Skip to main content

ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ

\\/--break--\>
ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับพม่า แต่คนไทยรู้จักพม่าแค่เพียงความทรงจำในอดีต ในฐานะผู้ร้ายที่เคยเผาบ้านเผาเมืองเมื่อสองร้อยปีก่อน ขณะที่เราเอ็นดูลาวด้วยเป็นบ้านพี่เมืองน้อง แต่ลาวก็ไม่อยากเป็นน้อง ขออยู่ในฐานะเสมอกัน เพราะลึกๆ แล้วลาวก็น่าจะชังไทยเหมือนกับที่ไทยชังพม่า หากใช้เหตุผลเดียวกัน คือ คนไทยเคยเผาบ้านเมืองลาวเอาไว้เมื่อสองร้อยปีก่อน


ไม่ว่าไทยกับพม่าจะรักหรือชังกันเพียงใด แต่ในฐานะปุถุชน เราควรทำความเข้าใจมากขึ้นตามรอบวงที่โลกได้หมุนเวียนไป ด้วยสงครามในอดีตนั้นเป็นสงครามกษัตริย์ ที่มุ่งรบกันเพื่อศักดิ์ศรี มิใช่สงครามระหว่างรัฐ อย่างน้อยในฐานะมนุษย์ก็ควรเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อประชาชนชาวพม่า อย่างคนที่มีลมหายใจ ดิ้นรนลี้ภัยสงคราม และขาดไร้โอกาสในชีวิต


คนไทยคุ้นเคยกับชื่อ “พม่า” (พรหม / Brahma) ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนเป็น “เบอร์มาร์” (Burma) ตามคำเรียกของอังกฤษเจ้าอาณานิคม และเปลี่ยนเป็น “เมียนมาร์” (Myanmar) เมื่อปี ๒๕๓๒ ภายหลังได้เอกราชอีกครั้ง


พม่ามีภาพลักษณ์ในการใช้กำลังต่อประชาชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และที่แตกต่างทางความคิดเห็นในประเทศของตนตลอดเวลา การย้ายเมืองหลวงหลายต่อหลายหน มีทั้งที่เป็นไปด้วยสัญชาติญาณการเอาตัวรอด การแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ ชัยภูมิได้เปรียบทางกองทัพ หรือเพราะเชื่อถือโชคลาง เราอาจเข้าใจความคิดแบบกษัตริย์ (และผู้นำ) พม่า จากเหตุผลของการย้ายเมืองหลวงในหลายๆ ครั้งนี้ก็เป็นได้ แม้ในทุกครั้งประชาชนพม่าไม่เคยมีส่วนร่วมในการรู้เห็น


การย้ายเมืองหลวงของพม่าครั้งล่าสุดคือเมื่อธันวาคม ๒๕๔๘ จากย่างกุ้งไปยังเมืองเนปิดอว์ ใจกลางของประเทศ ไกลจากเมืองหลวงเดิมประมาณ ๔๐๐ กม. และหากนับการเริ่มต้นการอพยพในประวัติศาสตร์พม่า จากตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเข้ามายังพม่าตอนบน ตั้งอาณาจักรพุกามขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธา ใน พ.. ๑๕๘๗ ถือเป็นการอพยพเพื่อสร้างเมืองหลวงครั้งแรก


การย้ายเมืองแต่ละครั้งในที่นี้นั่นไม่ได้หมายรวมเฉพาะที่ขุดรากถอนโคน ตอกเสาเข็มก่ออิฐฉาบกำแพงกันใหม่เท่านั้น เพราะเพียงแต่มีสิ่งบอกเหตุ ผู้นำพม่าก็พร้อมจะย้ายที่กิน ที่นอน ที่ว่าราชการเพื่อเอาเคล็ด ในแต่ละครั้งอาจกินเวลาแรมเดือนกระทั่งนานหลายปี


ครั้งที่สอง ภายหลังพุกามของพม่าตกเป็นของไทใหญ่ พ.. ๑๘๔๑ พระเจ้าธิหะสู หรือสีหสู กษัตริย์ไทใหญ่สั่งให้เผาพุกามทิ้ง ย้ายมาสร้าง “เมืองพินยา” ขึ้นใหม่เมื่อ พ.. ๑๘๔๒


ครั้งที่สาม เกิดขึ้นเมื่อ พ.. ๑๙๐๗ ชื่อว่า “กรุงอังวะ” (กรุงรัตนบุระอังวะ) พระเจ้าธาโดมินพญา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าไทใหญ่ ๓ องค์ ได้สร้างเมืองใหม่แห่งนี้ขึ้น


ครั้งที่สี่ ภายหลังพระเจ้าธาโดมินพญาสวรรคต เกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ พระราชโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าธิหะสู หรือสีหสู ได้มาตั้ง “เมืองสาแกง” (เมืองจักกาย) ในราว พ.. ๑๘๕๓


ครั้งที่ห้า พระเจ้ากาเลกตองนะโย ได้รับการสนับสนุนจากไทใหญ่เมืองอองบาง (สีป่อ) ตั้งเมืองอังวะขึ้นใหม่ ในปี พ.. ๑๙๖๙


ครั้งที่หก พระเจ้ามินกินโย หรือมังกินโย (มหาศิริชัยสุระ) ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอูที่เป็นพม่าองค์แรก เพราะก่อนหน้านี้ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจของไทใหญ่ มอญ และอยุธยา โดยเมืองตองอูเป็นเมืองเก่าและใช้เป็นที่หลบซ่อนของผู้คนเมื่อเมืองพุกามเสียแก่ไทใหญ่เมื่อ พ.. ๑๘๔๑


ครั้งที่เจ็ด พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ (ผู้ชนะสิบทิศ) มีชัยเหนือมอญเมืองหงสาวดี พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ต้องการรวมมอญและพม่าให้เป็นชาติเดียวกัน ไม่ต้องการให้มอญคิดกู้ชาติอีก จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เมื่อ พ.. ๒๐๘๙ จนตลอดรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง


ครั้งที่แปด หลังพระเจ้านันทบุเรง โอรสพระเจ้าบุเรงนอง พ่ายแพ้ พระเจ้าตองอูยึดเมืองหงสาวดีได้ ในปี พ.. ๒๑๔๒ แต่ไม่ได้ปกครองเมืองหงสาวดี กลับไปอยู่ที่เมืองตองอู อาจเป็นด้วยเกรงในอำนาจของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่กำลังยกกองทัพที่มีอานุภาพเข้มแข็งติดตามขึ้นมา


ครั้งที่เก้า หลังสมัยของพระเจ้านันทบุเรง บรรดาเมืองของพม่าล้วนแตกเป็นเสี่ยง ต่างตั้งตนเป็นใหญ่ ต่อมาในสมัยของพระมหาธรรมราชา (พระเจ้าอนันกะเพตลุน) ได้ปราบปรามเมืองต่างๆ ให้อยู่ในอำนาจ และกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองอังวะ


ครั้งที่สิบ ปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา ทรงมีพระสติและความคิดผิดปกติ ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงอังวะมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เมื่อ พ.. ๒๑๕๖ หวังให้เมืองหงสาวดีกลับเจริญรุ่งเรืองดังเดิม


ครั้งที่สิบเอ็ด พระเจ้าธาลุน พระเจ้าอาของพระเจ้ามินเรทิพพา กษัตริย์องค์ก่อน และเป็นพระอนุชาของพระมหาธรรมราชา บิดาของพระเจ้ามินเรทิพพา หลังยึดอำนาจจากพระนัดดาได้แล้ว จึงย้ายไปอยู่ที่กรุงอังวะ ในปี พ.. ๒๑๗๘


ครั้งที่สิบสอง หลังมอญก่อการกบฏ จนราชวงศ์ตองอูสูญสิ้น พระเจ้าอลองพญา (อองไจยะ) ลุกขึ้นกอบกู้เอกราชคืนสำเร็จ สถาปนา “เมืองชเวโบ” ขึ้นเมื่อ พ.. ๒๒๙๕


ครั้งที่สิบสาม พระเจ้าอลองพญาตีเมืองเก่าๆ ของพม่าคืน รุกคืบผนวกเอาหัวเมืองมอญได้แก่ สิเรียม หงสาวดี และตะเกิง (ร่างกุ้ง) ทางใต้สุด เข้าเป็นของพม่า ตั้งแต่ พ.. ๒๒๙๘ ได้บูรณะเมืองตะเกิงขึ้นใหม่พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า “ร่างกุ้ง” แปลว่าสิ้นสุดสงคราม


ครั้งที่สิบสี่ หลังมังลอก (พระเจ้านองดอว์คยี) สิ้นพระชนม์ ขณะนั้น มังหม่อง พระโอรสยังเป็นทารกอยู่ พระเจ้ามังระ (พระเจ้าสินพยูซิน) ซึ่งเป็นพระอนุชามังลอกยึดครองราชบัลลังก์ สั่งการให้มังหม่องบวชตลอดชีวิต จากนั้นจึงได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงอังวะ พ.. ๒๓๐๘


ครั้งที่สิบห้า พระเจ้าโบดอว์พญา (พระเจ้าปดุง) พระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าอลองพญา ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ เมืองอมรปุระ เมื่อ พ.. ๒๓๒๕


ครั้งที่สิบหก ในรัชสมัยพระเจ้ามินดง เริ่มได้รับผลกระทบจากการทำสงครามและการคุกคามจากอังกฤษ จึงย้ายจากเมืองอมรปุระมาอยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ในปี พ.. ๒๔๐๐


ครั้งที่สิบเจ็ด หลังพระเจ้าธีบ่อเสียเอกราชแก่อังกฤษเมื่อปี พ.. ๒๔๒๘ อังกฤษจัดการปกครองพม่าใหม่ให้ขึ้นตรงต่อผู้สำเร็จราชการที่อินเดีย และย้ายเมืองหลวงของพม่ามาอยู่ที่ “มะละแหม่ง” ในเขตมอญ


การย้ายเมืองครั้งล่าสุดของพม่า ครั้งที่ ๑๘ หลังจากอังกฤษและพม่าได้ทำสัญญาลงนามมอบเอกราชเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.. ๒๔๙๐ “พม่าย้ายเมืองหลวงกลับไปที่ “เมืองร่างกุ้ง”ภายหลังการเลือกตั้ง ทหารได้เข้ามาปกครองประเทศ ชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เคยร่วมต่อสู้เพื่อเอกราชสมัยนายพลอองซาน ที่เคยสัญญากันไว้ว่ากลุ่มต่างๆ จะรวมกันอยู่ในสหภาพพม่าเป็นเวลา ๑๐ ปี หลังจากนั้นสามารถแยกตัวเป็นอิสระได้ แต่ภายหลังได้รับเอกราชแล้ว สัญญาดังกล่าวถูกฉีกทิ้งโดยคณะทหารพม่า นับแต่นั้นประชาชนทุกหมู่เหล่าถูกกดขี่ จำกัดสิทธิ และถูกปราบปรามอย่างรุนแรง โดยไม่รับฟังเสียงทักท้วงจากนานาชาติ การปกครองประเทศในระบบสหภาพ ที่ประกอบด้วยรัฐต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยง อาระกัน คะฉิ่น คะยา ฉิ่น ฉาน และมอญ แต่ในความเป็นจริงรัฐเหล่านั้นมีอยู่แต่ในกระดาษ ไม่เคยได้รับการปฏิบัติ


ข่าวลือที่ว่าระบบผังเมืองย่างกุ้งที่อังกฤษเป็นผู้จัดทำไว้ ตกอยู่ในมือของกองทัพสหรัฐ พม่าจึงมีมาตรการป้องกันการโจมตีจากทหารอเมริกัน ด้วยการสร้างอุโมงค์ใต้ดินและขีปนาวุธทั้งหลายขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้ว่ากองทัพพม่าจะพ้นรัศมีการทำลายล้างดังกล่าว


คนที่ไม่มีความรู้ด้านการเมืองอย่างผมเชื่อว่า ประสบการณ์ที่เคยผิดพลาดเมื่อครั้งเหตุการณ์กบฏชนกลุ่มน้อยเมื่อต้นราชวงศ์ตองอู และในอีกหลายครั้ง เพราะพม่าตั้งเมืองหลวงค่อนไปทางเหนือหรือใต้มากเกินไป เมืองหลวงใหม่ที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของประเทศพม่าพอดิบพอดีนี้ สามารถควบคุมดูแลชนกลุ่มน้อยครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสามารถควบคุมสันญาณโทรคมนาคมทั้งในและนอกประเทศได้ดี พร้อมรองรับข้อตกลงทางธุรกิจเซ็นสัญญากับนายกพลัดถิ่นที่พนมเปญเมื่อก่อนหน้านี้


เมื่อทบทวนประวัติศาสตร์พม่าตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันอย่างละเอียดจะพบว่า การย้ายเมืองของพม่าในหลายครั้งอยู่บนความเชื่อส่วนบุคคล ข้อสังเกตจากการที่ผมได้เดินทางไปพม่าเมื่อต้นปี พ.. ๒๕๔๘ พบผู้นำพม่ากำลังประกอบพิธีหลวง ต่อชะตาเมืองอย่างขะมักเขม้นบนลานพระธาตุอินทร์แขวน (พระเจดีย์ไจ้ทีโย)


แขวงเมืองพยีปะนา” ที่ตั้งเมืองหลวงล่าสุดของพม่าในเมืองเนปิดอว์อาจบอกอะไรได้บางอย่าง คนมอญ พม่า ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) และไทใหญ่หลายคนเชื่อว่า เป็นความเชื่อด้านโชคลางของพม่า เพราะเมืองพยีปะนานั้น เป็นเมืองเก่าของมอญ ที่อยู่ตรงแดนกันชนระหว่างเมืองมอญและพม่ามาตั้งแต่สมัยพระเจ้าราชาธิราช มอญเรียกว่า “เมืองเปรียงปะนาน” ซึ่งแปลว่า “ที่เตรียมพล” ก่อนพม่าและมอญจะยกทัพโจมตีกันและกัน พม่าจึงต้องการได้ทั้งชื่อ และชัย (ภูมิ)


มอญเมืองไทยหลายคนเชื่อว่า “เป็นไปตามแหม่งเจ้น” หรือคำพญากรณ์โบราณที่ว่า วันหนึ่งมอญจะได้เมืองคืนโดยไม่เสียเลือดเนื้อ เพราะพม่าทิ้งเมืองตะเกิง (ร่างกุ้ง) ของมอญเอาไว้ให้เฉยๆ (ข้อนี้เห็นทีจะยาก เพราะพม่าเคยพูดใส่หน้าแม่ทัพมอญที่ร้องขอความกรุณามาแล้วว่า แผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาล ไม่ใช่แค่ดงกระเจี๊ยบ จะได้ยกให้กันง่ายๆ)


ในเมื่อรัฐบาลทหารพม่าออกมายืนยันชัดเจนว่า เหตุผลที่ย้ายเมืองหลวงเพราะ ย่างกุ้ง เป็นเมืองท่าที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง สภาพเก่า ผังเมืองคับแคบ ไม่สามารถขยายเมืองออกไปได้ตามการเติบโตของเมืองที่ควรเป็น เราก็คงได้แต่นิ่งฟัง แม้จะรู้ตัวว่าเชื่อยาก การย้ายเมืองของพม่าครั้งนี้ หากไม่นับโชคลาง และตัดทิ้งเรื่องความเกรงกลัวในอำนาจอเมริกันของนายพลตานฉ่วย ด้วยในระยะหลังพม่าก็มีจีนอยู่เคียงข้างเสมอแล้ว เชื่อว่าเหตุผลที่น่าสนใจก็คือ พม่ากำลังเข้าใกล้จุดแตกหักจากพื้นฐานจิตใจอันโหดร้ายที่เคยก่อไว้กับชนกลุ่มน้อยต่างๆ แม้แต่ประชาชนชาวพม่าแท้ของตนเอง ด้วยเชื่อว่า วันเวลาที่ความคับแค้นเหล่านั้นจะประทุออกมาอย่างไม่อาจควบคุมใกล้มาถึงในเร็ววัน

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…