Skip to main content

ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ

\\/--break--\>
ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับพม่า แต่คนไทยรู้จักพม่าแค่เพียงความทรงจำในอดีต ในฐานะผู้ร้ายที่เคยเผาบ้านเผาเมืองเมื่อสองร้อยปีก่อน ขณะที่เราเอ็นดูลาวด้วยเป็นบ้านพี่เมืองน้อง แต่ลาวก็ไม่อยากเป็นน้อง ขออยู่ในฐานะเสมอกัน เพราะลึกๆ แล้วลาวก็น่าจะชังไทยเหมือนกับที่ไทยชังพม่า หากใช้เหตุผลเดียวกัน คือ คนไทยเคยเผาบ้านเมืองลาวเอาไว้เมื่อสองร้อยปีก่อน


ไม่ว่าไทยกับพม่าจะรักหรือชังกันเพียงใด แต่ในฐานะปุถุชน เราควรทำความเข้าใจมากขึ้นตามรอบวงที่โลกได้หมุนเวียนไป ด้วยสงครามในอดีตนั้นเป็นสงครามกษัตริย์ ที่มุ่งรบกันเพื่อศักดิ์ศรี มิใช่สงครามระหว่างรัฐ อย่างน้อยในฐานะมนุษย์ก็ควรเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อประชาชนชาวพม่า อย่างคนที่มีลมหายใจ ดิ้นรนลี้ภัยสงคราม และขาดไร้โอกาสในชีวิต


คนไทยคุ้นเคยกับชื่อ “พม่า” (พรหม / Brahma) ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนเป็น “เบอร์มาร์” (Burma) ตามคำเรียกของอังกฤษเจ้าอาณานิคม และเปลี่ยนเป็น “เมียนมาร์” (Myanmar) เมื่อปี ๒๕๓๒ ภายหลังได้เอกราชอีกครั้ง


พม่ามีภาพลักษณ์ในการใช้กำลังต่อประชาชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และที่แตกต่างทางความคิดเห็นในประเทศของตนตลอดเวลา การย้ายเมืองหลวงหลายต่อหลายหน มีทั้งที่เป็นไปด้วยสัญชาติญาณการเอาตัวรอด การแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ ชัยภูมิได้เปรียบทางกองทัพ หรือเพราะเชื่อถือโชคลาง เราอาจเข้าใจความคิดแบบกษัตริย์ (และผู้นำ) พม่า จากเหตุผลของการย้ายเมืองหลวงในหลายๆ ครั้งนี้ก็เป็นได้ แม้ในทุกครั้งประชาชนพม่าไม่เคยมีส่วนร่วมในการรู้เห็น


การย้ายเมืองหลวงของพม่าครั้งล่าสุดคือเมื่อธันวาคม ๒๕๔๘ จากย่างกุ้งไปยังเมืองเนปิดอว์ ใจกลางของประเทศ ไกลจากเมืองหลวงเดิมประมาณ ๔๐๐ กม. และหากนับการเริ่มต้นการอพยพในประวัติศาสตร์พม่า จากตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเข้ามายังพม่าตอนบน ตั้งอาณาจักรพุกามขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธา ใน พ.. ๑๕๘๗ ถือเป็นการอพยพเพื่อสร้างเมืองหลวงครั้งแรก


การย้ายเมืองแต่ละครั้งในที่นี้นั่นไม่ได้หมายรวมเฉพาะที่ขุดรากถอนโคน ตอกเสาเข็มก่ออิฐฉาบกำแพงกันใหม่เท่านั้น เพราะเพียงแต่มีสิ่งบอกเหตุ ผู้นำพม่าก็พร้อมจะย้ายที่กิน ที่นอน ที่ว่าราชการเพื่อเอาเคล็ด ในแต่ละครั้งอาจกินเวลาแรมเดือนกระทั่งนานหลายปี


ครั้งที่สอง ภายหลังพุกามของพม่าตกเป็นของไทใหญ่ พ.. ๑๘๔๑ พระเจ้าธิหะสู หรือสีหสู กษัตริย์ไทใหญ่สั่งให้เผาพุกามทิ้ง ย้ายมาสร้าง “เมืองพินยา” ขึ้นใหม่เมื่อ พ.. ๑๘๔๒


ครั้งที่สาม เกิดขึ้นเมื่อ พ.. ๑๙๐๗ ชื่อว่า “กรุงอังวะ” (กรุงรัตนบุระอังวะ) พระเจ้าธาโดมินพญา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าไทใหญ่ ๓ องค์ ได้สร้างเมืองใหม่แห่งนี้ขึ้น


ครั้งที่สี่ ภายหลังพระเจ้าธาโดมินพญาสวรรคต เกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ พระราชโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าธิหะสู หรือสีหสู ได้มาตั้ง “เมืองสาแกง” (เมืองจักกาย) ในราว พ.. ๑๘๕๓


ครั้งที่ห้า พระเจ้ากาเลกตองนะโย ได้รับการสนับสนุนจากไทใหญ่เมืองอองบาง (สีป่อ) ตั้งเมืองอังวะขึ้นใหม่ ในปี พ.. ๑๙๖๙


ครั้งที่หก พระเจ้ามินกินโย หรือมังกินโย (มหาศิริชัยสุระ) ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอูที่เป็นพม่าองค์แรก เพราะก่อนหน้านี้ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจของไทใหญ่ มอญ และอยุธยา โดยเมืองตองอูเป็นเมืองเก่าและใช้เป็นที่หลบซ่อนของผู้คนเมื่อเมืองพุกามเสียแก่ไทใหญ่เมื่อ พ.. ๑๘๔๑


ครั้งที่เจ็ด พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ (ผู้ชนะสิบทิศ) มีชัยเหนือมอญเมืองหงสาวดี พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ต้องการรวมมอญและพม่าให้เป็นชาติเดียวกัน ไม่ต้องการให้มอญคิดกู้ชาติอีก จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เมื่อ พ.. ๒๐๘๙ จนตลอดรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง


ครั้งที่แปด หลังพระเจ้านันทบุเรง โอรสพระเจ้าบุเรงนอง พ่ายแพ้ พระเจ้าตองอูยึดเมืองหงสาวดีได้ ในปี พ.. ๒๑๔๒ แต่ไม่ได้ปกครองเมืองหงสาวดี กลับไปอยู่ที่เมืองตองอู อาจเป็นด้วยเกรงในอำนาจของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่กำลังยกกองทัพที่มีอานุภาพเข้มแข็งติดตามขึ้นมา


ครั้งที่เก้า หลังสมัยของพระเจ้านันทบุเรง บรรดาเมืองของพม่าล้วนแตกเป็นเสี่ยง ต่างตั้งตนเป็นใหญ่ ต่อมาในสมัยของพระมหาธรรมราชา (พระเจ้าอนันกะเพตลุน) ได้ปราบปรามเมืองต่างๆ ให้อยู่ในอำนาจ และกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองอังวะ


ครั้งที่สิบ ปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา ทรงมีพระสติและความคิดผิดปกติ ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงอังวะมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เมื่อ พ.. ๒๑๕๖ หวังให้เมืองหงสาวดีกลับเจริญรุ่งเรืองดังเดิม


ครั้งที่สิบเอ็ด พระเจ้าธาลุน พระเจ้าอาของพระเจ้ามินเรทิพพา กษัตริย์องค์ก่อน และเป็นพระอนุชาของพระมหาธรรมราชา บิดาของพระเจ้ามินเรทิพพา หลังยึดอำนาจจากพระนัดดาได้แล้ว จึงย้ายไปอยู่ที่กรุงอังวะ ในปี พ.. ๒๑๗๘


ครั้งที่สิบสอง หลังมอญก่อการกบฏ จนราชวงศ์ตองอูสูญสิ้น พระเจ้าอลองพญา (อองไจยะ) ลุกขึ้นกอบกู้เอกราชคืนสำเร็จ สถาปนา “เมืองชเวโบ” ขึ้นเมื่อ พ.. ๒๒๙๕


ครั้งที่สิบสาม พระเจ้าอลองพญาตีเมืองเก่าๆ ของพม่าคืน รุกคืบผนวกเอาหัวเมืองมอญได้แก่ สิเรียม หงสาวดี และตะเกิง (ร่างกุ้ง) ทางใต้สุด เข้าเป็นของพม่า ตั้งแต่ พ.. ๒๒๙๘ ได้บูรณะเมืองตะเกิงขึ้นใหม่พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า “ร่างกุ้ง” แปลว่าสิ้นสุดสงคราม


ครั้งที่สิบสี่ หลังมังลอก (พระเจ้านองดอว์คยี) สิ้นพระชนม์ ขณะนั้น มังหม่อง พระโอรสยังเป็นทารกอยู่ พระเจ้ามังระ (พระเจ้าสินพยูซิน) ซึ่งเป็นพระอนุชามังลอกยึดครองราชบัลลังก์ สั่งการให้มังหม่องบวชตลอดชีวิต จากนั้นจึงได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงอังวะ พ.. ๒๓๐๘


ครั้งที่สิบห้า พระเจ้าโบดอว์พญา (พระเจ้าปดุง) พระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าอลองพญา ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ เมืองอมรปุระ เมื่อ พ.. ๒๓๒๕


ครั้งที่สิบหก ในรัชสมัยพระเจ้ามินดง เริ่มได้รับผลกระทบจากการทำสงครามและการคุกคามจากอังกฤษ จึงย้ายจากเมืองอมรปุระมาอยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ในปี พ.. ๒๔๐๐


ครั้งที่สิบเจ็ด หลังพระเจ้าธีบ่อเสียเอกราชแก่อังกฤษเมื่อปี พ.. ๒๔๒๘ อังกฤษจัดการปกครองพม่าใหม่ให้ขึ้นตรงต่อผู้สำเร็จราชการที่อินเดีย และย้ายเมืองหลวงของพม่ามาอยู่ที่ “มะละแหม่ง” ในเขตมอญ


การย้ายเมืองครั้งล่าสุดของพม่า ครั้งที่ ๑๘ หลังจากอังกฤษและพม่าได้ทำสัญญาลงนามมอบเอกราชเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.. ๒๔๙๐ “พม่าย้ายเมืองหลวงกลับไปที่ “เมืองร่างกุ้ง”ภายหลังการเลือกตั้ง ทหารได้เข้ามาปกครองประเทศ ชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เคยร่วมต่อสู้เพื่อเอกราชสมัยนายพลอองซาน ที่เคยสัญญากันไว้ว่ากลุ่มต่างๆ จะรวมกันอยู่ในสหภาพพม่าเป็นเวลา ๑๐ ปี หลังจากนั้นสามารถแยกตัวเป็นอิสระได้ แต่ภายหลังได้รับเอกราชแล้ว สัญญาดังกล่าวถูกฉีกทิ้งโดยคณะทหารพม่า นับแต่นั้นประชาชนทุกหมู่เหล่าถูกกดขี่ จำกัดสิทธิ และถูกปราบปรามอย่างรุนแรง โดยไม่รับฟังเสียงทักท้วงจากนานาชาติ การปกครองประเทศในระบบสหภาพ ที่ประกอบด้วยรัฐต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยง อาระกัน คะฉิ่น คะยา ฉิ่น ฉาน และมอญ แต่ในความเป็นจริงรัฐเหล่านั้นมีอยู่แต่ในกระดาษ ไม่เคยได้รับการปฏิบัติ


ข่าวลือที่ว่าระบบผังเมืองย่างกุ้งที่อังกฤษเป็นผู้จัดทำไว้ ตกอยู่ในมือของกองทัพสหรัฐ พม่าจึงมีมาตรการป้องกันการโจมตีจากทหารอเมริกัน ด้วยการสร้างอุโมงค์ใต้ดินและขีปนาวุธทั้งหลายขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้ว่ากองทัพพม่าจะพ้นรัศมีการทำลายล้างดังกล่าว


คนที่ไม่มีความรู้ด้านการเมืองอย่างผมเชื่อว่า ประสบการณ์ที่เคยผิดพลาดเมื่อครั้งเหตุการณ์กบฏชนกลุ่มน้อยเมื่อต้นราชวงศ์ตองอู และในอีกหลายครั้ง เพราะพม่าตั้งเมืองหลวงค่อนไปทางเหนือหรือใต้มากเกินไป เมืองหลวงใหม่ที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของประเทศพม่าพอดิบพอดีนี้ สามารถควบคุมดูแลชนกลุ่มน้อยครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสามารถควบคุมสันญาณโทรคมนาคมทั้งในและนอกประเทศได้ดี พร้อมรองรับข้อตกลงทางธุรกิจเซ็นสัญญากับนายกพลัดถิ่นที่พนมเปญเมื่อก่อนหน้านี้


เมื่อทบทวนประวัติศาสตร์พม่าตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันอย่างละเอียดจะพบว่า การย้ายเมืองของพม่าในหลายครั้งอยู่บนความเชื่อส่วนบุคคล ข้อสังเกตจากการที่ผมได้เดินทางไปพม่าเมื่อต้นปี พ.. ๒๕๔๘ พบผู้นำพม่ากำลังประกอบพิธีหลวง ต่อชะตาเมืองอย่างขะมักเขม้นบนลานพระธาตุอินทร์แขวน (พระเจดีย์ไจ้ทีโย)


แขวงเมืองพยีปะนา” ที่ตั้งเมืองหลวงล่าสุดของพม่าในเมืองเนปิดอว์อาจบอกอะไรได้บางอย่าง คนมอญ พม่า ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) และไทใหญ่หลายคนเชื่อว่า เป็นความเชื่อด้านโชคลางของพม่า เพราะเมืองพยีปะนานั้น เป็นเมืองเก่าของมอญ ที่อยู่ตรงแดนกันชนระหว่างเมืองมอญและพม่ามาตั้งแต่สมัยพระเจ้าราชาธิราช มอญเรียกว่า “เมืองเปรียงปะนาน” ซึ่งแปลว่า “ที่เตรียมพล” ก่อนพม่าและมอญจะยกทัพโจมตีกันและกัน พม่าจึงต้องการได้ทั้งชื่อ และชัย (ภูมิ)


มอญเมืองไทยหลายคนเชื่อว่า “เป็นไปตามแหม่งเจ้น” หรือคำพญากรณ์โบราณที่ว่า วันหนึ่งมอญจะได้เมืองคืนโดยไม่เสียเลือดเนื้อ เพราะพม่าทิ้งเมืองตะเกิง (ร่างกุ้ง) ของมอญเอาไว้ให้เฉยๆ (ข้อนี้เห็นทีจะยาก เพราะพม่าเคยพูดใส่หน้าแม่ทัพมอญที่ร้องขอความกรุณามาแล้วว่า แผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาล ไม่ใช่แค่ดงกระเจี๊ยบ จะได้ยกให้กันง่ายๆ)


ในเมื่อรัฐบาลทหารพม่าออกมายืนยันชัดเจนว่า เหตุผลที่ย้ายเมืองหลวงเพราะ ย่างกุ้ง เป็นเมืองท่าที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง สภาพเก่า ผังเมืองคับแคบ ไม่สามารถขยายเมืองออกไปได้ตามการเติบโตของเมืองที่ควรเป็น เราก็คงได้แต่นิ่งฟัง แม้จะรู้ตัวว่าเชื่อยาก การย้ายเมืองของพม่าครั้งนี้ หากไม่นับโชคลาง และตัดทิ้งเรื่องความเกรงกลัวในอำนาจอเมริกันของนายพลตานฉ่วย ด้วยในระยะหลังพม่าก็มีจีนอยู่เคียงข้างเสมอแล้ว เชื่อว่าเหตุผลที่น่าสนใจก็คือ พม่ากำลังเข้าใกล้จุดแตกหักจากพื้นฐานจิตใจอันโหดร้ายที่เคยก่อไว้กับชนกลุ่มน้อยต่างๆ แม้แต่ประชาชนชาวพม่าแท้ของตนเอง ด้วยเชื่อว่า วันเวลาที่ความคับแค้นเหล่านั้นจะประทุออกมาอย่างไม่อาจควบคุมใกล้มาถึงในเร็ววัน

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…