Skip to main content
 

องค์ บรรจุน

 

๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริง


ขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด ไม่ได้คิดจะไปทำบุญทำทานอย่างชาวบ้านเขา นั่งดูชาวพุทธทุกเพศทุกวัยอุ้มลูกจูงหลานเข้าวัด เท่าที่ดูด้วยตาเปล่าประกอบกับพาหนะที่โดยสารมาส่วนใหญ่จะเป็นคนฐานะปานกลางไปจนถึงมีอันจะกินทั้งนั้น นับเป็นที่น่าปลาบปลื้มใจ พุทธศาสนาคงยืนยาวถึง ๕,๐๐๐ ปี ตามพุทธทำนาย

\\/--break--\>

ลานอโศกตรงที่ผมนั่งอยู่นั้นเป็นสี่แยกทางเดินสำหรับคนและรถยนต์ ที่ใช้เดินรถทางเดียว อยู่ตรงเกือบกึ่งกลางของวัด รถยนต์จำนวนมากที่แออัดอยู่เต็มลาดจอดและถนนทุกแยก เป็นภาพสะท้อนว่าน้ำมันราคาถูก คนพอมีพอกินและคนมีอันจะกินมาทำบุญกันมาก รถเก๋งคนละคัน รถตู้บางคันมีแค่ ๓-๔ คน นับไม่ถ้วนว่ามีรถทั้งหมดเท่าไหร่ พื้นที่วัดไม่พอสำหรับรถทั้งหมด ส่งผลให้รถภายในวัดติดอย่างหนัก ส่วนพระอุโบสถ สถานที่ใช้ในการทำบุญมีสาธุชนนั่งเบียดเสียดกันแทบต้องขี่คอ


ญาติโยมคงไม่ได้มีศรัทธาอย่างนี้กับทุกวัด การที่วัดชนะสงครามเกิดปรากฏการณ์อย่างนี้ขึ้น (และเกิดมานานแล้ว) คงเนื่องจากวัดชนะสงครามมีชื่ออยู่ในบรรดา ๙ วัด ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่มาไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล ด้วยความเชื่อว่า "วัดชนะสงคราม" มีชื่อเป็นมงคล ต่างจาก "วัดสังเวช" ที่อยู่ไม่ห่างกัน


ไม่กี่พรรษามานี้พุทธศาสนิกชนผู้มีปัญญา ชี้แนะสังคมให้ใช้วิจารณญาณ เลิกถวายเทียนพรรษา เพราะวัดทั้งหลายมีไฟฟ้าสำหรับพระเณรท่องบ่นตำรากันแล้ว ผู้คนคล้อยตามพากันถวายหลอดไฟ (เช่นเดียวกับเมื่อราว ๑๐ ปีที่แล้ว เมื่อมีผู้ตายแล้วฟื้นรายหนึ่ง อ้างว่าช่วงที่เดินอยู่ในนรกไม่มีน้ำกิน เพราะตอนยังมีชีวิตไม่เคยทำบุญตักบาตรน้ำเปล่า หลังจากนั้นผู้คนทั่วบ้านทั่วเมืองจึงตักบาตรพระสงฆ์ด้วยน้ำเปล่า บางคนใส่ถุงเล็กๆ นั้นพอทน บางคนใส่น้ำโพลาริสขวดขาวขุ่น ๒ ขวดเต็มบาตรพอดี ช่วงนั้นพระสงฆ์องค์เจ้าแบกน้ำเปล่ากลับวัดกันหลังแอ่น แต่ไม่ค่อยมีข้าวฉัน) เมื่อก่อนในหมู่บ้านผมที่ต่างจังหวัด วัดหนึ่งๆ ในแต่ละปีจะมีคนถวายเทียนพรรษากันอย่างมาก ๒-๓ ต้น ตามฐานะ ญาติพี่น้องทั้งตระกูลรวมเงินกัน แต่ในกรุงเทพฯคนมีฐานะถวายกันคนละต้น แต่นั่นยังนับว่าดี เพราะเทียนที่เหลือจากการใช้ทางความหมาย (ไม่ใช่ทางประโยชน์ใช้สอย) มีพ่อค้ามาขอซื้อถึงวัดนำกลับไปหลอมใหม่


ขณะที่หลอดไฟนีออนหลอดหนึ่งใช้กันนานจนลืม ปีนี้หลวงพี่ที่ผมเคารพได้รับประเคนหลอดไฟทั้งหลอดผอม ๒๐ วัตต์ ๔๐ วัตต์ และหลอดตะเกียบ ขนาดสามารถเปลี่ยนแทนหลอดไฟเก่าทั้งกุฏิได้ ๓ รอบ ซึ่งจริงๆ แล้วท่านก็ไม่รู้จะเอาไปให้ใคร เพราะเขาก็มีกันแล้วทั้งนั้น (ต่างจากโยมบางคนเจตนาบรรเจิด นำหลอดไฟไปถวายวัดต่างจังหวัดห่างไกล แต่ลืมดูว่าวัดยังไม่มีไฟฟ้าใช้) เมื่อนั่งพลิกดูหลอดไฟสังฆทานของหลวงพี่ยี่ห้อหนึ่ง มีรายชื่อวัด ๙ วัด นัยว่าจะให้ซื้อทีเดียว ๙ ชุด แล้วไปถวายทั้ง ๙ วัด สะดุดตาตรงที่ระบุว่า "วัดชนะสงคราม ถนนพระอาทิตย์" แสดงว่าคนทำข้อมูลต้องไม่เคยไปวัดชนะสงครามอย่างแน่นอน


กลับมาที่สี่แยกใกล้ลานอโศก รถยนต์ส่วนตัวเนืองแน่นเต็มลานและถนน ประกอบกับ รถของคนมีฐานะบางคันขับรถสวนทาง ไม่เคารพกติกาขับรถทางเดียว ถนนแคบรถหลีกกันไม่ได้ รถหลายคันรีบไปตักตวงกลัวบุญจะหมด รถบางคันได้บุญมาแล้วเกรงจะตกหล่นหายไป บีบแตรไล่รถคันหน้าสนั่นวัด บางคนลงจากรถเดินไปต่อว่ารถที่ย้อนศร ต่างระบายอารมณ์ใส่กัน คงต่างหลงลืมกันไปแล้วว่ามาวัดเพื่ออะไร


หรือต่างก็มาวัดเพื่อถวายหลอดไฟ อย่างโฆษณาในทีวี

 

พุทธพญากรณ์ ๑๖ ประการ ของพระพุทธเจ้าเมื่อสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้ทรงสุบินนิมิตประหลาดถึง ๑๖ ประการ ทรงเกรงว่าอันตรายจะเกิดกับพระองค์ จึงให้พราหมณ์ปุโรหิตทำนาย พราหมณ์ได้พยากรณ์ว่า อันตรายจะเกิดมีแก่พระชนม์ชีพของพระองค์ พระอัครมเหสีและราชสมบัติ และได้ทูลแนะนำให้ฆ่าสัตว์บูชายัญสะเดาะเคราะห์ตามความเชื่อในลัทธิของตน แต่โชคดีที่พระนางมัลลิกาเทวี พระมเหสี ได้แนะนำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลไปทูลถามพระพุทธเจ้าก่อน พระองค์ทรงทำนายว่า ผลของพระสุบินนิมิตจะไม่เกิดแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล แต่จะเกิดขึ้นในอนาคตกาล ถ้าผู้เป็นใหญ่ปกครองบริหารบ้านเมือง ไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ชนทั้งหลายย่อหย่อนในศีลธรรม จิตใจเสื่อมคลายจากกุศล ก็จะเกิดเหตุวิปริตผิดธรรมชาติ บ้านเมืองจะเดือดร้อน แล้วทรงพยากรณ์พระสุบินนิมิตไว้เป็นข้อๆ ในที่นี้จะขอยกมาเฉพาะข้อที่ ๘ ซึ่งดูจะเข้ากับสถานการณ์ที่สุด


ข้อ ๘ ภาพสุบินนิมิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล คือ "ตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมลูกใหญ่ใบหนึ่งตั้งอยู่ที่ประตูเมืองล้อมด้วยตุ่มเป็นอันมาก ชนทุกชั้นเอาหม้อตักน้ำมาจากทุกทิศ เทใส่ลงในตุ่มที่เต็มแล้ว น้ำก็ไหลล้นออกไป คนทั้งหลายก็ยังเทน้ำลงในตุ่มที่เต็มแล้วอยู่เรื่อยๆ ไม่มีใครสนใจในตุ่มที่ว่างเปล่าเลย" สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า


"ในอนาคตกาล โลกจะเสื่อม เมืองเล็กเมืองน้อยจะหมดความหมาย ทรัพย์สำรองของแผ่นดินจะถดถอยมีเหลือเพียงเล็กน้อย ผู้เป็นใหญ่ปกครองบริหารบ้านเมืองจะเกณฑ์ให้ชาวเมืองแสวงหาทรัพย์มาส่งให้กับผู้ปกครองเมืองใหญ่ๆ จนไม่มีใครสามารถที่จะสำรองทรัพย์ไว้ในบ้านเรือนของตน เป็นเหมือนกับการเติมน้ำใส่ตุ่มที่เต็มแล้ว ไม่เหลียวแลตุ่มเปล่าๆ บ้างเลยฉะนั้น"

 

 

 

ธรรมะบนลานอโศกที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้นึกถึงวัดต่างจังหวัดห่างไกล ไม่นับรวมถึงโรงเรียนด้อยโอกาสทุรกันดาร คนไข้อนาถาในโรงพยาบาล มีให้สร้างบุญสร้างกุศลได้อีกมาก อย่ายื้อแย่งกันทำบุญที่วัดชนะสงครามเลย มาทำบุญที่วัดชนะสงครามแล้ว ใช่ว่าทุกคนจะสอบติดมหาวิทยาลัย ได้รับการเลือกตั้ง ชนะคดีความ หรือสมหวังกลับไปทุกคนเสียเมื่อไหร่ ดูอย่างกกต.ชุดก่อนนั่นเป็นตัวอย่าง มาไหว้พระทำพิธีที่วัดชนะสงครามตอนเย็น รุ่งขึ้นเข้าคุก

 

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…