Skip to main content

องค์ บรรจุน

 

การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการใช้ภาษาสนองตอบรูปแบบชีวิตปัจจุบันของตน ภาษาจึงเป็นภาพสะท้อนการใช้ชีวิตของมนุษย์ในขณะนั้น


สื่อการเขียนในรูปตัวหนังสือ เป็นการสื่อเพื่อแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารออกไปเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านเข้าใจ ได้รับทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการเหล่านั้น การถ่ายทอดโดยวิธีบอกเล่าปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" อาจทำให้สารตกหล่นคลาดเคลื่อนได้ง่าย ลายลักษณ์อักษร ตัวหนังสือ หรือสื่อแสดงข้อความหรือสารที่แท้จริง คือเครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูดนั่นเอง ในการสื่อสารด้วยสื่ออย่างที่เป็นทางการมีแบบแผนที่ต้องคำนึงถึงคือ ต้องใช้ถ้อยคำสำนวนสุภาพ ชัดเจน รัดกุม และเหมาะสม โดยพิจารณาว่าผู้รับสารสามารถรับสารที่ส่งมาได้มากน้อยเพียงใด ส่วนการสื่อสารด้วยสื่ออย่างไม่เป็นทางการ ในที่นี้จะเรียกว่า “สื่อชาวบ้าน” ที่ไม่ต้องคำนึงถึงถ้อยคำสำนวนที่สุภาพตามหลักการภาษาแบบราชบัณฑิตมากนัก มุ่งเน้นให้ผู้รับสารเข้าใจเจตนาที่แท้จริงอย่างตรงไปตรงมา อันเป็นที่มาของถ้อยคำระคายหูที่ไม่อาจพบได้ใน “สื่อสาธารณะ”


กู-มึง ภาษาในราชสำนักสุโขทัย ปัจจุบันจัดเป็นคำหยาบ ถูกปฏิเสธการมีอยู่และการใช้งานในชีวิตจริง


ด้วยวิธีคิดคล้ายๆ กันนี้ ชาววังจึงคิดชื่อเรียกปลาช่อนเสียใหม่ว่า ปลาหาง เรียกผักบุ้งว่า ผักทอดยอด เรียกปลาสลิดว่า ปลาใบไม้ จนมีคำค่อนขึ้นว่า “ชาววังมันช่างคิด เรียกดอกสลิดว่าดอกขจร ชาวนอกมันยอกย้อน เรียกดอกขจรว่าดอกสลิด” เมื่อคนใหญ่คนโตของบ้านของเมืองเห็นว่าชื่อศัพท์สำเนียงสิ่งใดแปร่งหูตนก็จัดแจงเปลี่ยนเสียโดยไม่คำนึงถึงความหมายและที่มา เช่น เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ยายมอญเป็น วัดอมรทายิการาม เปลี่ยนชื่อบางเหี้ยเป็น คลองด่าน เปลี่ยนชื่อบ้านซำหัวคน เป็นบ้านทรัพย์มงคล ล่าสุดมีนักการเมืองบ้องตื้นเสนอให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน “ภูมิซรอล” ที่กำลังมีปัญหาลุกลามเรื่องเขาพระวิหาร เหตุเพราะบ่งบอกความเป็นเขมร และถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว ต่อไปพสกนิกรชาวไทยจะกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยภาษาอะไร หากรังเกียจที่จะใช้ภาษาเขมร...?


นักภาษาไทยเรียกร้องให้คนไทยรักษ์ภาษาไทย “อย่าพูดไทยคำอังกฤษคำ” แต่สามารถพูดไทยคำสันสกฤษคำ ไทยคำบาลีคำ ไทยคำจีนคำ ไทยคำอินโดนีเซียคำ ไทยคำมอญคำ ไทยคำเขมรคำ เพราะคำเหล่านี้ไทยเรา “ยึด” เขามานานจนเป็นภาษาไทยแล้ว (เวลาไปเจอคนลาวพูดคำที่คนไทยเรียกว่าภาษาสุภาพในตลาดสดคนไทยจึงขบขัน ไม่รู้ว่าขันชาวลาว หรือขันคนที่เอาภาษาลาวบ้านๆ มาเป็นคำสุภาพกันแน่)


ภาษาหนังสือราชการที่สละสลวย กระชับ กินความ ทว่าวกไปวนมาตีความไม่ออก ชาวบ้านเซ็นชื่อไปทั้งไม่เข้าใจ มารู้ตัวอีกทีก็ถูกยึดบ้านยึดนาหนี้สินท่วมหัว หากเป็นเช่นนั้นเราลองพิจารณา “ภาษาชาวบ้าน” สื่อที่เหมาะกับชาวบ้าน มีความตรงไปตรงมา ชัดเจนได้ใจความ เพียงแต่อาจบาดใจคนที่อ่อนไหวบอบบางด้วยถ้อยคำทิ่มแทง ขอย้ำว่า เป็นสื่อชาวบ้านถึงชาวบ้านเท่านั้น มิใช่คนเมืองที่ใช้สื่อชาวบ้านอย่างขาดความเข้าใจ

 


ร้านอาหารแนวสุขภาพย่านบางลำพู อยู่ตรงป้ายรถเมล์พอดี ช่องประตูมีกรุ่นแอร์เย็นๆ โชยออกมาตลอดเวลา จึงต้องเขียนสื่ออย่างสุภาพว่า “ขอความกรุณาอย่ายืนขวางทางเข้า”

 


ร้านบะหมี่หมูแดงย่านเทเวศน์ คงชอบใจ
เฉพาะลูกค้าที่มานั่งกินในร้าน คนซื้อกลับบ้านที่มานั่งรอในร้านทำลายโอกาสทางการค้า “ซื้อกลับบ้านกรุณารอหน้าร้าน” ต่อด้วย “ขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ”



ร้านเครื่องปั้นดินเผาย่านเตาปูนบอกว่า “ของทุกอย่างห้ามต่อ ขายถูกแล้ว”

 


แผงผลไม้ตรงข้ามตลาดสดเทเวศน์ คงเหลือทนกับพวกชิมแล้วไม่ซื้อ หรือซื้อครึ่งโลแต่ชิมเกือบโล
“เงาะ มังคุด ลำใย ห้ามชิม งดชิม” ตบท้ายด้วยข้อความ “โปรดอ่าน”

 


วัดธรรมาภิรตารามย่านบางซื่อ คงจะทำนอง “โดนมาเย๊อะ เจ็บมาเย๊อะ” เลยต้องมีสื่อเพื่อเตือนสติญาติโยม “เศรษฐกิจก็ไม่ดี ระวังคนร้าย คนชั่ว คนมิจฉาชีพต้ม
-ตุ๋น หลอกลวงมาหลายรูปแบบ
ระวัง อย่าเผลอฯ”

 


ที่โรงพยาบาลศิริราช คาดว่าลูกค้าและปวงชนชาวไทยที่ไปร่วมลงนามถวายพระพรคงมีจำนวนมาก สื่อที่แขวนไว้ในห้องน้ำจึงต้องบอกว่า “คนขี้อย่าใจลอย คนคอยใจจะขาด”

 


ทางเท้าย่านปิ่นเกล้า ออกแนวประชดประชัน “ต้นไม้นะ ไม่ใช่ถังขยะ” แต่จะได้ผลหรือเปล่าดูได้จากภาพ

 


ภาพสุดท้ายหน้าตลาดบางลำพู อาศัยกระแสโลกร้อน ประกอบกับตัวเองก็ร้อน บรรดาแม่ค้าเลยช่วยกันเขียนป้ายตั้งไว้ “ดับเครื่องด้วยช่วยโลกร้อน”

 

ในอีกแง่มุมหนึ่ง ความหมายของสื่อที่ปรากฏอย่างตรงไปตรงมาในรูปของ “สื่อชาวบ้าน” นั้นอาจเกิดจากความเหลืออดเหลือทน เข้าทำนองว่า “พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง” นัยว่าก่อนหน้านี้ก็ได้ใช้ความพยายามอย่างอื่น จนเมื่อต้องขึ้นป้ายอาจเริ่มจากภาษาสละสลวยแล้ว แต่คนทั่วไปมักไม่สนใจอ่าน หรืออ่านแต่ไม่ให้ความสำคัญ เช่น ป้ายข้างทางก่อนหน้านั้นอาจเขียนว่า “กรุณาอย่าทิ้งขยะลงในกระถางต้นไม้ ขอบคุณค่ะ” แต่ก็ยังมีคนทิ้งอยู่เรื่อยๆ เจ้าของก็เลยจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อความบนป้ายใหม่เป็น “ต้นไม้นะ ไม่ใช่ถังขยะ” ในบางแห่งที่เคยเห็นยังมีการวงเล็บต่อไว้ด้วยว่า “ภาษาคน” เพราะต้องการประชดประชันคนที่ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีความรับผิดชอบ แต่ที่สุดแล้วในหลายครั้งหลายหน การประชดประชัดนั้นก็ไม่ได้ผล รังแต่จะถูกประชดกลับซึ่งหนักกว่าเดิม นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าทุกวันนี้อุณหภูมิในความคิดของคนไทยสูงขึ้นทุกที ทุกวันนี้คนเราสื่อสารผ่านดวงตาและดวงใจน้อยลงกันแล้วหรืออย่างไร

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…