Skip to main content

องค์ บรรจุน

บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.

"ที่ผ่านมา ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองพม่านั้น สังคมไทยมักอาศัยข้อมูลข่าวสารทุติยภูมิ และบทวิเคราะห์ที่มีทัศนะเชิงลบต่อรัฐบาลพม่า แต่จากการที่ไทยมีความจำเป็นต้องพึ่งพาพม่าในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านพลังงาน แรงงาน วัตถุดิบ การค้า ฯลฯ ดังนั้นความสัมพันธ์ในระดับปกติจึงถือเป็นภาวะจำเป็นที่สุด กระนั้น ก็ถือว่ายังเป็นเรื่องยากด้วยมีเงื่อนไขในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่ซับซ้อนเหนือความคาดหมายของรัฐไทย ขณะเดียวกัน รัฐพม่าก็มิได้มองไทยเป็นเพื่อนบ้านที่จริงใจ อันเนื่องจากปัญหาสืบเนื่องจากการเมืองและความมั่นคงของรัฐพม่า ดังนั้นการรับรู้เกี่ยวกับการเมืองพม่าจึงต้องปรับมิติสู่การเข้าถึงข้อมูลปฐมภูมิให้มากขึ้น ข้อเสนอของโครงการวิจัยนี้ จึงต้องการเปิดพื้นที่การรับรู้เกี่ยวกับพม่าในมิติภายในและมิติลึก เพื่อทำความเข้าใจมโนทัศน์ (โครงสร้างทางความคิด) ทางการเมืองของรัฐพม่าที่อยู่ภายใต้กลไกและการควบคุมของรัฐบาลทหาร โดยจะเผยให้เห็นโครงสร้างส่วนบนที่เป็นวัฒนธรรมการเมืองของพม่า ส่วนฐานข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนั้น จะได้แก่ ตัวบทและภาคปฏิบัติ ที่สามารถค้นคว้าได้จากชุดประวัติศาสตร์กองทัพพม่า พื้นที่สื่อทางการของรัฐ และนาฏกรรมทางการเมือง โดยคาดหมายว่าโครงการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับประเทศพม่าอย่างเหมาะสม ทั้งในด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ"

ข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งการที่โครงการดังกล่าวผ่านการอนุมัติ นั่นยอมแสดงว่า จุดยืนของศูนย์พม่าศึกษา ที่ต้องการเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้าน ได้รับการประทับตราจากสกว. แต่ข้อชวนสงสัยก็คือ สกว.ในฐานะหน่วยงานที่ทำการสนับสนุนงบประมาณการวิจัย
"เพื่อเรียนรู้และเข้าใจประเทศเพื่อนบ้าน" ได้อนุมัติโครงการด้วยความเข้าใจ ที่เป็นไปเพื่อการเรียนรู้บนพื้นฐานความเข้าใจหรือไม่ เกรงว่าจะเป็นการเรียนรู้เพื่อ "ล้วงตับ" อย่างที่สกว.ได้แสดงให้เห็นในเวทีนำเสนอความก้าวหน้าและนำเสนอโครงการวิจัยใหม่ ณ ศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อ ๙ กรกฏาคม ที่ผ่านมา

ศูนย์พม่าศึกษา (Myanmar Studies Center) มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก มีเค้าลางเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ เป็นการร่วมคิดร่วมสร้างโดยบุคคล ๒ ท่าน คือ ผศ.อรนุช นิยมธรรม และผศ.วิรัช นิยมธรรม ขณะนั้นรับราชการอยู่ที่สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท (ชื่อในขณะนั้น) มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับพม่า ประเทศเพื่อนบ้านที่แสนห่างเหินและเย็นชาต่อกัน ทั้งสองท่านได้เรียบเรียงพจนานุกรมพม่าขึ้นเป็นครั้งแรกของไทย ต่อมาในปี ๒๕๓๙ ได้รับการติดต่อจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรที่สนใจศึกษาเรื่องพม่า เนื่องจากทราบว่าอาจารย์ทั้งสองท่านมีความสนใจเรื่องพม่าเป็นพื้น เมื่อความสนใจตรงกันอาจารย์ทั้งสองจึงย้ายไปรับราชการที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และก่อตั้งศูนย์พม่าศึกษาขึ้น

กิจกรรมเริ่มแรกของศูนย์ฯคือการเผยแพร่จุลสาร "รู้จักพม่า" ระหว่างที่การดำเนินการยังไม่ก้าวหน้าอย่างที่เป็น ผศ.วิรัช จึงไปใช้ชีวิตอยู่ในพม่าเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ๒ ปี ในปี ๒๕๔๐ จัดนิทรรศการในหัวข้อ "รู้จักพม่า: เพื่อนบ้านของเรา" และร่วมมือกับกรมวิเทศสหการ ในโครงการความร่วมมือทางการศึกษาไทย-พม่า เพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย และผลิตครูภาษาไทยให้กับมหาวิทยาลัยในพม่า ตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ปัจจุบันศูนย์พม่าศึกษาได้ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ เช่น รายการวิทยุ สอนภาษา จัดทำพจนานุกรม แบบเรียน สารานุกรม และศูนย์แปลเอกสารพม่า เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพม่าศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ ซึ่งเริ่มเปิดรับนิสิตตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๔ เป็นต้นมา มี ผศ.วิรัช นิยมธรรม เป็นผู้อำนวยการ และ ผศ.อรนุช นิยมธรรม เป็นหัวหน้าสำนักงาน

เป้าหมายของศูนย์พม่าศึกษา คือ เพื่อศึกษาสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของประเทศพม่า พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศพม่า เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประเทศพม่า จัดประชุมทางวิชาการและการอบรม ประสานความร่วมมือทางการศึกษากับประเทศพม่า

นับได้ว่าศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นสถาบันที่ศึกษาเรื่องพม่าอย่างจริงจังนอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสถาบัน ที่มีข้อมูลองค์ความรู้พม่าศึกษาอยู่มาก คือ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สถาบันพม่าศึกษา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๐ ซึ่งนับได้ว่ามีความเหมาะสมทั้งด้านภูมิศาสตร์และการเชื่อมโยงในความเป็นท้องถิ่น มีเป้าหมายไม่ต่างจากศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวคือ เพื่อทำวิจัยและเปิดหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พม่าศึกษา) โดยเปิดสอนที่วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และที่กรุงเทพฯ เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้เรื่องพม่าและภาษาพม่าอย่างเป็นระบบ

พันธกิจของศูนย์พม่าศึกษาและสถาบันพม่าศึกษานั้น มีความใกล้เคียงกัน ด้วยเห็นว่า "พม่าศึกษา" เป็นเรื่องหนึ่งที่ประเทศไทยในฐานะเพื่อนบ้านที่มีรั้วบ้านติดกัน พรมแดนติดต่อกันถึงราว ๒,๔๐๐ กิโลเมตร ควรจะศึกษาเรียนรู้กันอย่างจริงจัง และต้องเรียนรู้ทุกๆ ด้านเพื่อสานไมตรีความร่วมมือระหว่างกัน จำเป็นที่จะต้องคบหากันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกัน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย

ที่ผ่านมาคงต้องยอมรับว่า ไทยเรารู้จักพม่าน้อยกว่าที่พม่ารู้จักไทย เหตุเพราะพม่าเป็นสังคมที่ค่อนข้างปิด ส่วนไทยเป็นสังคมที่เปิดกว้างกว่า เรื่องราวข่าวสารของไทยจึงเป็นที่รับรู้ของพม่า แต่ไทยเรารับรู้เรื่องราวข่าวสารเกี่ยวกับพม่าน้อยมาก ในยุคข้อมูลข่าวสารที่ทำให้โลกไร้พรมแดนในปัจจุบัน จำเป็นที่ไทยควรทำความรู้จักพม่าให้มากขึ้น ก้าวข้ามอคติและปล่อยวางประวัติศาสตร์บาดแผลในอดีต เปิดใจกว้างเพื่อเรียนรู้พม่า

สกว.ชี้แจงต่อนักวิจัยว่า งานวิจัยที่มีสิทธิได้รับการอุดหนุนทุนวิจัยนั้น จะต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน (USER) ที่ต้องมองเห็นสัมผัสได้ เช่น เรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการทหาร เท่านั้น หากเป็นองค์ความรู้ เพื่อการเรียนรู้และเพื่อความเข้าใจ ไม่ว่าด้านสังคมศาสตร์ อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์นั้น ไม่อยู่ในหมวดงบประมาณที่พึงจะได้รับการอุดหนุน คล้ายกับว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับพม่านั้น มี ผู้ใช้งาน (USER) เพียง ๒ คน คือ พ่อค้า และทหาร ที่ สกว.เลือกเชิญมาแสดงทัศนะและประเมินงานวิจัย

ชวนให้สงสัยว่า เพียงแค่การเริ่มต้นที่จะเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจพม่า ก็แสดงออกอย่างโจ๋งครึ่มแล้วกับความไม่จริงใจ แล้วเราจะหวังให้พม่ามอบความจริงใจตอบแทนอย่างไร ขนาดญี่ปุ่นจะผลิตรถยนต์มาขายให้ประเทศแถบนี้ เขายังทุ่มงบประมาณทำการวิจัยไม่รู้กี่หมื่นกี่พันล้าน ตั้งแต่เรียนรู้สภาพดินฟ้าอากาศ ทัศนคติ นิสัยใจคอ รสนิยม ลัทธิความเชื่อ ศาสนา ฯลฯ กว่าจะเป็นรถยนต์ส่งมาขาย จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ประสาอะไรกับการอยากรู้จักพม่าของไทย ที่ควรสร้างความไว้วางใจ ในการจะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งความร่วมมือที่จะขจัดความหวาดระแวงต่อกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างที่ตัวแทนสกว.ถ่ายทอดนโยบายให้ฟังอย่างตรงไปตรงมาว่า ไม่สนใจเรียนรู้ประวัติศาสตร์ นิสัยใจคอ วัฒนธรรม หรือรสนิยมอะไรทั้งนั้น มุ่งแต่จะ "ล้วงตับ" ประเภท นโยบายต่อชนกลุ่มน้อย ที่ตั้งหน่วยทหาร คลังแสง ขีดความสามารถในการผลิตนิวเคลียร์ หรือแหล่งทรัพยากรที่ไทยจะสูบขึ้นมาใช้ได้ ว่ากันตรงๆ เลยทีเดียว

เคยได้ยินมาว่า หน่วยสืบราชการลับของพม่า อยู่ในระดับต้นๆ ของโลก ล่าสุดเมื่อโครงการขุดอุโมงค์ของพม่าถูกเปิดเผย มีปลายอุโมงค์ที่ขุดจากศูนย์กลางที่เมืองเนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่า เป็นเครือข่ายไยแมงมุม เชื่อมโยงไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อลำเลียงพลและยุทธปัจจัย มีปลายอุโมงค์มาจ่อติดแนวชายแดนไทยถึง ๕ จุด ยิ่งแสดงให้เห็นว่าพม่าไม่เคยไว้ใจไทย และค่อนข้างจะรู้ยุทธศาสตร์ไทยดี ในขณะที่ไทยเราทำกระโตกกระตาก อยากรู้จักพม่าแบบออกนอกหน้า อยากรู้จักพม่า แต่หวังเพียงแค่ขายของ ขุดทอง และสูบก๊าซ สนใจใคร่รู้ข้อมูลทางการทหาร "เพื่อความมั่นคง" ในขณะเดียวกันก็หวาดระแวงพม่าอยู่ตลอดเวลา

คิดหรือว่าพม่ารู้ไม่เท่าทัน กับเพื่อนบ้านอย่างไทยที่เห็นพม่าทุกคนเป็นแรงงานชั้นต่ำ ตัวแพร่เชื้อโรค เป็นผู้ร้ายเผาเมือง จนบัดนี้ผ่านไปกว่า ๒๐๐ ปี เพลิงไฟผลาญกรุงศรีอยุธยาในใจคนไทยยังไม่เคยดับ ถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องคบเพื่อนบ้านอย่างจริงใจ เรียนรู้ซึ่งกันและกันในทุกแง่มุม เพื่อการอยู่ร่วมกันฉันมิตร สร้างสันติภาพให้เกิดระหว่างเพื่อนบ้านใกล้ชิด แล้วค่อยขยายไปสู่สังคมโลก อันเป็นเป้าหมายสูงสุดซึ่งนานาชาติตั้งตารอ

  

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…