Skip to main content

ผมเป็นคนมหาชัย แม้ว่ามหาชัยเป็นเพียงแค่ชื่อตำบลหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่คนทั่วไปกลับรู้จักคุ้นเคยมากกว่าชื่อจังหวัด เช่นเดียวกับ แม่กลอง ซึ่งเปรียบเหมือนชื่อเล่นที่คนเคยปากมากกว่าชื่อสมุทรสงคราม ทั้งที่เป็นเพียงชื่อตำบลเล็กๆ เท่านั้น ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ชายทะเลอ่าวไทย สมุทรสาครมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านท่าจีน ไม่ต่างจากสมุทรสงครามที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านแม่กลอง

\\/--break--\>
ความที่คนทั้งสองสมุทร (รวมทั้งสมุทรปราการ และจังหวัดชายทะเลอื่นๆ) เป็นจังหวัดชายทะเลจึงมักไม่พ้นถูกคนอื่นเรียกขานว่า “ลูกน้ำเค็ม” แต่แท้จริงแล้วบ้านเราไม่ได้เค็มทั้งปี เพราะหมู่บ้านของเราส่วนใหญ่อยู่ถัดเข้าไปในคลองที่แยกย่อยจากแม่น้ำ บ้านเราจึงเป็น “คนสามน้ำ” มีน้ำขึ้นน้ำลงตามวิถีโคจรของดวงดาว ในช่วงหน้าฝนน้ำจืด หน้าหนาวน้ำกร่อย พอถึงหน้าแล้งน้ำเหนือไหลลงมาน้อย น้ำทะเลหนุนสูง น้ำในคลองบ้านเราก็เค็ม ลักษณะของน้ำและดินแบบนี้เองที่เรียกว่า “ลักจืดลักเค็ม” ปลูกผลไม้ได้รสชาติดี หวานแหลมอมเปรี้ยวนิดๆ อร่อยอย่าบอกใคร ผลไม้ของแม่กลองและมหาชัยจึงเป็นที่นิยมของตลาด นอกจากนี้ยังมีคนทำนาเกลือเหมือนกัน มีชาวประมงมากมาย อาหารทะเลสด ราคาถูก จำนวนมากเหมือนๆ กัน


ดูราวกับว่าแม่กลองและมหาชัย สองจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกันนี้จะมีอะไรๆ เหมือนกันมากมายราวฝาแฝด แต่เอาเข้าจริงแล้วรายละเอียดก็ต่างกัน ของใครของมัน

 


เทศกาลกินปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2521


อันที่จริงผมเป็นคนตำบลบ้านเกาะ บ้านอยู่กลางสวนมะพร้าว อยู่ไม่ไกลเมืองมหาชัยและไม่ห่างเมืองแม่กลอง ทุกวันนี้ผมใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯเป็นหลัก แต่ในวัยเด็กผมซึมซับความเป็นคนเมืองสมุทรเอาไว้เต็มสายเลือด คนแถวนั้นไม่ได้สนใจเขตการปกครองของจังหวัด แต่ละชีวิตรวมกันในสังคมเดียว ตามวิถีคนสามน้ำ กับคนสองฝั่งแม่น้ำ ทว่าหลากหลาย ไทย จีน มอญ ลาว


สมุทรสาครมีชุมชนมอญขนาดใหญ่และติดต่อกับชุมชนมอญสมุทรสงคราม ไปมาหาสู่กันแม้ไม่ใช่ญาติก็ดุจเครือญาติ ยามปกติก็ค้าขายทางเรือ คนมอญแม่กลอง มหาชัย มักนำจาก ฟืน ไปค้าขายถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แถวบ้านมอญสามโคก ปากเกร็ด ชาวมอญเหล่านั้นต้องการจากมุงหลังคา และฟืนเผาโอ่งอ่างกระถางครก เมื่อเครื่องปั้นเหล่านั้นสุกจากเตา ชาวมอญปากเกร็ดสามโคกก็นำลงเรือไปขายยังลุ่มน้ำแม่กลอง ตั้งแต่แม่กลอง บ้านโป่ง โพธาราม ลุ่มน้ำท่าจีน ตั้งแต่มหาชัย นครปฐม สุพรรณบุรี ส่วนลุ่มเจ้าพระยาไล่ขึ้นไปทางอยุธยา ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี เรื่อยขึ้นไปถึงลุ่มน้ำป่าสัก ลพบุรี ต่อด้วยลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำยม นครสวรรค์ และอุทัยธานี ข่าวจึงมักเดินทางถึงกันระหว่างบ้านมอญทุกลุ่มน้ำ เป็นที่รู้กันว่าแล้งหน้าบ้านใดมีงานบุญงานกุศล เฮโลไปช่วยงานกันมิได้ขาด กระทั่งรู้จักมักคุ้น และแต่งงานอยู่กินกันข้ามลุ่มน้ำ


สมัยก่อนพ่อแม่ผมยึดอาชีพค้าขายทางเรือเช่นกัน มาช่วงที่ผมเกิด น้ำในคลองหน้าบ้านเริ่มจืดนานขึ้นในแต่ละปี (จากเดิมที่จืดเพียงปี ๑-๒ เดือน) พ่อแม่เลยหันมาทำสวน ผมจึงเกิดไม่ทันบรรยากาศการค้าทางเรือ ซึ่งในสมุทรสงครามมีคนมอญที่เป็นลูกค้าของพ่อแม่ผมอยู่มาก ทั้งอัมพวา แม่กลอง บางจะเกร็ง คลองสุนัขหอน ตอนเด็กแม่พาผมไปไหว้หลวงพ่อบ้านแหลมทุกปี ไปแต่ละครั้งก็ใช้เวลาเป็นวันๆ เข้าบ้านนั้นออกบ้านนี้ แม่บอกไม่ใช่ญาติก็เหมือนญาติ เพราะค้าขายกันจนสนิทสนม เอาฟืนเอาจากเขาไปก่อน ขายหมดค่อยเอาเงินมาจ่ายเจ้าของทีหลัง


เมื่อบ้านผมหันมาทำสวนผลไม้ เริ่มด้วย พุทรา กล้วย อ้อย ถั่ว และข้าวโพด ต่อมาได้พันธุ์มะพร้าวจากแม่กลอง หันมาทำน้ำตาลจากมะพร้าว เรียกว่า “น้ำตาลปี้บ” ตอนเริ่มต้นใหม่ๆ ยังไม่ชำนาญ อาศัยไปลักจำจากคนทำตาลที่แม่กลอง เครื่องไม้เครื่องมือก็ต้องซื้อหามาจากที่นั่น จำพวก กระทะ โค (ครอบกระทะกันน้ำตาลล้น) เนียน (คล้ายเกรียงแต่ใหญ่กว่า เอาไว้ขูดน้ำตาล) ไม้กระทุ้งน้ำตาล มีดปาดตาล แม้แต่ช่างก่อเตาเคี่ยวตาล ช่างแกะสลักป้ายประทับตราน้ำตาล ก็ต้องไปหาซื้อว่าจ้างที่แม่กลอง เริ่มแรกได้น้ำตาลน้อยก็ซื้อขายกันอยู่แถวมหาชัย ภายหลังมีคนทำน้ำตาลกันมากเข้าก็ต้องไปติดต่อพ่อค้าน้ำตาลจากแม่กลองให้มารับซื้อ เพราะเกินกำลังพ่อค้าแถวมหาชัยที่ยังไม่มีประสบการณ์การค้าน้ำตาล


ขณะที่เป็นนักศึกษาก็ไม่พ้นต้องเกี่ยวข้องกับแม่กลอง ด้วยความที่ต้องการตอบแทนคุณพ่อแม่ที่เติบโตและเล่าเรียนสำเร็จมาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงจากอาชีพปาดตาล เมื่อทำวิทยานิพนธ์สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ จึงทำวิทยานิพนธ์อุปกรณ์ปาดตาล สำรวจพฤติกรรมการใช้งาน ออกแบบ เสร็จแล้วต้องไปจ้างช่างที่แม่กลองตีมีดปาดตาลตามแบบ เอามาประกอบกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ออกแบบไว้ วิทยานิพนธ์ของผมจบลงด้วยดี อุปกรณ์ที่ผมออกแบบไว้ก็จบลงไปด้วยเหมือนกัน ไม่มีใครหยิบขึ้นมาดูและพูดถึงมันอีกเลย


ภายหลังเมื่อลุกขึ้นมาอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมมอญ ทำกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ค้นคว้า เขียนหนังสือ บทความต่างๆ เคยไปคลุกคลีอยู่ที่วัดศรัทธาธรรม วัดมอญที่บางจะเกร็ง ซึ่งหมู่บ้านนี้เป็นบ้านมอญดั้งเดิม ขนาดชื่อบางยังเป็นภาษามอญ ที่แปลว่า ต้นเหงือกปลาหมอ ปัจจุบันบ้านมอญแห่งนี้เหลือความเป็นมอญไม่มาก แต่ก็ยังพอมีคนพูดภาษามอญได้บ้าง มีการรวมกลุ่มแม่บ้านทำขนมกะละแมรามัญ เป็นสินค้าขึ้นชื่อของบ้านนี้ โด่งดังไปทั่ว ซื้อไปฝากใครจะได้รับคำชมทั้งนั้น (ถ้าไม่ชมคราวหน้ายังหวังว่าจะได้กินอยู่อีกหรือ)

 


พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ศิลปะมอญ วัดน่วมกานนท์ จังหวัดสมุทรสาคร


เป็นธรรมดาของคนเรากระมังที่รักบ้านของเรา รักจังหวัดของเรา รักประเทศของเรา เพราะเชื่อว่าดีที่สุดในโลก (ชาตินิยม จังหวัดนิยม ตำบลนิยม) แต่สำหรับผมแล้วกลับรู้สึกว่าบ้านของเรา จังหวัดของเรา “ช่างไม่มีอะไรดี” เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ แม้มหาชัยจะอยู่ชิดติดกรุงเทพฯ จะว่าเจริญก็เจริญ จะว่าบ้านนอกก็บ้านนอกเหลือทน (โทรศัพท์เข้ากทม.ยังต้องกด ๐๒) สถานที่ท่องเที่ยวก็ไม่มีกับเขา เห็นพ่อค้าบางรายเปิดร้านขายของที่ระลึกก็อยู่ได้ไม่นาน รถออกจากกรุงเทพก็ขับฉิวผ่านไป รอว่าอาจจะแวะตอนขากลับ หรือเขาอาจจะซื้อมาจากหัวหิน เมืองเพชร หรือแม่กลองแล้วก็ได้ เขาก็เลยขับรถฉิวเข้ากรุงเทพฯ มหาชัยจึงเป็นได้แค่เมืองผ่านร่ำไป


แม้ผมจะมีประสบการณ์ที่ผูกพันกับแม่กลองอย่างคนคุ้นเคย แต่ผมกลับแอบอิจฉาคนแม่กลองเสมอ อะไรๆ ก็แม่กลอง ทั้งที่หลายๆ อย่างบ้านเราก็มีเหมือนกัน เพียงแค่แม่กลองมีลิ้นจี่รสดี มหาชัยไม่มีก็เท่านั้น น้ำตาลสดที่เขาขายกันทั่วไปต้องโฆษณาว่าน้ำตาลสดแม่กลอง ทำไมไม่บอกว่าน้ำตาลสดมหาชัยบ้าง ทั้งที่รสชาติก็เหมือนกัน ที่สำคัญแม่กลองชอบทำตัวเด่น มีคนแต่งเพลงให้มากมาย เพลงดังๆ ทั้งนั้น


เจื้อยแจ้วแว่วเสียงสำเนียงขับร้อง ดังเพลงมนต์รักแม่กลอง ล่องลอยพริ้วหวานซ่านมา...”เพลง มนต์รักแม่กลอง ของ ศรคีรี ศรีประจวบ


สิ้นแสงดาวดุเหว่าเร่าร้อง จากสุมทุมลุ่มน้ำแม่กลองพี่จำจากน้องคนงาม แว่วหวูดรถไฟพี่แสนอาลัยสมุทรสงคราม คงละเมอเพ้อพร่ำ คิดถึงคนงามที่อยู่แม่กลอง...” เพลง ลาสาวแม่กลอง ของ พนม นพพร


สายชลแม่กลอง เหมือนดังละอองน้ำตก ใสดังกระจก เปรียบดังจิตใจเจ้าของ พี่ลอยรักให้ฝากไปในสายแม่กลอง...” เพลง แม่กลอง ของ สุเทพ วงศ์กำแหง


ด่วนเก้าเก้าแม่กลอง หลงรักน้องสมุทรสาคร สาวไทย สาวหมวย หรือสาวมอญ เออเอ่อเอ๋ย อาวรณ์อยู่ทุกยาม...” เพลง ด่วนแม่กลอง ของ ยอดรัก สลักใจ


เพลงสุดท้ายนี้ดีหน่อยที่ยังเอ่ยถึงสมุทรสาคร และสาวมอญของผมด้วย แต่ผมก็ยังรู้สึกเสียเปรียบอยู่ดี ที่หนุ่มแม่กลองมาจีบสาวมหาชัย ทำไมไม่มีเพลงหนุ่มมหาชัยไปจีบสาวแม่กลองบ้าง แต่เอาเถอะ บางครั้งบางคราวก็ขอแอบภูมิใจกับคนแม่กลองด้วยก็แล้วกัน เพราะแม้ว่าเพลงจะเอ่ยถึงแม่กลอง แต่ผมก็ถือว่าบ้านเราอยู่ใกล้กัน มีลูกค้าของพ่อแม่ และมีคนรู้จักอยู่ที่แม่กลอง ก็เท่ากับว่าเราเป็นเจ้าของเพลงร่วมกัน แต่สำหรับเพลงที่กล่าวถึงมหาชัย เช่น ท่าฉลอม หนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือ สาวมอญคนสวย ขวัญใจบ้านแพ้ว หนุ่มทุ่งกระโจมทอง น้ำตาน้องเพ็ญ จากปากพนังถึงมหาชัย เพลงเหล่านี้เป็นเพลงของคนมหาชัยเท่านั้น...คนแม่กลองไม่เกี่ยว

 

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…