Skip to main content

 

        Believe none of what you hear and half of what you see : Benjamin Franklin 

อย่าไปเชื่อสิ่งที่คุณได้ยินทั้งหมด และ ครึ่งหนึ่งของสิ่งที่มองเห็น 

              วาทะของเบนจามิน แฟรงคลินนี้บอกใบ้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ว่า เต็มไปด้วยความจริงและลวงอันแสนสลับซับซ้อนจนเราไม่อาจจะเชื่อได้ว่า อะไรคือความจริงกันแน่ อย่างเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 สิ่งที่ผู้คนในตอนนั้นรับรู้ในตอนนั้นก็คือ การป้อนข้อมูลว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต้องการล่มสถาบันและไม่ใช่คนไทย ทำให้เกิดเหตุการณ์ความบ้าคลั่งขึ้นในวันนั้นเช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 ที่ในประเทศนี้มีชุดความจริงสองชุดถูกปล่อยออกมา โดยชุดความจริงแรกนั้นคือ ชุดความจริงว่า การตายทั้งหมดเกิดจากการฆ่ากันเองของกลุ่มผู้ชุมนุมและมีผู้ก่อการร้ายที่ชื่อว่า ชายชุดดำ หรือ ชุดความจริงที่สองคือ การตายนั้นเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ แน่นอนว่า ความจริงกำลังคลี่คลาย แต่ในวันนั้นไม่มีใครชั่งใจหรือเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะ ข้อมูลของความจริงในตอนนั้นเกิดขึ้นเมื่อใครก็ตามสามารถควบคุมสื่อได้หมด กระนั้นก็อยู่ที่วิจารณญาณของคนฟังว่าจะเลือกเชื่อในสิ่งไหน ซึ่งต้องอยู่ในบริบทคุณอยู่ข้างไหนเช่นกัน 

            ในโลกภาพยนตร์นั้นถูกระบุไว้ว่าเป็น การหลอกตาคนใน 24 ภาพภายในหนึ่งวินาที ซึ่งพูดง่าย ๆ ก็คือภาพที่เห็นนั้นไม่ได้เคลื่อนไหวแต่เกิดจากการที่กระทำที่ทำให้ภาพวิ่งด้วยความเร็ว 24 ภาพในหนึ่งวินาทีทำให้เป็นภาพเคลื่อนไหวบนจอนั้นเอง ซึ่งต้องปรบมือให้กับผู้คิดค้นภาพยนตร์นี้ว่า พวกเขาได้เปลี่ยนโลกการบันเทิงไปจนหมดสิ้น และความยิ่งใหญ่ของศิลปะการหลอกบนจอนี้ก็ทำให้ผู้กำกับคนหนึ่งอย่าง มาร์ติน สก็อตเซซี่ ลุกขึ้นมาทำหนังที่ทำเพื่อคารวะและเฉลิมฉลองแด่ สิ่งที่เรียกว่า ภาพยนตร์ในหนังเรื่อง Hugo ไปแล้ว ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างดีเลยทีเดียว

          แต่ที่น่าสนใจคือ ก่อนหน้านี้สก๊อตเซซี่ผู้นี้ได้กำกับเรื่องหนึ่งที่พูดความจริงความลวงได้อย่างน่าสนใจยิ่ง

     หนังเรื่องนั้นก็คือ Shutter Island

          หนังเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากนิยายขายดีของ Dennis Lehane ซึ่งเป็นคนเขียนนิยายเรื่อง Mystic River ซึ่งถูกนำมาดัดแปลงเป็นหนังไปแล้ว เช่นเดียวกับ Gone baby Gone เองก็เช่นกัน

         Shutter Island เป็นเรื่องราวของนายตำรวจศาลชื่อว่า เท็ดดี้ เดเนี่ยล กับเพื่อนร่วมงานของเขา ชัค ที่เดินทางมายังเกาะแห่งหนึ่งภายหลังจากมีนักโทษคดีร้ายแรงคนหนึ่งหายตัวไปจากเกาะที่อยู่โดดเดี่ยวกลางทะเลแห่งนี้ เมื่อมาถึงเท็ดดี้รู้สึกได้ว่า จะต้องมีอะไรไม่ชอบมาพากลในสถานที่แห่งนี้แน่ ๆ และเมื่อยิ่งสืบไปสืบมาเท็ดดี้ก็ได้ขุดคุ้ยความทรงจำในอดีตบางอย่างกลับมา ในขณะที่เขาพบว่า บนเกาะนี้มีนักโทษ 47 คน แต่ในรายงานบอกว่ามีแค่ 46 คนเท่านั้น

และใครล่ะคือ นักโทษคนที่ 47

         แน่นอนครับว่า หนังเรื่องนี้ได้สร้างความประหลาดใจให้คนดูหลายคน (รวมทั้งผม) ด้วยเพราะมันเป็นหนังที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตั้งคำถามถึงเส้นแบ่งระหว่างความจริงความลวงอย่างชัดแจ้ง โดยให้เลือกว่า คุณอยู่ข้างไหนกันแน่ ระหว่างเท็ดดี้ หรือ พวกหมอในโรงพยาบาล

ถามว่าเราจะฟันธงได้อย่างไรว่า ควรเชื่อใคร หนังเรื่องนี้ก็ให้ข้อมูลต่าง ๆ กับเรามาค่อนข้างมากและพอให้เราสามารถสรุปได้ว่า จะเชื่อใครได้

ซึ่งแน่นอนว่า บทสรุปของหนังก็จะต่างออกไปอย่างน่ากลัวเลยทีเดียว ผมได้แบ่งกรณีออกเป็นสองอย่างดังนี้

1. เท็ดดี้ เดเนี่ยลเป็นคนไข้คนที่ 47 

2. เท็ดดี้ เดเนี่ยลถูกทำให้บ้า

ผมไม่สปอยว่าเพราะบทสรุปของสองเรื่องนี้จึงมีออกมาแบบนี้ (เพราะแนะนำให้ดูจริง ๆ ) กระนั้นสิ่งที่เราก็คือ ผู้สร้างนั้นเอนเอียงไปในทิศทางไหน ซึ่งผมจะพูดบางอย่างที่น่าสนใจและไม่มีใครเอามาวิเคราะห์กัน

           อย่างแรกเรามักจะเห็นเท็ดดี้ เดเนี่ยลสูบบุหรี่จัดมาก และแน่นอนว่าเขามีไม้ขีดไฟพกติดตัวอยู่ตลอดเวลา และไม้ขีดนี้เป็นคำใบ้อย่างหนึ่งที่คนสร้างหนังหรือนิยายให้ไว้กับเรา เพราะ ในช่วงที่เท็ดดี้จุดไฟจากไม้ขีดนั้นมันละมายคล้ายคลึงกับนิทานเรื่องหนึ่งของคนยุโรปที่มีชื่อว่า สาวน้อยไม้ขีดไฟ

            เรื่องราวของสาวน้อยไม้ขีดไฟนั้นเป็นผลงานการแต่งของ ฮันส์ คริสเตียนเซ่น ผู้แต่งเรื่องเจ้าหญิงเงือกน้อยนั้นเอง โดยมีเนื้อเรื่องประมาณว่า เด็กสาวคนหนึ่งถูกพ่อเลี้ยงบังคับให้มาเดินขายไม้ขีดไฟท่ามกลางหิมะที่หนาวเหน็บในคืนวันส่งท้ายปีเก่า  เด็กสาวทรมานอย่างยิ่งกับความหิวและความหนาวเย็น เธอจึงจุดไม้ขีดไฟเพื่อขับไล่ความหนาวให้ออกไป ท่ามกลางสายตาที่มองไปยังครอบครัวอื่นได้นั่งกินอาหารแสนอร่อยในครอบครัวที่อบอุ่น เมื่อเธอจุดไม้ขีดไฟที่ล่ะก้าน เธอจะมองเห็นความสุขในอดีตที่เธอเคยมี เธอจินตนาการเห็นภาพในอดีตทั้งหมดท่ามกลางความหนาวเย็น จนกระทั่งตอนเช้าของวันปีใหม่ เด็กหญิงเสียชีวิตลงโดยมีชาวเมืองมาพบพร้อมกับไม้ขีดไฟที่จุดแล้วรอบตัวเธอ

         และแน่นอนว่า สิ่งที่คล้ายคลึงจนแทบไม่น่าเชื่อ เพราะไม้ขีดไฟนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความสว่างทว่า เป็นเพียงแสงเพียงวูบเดียวเท่านั้น มีคนกล่าวว่า เพราะคนกลัวความมืด เราจึงมีแสงสว่าง

        ดังนั้นเพราะมีอดีตที่แสนปวดร้าวคนเราเลือกจะโกหกตัวเองและหนีไปสู่โลกจินตนการเพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกถึงความเจ็บปวดได้

     อย่างเช่นเด็กสาวขายไม้ขีด รวมทั้ง ตัวของเดเนี่ยลเองก็ตาม

            มีคนกล่าวว่า คนบ้ามักจะมองอะไรได้ดีกว่าคนปกติ ซึ่งเรื่องนี้มีหลายคนพิสูจน์มาแล้วจากหนังหลายเรื่อง ซึ่งเรื่องนี้ก็เช่นกันที่คนบ้ามองเห็นอะไรมากกว่าคนปกติ

ในตอนที่เดเนี่ยลได้พบกับคนไข้ที่ชื่อว่า นอยส์ นั้นนอยส์ได้พูดคำคำหนึ่งออกมาที่ทำให้เราหลายคนพอจะอนุมานได้ว่า อะไรเกิดขึ้นกันแน่ที่นี่

“คุณไม่ได้สืบอะไรเลย คุณมันแค่หนูในเขาวงกต  ปล่อยเธอไป เธอกำลังปั่นหัวคุณ เธอจะฆ่าคุณ อยากความจริงก็ปล่อยเธอไป ไม่เช่นนั้นคุณก็ไม่มีวันจะไปจากเกาะนี้ได้”

           คำพูดนี้บอกใบ้ให้เรารู้ว่า ผู้สร้างหนังเชื่อในกรณีใด เพียงแค่สองข้อเราก็พอรู้แล้วว่า เขาเอนเอียงไปในความจริงชุดไหน แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ หนังมันพูดถึง สิ่งที่มนุษย์ค้นหาเท่าใดก็ยิ่งไม่เจอ

        นั้นก็คือจิตใจ

         ผมไม่แน่ใจว่า ใครเปรียบจิตใจมนุษย์ว่า เหมือนกับเขาวงกต แต่สิ่งที่คำพูดของนอยส์บอกนั้นได้ทำให้เรารู้ว่า จิตใจของมนุษย์นั้นช่างซับซ้อนเสมือนเขาวงกตดั่งว่า อย่างเช่น ใครจะคิดว่า คนบางคนหน้าตาออกโจรแต่กลับเป็นคนดีที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น หรือ บางคนใส่สูทผูกเน็กไท พูดจาเก่งกาจ แต่ใจกลับสกปรก ซึ่งนั้นบอกให้เรารู้ว่า ความจริงนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย ๆ แต่เกิดจากการการพิจารณาชุดข้อมูลที่ได้รับต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนต่างหาก 

        เพราะความจริงนั้นย่อมมีสองด้านเสมอ

แต่กระนั้นเองความจริงที่น่าสนใจเช่นกัน อย่างที่เขียนไปว่า คุณจะอยู่ในโลกความจริงที่โหดร้าย หรือ วิ่งเข้าสู่โลกจินตนาการไป 

        อย่างนิทานเรื่องสาวน้อยไม้ขีดไฟที่บทสรุปของมันอาจจะดูเศร้าสร้อยแต่ในนัยยะหนึ่งมันบอกเราอย่างน้อยก็ไม่ต้องทรมานกับชีวิตเช่นนี้ หรือกรณีเดียวกับหนังแฟนตาซีมืด อย่าง Pan Lebyrinth ที่สุดท้ายแล้วการอยู่ในโลกจินตนาการก็ดีกว่าการทุกข์ระทมในความจริง

             หนังเรื่องนี้เองก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับคำถามนี้ และที่น่าตกใจคือ ลีโอนาร์โด้ ดีคาร์ปิโอ้นั้นก็ดันไปเล่นหนังเรื่อง Inception ที่พูดถึงความซับซ้อนของความจริงซะอีกในบริบทที่ใกล้เคียงกัน และตอนจบคล้ายกัน

“จะอยู่ในฐานะปีศาจ หรือ ตายแบบคนดี”

นั้นคือคำพูดของเดเนี่ยลที่บอกกับเพื่อนของเขา เป็นเสมือนการบอกให้รู้ว่า ถ้าจะระทมกับความจริงก็หนีเข้าโลกจินตนาการไปเลยดีกว่า เช่นเดียวกับที่ตัวละครใน Inception ได้เลือกจะไม่มองผลลัพธ์ของลูกข่าง ตัวเดเนี่ยลก็เลือกทางเดินของตัวเองไปแล้ว

ฉากสุดท้ายของเรื่องที่เป็นประภาคารที่ตั้งอยู่นิ่งนั้นเป็นคำถามสุดท้ายที่หนังได้ถามเราว่า

คุณมองมันออกแบบไหน

บางคนบอกว่ามันว่า เป็นภาพที่สวยงาม

บางคนบอกว่า น่าสะพรึงกลัว

และคุณมองมันในด้านไหนกันกับภาพสุดท้ายของเรื่องนี้

 

บล็อกของ Mister American

Mister American
           ความสำเร็จครั้งมโหฬารของภาคที่สี่ของแฟรนไชส์ Jurassic Park อย่าง Jurassic World นั้นเรียกได้ว่า เป็นการหักปากกานักสังเกตที่คาดเดาว่า ภาคต่อของไดโนเสาร์ภาคนี้อาจจะทำเงินได้ไม่มากนัก ทว่า การเปิดตัวในอเมริกากว่า 200 ล้านเหรียญในเวลาเพียงสามวันจนทำลานสถิติของ
Mister American
              ท่ามกลางความเงียบงันสถาวะเงินฝืดที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยปีนี้มีสภาพเรียกว่า ย่ำแย่ที่สุดในหลายปี ผู้คนไม่ยอมจับจ่ายใช้สอยกันยกเว้นเพียงจำเป็นทำให้สถาวะของประเทศค่อนข้างเงียบ บริษัทหลายบริษัทต่างเจ็บตัวเข้าเนื้อกันไปตาม ๆ กันทำให้หลายคนคาดการณ์ว
Mister American
            “บางระจัน บางระจัน บางระจัน ไม่อาจยืนอยู่ทุกวันเพ็ญเดือนสิบสอง บางระจัน บางระจัน บางระจัน ไม่อาจยืนอยู่ถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง”
Mister American
                ถ้าให้พูดล่ะก็นี่ก็เป็นเวลาครบรอบสามปีแล้วกระมั้งครับนับจากการล่มสลายของค่าย Bliss publishing  ค่ายหนังสือยักษ์ใหญ่ที่ปิดตัวลงไปและทำให้กระแสหนังสือเล่มเล็กอย่างไลท์โนเวลนั้นกลายเป็นหนังสือกระแสหลักที่หลายค่ายพากันกระโจนเข้ามาร่วมสมรภูม
Mister American
            เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นวงการภาพยนตร์ไทย ไม่สิ ต้องบอกว่า วงการภาพยนตร์เมอร์เชียลอาร์ตของโลกนั้นต้องสูญเสียปรมาจารย์ สุดยอดนักสู้ของโลกไปอย่างไม่มีวันกลับ แม้ว่า ชื่อเสียงของชายคนนั้นจะแทบไม่เป็นที่สนใจของสื่อหรือคนไทยมากนัก หลายคนถึงกับงุนงงว่
Mister American
            ย้อนเวลากลับไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น เราคงได้เห็นนโยบายคืนความสุขให้กับประชาชนของ คสช อย่างการเปิดโรงภาพยนตร์เมเจอร์ให้ชมภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาคที่ 5 กันไปบ้างแล้ว  แน่ล่ะว่า หลายคนคงจดจำภาพของบรรดาผู้คนที่พากันยื้อแย่งก
Mister American
        ต้องบอกว่า นี่คือ อนิเมะที่มาแรงแซงทางโค้งที่สุดในซีซั่นที่ผ่านมาเลยทีเดียว ท่ามกลางกระแสอนิเมะฟอร์มยักษ์เรื่องอื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมามากมายและหลายคนคาดว่า อนิเมะที่ถูกดัดแปลงมาจากไลท์โนเวลชื่อเดียวกันของ ยู คามิยะ นักเขียนการ์ตูนที่อ
Mister American
              ท่ามกลางความวุ่นวายของการเมืองไทยที่ถึงจุดพลิกพันอีกครา หลังเกิดการัฐประหารขึ้นอีกครั้งได้ส่งผลกระทบต่อวงการภาพยนตร์โดยรวม แน่ล่ะว่าภาพยนตร์ไทยที่สามารถทำรายได้มหาศาลในตอนนี้นั้นคงไม่พ้นหนังอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาคที่ 5 ยุทธหัตถีที่กวาดร
Mister American
          ถ้าพูดถึงหนังซัมเมอร์บล็อกบัสเตอร์ในปีนี้ที่ผมอยากดูใจจะขาดชนิดว่า แทบคลั่งแบบรอไม่ไหวแล้วที่จะต้องไปดูให้ได้นั้นย่อมไม่มีหนังเรื่องไหนทำให้ผมเกิดอาการคลั่งได้มากพอ ๆ กับหนังเรื่อง ก็อตซิลล่า (Godzilla) ของ กาเรธ เอ็ดเวิร์ด ที่เป็นการนำก็อตซิลล่
Mister American
        ถ้าพูดถึงหนังสือที่ขายดีมาแรงแซงทางโค้งในช่วงเวลาที่แสนซบเซาและน่าเบื่อนี้ แน่นอนว่า ชื่อของไลท์โนเวล หนังสือนิยายแปลไทยจากญี่ปุ่นที่กลายเป็นหนังสือกระแสแรงในงานหนังสือที่ผ่านมาสองสามปีนี้ แน่นอนว่า สาเหตุที่มันเข้าถึงคนอ่านได้ง่ายจนกลายเป็นหนังสือชายดีในทุกงานหนังสือน
Mister American
                สิ่งที่คริสโตเฟอร์ โนแลน ได้ทิ้งเอาไว้ในไตรภาคหนังซุปเปอร์ฮีโร่ The Dark Knight  นั้นก็คือ การตั้งคำถามว่า การมีแบ๊ทแมน หรือ ซุปเปอร์ฮีโร่นั้นคือ สิ่งที่ควรจะมีอยู่ในสังคมต่อไปหรือไม่ แน่นอนว่า ประเด็นนี้ตัวโนแลนได้ตอบไ