Skip to main content

ผมเป็นคนมหาชัย แม้ว่ามหาชัยเป็นเพียงแค่ชื่อตำบลหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่คนทั่วไปกลับรู้จักคุ้นเคยมากกว่าชื่อจังหวัด เช่นเดียวกับ แม่กลอง ซึ่งเปรียบเหมือนชื่อเล่นที่คนเคยปากมากกว่าชื่อสมุทรสงคราม ทั้งที่เป็นเพียงชื่อตำบลเล็กๆ เท่านั้น ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ชายทะเลอ่าวไทย สมุทรสาครมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านท่าจีน ไม่ต่างจากสมุทรสงครามที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านแม่กลอง

\\/--break--\>
ความที่คนทั้งสองสมุทร (รวมทั้งสมุทรปราการ และจังหวัดชายทะเลอื่นๆ) เป็นจังหวัดชายทะเลจึงมักไม่พ้นถูกคนอื่นเรียกขานว่า “ลูกน้ำเค็ม” แต่แท้จริงแล้วบ้านเราไม่ได้เค็มทั้งปี เพราะหมู่บ้านของเราส่วนใหญ่อยู่ถัดเข้าไปในคลองที่แยกย่อยจากแม่น้ำ บ้านเราจึงเป็น “คนสามน้ำ” มีน้ำขึ้นน้ำลงตามวิถีโคจรของดวงดาว ในช่วงหน้าฝนน้ำจืด หน้าหนาวน้ำกร่อย พอถึงหน้าแล้งน้ำเหนือไหลลงมาน้อย น้ำทะเลหนุนสูง น้ำในคลองบ้านเราก็เค็ม ลักษณะของน้ำและดินแบบนี้เองที่เรียกว่า “ลักจืดลักเค็ม” ปลูกผลไม้ได้รสชาติดี หวานแหลมอมเปรี้ยวนิดๆ อร่อยอย่าบอกใคร ผลไม้ของแม่กลองและมหาชัยจึงเป็นที่นิยมของตลาด นอกจากนี้ยังมีคนทำนาเกลือเหมือนกัน มีชาวประมงมากมาย อาหารทะเลสด ราคาถูก จำนวนมากเหมือนๆ กัน


ดูราวกับว่าแม่กลองและมหาชัย สองจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกันนี้จะมีอะไรๆ เหมือนกันมากมายราวฝาแฝด แต่เอาเข้าจริงแล้วรายละเอียดก็ต่างกัน ของใครของมัน

 


เทศกาลกินปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2521


อันที่จริงผมเป็นคนตำบลบ้านเกาะ บ้านอยู่กลางสวนมะพร้าว อยู่ไม่ไกลเมืองมหาชัยและไม่ห่างเมืองแม่กลอง ทุกวันนี้ผมใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯเป็นหลัก แต่ในวัยเด็กผมซึมซับความเป็นคนเมืองสมุทรเอาไว้เต็มสายเลือด คนแถวนั้นไม่ได้สนใจเขตการปกครองของจังหวัด แต่ละชีวิตรวมกันในสังคมเดียว ตามวิถีคนสามน้ำ กับคนสองฝั่งแม่น้ำ ทว่าหลากหลาย ไทย จีน มอญ ลาว


สมุทรสาครมีชุมชนมอญขนาดใหญ่และติดต่อกับชุมชนมอญสมุทรสงคราม ไปมาหาสู่กันแม้ไม่ใช่ญาติก็ดุจเครือญาติ ยามปกติก็ค้าขายทางเรือ คนมอญแม่กลอง มหาชัย มักนำจาก ฟืน ไปค้าขายถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แถวบ้านมอญสามโคก ปากเกร็ด ชาวมอญเหล่านั้นต้องการจากมุงหลังคา และฟืนเผาโอ่งอ่างกระถางครก เมื่อเครื่องปั้นเหล่านั้นสุกจากเตา ชาวมอญปากเกร็ดสามโคกก็นำลงเรือไปขายยังลุ่มน้ำแม่กลอง ตั้งแต่แม่กลอง บ้านโป่ง โพธาราม ลุ่มน้ำท่าจีน ตั้งแต่มหาชัย นครปฐม สุพรรณบุรี ส่วนลุ่มเจ้าพระยาไล่ขึ้นไปทางอยุธยา ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี เรื่อยขึ้นไปถึงลุ่มน้ำป่าสัก ลพบุรี ต่อด้วยลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำยม นครสวรรค์ และอุทัยธานี ข่าวจึงมักเดินทางถึงกันระหว่างบ้านมอญทุกลุ่มน้ำ เป็นที่รู้กันว่าแล้งหน้าบ้านใดมีงานบุญงานกุศล เฮโลไปช่วยงานกันมิได้ขาด กระทั่งรู้จักมักคุ้น และแต่งงานอยู่กินกันข้ามลุ่มน้ำ


สมัยก่อนพ่อแม่ผมยึดอาชีพค้าขายทางเรือเช่นกัน มาช่วงที่ผมเกิด น้ำในคลองหน้าบ้านเริ่มจืดนานขึ้นในแต่ละปี (จากเดิมที่จืดเพียงปี ๑-๒ เดือน) พ่อแม่เลยหันมาทำสวน ผมจึงเกิดไม่ทันบรรยากาศการค้าทางเรือ ซึ่งในสมุทรสงครามมีคนมอญที่เป็นลูกค้าของพ่อแม่ผมอยู่มาก ทั้งอัมพวา แม่กลอง บางจะเกร็ง คลองสุนัขหอน ตอนเด็กแม่พาผมไปไหว้หลวงพ่อบ้านแหลมทุกปี ไปแต่ละครั้งก็ใช้เวลาเป็นวันๆ เข้าบ้านนั้นออกบ้านนี้ แม่บอกไม่ใช่ญาติก็เหมือนญาติ เพราะค้าขายกันจนสนิทสนม เอาฟืนเอาจากเขาไปก่อน ขายหมดค่อยเอาเงินมาจ่ายเจ้าของทีหลัง


เมื่อบ้านผมหันมาทำสวนผลไม้ เริ่มด้วย พุทรา กล้วย อ้อย ถั่ว และข้าวโพด ต่อมาได้พันธุ์มะพร้าวจากแม่กลอง หันมาทำน้ำตาลจากมะพร้าว เรียกว่า “น้ำตาลปี้บ” ตอนเริ่มต้นใหม่ๆ ยังไม่ชำนาญ อาศัยไปลักจำจากคนทำตาลที่แม่กลอง เครื่องไม้เครื่องมือก็ต้องซื้อหามาจากที่นั่น จำพวก กระทะ โค (ครอบกระทะกันน้ำตาลล้น) เนียน (คล้ายเกรียงแต่ใหญ่กว่า เอาไว้ขูดน้ำตาล) ไม้กระทุ้งน้ำตาล มีดปาดตาล แม้แต่ช่างก่อเตาเคี่ยวตาล ช่างแกะสลักป้ายประทับตราน้ำตาล ก็ต้องไปหาซื้อว่าจ้างที่แม่กลอง เริ่มแรกได้น้ำตาลน้อยก็ซื้อขายกันอยู่แถวมหาชัย ภายหลังมีคนทำน้ำตาลกันมากเข้าก็ต้องไปติดต่อพ่อค้าน้ำตาลจากแม่กลองให้มารับซื้อ เพราะเกินกำลังพ่อค้าแถวมหาชัยที่ยังไม่มีประสบการณ์การค้าน้ำตาล


ขณะที่เป็นนักศึกษาก็ไม่พ้นต้องเกี่ยวข้องกับแม่กลอง ด้วยความที่ต้องการตอบแทนคุณพ่อแม่ที่เติบโตและเล่าเรียนสำเร็จมาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงจากอาชีพปาดตาล เมื่อทำวิทยานิพนธ์สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ จึงทำวิทยานิพนธ์อุปกรณ์ปาดตาล สำรวจพฤติกรรมการใช้งาน ออกแบบ เสร็จแล้วต้องไปจ้างช่างที่แม่กลองตีมีดปาดตาลตามแบบ เอามาประกอบกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ออกแบบไว้ วิทยานิพนธ์ของผมจบลงด้วยดี อุปกรณ์ที่ผมออกแบบไว้ก็จบลงไปด้วยเหมือนกัน ไม่มีใครหยิบขึ้นมาดูและพูดถึงมันอีกเลย


ภายหลังเมื่อลุกขึ้นมาอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมมอญ ทำกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ค้นคว้า เขียนหนังสือ บทความต่างๆ เคยไปคลุกคลีอยู่ที่วัดศรัทธาธรรม วัดมอญที่บางจะเกร็ง ซึ่งหมู่บ้านนี้เป็นบ้านมอญดั้งเดิม ขนาดชื่อบางยังเป็นภาษามอญ ที่แปลว่า ต้นเหงือกปลาหมอ ปัจจุบันบ้านมอญแห่งนี้เหลือความเป็นมอญไม่มาก แต่ก็ยังพอมีคนพูดภาษามอญได้บ้าง มีการรวมกลุ่มแม่บ้านทำขนมกะละแมรามัญ เป็นสินค้าขึ้นชื่อของบ้านนี้ โด่งดังไปทั่ว ซื้อไปฝากใครจะได้รับคำชมทั้งนั้น (ถ้าไม่ชมคราวหน้ายังหวังว่าจะได้กินอยู่อีกหรือ)

 


พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ศิลปะมอญ วัดน่วมกานนท์ จังหวัดสมุทรสาคร


เป็นธรรมดาของคนเรากระมังที่รักบ้านของเรา รักจังหวัดของเรา รักประเทศของเรา เพราะเชื่อว่าดีที่สุดในโลก (ชาตินิยม จังหวัดนิยม ตำบลนิยม) แต่สำหรับผมแล้วกลับรู้สึกว่าบ้านของเรา จังหวัดของเรา “ช่างไม่มีอะไรดี” เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ แม้มหาชัยจะอยู่ชิดติดกรุงเทพฯ จะว่าเจริญก็เจริญ จะว่าบ้านนอกก็บ้านนอกเหลือทน (โทรศัพท์เข้ากทม.ยังต้องกด ๐๒) สถานที่ท่องเที่ยวก็ไม่มีกับเขา เห็นพ่อค้าบางรายเปิดร้านขายของที่ระลึกก็อยู่ได้ไม่นาน รถออกจากกรุงเทพก็ขับฉิวผ่านไป รอว่าอาจจะแวะตอนขากลับ หรือเขาอาจจะซื้อมาจากหัวหิน เมืองเพชร หรือแม่กลองแล้วก็ได้ เขาก็เลยขับรถฉิวเข้ากรุงเทพฯ มหาชัยจึงเป็นได้แค่เมืองผ่านร่ำไป


แม้ผมจะมีประสบการณ์ที่ผูกพันกับแม่กลองอย่างคนคุ้นเคย แต่ผมกลับแอบอิจฉาคนแม่กลองเสมอ อะไรๆ ก็แม่กลอง ทั้งที่หลายๆ อย่างบ้านเราก็มีเหมือนกัน เพียงแค่แม่กลองมีลิ้นจี่รสดี มหาชัยไม่มีก็เท่านั้น น้ำตาลสดที่เขาขายกันทั่วไปต้องโฆษณาว่าน้ำตาลสดแม่กลอง ทำไมไม่บอกว่าน้ำตาลสดมหาชัยบ้าง ทั้งที่รสชาติก็เหมือนกัน ที่สำคัญแม่กลองชอบทำตัวเด่น มีคนแต่งเพลงให้มากมาย เพลงดังๆ ทั้งนั้น


เจื้อยแจ้วแว่วเสียงสำเนียงขับร้อง ดังเพลงมนต์รักแม่กลอง ล่องลอยพริ้วหวานซ่านมา...”เพลง มนต์รักแม่กลอง ของ ศรคีรี ศรีประจวบ


สิ้นแสงดาวดุเหว่าเร่าร้อง จากสุมทุมลุ่มน้ำแม่กลองพี่จำจากน้องคนงาม แว่วหวูดรถไฟพี่แสนอาลัยสมุทรสงคราม คงละเมอเพ้อพร่ำ คิดถึงคนงามที่อยู่แม่กลอง...” เพลง ลาสาวแม่กลอง ของ พนม นพพร


สายชลแม่กลอง เหมือนดังละอองน้ำตก ใสดังกระจก เปรียบดังจิตใจเจ้าของ พี่ลอยรักให้ฝากไปในสายแม่กลอง...” เพลง แม่กลอง ของ สุเทพ วงศ์กำแหง


ด่วนเก้าเก้าแม่กลอง หลงรักน้องสมุทรสาคร สาวไทย สาวหมวย หรือสาวมอญ เออเอ่อเอ๋ย อาวรณ์อยู่ทุกยาม...” เพลง ด่วนแม่กลอง ของ ยอดรัก สลักใจ


เพลงสุดท้ายนี้ดีหน่อยที่ยังเอ่ยถึงสมุทรสาคร และสาวมอญของผมด้วย แต่ผมก็ยังรู้สึกเสียเปรียบอยู่ดี ที่หนุ่มแม่กลองมาจีบสาวมหาชัย ทำไมไม่มีเพลงหนุ่มมหาชัยไปจีบสาวแม่กลองบ้าง แต่เอาเถอะ บางครั้งบางคราวก็ขอแอบภูมิใจกับคนแม่กลองด้วยก็แล้วกัน เพราะแม้ว่าเพลงจะเอ่ยถึงแม่กลอง แต่ผมก็ถือว่าบ้านเราอยู่ใกล้กัน มีลูกค้าของพ่อแม่ และมีคนรู้จักอยู่ที่แม่กลอง ก็เท่ากับว่าเราเป็นเจ้าของเพลงร่วมกัน แต่สำหรับเพลงที่กล่าวถึงมหาชัย เช่น ท่าฉลอม หนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือ สาวมอญคนสวย ขวัญใจบ้านแพ้ว หนุ่มทุ่งกระโจมทอง น้ำตาน้องเพ็ญ จากปากพนังถึงมหาชัย เพลงเหล่านี้เป็นเพลงของคนมหาชัยเท่านั้น...คนแม่กลองไม่เกี่ยว

 

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…