ผ่านไปได้ไม่นานครับสำหรับการประกาศออสการ์ครั้งที่ 85 ซึ่งภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมนี้ก็ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง Argo ของนักแสดงหนุ่มที่ผันตัวเองมาเป็นผู้กำกับอย่าง Ben Affleck ที่คว้ารางวัลนี้ไปได้ตามคาดหลังจากที่สถาบันทางภาพยนตร์ต่าง ๆ ต่างมอบรางวัลให้ภาพยนตร์เรื่องนี้กันราวกับเป็นเอกฉันท์และชนะหนังเต็งจ๋าอีกเรื่องอย่าง Life of Pi ไปได้และทำให้นักแสดงและผู้กำกับหนุ่มคนนี้ได้รับรางวัลออสการ์เสียทีหลังจากทำหนังมาสักพักหนึ่งแล้วก็ตาม นอกจากนี้ที่มีการกล่าวขวัญกันในงานก็ได้แก่คนที่มาประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลนี้นั้นก็คือ สตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐอเมริกาอย่าง นางมิเชล โอบาม่า ที่แม้ไม่ได้มาปรากฏตัวในงาน เพียงแต่วีดีโอลิงค์มาเท่านั้นก็เรียกเสียงฮือฮ่าให้กับผู้ชมอย่างยิ่ง
แต่ที่น่าสนใจก็คือการที่ Argo ได้รับรางวัลนี่ล่ะครับ
เพราะอะไรน่ะเหรอครับ
เพราะ Argo นั้นเป็นหนังระทึกขวัญการเมืองที่สร้างขึ้นมาจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในปี 1979 เมื่อกลุ่มผู้ประท้วงพระเจ้าชาร์แห่งอิหร่านได้บุกเข้าไปในสถานทูตสหรัฐอเมริกาและจับกุมตัวประกันเอาไว้หลายสิบคน ทว่ากลับมีตัวประกันหนีรอดไปได้หกคนทำให้ทางการอเมริกาต้องหาทางช่วยพวกเขาออกมาให้ได้ โดยอาศัยนักพาหลบหนีอันดับ 1 ของ CIA อย่างโทนี่ เมนเดส ให้หาแผนการในการพาพวกเขาหนี ทว่าแผนการที่เขาเสนอนั้นดันเป็นแผนการที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีใครกล้าทำบนโลกนั้นก็คือ การปลอมตัวให้ทั้งหกคนให้เป็นทีมงานถ่ายหนังชาวอเมริกาที่เข้าไปหาโลเคชั่นถ่ายหนังในประเทศนั้นน่ะเอง
ด้วยความร่วมมือของผู้กำกับและมือเอ็ฟเฟ็กค์ชั้นยอดแห่งฮอลลีวู้ดอย่าง Lester Siegal ผู้กำกับชรามือฉมัง และ John Chamber ได้ทำให้แผนการนี้สมบูรณ์และกลายเป็นหนึ่งในการฉกตัวประกันครั้งสำคัญของ CIA ไปในที่สุดครับ
และแน่นอนว่า สิ่งที่หนังได้พยายามแสดงให้เห็นนั้นนอกจากแผนฉกตัวประกันสุดระทึกแล้วมันยังเป็นหนังที่วิพากษ์สิ่งที่เกิดขึ้นกับอเมริกาได้เป็นอย่างดีว่า สิ่งที่พวกเขาทำลงไปนั้นอาจจะกลับมาย้อนให้พวกเขาเดือดร้อนเองก็ไปได้ในอนาคต
เราได้รับรู้ข้อมูลจากหนังเรื่อง Bowing For Columbine ไว้ว่า อเมริกานั้นมักจะเข้าไปแส่การเมืองในประเทศต่าง ๆ เสมอ ทั้งตรงและทางอ้อมอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในอิหร่านที่อเมริกาได้หนุนให้พระเจ้าชาร์ขึ้นครองราชย์แทน หนังได้บอกเราว่า พระเจ้าชาร์เป็นกษัตริย์ที่พยายามปรับปรุงให้อิหร่านทันสมัยเหมือนชาติตะวันตก ทว่าพวกเขากลับเป็นพวกที่ใช้เงินบรรลัยไปกับเรื่องที่ไร้สาระตั้งแต่ ให้ภรรยาอาบน้ำนมทุกวัน การสั่งมื้อเที่ยงจากฝรั่งเศสมาทานด้วยเครื่องบินความเร็วสูงรวมทั้งการตั้งกลุ่มไล่ล่าคนที่ไม่เห็นด้วยขึ้นมา ท่ามกลางแผ่นดินที่แร้นแค้น ผู้คนอยากจนและแทบไม่มีอะไรกินแม้แต่น้ำข้าว การกดขี่นี้ได้ทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นขับไล่ชาร์ออกจากประเทศไป และ โคไมนี่ ผู้นำศาสนาขึ้นเป็นผู้นำแทนในที่สุดส่งผลให้อิหร่านเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นศาสนาและกลายเป็นศัตรูของอเมริกาไปในที่สุด
ส่วนพระเจ้าชาร์นั้นหนีไปพึ่งพิงสหรัฐที่นิวยอร์ค
สิ่งที่เราได้ยินจากหนังก็คือ ชาร์ทำเรื่องเลวร้ายไว้มากมายทำไมสหรัฐจะต้องช่วยเขาไว้ คำตอบที่ออกมาจากคนในรัฐบาลก็คือ อเมริกาจะช่วยไอ้บัดซบทุกคนที่ทำประโยชน์ให้อเมริกาได้
นั้นเองที่ทำให้เรารู้ว่า อเมริกาไม่ใช่คนดีหรือพระเอกอย่างที่เรารู้ ๆ กันในหนังเรื่องนี้
ทว่าเมื่อเราไม่รู้สึกชอบอเมริกานัก หนังกลับให้เราเห็นว่า การช่วยตัวประกันนั้นเป็นอีกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะพวกเขาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร เช่นเดียวกับชาว อิหร่านที่ไม่ได้ผิดอะไรทั้งสิ้น
แต่เป็นอเมริกาต่างหากที่ทำตัวเองให้เป็นแบบนี้
จะว่าไปหนังเรื่องนี้ก็เสมือนคำตอบของหนังเรื่อง Zero Dark Thirty ที่ถามว่า อเมริกาเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้อย่างไร (การที่มีผู้ก่อการร้ายเอาเครื่องบินพุ่งชนตึก)
คำตอบมาจากหนังเรื่องนี้และสิ่งที่อเมริกาทำลงไปทั้งหมดนั้นเอง
กระนั้นหนังก็ยังคงเป็นอเมริกาที่ถ่ายทอดให้เห็นภาพของชนชาวอิหร่านที่บุกเข้ามาในสถานทูตนั้นเป็นพวกป่าเถื่อน รุนแรง บ้าคลั่ง ไม่มีสมอง เพราะเชื่อฟังการปลุกระดมของโคไมนี่เท่านั้น
พวกเขาคิดอะไรไม่เป็นจึงเชื่อการชักจูงได้ง่ายเช่นนี้ นั้นคือ สิ่งที่หนังพยายามจะพูดโดยสวนทางกับเรื่องราวที่เราได้รู้ตอนต้นว่า มันเกิดแบบนี้เพราะการ สูบเลือดสูบเนื้อของพระเจ้าชาร์และอเมริกาที่ทำกับคนอิหร่านเขาต่างหาก
อย่างว่าล่ะครับ ใครจะลุกขึ้นมาล้มระบอบล่ะครับ ถ้าระบอบนั้นไม่เลวทรามต่ำช้าจริง ๆ
กระนั้นใครจะคิดเลยว่า ปัจจุบันนี้แม้ว่า โคไมนี่จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ก็มีกลุ่มผู้ต่อต้านตำแหน่ง Supreme Ledder of Iran ที่ตอนนี้คนทีีดำรงตำแหน่งก็คือ Ali Khamenie ขึ้นในอิหร่านเพราะ พวกเขาทนไม่ได้แล้วกับการปกครองโดยเผด็จการที่ไม่คิดฟังเสียงของประชาชนเลยแม้แต่น้อย
ซึ่งเป็นความน่าตกใจของอิหร่านไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว อาจจะเพราะพวกเขาเป็นวัยรุ่นได้ไปเรียนต่างประเทศและได้รับรู้ถึงความผิดปกติของประเทศตนก็เป็นได้ว่า
ทำไมถึงเป็นแบบนี้
อิหร่านตอนนี้เป็นสังคมที่มีการเซ็นเซอร์ข่าวสูงมาก เช่นเดียวกับสิทธิเสรีภาพอื่น ๆ ก็แทบจะไม่มีเหลือ เนื่องจากทางการอิหร่านเซ็นเซอร์เอาไว้ไม่ให้คนในประเทศได้รับรู้อะไรทั้งสิ้น รวมทั้งออกกฎหมายต่าง ๆ ออกมาโดยอิงหลักศาสนาที่เรารู้ว่า มันไม่อาจจะตามทันโลกใบนี้ได้อีกแล้ว
นี่เองที่ทำให้อิหร่านอยู่ในสภาพทางสามแพร่งที่ต้องใช้เวลาในเปลี่ยนแปลงจากภายใน
เช่นเดียวกับอเมริกาที่พวกเขาคงต้องใช้เวลาอีกสักพักเช่นกัน
ดังนั้นหากจะสรุปแล้ว Argo กำลังจะพูดถึงอเมริกาว่า ควรจะปล่อยให้ทุกอย่างอยู่เฉย ๆ ไปตามครรลองและเวลาของมันไป ไม่ควรไปแทรกแซงประเทศเขา เหมือนเช่นในหนังที่มีจังหวะหนึ่งพูดถึง สงครามในอัฟกานิสถานที่อเมริกาเข้าไปช่วยเหลือกองโจรพื้นเมืองในการต่อสู้กับรัสเซีย
กองโจรกลุ่มนั้นมีชื่อ มูจาฮีดีน
โอซาม่า บินลาเดน ก็อยู่ในกลุ่มกองโจรนั้นด้วย
และอีกไม่นานเขาจะกลายเป็นศัตรูผู้เปิดฉากสงครามก่อการร้ายที่เปลี่ยนโฉมโลกได้ทั้งใบไปเลย
นี่คือหนึ่งตัวอย่างของการไปแส่ไม่เข้าเรื่องของอเมริกาครับ
ฉะนั้นคำตอบของ Argo ที่ต้องการบอกกับอเมริกาและโลกก็คือ อย่าไปก้าวก่ายเรื่องของชาวบ้าน ไม่เช่นนั้นภัยอาจจะมาถึงตัวเข้าสักวัน แต่อเมริกาหรือมหาอำนาจอื่น ๆ ก็ไม่เคยจำสักครั้ง
และผู้รับเคราะห์ก็คงไม่พ้นประชาชนตาดำ ๆ แบบพวกเรานี่เอง
ป.ล. ขออภัยที่บทความมาช้าเล็กน้อยนะครับ
บล็อกของ Mister American
Mister American
(บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องเบาๆเพื่อให้เตรียมตัวกันให้พร้อมก่อนชมภาพยนตร์เรื่อง Prometheus)
Mister American
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับป๋าไมเคิ่ล ฮานาเก้ที่ได้รางวัลปาล์มทองอีกครั้งหนึ่งจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ Ffpภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Amour ที่เรียกได้ว่าเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งว่า ฝีมือการทำหนังของผู้กำกับคนนี้เป็นของจริงที่ยิ่งเวลาผ่านไปรสชาติการทำหนังของเขาก็ยิ่งเข้มข้นทุกทีไม่เหมือนผู้กำกับอีกหลายรายที่มือตกไปอย่างไม่น่าอภัย กระนั้นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับชายที่ชื่อว่า ไมเคิ่ล ฮานาเก้นี้ก็คือ แค่หนังเรื่องแรกของเขานั้นก็ปรากฏแววเก่งมาในทันที
และหนังเรื่องแรกของเขาก็คือ The Seven Continent นั้นเอง
Mister American
ถ้าเอ่ยชื่อของไมเคิ่ล ฮานาเก้ ถ้าไม่ใช่แฟนหนังจริงๆหลายคนอาจจะไม่รู้จักเขาเท่ากับผู้กำกับคนอื่นๆอย่าง ไมเคิ่ล เบย์ สปีลเบิร์กหรือคาเมร่อนก็ตาม แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่หลายคนมารู้จักผู้กำกับจากยุโรปได้ก็คงไม่พ้นนิยามหนังของเขาที่หลายให้คำว่า โหดเหี้ยม เลือดเย็น และน่าขนลุก โดยหนังที่หลายคนมักจะ
Mister American
(เนื้อหาบทความนี้อาจะเปิดเผยความลับของภาพยนตร์)
ผมเชื่อว่าทุกคนเคยมีความฝัน
ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยที่ฮีโร่ของญี่ปุ่นอย่าง อุลตร้าแมน ไอ้มดแดง ขบวนการห้าสีบุกจอโทรทัศน์ หลายคนในตอนนั้นยังเป็นเด็กตัวน้อยๆที่เฝ้ารอคอยหน้าจอที่สัปดาห์เพื่อจะได้ชมฮีโร่ของตัวเองปราบปรามเหล่าร้ายในหน้าจอที่หวังยึดครองโลก เราได้สนุกสนานกับการผจญภัยของพวกเขา บางคนอาจจะถึงขั้นอยากเป็นฮีโร่กับเขาบ้างเลยทีเดียว หรือบางคนอาจจะใฝ่ฝันที่จะได้เห็นฮีโร่ตัวจริงด้วยสายตาของตัวเอง
ซึ่งเด็กชายที่ชื่อ ฟิล โคลสัน คือหนึ่งในนั้น
Mister American
ครั้งหนึ่งเมื่อภาพยนตร์เรื่อง เฉือน ของผู้กำกับก้องเกียรติ โขมศิริ ได้ลงโรงฉายชนกับภาพยนตร์รัก Feel Good อย่างรถไฟฟ้ามาหานะเธอนั้นหลายคนที่ไปชมเรื่องนี้ต่างอึ้งกับภาพความโหดร้าย ของฆาตกรต่อเนื่องของไทยที่คาดว่าจะเป็นภาพยนตร์ฆาตกรต่อเนื่องที่น่าสนใจ เรื่องหนึ่ง และมีคำถามขึ้นมาว่า