Skip to main content

บอกกับตัวเองและเพื่อน ๆ บ่อยครั้งว่า มาเชียงรายฉันมักหาทางไปแม่สาย เชียงแสน ขับรถเลียบแม่น้ำโขง แค่ย่างเข้าสู่แม่จันก็รู้สึกเหมือนกลับบ้าน สงสัยชาติก่อนฉันคงเคยเกิดแถวนี้ ความรู้สึกอิ่มสุขลึก ๆ ในใจเมื่อมองทุ่งหญ้าที่ขึ้นสองฝั่งโขง มองสายน้ำอันยิ่งใหญ่ตรงหน้า

 

อาจเป็นเพราะฉันมีเชื้อสายส่วนหนึ่งเป็นลาว ยายของย่าของฉันอพยพมาจากเมืองหลวงพระบางในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งประวัติศาสตร์บอกไว้ว่าในช่วงนั้นหลวงพระบางเมืองหลวงของลาวแตกลง มีการอพยพสองสาย สายหนึ่งลงใต้ อีกสายหนึ่งข้ามโขงลัดเลาะเทือกเขาเพชรบูรณ์เข้ามาทางจังหวัดเลย ด่านซ้าย และเพชรบูรณ์

 

ส่วนเลือดอีกฟากหนึ่งในกายฉันมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ เส้นทางข้ามโขงด้วย R3a ในทริปนี้จึงเป็นการเดินทางที่มีความหมายกับชีวิต ราวกับได้หลุดเข้ามาในดินแดนอันเป็นอดีตของชีวิต

ลมแม่น้ำโขงให้ความรู้สึกราวลมทะเล แม่โขงมหานทีอันยิ่งใหญ่มีต้นกำเนิดที่ประเทศทิเบตตีนเขาหิมาลัย ไหลคู่กับมากับแม่น้ำสายสำคัญอีกสองสาย คือ แยงซีเกียงผ่านประเทศจีน และแม่น้ำสาละวินผ่านประเทศพม่า ส่วนแม่น้ำโขงไหลผ่านทิเบต จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ฉันนั่งเรือข้ามโขงที่อ.เชียงของ หลังจากทำใบผ่านแดนที่นี่แล้ว ฝั่งตรงข้ามคือ อ.ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว จุดมุ่งหมายคือเมืองหลวงน้ำทา เมืองสำคัญที่ถนนสายนี้ผ่านก่อนเข้าสู่ประเทศจีน

 

ห้วยทรายเป็นเมืองที่มีบรรยากาศแบบเมืองท่องเที่ยว เพียงเดินขึ้นจากเรือก็พบกับภูมิประเทศแปลกตา กับเนินลาดขึ้น มีบ้านเรือนร้านค้าอยู่สองข้าง ไปจนจดถนนสายหลักของเมืองที่ลาดขนานไปกับแม่น้ำโขง บรรยากาศคล้ายข้ามเรือขึ้นเกาะ จุดพักนักท่องเที่ยว ร้านเบียร์ ร้านกาแฟ ร้านอาหารริมแม่น้ำโขง ร้านขายโปสการ์ด เรียงรายไปสองข้างทาง

 

ฉันรอรถตู้โดยสารที่มารับ ก่อนออกเดินทางด้วยเส้นทางห้วยทราย-หลวงน้ำทา บนถนน R3a ถนนที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อไม่นาน รอเพียงสะพานข้ามโขงที่อ.เชียงของเสร็จเท่านั้น ระยะทางระหว่างคุนหมิงถึงกรุงเทพก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป และนิคมอุตสาหกรรมบนพื้นที่ 6,000 ไร่ที่ อ.เชียงของก็กำลังจะเกิดขึ้น

 

ระยะทางระหว่างห้วยทรายไปหลวงน้ำทา 180 กม. 90% เป็นถนนบนภูเขา สำหรับฉันแล้วไม่สูงและไม่ชันมาก เทียบกับถนนพันโค้งเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอนแล้ว ที่นี่ยังเด็กนัก แต่สำหรับคนเมารถก็ต้องเตรียมยาแก้เมาติดตัว เพราะนับจากนาทีนี้เป็นต้นไป เราจะโลดแล่นไปบนเทือกเขาสูงที่ทอดยาว มุ่งหน้าสู่ตอนเหนือของประเทศลาว

 

เราใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงถึงเมืองหลวงน้ำทา มีจุดแวะพักกลางทางที่บ้านน้ำเกี้ยง มีสะพานชื่อน่ารักว่า ขัวน้ำฟ้า ขัว ใช้คำเดียวกับภาษาคำเมืองแปลว่าสะพาน ฉันยืนมองป้ายชื่อสะพานที่เบื้องหลังเป็นฟ้ากว้าง มีลำธารน้ำใสไหลทอดยาวมาจากภูเขาเบื้องหน้า โลกดูสงบสุข ร้านค้าขายของสำหรับนักท่องเที่ยวมีขนม น้ำ และเบียร์ไว้บริการ รวมถึงห้องน้ำสะอาดมาก ค่าบริการห้องน้ำในลาวคนละ 1,000 กีบ หรือประมาณสามบาทไทย หากไม่มีเงินกีบเขาก็รับเงินไทย แต่เริ่มต้นทุกอย่างที่แบ๊งค์ยี่สิบ

 

สองข้างทางบนถนนสายนี้เต็มไปด้วยร่องรอยการตัดไม้ จนน่าใจหายว่าอีกไม่นานประเทศลาวจะตกอยู่ในสภาพเดียวกับไทย คืออุณหภูมิสูงขึ้น อุทกภัยร้ายแรงมีมากขึ้น ภูเขาหัวโล้นมีให้เห็นตลอดสองข้างทาง

 

ถนนสายยาวไกลนี้เหมือนงูใหญ่เลื้อยนำพาความเจริญทางวัตถุไปหาผู้คน และดื่มกินธรรมชาติเป็นอาหารระหว่างทาง

 

ถึงทางแยกเข้าเมืองหลวงน้ำทา หากมีเวลาสักนิด ขับเลยไปอีก 65 .. มุ่งหน้าสู่เมืองบ่อเต็น เขตชายแดนลาว-จีน ที่ปัจจุบันรัฐบาลจีนเช่าพื้นที่ 20 ตร.กม. เป็นเวลา 99 ปี ที่บ่อเต็นจึงดูราวกับดินแดนจีน โทรศัพท์มือถือมีข้อความยินดีต้อนรับสู่ประเทศจีน ทั้งที่ยืนอยู่ในเขตลาว ขณะดีแทคส่งข้อความอวยพรให้เที่ยวสนุกและแจ้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินมาให้ ที่นี่มีคาสิโนที่เพิ่งสร้างเสร็จใหญ่โตหรูหราคอยต้อนรับนักท่องเที่ยว มีร้านค้า อาคารแบบจีนสมัยใหม่ มีซูเปอร์มาเก็ตขายสินค้าจีนรับเงินกีบ หยวน และเงินบาท บรรยากาศ กลิ่น และการขับรถของผู้คนล้วนเป็นจีนทั้งสิ้น

 

เช้าจรดเย็นของวันนี้ดูราวกับเหยียบไปถึงสามแผ่นดิน ถนนสายนี้จะนำพาสิ่งใดมาถึงบ้านเราบ้างก็ต้องรอวันที่สะพานสร้างเสร็จ

 

มาดูรูปกันค่ะ

9_6_01
แม่โขงมหานที


9_6_02
บ้านห้วยทรายฝั่งตรงข้าม อ.เชียงของ


9_6_03
สต๊อคเบียร์ลาว


9_6_04
ร้านกาแฟที่ห้วยทราย


9_6_05
คนลาวใช้จานดาวเทียมเยอะมาก

 

9_6_06
เส้นทาง R3a


9_6_07
กำลังมุ่งหน้าไปหลวงน้ำทา


9_6_08
เขตจีนที่บ่อเต็น หน้าคาสิโน


9_6_09
คาสิโน

 

9_6_10
ขัวน้ำฟ้า ที่พักริมทาง

 

บล็อกของ โอ ไม้จัตวา

โอ ไม้จัตวา
ได้มีโอกาสไปแอ่วเมืองน่านเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นสิบปี ไปคราวนี้คนที่ไปด้วยก็แทบไม่เคยไปเลย มีเราคนเดียวที่มาบ่อยที่สุด กระนั้นก็นับได้ประมาณสี่ครั้ง ความที่เมืองน่านเป็นเมืองที่จะว่าไกลก็ไกล จะว่าไม่ไกลก็ไม่ไกลนัก ขับรถจากเชียงใหม่ 5 ชั่วโมงรวมเวลาพักรถกินกาแฟที่เด่นชัย ขับรถเส้นทางนี้ขอแนะนำร้านกาแฟสดเด่นชัย ตรงริมแม่น้ำ เชิงสะพานทางไปลำปาง กาแฟเค้าดีจริงๆ หรือหากใครดื่มกาแฟไม่ได้ ถ้าได้ผ่านไปที่อ.ร้องกวาง จ.แพร่ แวะตลาดสด มีร้านหนึ่งขายเมี่ยง ใช้อมตอนขับรถง่วง ๆ ได้ผลดี เพราะเมี่ยงเป็นใบชาชนิดหนึ่งมีคาเฟอีนเหมือนกัน เราชอบกินเมี่ยงเพราะไม่ขับปัสสาวะเหมือนกาแฟ  
โอ ไม้จัตวา
  รูปนี้ก็ต้องจับกล้องนิ่ง ๆ เพราะถ่ายท้องฟ้าตอนเย็น
โอ ไม้จัตวา
 คำถามเดิม ถ่ายยังไงให้ดีให้สวย คำตอบแบบกำปั้นทุบกล้องเลยคือ มองให้เห็นความงาม ซึ่งตรงนี้ขอเน้นย้ำว่า “ความงามเป็นเรื่องปัจเจก” เป็นเรื่องของใครของมัน กล้องก็ของเรา เราถ่ายเราก็เอาไปดู และชื่นชมอย่างน้อยก็กับตัวเอง คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างไม่ต้องสนใจ ถ้าเราเห็นว่างาม...ถ่ายเลย
โอ ไม้จัตวา
  หลายคนถามว่าถ่ายรูปอย่างไรให้สวย ช่วยสอนหน่อยได้ไหม ความที่ไม่ได้ร่ำเรียนเรื่องการถ่ายภาพมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทำให้เราสอนเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้เช่นกัน คำตอบที่บอกไปส่วนใหญ่จะบอกแบบโยนกล้องให้แล้วไปหาเอา
โอ ไม้จัตวา
  ไปกินปลาสะแงะมาแล้ว รสชาติและเนื้อคล้าย ๆ กับปลาคังน่ะ ร้านที่ไปกินเป็นร้านอาหารอร่อยด้วยรสมือคนปรุง ชื่อร้านน้องเบส ขอแนะนำ เป็นห้องแถวสองคูหา นอกจากปลาสะแงะที่น่าลิ้มรสแล้ว สิ่งที่พลาดไม่ได้อีกเมนูหนึ่งของร้านนี้คือ เห็ดหอมทอดซีอิ้ว ที่มีน้ำจิ้มสีเขียวสูตรของร้านนี้โดยเฉพาะ อร่อยจริง ๆ
โอ ไม้จัตวา
ภาพจาก www.thailandoutdoor.com ไปปายคราวที่แล้ว ได้ยินชื่อปลาสะแงะในเมนูร้านอาหารร้านอร่อย (ร้านน้องเบส เห็ดหอมทอดอร่อยด้วยน้ำจิ้มสีเขียว) แต่ก็ไม่ได้กิน ถามใครก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นปลาอะไร ดียังไง ทำไมต้องปลาสะแงะ จนกระทั่งมาเจอข้อเขียนของคุณ’รงค์  วงษ์สวรรค์ ที่เคยเขียนไว้ถึงปลาชนิดหนึ่งชื่อปลาไหลหูดำ “ปลาไหลหูดำ  โอว  หี่  เหมา  ปรุงรสน้ำแดงกับเห็ดหอมและผักบุ้ง--เอ้งฉ่าย   ปลานี้อิมพอร์ทเข้ามาจากฮ่องกงราคาแพงและมีกินในฤดูเดือนเท่านั้น แต่บางคนบอกความลับว่า  พรานปลาแถบลุ่มน้ำตาปีภาคใต้นำมาส่งอย่างไม่เปิดเผยเพื่อการผดุงราคาเหนือกว่าปลาอื่น…
โอ ไม้จัตวา
http://blog.palungjit.com/uploads/s/saochiangmai/3152.mp3 เพลงน้องน้อยแพนด้า สำหรับดาวน์โหลดค่ะ แพนด้าไม่ใช่หมี แพนด้าคือแพนด้า
โอ ไม้จัตวา
  ความที่ปายเป็นเมืองโรแมนติก เมืองที่อยู่สบาย ล้อมรอบด้วยภูเขา มีแม่น้ำเล็ก ๆ ไหลผ่าน เหมือนภาพในฝัน ในนิทานยังไงยังงั้น จึงมีผู้คนจำนวนหนึ่งย้ายนิวาสสถานมาอาศัยอยู่ที่ปาย บางคนมานอนอ่านหนังสือ พักผ่อน เช่าบ้านอยู่นาน ๆ เป็นจุดแวะพักในซอกมุมหนึ่งของโลก ก่อนจะออกเดินทางต่อไป  
โอ ไม้จัตวา
ดอกไม้ริมทาง ใครจะนึกบ้างว่าเมืองที่ “อะไรก็ปาย” ในพ.ศ.นี้ เคยเป็นดินแดนสำหรับเนรเทศผู้กระทำความผิดมาก่อน ย้อนหลังไปไกลเจ็ดร้อยกว่าปี เมื่อเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในพ.ศ. 1839 ในสมัยราชวงศ์มังรายปกครองเชียงใหม่นี้ ปายก็เป็นเมืองหน้าด่านเมืองหนึ่งของเชียงใหม่ ในชื่อว่า “เมืองน้อย” ซึ่งปัจจุบันบ้านเมืองน้อย (อยู่ระหว่างปายกับอ.เวียงแหง) เป็นหมู่บ้านของชาวปกากญอ อยู่ต้น ๆ ของแม่น้ำปาย
โอ ไม้จัตวา
  ได้เวลาพารถคันน้อย ๆ ไปออกกำลังกายอีกแล้ว คราวนี้ไปแบบไม่รู้อะไรเลย บ้านวัดจันทร์ ฉันรู้จักในนามป่าสนวัดจันทร์ ความที่ชอบต้นสนสองใบ สามใบ และไม่เคยแยกออกสักทีว่าอย่างไหนสองใบ หรือสามใบ แต่ที่ชอบคือใบฝอย ๆ เวลามองไกล ๆ แล้วดูเป็นฟู่ ๆ สวยดี ใบสนไม่มีน้ำ ยามหน้าแล้งจึงยังเขียวอยู่เนื่องจากมีน้ำมันอยู่ข้างใน
โอ ไม้จัตวา
คนปาย
โอ ไม้จัตวา
ตื่นเช้ามาด้วยอาการแฮ้งค์ดาวแดงอย่างสุดชีวิต ความที่เคมีในร่างการเริ่มปฏิเสธดาวดาวสีแดงดวงนี้ ทำให้ชีวิตฉันง่ายขึ้นเมื่อต้องชะตากับลีโอ จนเพื่อนร่วมทางบอกว่าเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่กินลีโอ