Skip to main content

การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง

คำด่าไม่ต้องสอน มิหนำซ้ำยังเรียนรู้ไว เพราะภาษามีไว้สื่อความคิด ถ่ายทอดอารมณ์ เเละเเน่นอนว่าภาษาที่ดีต้องสื่อได้ทุกอารมณ์เเม้เเต่อารมณ์โกรธ ฉะนั้นการสืบทอดคำด่าจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ละชาติแต่ละภาษาคงไม่ต้องการให้ภาษาของตนมีคำหยาบ แต่ก็ไม่อาจเลี่ยงการเกิดขึ้นของคำด่าได้อย่างแน่นอน แม้แต่คำสุภาพในสมัยหนึ่ง คนอีกสมัยหนึ่งกลับมองว่าไม่สุภาพ เช่น กู มึง แต่ใช่ว่าจะคนในสมัยปัจจุบันจะไม่นิยมใช้


เท่าที่สังเกตดูสังคมไทย ในการด่าจะมีการแบ่งแยกเพศค่อนข้างชัดเจน หากเป็นชายอกสามศอก นิยมแบบตระกูลสัตว์ไม่ประเสริฐทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์สี่เท้าที่มีบุญคุณอย่าง
ควาย สัตว์ป่าที่ไม่เคยอุจจาระรดหัวใครอย่าง แรด รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานที่นักธรรมชาติวิทยาบอกว่าเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่ เหี้ย อาศัยอยู่ หากเพศเดียวกันด่ากันเองก็มักมอบของส่วนตัวที่มีเหมือนๆ กันให้ไปดูต่างหน้า นั่นคือ กล้วย แต่ถ้าจะแฝงความหมายถึงความขลาดแล้วก็ต้อง ไอ้หน้าตัวเมีย ซึ่งคำนี้เองผู้ชายที่ถูกด่าจากผู้ชายด้วยกันก็จะเจ็บแสบประมาณหนึ่ง แต่ถ้าคนด่าเป็นหญิงแล้วจะถึงกับปวดแสบปวดร้อนเลยทีเดียว

ในเพศหญิง นิยมเปรียบเทียบคนที่ไม่ชอบหน้าว่า เป็นดอกไม้ชั้นสูงที่ทำด้วยทองคำ ถ้าเป็นสมัยก่อนยังมีอีกคำนั่นคือ
สำเพ็ง ถึงแม้จะเป็นย่านการค้าขายของคนจีนแต่ก็มีการทำธุรกิจส่วนตัวของผู้หญิงด้วย คนที่ถูกด่าจึงถูกเปรียบเปรยเป็น โสเภณี ส่วนคำที่ผู้หญิงนิยมด่าเพศเดียวกันรวมทั้งด่าผู้ชาย (ชายอกสามศอกคงไม่ใช้ด่าใคร นอกจากผู้ชายสีชมพู) นั่นคือ หน้าอี๋

แถวบ้านผมมีอีกคำที่นิยมด่ากัน นั่นคือ
อีเห็ด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่า เห็ด มันมีลักษณะพิเศษอย่างไร คนถึงเอามาใช้เป็นคำด่ากัน

เท่าที่ได้ลองเสิร์ชหาข้อความที่มีผู้เขียนกระทู้เอาไว้ในเว็บไซท์ต่างๆ พบว่า มีนักท่องอินเตอร์เนตรวบรวมคำด่าของบรรดาชนชาติต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งได้ยกมาพอเป็นสังเขป ดังนี้

คำที่ฝรั่งด่ากัน คำที่ได้ยินกันบ่อยหน่อยจากฮอลลีวู้ดก็น่าจะเป็น
Fuck you คงจะทำนองเดียวกันกับ เจ้ดแม่ง ในภาษาไทย นอกนั้นก็เป็นต้นว่า Dumbbell (ยัยทึ่ม) Lunatic (บ้า) Bone head (งี่เง่า) Schmuck (โง่) Mad dog (หมาบ้า) Creep (แมลงโสโครก) prick (ตัวซวย) wicked (เลวทราม) Go Fuck yourself ! (อันนี้ขอไม่แปลดีกว่า) (จาก : http://www.siamzone.com/board/view. php?sid=749099)

คำด่าภาษาจีนน่าจะคล้ายๆ กับภาษาไทยตรงที่ นิยมด่าพ่อล่อเเม่เเละด่าถึงโครตเหง้าเหล่ากอ เช่น เก๋าเจ้ง (ชาติหมา) หวังปา (แปลว่า ตะพาบน้ำ คงทำนองเดียวกับที่คนไทยด่ากันด้วยคำว่า ไอ้เอี้ย เเต่คนจีนด่าว่า ไอ้ตะพาบ) วังปาดั้น (ไอ้พันธุ์ถ่อย) (จาก
: http://www.china2learn.com/board/ show.php? qID =3698)

คำด่าของคนทางเหนือที่คุ้นหูมักด่ากันว่า จ่าดวอก หรือ จ่าดง่าว นอกนั้นที่พบในเว็บไซท์เป็นกองพะเรอเกวียนที่ดูคล้ายจะฟังออกแต่ไม่ค่อยเข้าใจและเลยไม่รู้จะเจ็บแสบอย่างไรไหว เช่น

...ห่ากิ๋นตั๊บ ง่าวสุ๊ดหัวสุ๊ดตี๋นบ่อมีปั๋ญญาหาเงิน...มีก่ากู้ๆๆๆ...บ่าปันต๋าย...บ่าง่าว...  บ่ะฮ่ากิ๋นตั๊บ กิ๊นไต๋ บะลูกค่ำ ลูกงำ... ตำเฮาะ ตำวายตายพาย ตายกั๊ดบ่าจ๊าดหมา อีแห่น ซากต๋าย สิบหล๊วกคิงเขา แลกง่าวฮาอันเดว ยังบ่าเอาน่ะบะ จ๋าเหลือ... อิ่วอก อิ่พาย ตุ่มปิ๊ดติดคอ บ่าฮ่า บ่าวอก บ่าปันต๋ายบ่าหน้ามุ่ม... (จาก : http://www.cm108.com/bbb/lofiversion/index.php/t25269. html)

คำด่าของคนอีสาน เช่น หมากินความคึด ไม่สามารถสรรหาคำอธิบายได้ตรงๆ แปลโดยศัพท์ในภาษาไทยกลางก็คือ สุนัขกินความคิด ซึ่งดูจะเป็นคำธรรมดาๆ ซึ่งคนไม่รู้ภาษาอีสานคงไม่รู้สึกเจ็บ หากให้เทียบเคียงกับคำในภาษาไทยก็คงจะทำนองเดียวกันกับ โง่บัดซบ (จาก
: http://www. esaanvoice.net/esanvoice/know/showart.php?Category=bot&No=11919)

ส่วนคำด่าของคนทางใต้ เท่าที่เคยสัมผัสคนใต้มาบ้าง ขนาดคนใต้ที่สนิทสนมกันคุยกันธรรมดาก็ยังดูเหมือนกำลังจะมีเรื่อง แล้วหากเกิดด่ากันขึ้นมาคงยิ่งระทึกขวัญคนที่ไม่คุ้นเคยไม่น้อย เป็นต้นว่า เร่อ (ซื่อบื้อ เกือบๆ จะโง่ ทำอะไรไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่รู้เรื่อง) ฉอย (เสือก) ทำถ้าว (เสือก) ถ็อกหวัก (คำนี้ไม่กล้าแปล มีผู้รู้เทียบเคียงให้ฟังเพียง แผ่แม่เบี้ย) ขาดหุ้น (สติไม่สมประกอบ) เบล่อ (โง่) ขี้ฮก (โกหก) จองดอง (ทะลึ่ง) ห่าจก (ตะกละ) เอิด (เกเร) โบล่ะ (ขี้เหร่) (จาก
: http://www. muanglung.com/pasatai.htm)

แล้วคนมอญด่ากันแบบไหน ที่แน่นอนก็คือ คนมอญไม่นิยมด่ากันด้วยการลากโคตรเหง้าเอามากอง ไม่ด่ากันแบบยกให้เป็นสัตว์ที่ไม่ประเสริฐ รวมทั้งไม่เอาอวัยวะของผู้ที่ถูกด่าไปเปรียบเทียบกับอวัยวะที่ควรปกปิดหรืออวัยวะที่อยู่ระดับล่างๆ ของร่างกาย จะมีเพียงคำเดียวที่ด่ากันด้วยคำที่บ่งบอกบอกถึงนัยยะการสืบพันธุ์ คำด่าของคนมอญส่วนใหญ่เป็นลักษณะเฉพาะทางชาติพันธุ์ที่ดูแล้วไม่น่าจะเป็นคำที่ใช้ด่าทอกันได้ แน่นอนว่าคนชาติพันธุ์หนึ่งด่ากัน (ด่ากันเองหรือด่าคนต่างชาติพันธุ์) ก็ย่อมแปลกลิ้นแปร่งหูกว่าคำที่คนชาติพันธุ์อื่นด่ากัน


คำด่าของคนมอญที่ผมได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เกิด เป็นคำด่าที่มีมานานแล้วหลายร้อยปีไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่หดหาย และไม่เพิ่มขึ้น มอญในเมืองไทยและมอญในเมืองมอญ (ประเทศพม่าในปัจจุบัน) ก็ยังคงด่าเหมือนกัน (ด่ากันรู้เรื่อง) คำที่แปลกออกไป
ที่บ่งบอกบอกนัยยะการสืบพันธุ์ นั่นคือ จะต๊อก ส่วนคำด่าอมตนิรันดร์กาลมีเพียง ๓ คำ นั่นคือ จองเดิง จองเฮียก และ จองต่ะฮ์

มีอยู่คำเดียวที่รับเอาวัฒนธรรม (หรือเปล่า) การด่าแบบคนไทยไปใช้นั่นคือ
ปะกาวทอ   ปะกาว แปลว่า ดอกไม้ ทอ เป็นภาษามอญโบราณและเป็นต้นกำเนิดของคำว่า ทอง ในภาษาไทย ดังนั้นคำนี้จึงด่าที่เกิดจากการแลกรับปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมกับสังคมไทย ซึ่งมักจะเอามาด่ากันแบบขำๆ เสียมากกว่า

ในจำนวนคำด่าทั้ง ๓ คำของมอญจะสังเกตได้ว่าขึ้นต้นด้วยคำว่า
จอง คำนี้แปลว่า เผา ส่วน เดิง แปลว่า เมือง เฮียก แปลว่า ใหม้ และ ต่ะฮ์ แปลว่า เตียน เหี้ยน โล่ง (ประมาณว่าเผาแล้วกวาดกองเถ้าถ่านให้กระจัดกระจายด้วยส้นเท้ากันเลยทีเดียว) ฟังดูแล้วก็ไม่น่าจะเจ็บแสบอะไร เพียงแต่คนมอญมีประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวด ด้วยตนเองเคยมีบ้านเมือง ปราสาทราชวัง และกษัตริย์ราชบัลลังก์ วันหนึ่งก็ถูกพม่าบุกปล้นทำลายและยึดครอง มีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมากันในหมู่คนมอญว่า พม่าเข่นฆ่าผู้คนไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์ ศพลอยเกลื่อนจนแม่น้ำอิรวดีเป็นสีเลือด ไฟที่เผาผลาญปราสาทราชวัง วัดวาอาราม รวมทั้งบ้านเรือนราษฎรเปลวเพลิงลุกไหม้ขึ้นสูงหลายเส้นและนานนับเดือนโดยไม่ยอมดับ ปัจจุบันผืนดินบริเวณนั้นสุกเป็นดินเผา (อิฐ) ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้กระทั่งทุกวันนี้

แม้ประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าทำนองนี้จะไม่ส่งเสริมความสมานฉันท์ในโลกปัจจุบัน แต่ในเมื่อจนถึงทุกวันนี้ ผู้ถูกกระทำยังไม่ได้รับการเยียวยา มีแต่จะตอกย้ำด้วยพฤติกรรมดั้งเดิม (พม่า)  บาดแผลเก่าใหม่และความทรงจำที่เลวร้ายจึงกระตุ้นเตือนให้ลูกหลานมอญรำลึกถึงชนชาติและบรรพชนของตนที่ต้องหอบลูกจูงหลานหนีไฟสงครามเข้ามาอาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย คนนอกวัฒนธรรมคงรู้สึกขำหากถูกด่าว่า อีเผาเมือง ผีเผาไหม้ หรือ อีเผาเหี้ยน แต่สำหรับคนมอญโดยเฉพาะหญิงสาวด้วยแล้ว ถึงกับน้ำตาตกแทบจะหาสามีไม่ได้กันเลยทีเดียว เพราะการถูกด่าว่า
อีเผาเมือง นั้น เท่ากับถูกหาว่าเป็น พม่า ผู้เผาบ้านเผาเมืองของบรรพชนจนราบพนาสูญ

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…