Skip to main content

องค์ บรรจุน

 

การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการใช้ภาษาสนองตอบรูปแบบชีวิตปัจจุบันของตน ภาษาจึงเป็นภาพสะท้อนการใช้ชีวิตของมนุษย์ในขณะนั้น


สื่อการเขียนในรูปตัวหนังสือ เป็นการสื่อเพื่อแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารออกไปเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านเข้าใจ ได้รับทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการเหล่านั้น การถ่ายทอดโดยวิธีบอกเล่าปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" อาจทำให้สารตกหล่นคลาดเคลื่อนได้ง่าย ลายลักษณ์อักษร ตัวหนังสือ หรือสื่อแสดงข้อความหรือสารที่แท้จริง คือเครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูดนั่นเอง ในการสื่อสารด้วยสื่ออย่างที่เป็นทางการมีแบบแผนที่ต้องคำนึงถึงคือ ต้องใช้ถ้อยคำสำนวนสุภาพ ชัดเจน รัดกุม และเหมาะสม โดยพิจารณาว่าผู้รับสารสามารถรับสารที่ส่งมาได้มากน้อยเพียงใด ส่วนการสื่อสารด้วยสื่ออย่างไม่เป็นทางการ ในที่นี้จะเรียกว่า “สื่อชาวบ้าน” ที่ไม่ต้องคำนึงถึงถ้อยคำสำนวนที่สุภาพตามหลักการภาษาแบบราชบัณฑิตมากนัก มุ่งเน้นให้ผู้รับสารเข้าใจเจตนาที่แท้จริงอย่างตรงไปตรงมา อันเป็นที่มาของถ้อยคำระคายหูที่ไม่อาจพบได้ใน “สื่อสาธารณะ”


กู-มึง ภาษาในราชสำนักสุโขทัย ปัจจุบันจัดเป็นคำหยาบ ถูกปฏิเสธการมีอยู่และการใช้งานในชีวิตจริง


ด้วยวิธีคิดคล้ายๆ กันนี้ ชาววังจึงคิดชื่อเรียกปลาช่อนเสียใหม่ว่า ปลาหาง เรียกผักบุ้งว่า ผักทอดยอด เรียกปลาสลิดว่า ปลาใบไม้ จนมีคำค่อนขึ้นว่า “ชาววังมันช่างคิด เรียกดอกสลิดว่าดอกขจร ชาวนอกมันยอกย้อน เรียกดอกขจรว่าดอกสลิด” เมื่อคนใหญ่คนโตของบ้านของเมืองเห็นว่าชื่อศัพท์สำเนียงสิ่งใดแปร่งหูตนก็จัดแจงเปลี่ยนเสียโดยไม่คำนึงถึงความหมายและที่มา เช่น เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ยายมอญเป็น วัดอมรทายิการาม เปลี่ยนชื่อบางเหี้ยเป็น คลองด่าน เปลี่ยนชื่อบ้านซำหัวคน เป็นบ้านทรัพย์มงคล ล่าสุดมีนักการเมืองบ้องตื้นเสนอให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน “ภูมิซรอล” ที่กำลังมีปัญหาลุกลามเรื่องเขาพระวิหาร เหตุเพราะบ่งบอกความเป็นเขมร และถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว ต่อไปพสกนิกรชาวไทยจะกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยภาษาอะไร หากรังเกียจที่จะใช้ภาษาเขมร...?


นักภาษาไทยเรียกร้องให้คนไทยรักษ์ภาษาไทย “อย่าพูดไทยคำอังกฤษคำ” แต่สามารถพูดไทยคำสันสกฤษคำ ไทยคำบาลีคำ ไทยคำจีนคำ ไทยคำอินโดนีเซียคำ ไทยคำมอญคำ ไทยคำเขมรคำ เพราะคำเหล่านี้ไทยเรา “ยึด” เขามานานจนเป็นภาษาไทยแล้ว (เวลาไปเจอคนลาวพูดคำที่คนไทยเรียกว่าภาษาสุภาพในตลาดสดคนไทยจึงขบขัน ไม่รู้ว่าขันชาวลาว หรือขันคนที่เอาภาษาลาวบ้านๆ มาเป็นคำสุภาพกันแน่)


ภาษาหนังสือราชการที่สละสลวย กระชับ กินความ ทว่าวกไปวนมาตีความไม่ออก ชาวบ้านเซ็นชื่อไปทั้งไม่เข้าใจ มารู้ตัวอีกทีก็ถูกยึดบ้านยึดนาหนี้สินท่วมหัว หากเป็นเช่นนั้นเราลองพิจารณา “ภาษาชาวบ้าน” สื่อที่เหมาะกับชาวบ้าน มีความตรงไปตรงมา ชัดเจนได้ใจความ เพียงแต่อาจบาดใจคนที่อ่อนไหวบอบบางด้วยถ้อยคำทิ่มแทง ขอย้ำว่า เป็นสื่อชาวบ้านถึงชาวบ้านเท่านั้น มิใช่คนเมืองที่ใช้สื่อชาวบ้านอย่างขาดความเข้าใจ

 


ร้านอาหารแนวสุขภาพย่านบางลำพู อยู่ตรงป้ายรถเมล์พอดี ช่องประตูมีกรุ่นแอร์เย็นๆ โชยออกมาตลอดเวลา จึงต้องเขียนสื่ออย่างสุภาพว่า “ขอความกรุณาอย่ายืนขวางทางเข้า”

 


ร้านบะหมี่หมูแดงย่านเทเวศน์ คงชอบใจ
เฉพาะลูกค้าที่มานั่งกินในร้าน คนซื้อกลับบ้านที่มานั่งรอในร้านทำลายโอกาสทางการค้า “ซื้อกลับบ้านกรุณารอหน้าร้าน” ต่อด้วย “ขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ”



ร้านเครื่องปั้นดินเผาย่านเตาปูนบอกว่า “ของทุกอย่างห้ามต่อ ขายถูกแล้ว”

 


แผงผลไม้ตรงข้ามตลาดสดเทเวศน์ คงเหลือทนกับพวกชิมแล้วไม่ซื้อ หรือซื้อครึ่งโลแต่ชิมเกือบโล
“เงาะ มังคุด ลำใย ห้ามชิม งดชิม” ตบท้ายด้วยข้อความ “โปรดอ่าน”

 


วัดธรรมาภิรตารามย่านบางซื่อ คงจะทำนอง “โดนมาเย๊อะ เจ็บมาเย๊อะ” เลยต้องมีสื่อเพื่อเตือนสติญาติโยม “เศรษฐกิจก็ไม่ดี ระวังคนร้าย คนชั่ว คนมิจฉาชีพต้ม
-ตุ๋น หลอกลวงมาหลายรูปแบบ
ระวัง อย่าเผลอฯ”

 


ที่โรงพยาบาลศิริราช คาดว่าลูกค้าและปวงชนชาวไทยที่ไปร่วมลงนามถวายพระพรคงมีจำนวนมาก สื่อที่แขวนไว้ในห้องน้ำจึงต้องบอกว่า “คนขี้อย่าใจลอย คนคอยใจจะขาด”

 


ทางเท้าย่านปิ่นเกล้า ออกแนวประชดประชัน “ต้นไม้นะ ไม่ใช่ถังขยะ” แต่จะได้ผลหรือเปล่าดูได้จากภาพ

 


ภาพสุดท้ายหน้าตลาดบางลำพู อาศัยกระแสโลกร้อน ประกอบกับตัวเองก็ร้อน บรรดาแม่ค้าเลยช่วยกันเขียนป้ายตั้งไว้ “ดับเครื่องด้วยช่วยโลกร้อน”

 

ในอีกแง่มุมหนึ่ง ความหมายของสื่อที่ปรากฏอย่างตรงไปตรงมาในรูปของ “สื่อชาวบ้าน” นั้นอาจเกิดจากความเหลืออดเหลือทน เข้าทำนองว่า “พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง” นัยว่าก่อนหน้านี้ก็ได้ใช้ความพยายามอย่างอื่น จนเมื่อต้องขึ้นป้ายอาจเริ่มจากภาษาสละสลวยแล้ว แต่คนทั่วไปมักไม่สนใจอ่าน หรืออ่านแต่ไม่ให้ความสำคัญ เช่น ป้ายข้างทางก่อนหน้านั้นอาจเขียนว่า “กรุณาอย่าทิ้งขยะลงในกระถางต้นไม้ ขอบคุณค่ะ” แต่ก็ยังมีคนทิ้งอยู่เรื่อยๆ เจ้าของก็เลยจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อความบนป้ายใหม่เป็น “ต้นไม้นะ ไม่ใช่ถังขยะ” ในบางแห่งที่เคยเห็นยังมีการวงเล็บต่อไว้ด้วยว่า “ภาษาคน” เพราะต้องการประชดประชันคนที่ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีความรับผิดชอบ แต่ที่สุดแล้วในหลายครั้งหลายหน การประชดประชัดนั้นก็ไม่ได้ผล รังแต่จะถูกประชดกลับซึ่งหนักกว่าเดิม นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าทุกวันนี้อุณหภูมิในความคิดของคนไทยสูงขึ้นทุกที ทุกวันนี้คนเราสื่อสารผ่านดวงตาและดวงใจน้อยลงกันแล้วหรืออย่างไร

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…