Skip to main content
 

องค์ บรรจุน

 

๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริง


ขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด ไม่ได้คิดจะไปทำบุญทำทานอย่างชาวบ้านเขา นั่งดูชาวพุทธทุกเพศทุกวัยอุ้มลูกจูงหลานเข้าวัด เท่าที่ดูด้วยตาเปล่าประกอบกับพาหนะที่โดยสารมาส่วนใหญ่จะเป็นคนฐานะปานกลางไปจนถึงมีอันจะกินทั้งนั้น นับเป็นที่น่าปลาบปลื้มใจ พุทธศาสนาคงยืนยาวถึง ๕,๐๐๐ ปี ตามพุทธทำนาย

\\/--break--\>

ลานอโศกตรงที่ผมนั่งอยู่นั้นเป็นสี่แยกทางเดินสำหรับคนและรถยนต์ ที่ใช้เดินรถทางเดียว อยู่ตรงเกือบกึ่งกลางของวัด รถยนต์จำนวนมากที่แออัดอยู่เต็มลาดจอดและถนนทุกแยก เป็นภาพสะท้อนว่าน้ำมันราคาถูก คนพอมีพอกินและคนมีอันจะกินมาทำบุญกันมาก รถเก๋งคนละคัน รถตู้บางคันมีแค่ ๓-๔ คน นับไม่ถ้วนว่ามีรถทั้งหมดเท่าไหร่ พื้นที่วัดไม่พอสำหรับรถทั้งหมด ส่งผลให้รถภายในวัดติดอย่างหนัก ส่วนพระอุโบสถ สถานที่ใช้ในการทำบุญมีสาธุชนนั่งเบียดเสียดกันแทบต้องขี่คอ


ญาติโยมคงไม่ได้มีศรัทธาอย่างนี้กับทุกวัด การที่วัดชนะสงครามเกิดปรากฏการณ์อย่างนี้ขึ้น (และเกิดมานานแล้ว) คงเนื่องจากวัดชนะสงครามมีชื่ออยู่ในบรรดา ๙ วัด ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่มาไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล ด้วยความเชื่อว่า "วัดชนะสงคราม" มีชื่อเป็นมงคล ต่างจาก "วัดสังเวช" ที่อยู่ไม่ห่างกัน


ไม่กี่พรรษามานี้พุทธศาสนิกชนผู้มีปัญญา ชี้แนะสังคมให้ใช้วิจารณญาณ เลิกถวายเทียนพรรษา เพราะวัดทั้งหลายมีไฟฟ้าสำหรับพระเณรท่องบ่นตำรากันแล้ว ผู้คนคล้อยตามพากันถวายหลอดไฟ (เช่นเดียวกับเมื่อราว ๑๐ ปีที่แล้ว เมื่อมีผู้ตายแล้วฟื้นรายหนึ่ง อ้างว่าช่วงที่เดินอยู่ในนรกไม่มีน้ำกิน เพราะตอนยังมีชีวิตไม่เคยทำบุญตักบาตรน้ำเปล่า หลังจากนั้นผู้คนทั่วบ้านทั่วเมืองจึงตักบาตรพระสงฆ์ด้วยน้ำเปล่า บางคนใส่ถุงเล็กๆ นั้นพอทน บางคนใส่น้ำโพลาริสขวดขาวขุ่น ๒ ขวดเต็มบาตรพอดี ช่วงนั้นพระสงฆ์องค์เจ้าแบกน้ำเปล่ากลับวัดกันหลังแอ่น แต่ไม่ค่อยมีข้าวฉัน) เมื่อก่อนในหมู่บ้านผมที่ต่างจังหวัด วัดหนึ่งๆ ในแต่ละปีจะมีคนถวายเทียนพรรษากันอย่างมาก ๒-๓ ต้น ตามฐานะ ญาติพี่น้องทั้งตระกูลรวมเงินกัน แต่ในกรุงเทพฯคนมีฐานะถวายกันคนละต้น แต่นั่นยังนับว่าดี เพราะเทียนที่เหลือจากการใช้ทางความหมาย (ไม่ใช่ทางประโยชน์ใช้สอย) มีพ่อค้ามาขอซื้อถึงวัดนำกลับไปหลอมใหม่


ขณะที่หลอดไฟนีออนหลอดหนึ่งใช้กันนานจนลืม ปีนี้หลวงพี่ที่ผมเคารพได้รับประเคนหลอดไฟทั้งหลอดผอม ๒๐ วัตต์ ๔๐ วัตต์ และหลอดตะเกียบ ขนาดสามารถเปลี่ยนแทนหลอดไฟเก่าทั้งกุฏิได้ ๓ รอบ ซึ่งจริงๆ แล้วท่านก็ไม่รู้จะเอาไปให้ใคร เพราะเขาก็มีกันแล้วทั้งนั้น (ต่างจากโยมบางคนเจตนาบรรเจิด นำหลอดไฟไปถวายวัดต่างจังหวัดห่างไกล แต่ลืมดูว่าวัดยังไม่มีไฟฟ้าใช้) เมื่อนั่งพลิกดูหลอดไฟสังฆทานของหลวงพี่ยี่ห้อหนึ่ง มีรายชื่อวัด ๙ วัด นัยว่าจะให้ซื้อทีเดียว ๙ ชุด แล้วไปถวายทั้ง ๙ วัด สะดุดตาตรงที่ระบุว่า "วัดชนะสงคราม ถนนพระอาทิตย์" แสดงว่าคนทำข้อมูลต้องไม่เคยไปวัดชนะสงครามอย่างแน่นอน


กลับมาที่สี่แยกใกล้ลานอโศก รถยนต์ส่วนตัวเนืองแน่นเต็มลานและถนน ประกอบกับ รถของคนมีฐานะบางคันขับรถสวนทาง ไม่เคารพกติกาขับรถทางเดียว ถนนแคบรถหลีกกันไม่ได้ รถหลายคันรีบไปตักตวงกลัวบุญจะหมด รถบางคันได้บุญมาแล้วเกรงจะตกหล่นหายไป บีบแตรไล่รถคันหน้าสนั่นวัด บางคนลงจากรถเดินไปต่อว่ารถที่ย้อนศร ต่างระบายอารมณ์ใส่กัน คงต่างหลงลืมกันไปแล้วว่ามาวัดเพื่ออะไร


หรือต่างก็มาวัดเพื่อถวายหลอดไฟ อย่างโฆษณาในทีวี

 

พุทธพญากรณ์ ๑๖ ประการ ของพระพุทธเจ้าเมื่อสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้ทรงสุบินนิมิตประหลาดถึง ๑๖ ประการ ทรงเกรงว่าอันตรายจะเกิดกับพระองค์ จึงให้พราหมณ์ปุโรหิตทำนาย พราหมณ์ได้พยากรณ์ว่า อันตรายจะเกิดมีแก่พระชนม์ชีพของพระองค์ พระอัครมเหสีและราชสมบัติ และได้ทูลแนะนำให้ฆ่าสัตว์บูชายัญสะเดาะเคราะห์ตามความเชื่อในลัทธิของตน แต่โชคดีที่พระนางมัลลิกาเทวี พระมเหสี ได้แนะนำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลไปทูลถามพระพุทธเจ้าก่อน พระองค์ทรงทำนายว่า ผลของพระสุบินนิมิตจะไม่เกิดแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล แต่จะเกิดขึ้นในอนาคตกาล ถ้าผู้เป็นใหญ่ปกครองบริหารบ้านเมือง ไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ชนทั้งหลายย่อหย่อนในศีลธรรม จิตใจเสื่อมคลายจากกุศล ก็จะเกิดเหตุวิปริตผิดธรรมชาติ บ้านเมืองจะเดือดร้อน แล้วทรงพยากรณ์พระสุบินนิมิตไว้เป็นข้อๆ ในที่นี้จะขอยกมาเฉพาะข้อที่ ๘ ซึ่งดูจะเข้ากับสถานการณ์ที่สุด


ข้อ ๘ ภาพสุบินนิมิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล คือ "ตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมลูกใหญ่ใบหนึ่งตั้งอยู่ที่ประตูเมืองล้อมด้วยตุ่มเป็นอันมาก ชนทุกชั้นเอาหม้อตักน้ำมาจากทุกทิศ เทใส่ลงในตุ่มที่เต็มแล้ว น้ำก็ไหลล้นออกไป คนทั้งหลายก็ยังเทน้ำลงในตุ่มที่เต็มแล้วอยู่เรื่อยๆ ไม่มีใครสนใจในตุ่มที่ว่างเปล่าเลย" สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า


"ในอนาคตกาล โลกจะเสื่อม เมืองเล็กเมืองน้อยจะหมดความหมาย ทรัพย์สำรองของแผ่นดินจะถดถอยมีเหลือเพียงเล็กน้อย ผู้เป็นใหญ่ปกครองบริหารบ้านเมืองจะเกณฑ์ให้ชาวเมืองแสวงหาทรัพย์มาส่งให้กับผู้ปกครองเมืองใหญ่ๆ จนไม่มีใครสามารถที่จะสำรองทรัพย์ไว้ในบ้านเรือนของตน เป็นเหมือนกับการเติมน้ำใส่ตุ่มที่เต็มแล้ว ไม่เหลียวแลตุ่มเปล่าๆ บ้างเลยฉะนั้น"

 

 

 

ธรรมะบนลานอโศกที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้นึกถึงวัดต่างจังหวัดห่างไกล ไม่นับรวมถึงโรงเรียนด้อยโอกาสทุรกันดาร คนไข้อนาถาในโรงพยาบาล มีให้สร้างบุญสร้างกุศลได้อีกมาก อย่ายื้อแย่งกันทำบุญที่วัดชนะสงครามเลย มาทำบุญที่วัดชนะสงครามแล้ว ใช่ว่าทุกคนจะสอบติดมหาวิทยาลัย ได้รับการเลือกตั้ง ชนะคดีความ หรือสมหวังกลับไปทุกคนเสียเมื่อไหร่ ดูอย่างกกต.ชุดก่อนนั่นเป็นตัวอย่าง มาไหว้พระทำพิธีที่วัดชนะสงครามตอนเย็น รุ่งขึ้นเข้าคุก

 

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…