทธิพลด้านค้าอาวุธเพื่อเอาชนะการเลือกตั้งด้วยเหตุผลว่า จะทำให้ไม่ต่างกับนักการเมืองคนอื่น
และที่สำคัญเขาเกลียดหมอนั้น
นี่คือภาพของผู้นำที่แสนจะเป็นเหมือนเทวดาผู้ปกปักที่ชาวอเมริกันไม่สิโลกใบนี้อาจจะอยากได้
ทว่า ในช่วงหลังนั้นเราก็ได้พบว่า สุดท้ายแล้วเขาก็ไม่ต่างไปจากคนอื่นๆ อาจจะเรียกว่า เขาเป็นแค่คนธรรมดาคนหนึ่งก็เท่านั้นไม่ได้พระเจ้าวิเศษวิโสมาจากไหน ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงฝึกงานจนท้อง แล้วเพื่อชัยชนะเขายอมกลืนน้ำลายร่วมมือกับผู้อิทธิพลด้านค้าอาวุธเพื่อชัยชนะเบ็ดเสร็จ
ดังนั้น ตัวละครของไมค์ มอร์ริสจึงเป็นเหมือนการยั่วล้อกับความผิดหวังของชาวอเมริกันที่มีต่อนักการเมืองที่เสมือนความหวัง แต่สุดท้ายเขาก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย ทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม หากมองบริบทของภาพยนตร์ที่ออกมาในช่วงท้ายของการดำรงตำแหน่งของ บารัค โอบาม่า เจ้าของวลี Change แล้ว ก็เสมือนว่า หนังเรื่องนี้เป็นการบอกว่า พวกเขาผิดหวังกับโอบาม่านั้นเอง
จึงพูดได้ว่า ไมค์ มอร์ริสก็คือ อีกหนึ่งคนที่ถูกการเมืองกินเข้าไปแล้วเช่นกัน
พอลองมองนึกย้อนกลับไปว่า ในการเมืองประเทศไทยนี้ เรามีคนอนาคตไกลแบบนี้ ถูกการเมืองกินไปแล้วกี่คน
อีกคนที่ถูกการเมืองทำลายจนหมดสิ้นก็คงไม่พ้น หัวหน้าทีมเลือกตั้งของสตีเว่นที่แม้ว่าเขาจะพ่นคำว่า ซื่อสัตย์หรือไว้เนื้อเชื่อใจออกมามากแค่ไหน เขาเองก็เป็นอีกคนที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อชัยชนะจนถึงขั้นไปแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับคนที่เป็นผู้มีอิทธิพลเพื่อเอาชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้
หากจะมีคำกล่าวใดๆสักประโยคให้กับชายคนนี้คงไม่พ้นคำกล่าวที่ว่า
No Country for Oldman
เพราะการเมืองของเขามันล้าสมัยเกินไปแล้วในสังคมแบบนี้ อันเนื่องจากแผนเอาคืนของสตีเว่นที่ไปแบล็คเมล์ไมค์ มอร์ริส พร้อมๆกับหาข้อเสนอที่ดีกว่ามาให้แลกกับการไล่เขาออกจากตำแหน่ง แม้ว่าจะทำงานกับไมค์ มอร์ริสมานานแล้ว สุดท้ายไมค์ก็ไล่เขาออกในที่สุด เพื่อชัยชนะน่ะเอง
การเมืองจึงโหดร้ายยิ่งกว่าที่ใครคาดคิดเสียอีก
และในช่วงท้ายของหนัง เราจึงเห็นภาพของสตีเว่นมองภาพการปราศรัยหาเสียงของไมค์ มอร์ริสด้วยสายตาที่เฉยเมยปนความสังเวชเวทนาที่มองเห็นชายหนุ่มคนหนึ่งที่เคยมีอุดมการณ์แรงกล้ามากแค่ไหน ทว่าเพื่อชัยชนะในการเลือกตั้ง เขาก็ไม่พ้นที่จะถูกการเมืองกลืนกินจนต้องประนีประนอม ก้มหัวให้กับอำนาจ ต่อรองผลประโยชน์ต่างๆนานา
นั้นก็เพื่อชัยชนะของตัวเอง
โดยที่พวกเขาไม่ได้คิดว่า นั้นคือความน่าสมเพชอย่างยิ่งยวด
ฉากสุดท้ายที่เขานั่งรอสัมภาษณ์กับรายการทีวีที่ต้องการจะถามว่า เขาสามารถทำให้ไมค์ มอร์ริสชนะการเลือกตั้งได้อย่างไรในสถานการณ์เป็นรองแบบนั้น ใบหน้าของเขาไร้ซึ่งรอยยิ้มเสมือนเพียงเครื่องจักร
บัดนี้ชายหนุ่มอนาคตไกลคนหนึ่งได้ตายไปแล้ว สาเหตุการตายก็คือ
ถูกสิ่งที่เรียกว่า การเมืองกิน นั้นเอง
บล็อกของ Mister American
Mister American
(บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องเบาๆเพื่อให้เตรียมตัวกันให้พร้อมก่อนชมภาพยนตร์เรื่อง Prometheus)
Mister American
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับป๋าไมเคิ่ล ฮานาเก้ที่ได้รางวัลปาล์มทองอีกครั้งหนึ่งจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ Ffpภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Amour ที่เรียกได้ว่าเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งว่า ฝีมือการทำหนังของผู้กำกับคนนี้เป็นของจริงที่ยิ่งเวลาผ่านไปรสชาติการทำหนังของเขาก็ยิ่งเข้มข้นทุกทีไม่เหมือนผู้กำกับอีกหลายรายที่มือตกไปอย่างไม่น่าอภัย กระนั้นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับชายที่ชื่อว่า ไมเคิ่ล ฮานาเก้นี้ก็คือ แค่หนังเรื่องแรกของเขานั้นก็ปรากฏแววเก่งมาในทันที
และหนังเรื่องแรกของเขาก็คือ The Seven Continent นั้นเอง
Mister American
ถ้าเอ่ยชื่อของไมเคิ่ล ฮานาเก้ ถ้าไม่ใช่แฟนหนังจริงๆหลายคนอาจจะไม่รู้จักเขาเท่ากับผู้กำกับคนอื่นๆอย่าง ไมเคิ่ล เบย์ สปีลเบิร์กหรือคาเมร่อนก็ตาม แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่หลายคนมารู้จักผู้กำกับจากยุโรปได้ก็คงไม่พ้นนิยามหนังของเขาที่หลายให้คำว่า โหดเหี้ยม เลือดเย็น และน่าขนลุก โดยหนังที่หลายคนมักจะ
Mister American
(เนื้อหาบทความนี้อาจะเปิดเผยความลับของภาพยนตร์)
ผมเชื่อว่าทุกคนเคยมีความฝัน
ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยที่ฮีโร่ของญี่ปุ่นอย่าง อุลตร้าแมน ไอ้มดแดง ขบวนการห้าสีบุกจอโทรทัศน์ หลายคนในตอนนั้นยังเป็นเด็กตัวน้อยๆที่เฝ้ารอคอยหน้าจอที่สัปดาห์เพื่อจะได้ชมฮีโร่ของตัวเองปราบปรามเหล่าร้ายในหน้าจอที่หวังยึดครองโลก เราได้สนุกสนานกับการผจญภัยของพวกเขา บางคนอาจจะถึงขั้นอยากเป็นฮีโร่กับเขาบ้างเลยทีเดียว หรือบางคนอาจจะใฝ่ฝันที่จะได้เห็นฮีโร่ตัวจริงด้วยสายตาของตัวเอง
ซึ่งเด็กชายที่ชื่อ ฟิล โคลสัน คือหนึ่งในนั้น
Mister American
ครั้งหนึ่งเมื่อภาพยนตร์เรื่อง เฉือน ของผู้กำกับก้องเกียรติ โขมศิริ ได้ลงโรงฉายชนกับภาพยนตร์รัก Feel Good อย่างรถไฟฟ้ามาหานะเธอนั้นหลายคนที่ไปชมเรื่องนี้ต่างอึ้งกับภาพความโหดร้าย ของฆาตกรต่อเนื่องของไทยที่คาดว่าจะเป็นภาพยนตร์ฆาตกรต่อเนื่องที่น่าสนใจ เรื่องหนึ่ง และมีคำถามขึ้นมาว่า