Skip to main content

ป้าขจี (สงวนนามสกุล) เป็นคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายวัฒนธรรม คลุกคลีกับผู้คนตั้งแต่เหนือสุดจนเกือบใต้สุดแดนสยาม อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลายชาติพันธุ์ในตัวของป้า กับวัยที่ผ่านสุขทุกข์มาแล้วกว่า ๗๖ ปี จิตใจที่โน้มเอียงเลือกจะอยู่ข้างวัฒนธรรมแบบใดหรือยอมรับการผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากน้อยเพียงใดนั้น คงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่หล่อหลอมป้าขจีมาตั้งแต่วัยเด็ก

เชื้อสายทางบิดาของป้าขจีสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถกล่าวย้อนไปได้หลายร้อยปี กล่าวคือ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เดิมมีชื่อว่า “สิงห์” เกิดในสมัยธนบุรี เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) กับท่านผู้หญิงฟัก ซึ่งเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) นั้นสืบเชื้อสายมาจากพราหมณ์ศิริวัฒนะ รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่ง ราชปุโรหิต ส่วนเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นที่สมเด็จพระยาวังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และได้เป็นแม่ทัพใหญ่ทำศึกสงครามกับลาว เขมร และญวน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จากความดีความชอบที่ปรากฏ รวมทั้งอำนาจวาสนาที่ล้นฟ้าในขณะนั้นจึงน่าจะได้รับพระราชทานธิดาเจ้าเมืองต่างๆ ที่ตีได้ และยังมีผู้ยกธิดาให้เป็นภรรยาจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เองท่านจึงมีบุตรธิดาที่เกิดจาก ท่านผู้หญิงเพ็งและท่านผู้หญิงหนู รวมกับภรรยาอื่นที่ทั้งปรากฏชื่อและไม่ปรากฏชื่อที่มีทั้งไทย มอญ ลาว เขมร และญวน (เวียดนาม) จำนวนราว ๑๒ ท่าน บุตรธิดาของเจ้าพระยาบดินทรเดชามีทั้งสิ้น ๒๓ คน

ส่วนตระกูลทางแม่ของป้าขจีว่ากันว่าอยู่ที่บ้านเกาะ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ในช่วงปลายสมัยอยุธยา คหบดีครอบครัวหนึ่งมีข้าทาสบริวารมาก ลูกสาวคนเล็กได้เกิดรักใคร่ชอบพอกับทาสหนุ่มในบ้าน กระทั่งได้เสียและมีลูกด้วยกัน ๒ คน เมื่อถูกกีดกันและดูถูกเหยียดหยามหนักเข้าจึงพากันหลบหนีโดยทางเรือ ตั้งใจจะไปตั้งครัวเรือนอยู่ถิ่นอื่น เมื่อพายเรือไปได้ระยะหนึ่ง พบเรือลำหนึ่งพายสวนมามีพระสงฆ์นั่งอยู่เต็มลำ พระได้ถามว่าจะไปไหนกัน สองคนผัวเมียได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พระในเรือนั้นได้ชี้ให้ดูต้นอินทผาลัม ๒ ต้น ที่ขึ้นอยู่ริมแม่น้ำ สองผัวเมียหันไปดูตามที่พระชี้ และเมื่อหันกลับมาก็ไม่พบเรือพระลำนั้นแล้ว สองผัวเมียคิดใคร่ครวญไปมาจึงเข้าใจว่าพระอาจจะบอกนัยอะไรบางอย่าง จึงพากันไปขุดดูใต้ต้นอินทผาลัมนั้น กระทั่งฟ้ามืด ได้พบตุ่ม ๒ ใบ เป็นตุ่มเงิน ๑ ใบ ตุ่มทอง ๑ ใบ และมีงูเห่าแผ่แม่เบี้ยอยู่เหนือตุ่มสองใบนั้น สองผัวเมียจึงคว้าหญ้าริมตลิ่งนั้นมาหนึ่งกำยกขึ้นไหว้จบเหนือหัว อธิษฐานว่า ถ้าเจ้าของทรัพย์สมบัตินี้ตั้งใจจะยกให้แล้วก็ขอให้งูจงเปิดทางและเอาสมบัตินี้ไปให้ตลอดรอดฝั่งด้วยเถิด จากนั้นสองผัวเมียจึงตัดสินใจพายเรือกลับบ้าน เมื่อถึงบ้านพี่ๆ ต่างพากันออกมาสมน้ำหน้าหาว่าไปไม่รอด สองผัวเมียจึงเล่าให้ฟังเรื่องราวทั้งหมด และอัญเชิญ “ทรัพย์แผ่นดิน” ที่ได้มาขึ้นบ้าน สองคนผัวนี้จึงมีฐานะดีเทียมพี่ๆ คนอื่น ต่อมาได้แบ่งสมบัตินั้นไปสร้างโบสถ์ ๒ หลัง ที่วัดเกาะ ตำบลบ้านเกาะ และวัดป้อมวิเชียรโชติการาม ตำบลมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร

เรื่องที่เล่ามาข้างต้นเป็นสายทางแม่ของป้าขจี โดยปู่ย่าที่เป็นทวดของป้าขจีเป็นคนไทยแท้ย่านนั้น ส่วนทางสายตระกูลตายายที่เป็นทวดของป้าเป็นคนมอญบ้านเกาะ ตาชื่อนายพุก ... ส่วนยายชื่อ นางพลับ ... มีพี่น้อง ๑๖ คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับหม่อมแช่ม หม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ยายของป้าขจีเรียกหม่อมแช่มว่า หม่อมอา หม่อมแช่ม จึงเป็นหม่อมยายของแม่ป้าขจี ดังนั้นลูกหลานตระกูลนี้จึงได้รับการชักชวนให้เข้ามาทำงานอยู่ในวังกรมพระนเรศวรฤทธิ์ แถวเชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร (องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ FAO ในปัจจุบัน) สอดคล้องกับประวัติของเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่นิยมเลี้ยงข้าทาสบริวารที่เป็นมอญเอาไว้มากมาย พี่น้องของยายพลับส่วนใหญ่จึงได้สามีเป็นชาติฝรั่งตะวันตก ลูกหลานจึงถือเชื้อสายข้างพ่อเป็นฝรั่งกันไปหมด

นามสกุลเดิมของป้าขจีคือ ... (นามสกุลพระราชทาน) เคยใช้นามสกุล ... ตามน้าสาวอยู่ระยะหนึ่งเมื่อตอนเด็กเนื่องจากเป็นลูกกำพร้า ต้องไปอยู่กับครอบครัวน้าสาวที่จังหวัดสงขลา ต่อมาได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น ...เชื้อสายทางปู่ของป้าขจีสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โดยเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นพ่อของทวดผู้หญิง แต่งงานกับทวดผู้ชายซึ่งเป็นคนกรุงเทพฯ รับราชการอยู่วังหลัง ตำแหน่งพระคลังข้างที่ ส่วนปู่รับราชการในตำแหน่ง ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ไปทำงานอยู่ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบเข้ากับย่าของป้าขจี เป็นเจ้านางไทใหญ่ ขณะนั้นเป็นม่ายสามีเสียชีวิต พ่อของป้าขจีจึงเกิดที่แม่ฮ่องสอน ป้าขจีจึงมีชื่อเป็นภาษาไทใหญ่ที่ย่าตั้งให้ว่า จิ่งเมี๊ยะ (แปลว่า เพชรมรกต)

เลือดเนื้อและสำนึกของป้าขจีจึงประกอบขึ้นมาจากความหลากลาย ทั้ง พราหมณ์ มอญ ลาว จีน ไทใหญ่ ไทยภาคกลาง และไทยปักษ์ใต้

ป้าขจีเป็นสมาชิกของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ เป็นสมาชิกสมาคมไทยรามัญ และเป็นสมาชิกวารสารเสียงรามัญ เข้าอกเข้าใจคนมอญที่ต้องอพยพเข้ามาอยู่เมืองไทย แต่กลับติดใจสงสัยชาวโรฮิงยาที่ลี้ภัยเข้าเมืองไทยล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ ที่สำคัญพยายามซ่อนความเป็นลาวและจีนภายในสายเลือดของตนเอง ลูกหลานของป้าขจีหลายคนได้ดิบได้ดีในหลายศาสตร์หลากแขนง แต่ป้าขจีเลือกที่จะภาคภูมิใจในตัวหลานสาวคนที่ได้เป็นนางสงกรานต์มอญพระประแดง ไม่มีใครเข้าใจว่าทำไมป้าขจีเลือกที่จะนำเสนอความเป็นมอญมากกว่าสิ่งอื่น เพราะหากเทียบกันแล้ว ยังมีเรื่องราวในสายเลือดตามแง่มุมต่างๆ ให้ป้าขจีได้ภาคภูมิใจ

ป้าขจีก็คงเป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่งทั่วไป เป็นคนไทยแท้... คนไทยแท้เป็นอย่างนี้เอง

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…