Skip to main content

คุณรู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับข่าวการเมืองในตอนนี้บ้างหรือเปล่าครับ?


เอาเข้าจริง ถ้าคุณเป็นคนปกติทั่วไป แม้ว่าจะสนใจการเมืองมากขนาดไหน แต่ถ้ารับปริมาณข่าวการเมืองจากหลากหลายฝ่ายถี่ๆ มันก็พาลจะเกิดอาการเอียน พาลให้ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว หรือหนักๆ เข้าอาจจะเล่นเอาอ้วกแตกเอาง่ายๆ


(อันนี้ผมขอยกเว้นบรรดานักเสพติดการเมืองตามบรรดาเวบบอร์ดการเมืองต่างๆ นะ ไม่รู้ว่าพวกพี่แกกินอะไรกัน ถึงได้สนใจเรื่องพรรค์นี้กันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย)


และด้วยภาวะการเมืองอันชวนพะอืดพะอมแบบนี้ อาจทำให้หลายๆ คนไม่มีอารมณ์จะสนใจเรื่องหนัง ละคร รวมถึงเรื่องบันเทิงเริงใจต่างๆ แต่วันนี้ผมจะพูดถึงหนังภาคล่าสุดของหนังไทยภาคต่อที่คนไทยรักที่สุด


ใช่ครับ...ผมกำลังจะพูดถึง “บุญชู : ไอ – เลิฟ – สระ – อู” ซึ่งถ้านับจากตัวเลขภาค ก็ถือเป็นภาค 9 เข้าไปแล้ว


(แต่ถ้านับจากจำนวนจริงๆ ก็ต้องนับว่าเป็นภาคที่ 7 เพราะว่าภาค 3 และ 4 ไปแอบหลบเป็นตอนสั้นๆอยู่ในภาค 5)


********************

 




ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย ที่บุญชู บ้านโข้ง
(สันติสุข พรหมศิริ) จะกลายเป็นตัวละครที่คนไทยรักที่สุด ด้วยความที่บุญชูเป็นตัวละครบ้านๆ ซื่อๆ จากชนบท ที่พกพาจิตใจดีงามเข้ามาหวังจะเรียนต่อมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ และก็ได้เจอทั้งเรื่องสมหวัง ผิดหวัง และสารพันเรื่องราวอลเวง ทั้งยังมีคนรักอย่างโมลี (จินตหรา สุขพัฒน์) และผองเพื่อนอย่างนรา (อรุณ ภาวิไล), หยอย (เกียรติ กิจเจริญ), ไวยากรณ์ (วัชระ ปานเอี่ยม), คำมูล (กฤษณ์ ศุกระมงคล), ประพันธ์ (เกรียงไกร อมาตยกุล) เฉื่อย (นฤพนธ์ ไชยยศ) รวมทั้งขาประจำอย่างพี่ปอง (สมเกียรติ คุณานิธิพงศ์) ที่พกความปากหมามาดวลกับหยอยอยู่ทุกภาค ตั้งแต่ภาค 2 เป็นต้นมา


แต่ในภาคนี้ ตามสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ตัวเอกของบุญชูภาคนี้เหมือนจะถูกโอนมายังรุ่นลูกของบุญชูอย่างบุญโชค (อาร์ตี้ - ธนฉัตร ตุลยฉัตร) และรุ่นผองเพื่อน ประกอบกับผลงานหลังๆ ของคุณอาบัณฑิต ฤทธิ์ถกล ก็ไม่ใคร่จะประสบความสำเร็จทั้งในแง่รายได้และคำวิจารณ์สักเท่าไหร่... เจอแบบนี้ก็ทำเอาหลายคนหวั่นๆ ว่าจะดูภาคนี้ดีไหมหนอ...


สำหรับผม แม้จะหวั่นๆ อยู่บ้าง แต่เมื่อลองคิดดู โอกาสจะได้ดู “บุญชู” ในโรงหนังจริงๆ สักภาคนั้น ไม่รู้ว่าจะมีอีกเมื่อไหร่ ประกอบกับการเป็นแฟนคลับของน้องสายป่าน (อภิญญา สกุลเจริญสุข) และน้องซาร่า AF3 อย่างไม่เป็นทางการ (ฮา) ผมจึงตัดสินใจตีตั๋วเข้าไปดู


แล้วก็ค้นพบว่า ผมตัดสินใจถูกแล้ว :-)


อย่างแรกที่ผมกังวล คือแม้ว่าตัวดำเนินเรื่องหลักของภาคนี้จะเทไปที่รุ่นลูก แต่บรรดาบุญชูรุ่น 1 ก็ยังคงกลับมาสร้างสีสันในภาคนี้กันอย่างครบถ้วน แม้ว่าจะขาดตัวละครสำคัญๆ ไปบ้าง อย่างพี่บุญช่วย (สุเทพ ประยูรพิทักษ์) และพี่มานี (ปรารถนา สัชฌุกร) ที่ไม่รู้ว่าจนป่านนี้จะยังตามจีบกันอยู่หรือเปล่า :-P หรือบัวลอย (กัญญาลักษณ์ บำรุงรักษ์) เจ้าของวลี “เดี๋ยวน้ำตาจะเช็ดหัวเข่า” ที่เราๆ ท่านๆ จำกัดได้ แต่นอกนั้น บรรดาตัวละครชุดเดิม ก็พากันกลับมาสร้างสีสัน ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวละครประเภทโผล่มาภาคละฉากอย่างคนขายลอตเตอรี่ตาบอดที่โดนหยอยอำ ก็ยังกลับมาให้เราหายคิดถึง (สำหรับแฟนๆ ของพี่ปอง...ภาคนี้พี่แกโผล่หลายฉากอยู่ครับ) รวมทั้งบรรดามุขเฉพาะตัวของหนัง อย่างมุข “อยากรู้จริงๆ เร้อ...เล่ายาวนะ” หรือมุขพุทธศาสนสุภาษิต ก็ยังมีให้เราได้ยิน


จะมีเสียดายเล็กๆ ก็ตรงเพลงประกอบภาพยนตร์ ที่แต่เดิมเป็นฝีมือ – ฝีปากของคุณจรัล มโนเพชร แต่คุณจรัลแกชิงขึ้นไปเล่นดนตรีให้คนบนสวรรค์ฟังเสียแล้ว (ว่าแล้วขอยืนไว้อาลัยด้วยตัวอักษรแด่คุณจรัล 1 นาทีครับ) ในภาคนี้จึงใช้บริการของน้าแอ๊ด – ยืนยง โอภากุล ซึ่งน้าแกก็หยิบยืมกลิ่นของเพลงในภาคก่อนๆ มาผสมกับความเป็นน้าแอ๊ดได้เนียนพอดู (แถมแกยังโผล่มาให้เห็นในหนัง คล้ายกับมุขนักดนตรีในหนังเรื่อง There 's something about Mary... ซึ่งผมก็ลุ้นว่าน้าแอ๊ดในเรื่องแกจะมีจุดจบเหมือนนักดนตรีใน There's something ฯ หรือเปล่าหนอ :-P) แถมในหนังก็ยังมีเพลง “เพื่อน” ที่เคยปรากฎในภาคก่อนๆ รวมทั้งยังมีฉากที่ตัวละครร่วมร้องเพลง “รางวัลแด่คนช่างฝัน” ซึ่งอดคิดไม่ได้ว่านี่คือการ Tribute แด่คุณจรัลด้วย


สำหรับนักแสดงรุ่นลูก ที่หลายๆ คนหวั่นว่าจะรับมือกับความคาดหวังจากแฟนๆ บุญชูรุ่นพ่อได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าทั้งทีมก็ทำหน้าที่ตัวเองได้พอไหว และด้วยความรู้สึกส่วนตัวของผม รุ่นลูกเป็นตัวแทนที่จะเล่นฉากไล่ล่าโกลาหล อันเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กับบุญชูทุกภาค (ซึ่งถ้าให้น้าๆ รุ่นพ่อมาเล่นฉากนี้ น่าจะเข้าข่าย “ทรมานบันเทิง” อยู่มิใช่น้อย)


แต่ถ้าใครจะบอกว่ายังไม่รู้จักรักใคร่เท่ารุ่นพ่อ ผมก็ยกประโยชน์ให้จำเลย ตรงที่รุ่นพ่อนั้นเรารู้จักเขามาจะ 20 กว่าปีแล้ว มันก็ต้องรู้สึกผูกพันกว่าอยู่แล้วล่ะ


ส่วนตัวเนื้อเรื่อง ภาคนี้เหมือนกับเป็นการย้อนรอยการเริ่มต้นในบุญชูภาคแรก เพราะในภาคนี้บุญโชคในสถานะทิดสึกใหม่ ก็ต้องเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยมีผองเพื่อนคอยช่วยเหลือ ซึ่งบุญโชคของเราก็เหมือนกับบุญชู ตรงที่อาศัยเอาความซื่อของตัวเอง และความร่วมมือร่วมใจของเพื่อนๆ ผ่านพ้นปัญหาไปได้ ซึ่งก็เป็นแก่นแกนที่เหมือนกับบุญชูทุกภาค


อีกสิ่งที่เหมือนกับบุญชูทุกภาค คือท่าทีของการมองโลกอย่างแง่งามและมีความหวัง (อาจเรียกได้ว่าบุญชูเป็นพี่ชายคนโตของบรรดาหนัง feel good ในไทยก็ว่าได้ละกระมัง) ซึ่งอาจมองว่ามันเป็นอุดมคติเหลือเกิน แต่มันก็ทำให้เราชุ่มชื่นหัวใจไม่เลว


จนทำให้แม้ว่าหนังภาคนี้จะยังไม่ดีขั้นเทพ (อย่างน้อยๆ ผมก็ไม่ชอบฉาก “เอาใจสปอนเซอร์” ในร้านไก่ย่างเอาเสียเลย... มันฮาร์ดเซลล์ไปหน่อยครับ) แม้จะยังรู้สึกถึงความสะดุดของการตัดต่ออยู่บ้าง


แต่มันก็ยังเป็นหนังที่เราสามารถรักได้อย่างถอนตัวไม่ขึ้นเหมือนเดิมครับ :-)


บล็อกของ เด็กใหม่ในเมือง

เด็กใหม่ในเมือง
My Private Radio – รายการเพลงที่ผมมั่นใจว่าดีที่สุดในเว็บประชาไท (เพราะมันมีอยู่รายการเดียว :-P) กลับมาพบกับท่านอีกครั้งแล้วครับ
เด็กใหม่ในเมือง
มาล่าช้ากันสักนิดนึงนะครับสำหรับรายการวิทยุส่วนตัวของผม แต่มาช้าก็ยังดีกว่าไม่มานะครับหวังว่ารายการนี้จะพอทำให้บรรยากาศอันดุเดือดในช่วงนี้เย็นๆ ลงมาบ้าง และรายการนี้... ไม่ว่าสีใด ก็ฟังกันได้สบายๆ...
เด็กใหม่ในเมือง
ตอนที่ผมกำลังทำรายการวิทยุออนไลน์เล็กๆ รายการนี้ เมื่อมองออกไปที่ท้องฟ้าแถวบ้าน ผมเห็นพระจันทร์ดวงโตสวยส่องสว่างอยู่... เลยอยากจะเลือกเพลงให้เข้ากับบรรยากาศในตอนนั้น พอเลือกเพลงได้ ก็เลยเอาเพลงที่เลือกมาเปิดให้คุณๆ ฟังกันนั่นแหละครับ       
เด็กใหม่ในเมือง
แม้ว่าในประชาไท รายการ My Private Radio จะเพิ่งได้มาโอกาสมาเปิดเพลงเพราะมั่ง ไม่เพราะมั่งให้กับคุณๆ ได้ฟังกันไม่นานนี้ แต่จริงๆ แล้ว ถ้านับตั้งแต่ที่ผมเริ่มทำรายการตอนแรกลงในเว็บไซต์ http://myprivateradio.ning.com แล้ว ตอนที่คุณได้ฟังอยู่ตอนนี้ นับเป็นตอนที่ 10 แล้วครับ   ในตอนนี้ ผมเลยตั้งโจทย์เล่นๆ ว่า ถ้าผมต้องเลือกเพลงทุกเพลงในรายการ ให้กับคนหลายๆ คน ตั้งแต่เพี่อนของผม เลยเถิดไปจนถึงทีมการท่าเรือไทย เอฟ ซี (!) ผมจะหยิบอะไรมาเปิดบ้าง
เด็กใหม่ในเมือง
 กลับมาอีกครั้งสำหรับรายการวิทยุส่วนตัวของผมครับ :-)ผมบันทึกเสียงรายการตอนนี้ในคืนวันวาเลนไทน์ เลยทำให้บรรยากาศของวันแห่งความรักเผลอตลบอบอวลเข้ามาในรายการด้วยตอนนี้เลยมีเพลงรักดีๆ ให้ฟังกันเยอะครับเชิญฟังกันได้เลยครับ  
เด็กใหม่ในเมือง
  กลับมาอีกครั้งกับรายการวิทยุส่วนตัวของผมครับ :-)   GT 200 กับเพลงโซล – ดิสโก้ ดูมันไม่เกี่ยวกันเลย แต่มันก็มาอยู่ในรายการนี้กันได้ซะงั้น   เชิญฟัง และติ-ชมกันได้ครับ       
เด็กใหม่ในเมือง
ผมกำลังสนุกกับของเล่นชิ้นใหม่อยู่ครับ... ของเล่นชิ้นที่ว่า คือการทำรายการวิทยุออนไลน์ของตัวเองครับ
เด็กใหม่ในเมือง
  ถ้าคุณผู้อ่านแวะเข้าห้องเฉลิมกรุงของเว็บไซต์ pantip.com (พันทิปไม่ได้มีแค่ห้องราชดำเนินนะครับพี่น้อง...) ซึ่งเป็นเวบบอร์ดที่พูดถึงแวดวงดนตรี ละครเวที และงานศิลปะอยู่เป็นประจำละก็ คุณคงจะรู้ว่าศิลปิน-นักร้องที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญถึงที่สุดในห้องเฉลิมกรุงในช่วงเดือน - สองเดือนที่ผ่านมานั้นเป็นใคร ถ้าคุณไม่ใช่เด็กห้องเหลิมกรุง คุณอาจจะเดาว่าเป็น Wonder Girls, Girl's Generation, ดงบังชินกิ, ซุปเปอร์จูเนียร์ หรือบรรดาบอยแบนด์ - เกิร์ลกรุ๊ปทั้งสัญชาติไทยและเกาหลี
เด็กใหม่ในเมือง
  มีตำนานกล่าวขานถึงเวทมนต์วิเศษที่จะทำให้คนธรรมดา เสียงไพเราะกว่าใครเริงระบำได้เหนือกว่าใคร
เด็กใหม่ในเมือง
ผมเริ่มนั่งเขียนบทความชิ้นนี้ ตอน 10 โมงกว่าๆ ของวันที่ 14 เมษายน 2552 หลังวันสุกดิบของการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ในหลายๆ จุดทั่วกรุงเทพฯที่จั่วหัวแบบนี้ ผมไม่ได้มาพูดเรื่องการเมืองหรอกครับ (ผมเขียนวัน-เวลาเอาไว้เพื่อเตือนความจำของตัวเองเท่านั้นแหละ)ผมจะมาเล่าเรื่องที่ทำงานประจำของผมให้คุณๆ ฟังครับ
เด็กใหม่ในเมือง
ผมขอเริ่มต้นบทความชิ้นนี้ ด้วยการย้อนระลึกถึงเมื่อครั้งที่ผมยังเป็นเด็กนักเรียนประถม ในยุคที่สถานีโทรทัศน์ทุกแห่งในประเทศไทยยังไม่มีการออกอากาศช่วงกลางวันในวันธรรมดา และยังไม่มีเคเบิลทีวีให้บริการอย่างเอิกเกริกแบบตอนนี้ ในยุคที่คอมพิวเตอร์ยังเป็นสิ่งอภิมหาแพงเกินกว่าที่ทุกครัวเรือนจะมี หรือถึงบ้านไหนจะมี เทคโนโลยีในยุคนั้นก็ยังไม่เอื้อให้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์รวมความบันเทิงแบบทุกวันนี้ ความบันเทิงในยุคนั้นของผม นอกจากรายการทีวีวันเสาร์ - อาทิตย์แล้ว บรรดาวีดิโอจากร้านเช่าก็เป็นความบันเทิงราคาถูกที่พอจะมีกันได้ ซึ่งวีดิโอที่เรามักจะเลือกเช่า ก็หนีไม่พ้นการ์ตูนและหนังต่างๆ
เด็กใหม่ในเมือง
(ก่อนจะเริ่มบทความ...คุณผู้อ่านรู้สึกไหมครับ ว่าชื่อบทความกับชื่อผม มันคล้องจองกันพิลึก อิอิ...)  ไม่รู้ว่าท่านผู้อ่านจะมีศิลปิน หรือวงดนตรีใดๆ ที่เมื่อมีอัลบั้มใหม่ของพวกเขา / เธอ ออกวางแผง เราก็ไม่รีรอที่จะรีบไปหาอัลบั้มมาเป็นเจ้าของโดยพลันหรือเปล่า สำหรับตัวผม...โมเดิร์นด็อกสร้างความรู้สึกแบบนี้ให้ผมตลอดมา ตั้งแต่สมัยผมควักเงิน 60 บาทจากกระเป๋านักเรียนสีกากีออกจากกระเป๋า และคว้าอัลบั้ม “โมเดิร์นด็อก” (ที่มีชื่อเล่นว่าอัลบั้ม “เสริมสุขภาพ”) จากแผงเทป จนถึงวันนี้ วันที่โมเดิร์นด็อกมีอัลบั้ม “ทิงนองนอย” ออกมาเป็นอัลบั้มใหม่ ความรู้สึกนั้นก็ยังเกิดกับผมไม่แปรเปลี่ยน…