Skip to main content

การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง

คำด่าไม่ต้องสอน มิหนำซ้ำยังเรียนรู้ไว เพราะภาษามีไว้สื่อความคิด ถ่ายทอดอารมณ์ เเละเเน่นอนว่าภาษาที่ดีต้องสื่อได้ทุกอารมณ์เเม้เเต่อารมณ์โกรธ ฉะนั้นการสืบทอดคำด่าจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ละชาติแต่ละภาษาคงไม่ต้องการให้ภาษาของตนมีคำหยาบ แต่ก็ไม่อาจเลี่ยงการเกิดขึ้นของคำด่าได้อย่างแน่นอน แม้แต่คำสุภาพในสมัยหนึ่ง คนอีกสมัยหนึ่งกลับมองว่าไม่สุภาพ เช่น กู มึง แต่ใช่ว่าจะคนในสมัยปัจจุบันจะไม่นิยมใช้


เท่าที่สังเกตดูสังคมไทย ในการด่าจะมีการแบ่งแยกเพศค่อนข้างชัดเจน หากเป็นชายอกสามศอก นิยมแบบตระกูลสัตว์ไม่ประเสริฐทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์สี่เท้าที่มีบุญคุณอย่าง
ควาย สัตว์ป่าที่ไม่เคยอุจจาระรดหัวใครอย่าง แรด รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานที่นักธรรมชาติวิทยาบอกว่าเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่ เหี้ย อาศัยอยู่ หากเพศเดียวกันด่ากันเองก็มักมอบของส่วนตัวที่มีเหมือนๆ กันให้ไปดูต่างหน้า นั่นคือ กล้วย แต่ถ้าจะแฝงความหมายถึงความขลาดแล้วก็ต้อง ไอ้หน้าตัวเมีย ซึ่งคำนี้เองผู้ชายที่ถูกด่าจากผู้ชายด้วยกันก็จะเจ็บแสบประมาณหนึ่ง แต่ถ้าคนด่าเป็นหญิงแล้วจะถึงกับปวดแสบปวดร้อนเลยทีเดียว

ในเพศหญิง นิยมเปรียบเทียบคนที่ไม่ชอบหน้าว่า เป็นดอกไม้ชั้นสูงที่ทำด้วยทองคำ ถ้าเป็นสมัยก่อนยังมีอีกคำนั่นคือ
สำเพ็ง ถึงแม้จะเป็นย่านการค้าขายของคนจีนแต่ก็มีการทำธุรกิจส่วนตัวของผู้หญิงด้วย คนที่ถูกด่าจึงถูกเปรียบเปรยเป็น โสเภณี ส่วนคำที่ผู้หญิงนิยมด่าเพศเดียวกันรวมทั้งด่าผู้ชาย (ชายอกสามศอกคงไม่ใช้ด่าใคร นอกจากผู้ชายสีชมพู) นั่นคือ หน้าอี๋

แถวบ้านผมมีอีกคำที่นิยมด่ากัน นั่นคือ
อีเห็ด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่า เห็ด มันมีลักษณะพิเศษอย่างไร คนถึงเอามาใช้เป็นคำด่ากัน

เท่าที่ได้ลองเสิร์ชหาข้อความที่มีผู้เขียนกระทู้เอาไว้ในเว็บไซท์ต่างๆ พบว่า มีนักท่องอินเตอร์เนตรวบรวมคำด่าของบรรดาชนชาติต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งได้ยกมาพอเป็นสังเขป ดังนี้

คำที่ฝรั่งด่ากัน คำที่ได้ยินกันบ่อยหน่อยจากฮอลลีวู้ดก็น่าจะเป็น
Fuck you คงจะทำนองเดียวกันกับ เจ้ดแม่ง ในภาษาไทย นอกนั้นก็เป็นต้นว่า Dumbbell (ยัยทึ่ม) Lunatic (บ้า) Bone head (งี่เง่า) Schmuck (โง่) Mad dog (หมาบ้า) Creep (แมลงโสโครก) prick (ตัวซวย) wicked (เลวทราม) Go Fuck yourself ! (อันนี้ขอไม่แปลดีกว่า) (จาก : http://www.siamzone.com/board/view. php?sid=749099)

คำด่าภาษาจีนน่าจะคล้ายๆ กับภาษาไทยตรงที่ นิยมด่าพ่อล่อเเม่เเละด่าถึงโครตเหง้าเหล่ากอ เช่น เก๋าเจ้ง (ชาติหมา) หวังปา (แปลว่า ตะพาบน้ำ คงทำนองเดียวกับที่คนไทยด่ากันด้วยคำว่า ไอ้เอี้ย เเต่คนจีนด่าว่า ไอ้ตะพาบ) วังปาดั้น (ไอ้พันธุ์ถ่อย) (จาก
: http://www.china2learn.com/board/ show.php? qID =3698)

คำด่าของคนทางเหนือที่คุ้นหูมักด่ากันว่า จ่าดวอก หรือ จ่าดง่าว นอกนั้นที่พบในเว็บไซท์เป็นกองพะเรอเกวียนที่ดูคล้ายจะฟังออกแต่ไม่ค่อยเข้าใจและเลยไม่รู้จะเจ็บแสบอย่างไรไหว เช่น

...ห่ากิ๋นตั๊บ ง่าวสุ๊ดหัวสุ๊ดตี๋นบ่อมีปั๋ญญาหาเงิน...มีก่ากู้ๆๆๆ...บ่าปันต๋าย...บ่าง่าว...  บ่ะฮ่ากิ๋นตั๊บ กิ๊นไต๋ บะลูกค่ำ ลูกงำ... ตำเฮาะ ตำวายตายพาย ตายกั๊ดบ่าจ๊าดหมา อีแห่น ซากต๋าย สิบหล๊วกคิงเขา แลกง่าวฮาอันเดว ยังบ่าเอาน่ะบะ จ๋าเหลือ... อิ่วอก อิ่พาย ตุ่มปิ๊ดติดคอ บ่าฮ่า บ่าวอก บ่าปันต๋ายบ่าหน้ามุ่ม... (จาก : http://www.cm108.com/bbb/lofiversion/index.php/t25269. html)

คำด่าของคนอีสาน เช่น หมากินความคึด ไม่สามารถสรรหาคำอธิบายได้ตรงๆ แปลโดยศัพท์ในภาษาไทยกลางก็คือ สุนัขกินความคิด ซึ่งดูจะเป็นคำธรรมดาๆ ซึ่งคนไม่รู้ภาษาอีสานคงไม่รู้สึกเจ็บ หากให้เทียบเคียงกับคำในภาษาไทยก็คงจะทำนองเดียวกันกับ โง่บัดซบ (จาก
: http://www. esaanvoice.net/esanvoice/know/showart.php?Category=bot&No=11919)

ส่วนคำด่าของคนทางใต้ เท่าที่เคยสัมผัสคนใต้มาบ้าง ขนาดคนใต้ที่สนิทสนมกันคุยกันธรรมดาก็ยังดูเหมือนกำลังจะมีเรื่อง แล้วหากเกิดด่ากันขึ้นมาคงยิ่งระทึกขวัญคนที่ไม่คุ้นเคยไม่น้อย เป็นต้นว่า เร่อ (ซื่อบื้อ เกือบๆ จะโง่ ทำอะไรไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่รู้เรื่อง) ฉอย (เสือก) ทำถ้าว (เสือก) ถ็อกหวัก (คำนี้ไม่กล้าแปล มีผู้รู้เทียบเคียงให้ฟังเพียง แผ่แม่เบี้ย) ขาดหุ้น (สติไม่สมประกอบ) เบล่อ (โง่) ขี้ฮก (โกหก) จองดอง (ทะลึ่ง) ห่าจก (ตะกละ) เอิด (เกเร) โบล่ะ (ขี้เหร่) (จาก
: http://www. muanglung.com/pasatai.htm)

แล้วคนมอญด่ากันแบบไหน ที่แน่นอนก็คือ คนมอญไม่นิยมด่ากันด้วยการลากโคตรเหง้าเอามากอง ไม่ด่ากันแบบยกให้เป็นสัตว์ที่ไม่ประเสริฐ รวมทั้งไม่เอาอวัยวะของผู้ที่ถูกด่าไปเปรียบเทียบกับอวัยวะที่ควรปกปิดหรืออวัยวะที่อยู่ระดับล่างๆ ของร่างกาย จะมีเพียงคำเดียวที่ด่ากันด้วยคำที่บ่งบอกบอกถึงนัยยะการสืบพันธุ์ คำด่าของคนมอญส่วนใหญ่เป็นลักษณะเฉพาะทางชาติพันธุ์ที่ดูแล้วไม่น่าจะเป็นคำที่ใช้ด่าทอกันได้ แน่นอนว่าคนชาติพันธุ์หนึ่งด่ากัน (ด่ากันเองหรือด่าคนต่างชาติพันธุ์) ก็ย่อมแปลกลิ้นแปร่งหูกว่าคำที่คนชาติพันธุ์อื่นด่ากัน


คำด่าของคนมอญที่ผมได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เกิด เป็นคำด่าที่มีมานานแล้วหลายร้อยปีไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่หดหาย และไม่เพิ่มขึ้น มอญในเมืองไทยและมอญในเมืองมอญ (ประเทศพม่าในปัจจุบัน) ก็ยังคงด่าเหมือนกัน (ด่ากันรู้เรื่อง) คำที่แปลกออกไป
ที่บ่งบอกบอกนัยยะการสืบพันธุ์ นั่นคือ จะต๊อก ส่วนคำด่าอมตนิรันดร์กาลมีเพียง ๓ คำ นั่นคือ จองเดิง จองเฮียก และ จองต่ะฮ์

มีอยู่คำเดียวที่รับเอาวัฒนธรรม (หรือเปล่า) การด่าแบบคนไทยไปใช้นั่นคือ
ปะกาวทอ   ปะกาว แปลว่า ดอกไม้ ทอ เป็นภาษามอญโบราณและเป็นต้นกำเนิดของคำว่า ทอง ในภาษาไทย ดังนั้นคำนี้จึงด่าที่เกิดจากการแลกรับปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมกับสังคมไทย ซึ่งมักจะเอามาด่ากันแบบขำๆ เสียมากกว่า

ในจำนวนคำด่าทั้ง ๓ คำของมอญจะสังเกตได้ว่าขึ้นต้นด้วยคำว่า
จอง คำนี้แปลว่า เผา ส่วน เดิง แปลว่า เมือง เฮียก แปลว่า ใหม้ และ ต่ะฮ์ แปลว่า เตียน เหี้ยน โล่ง (ประมาณว่าเผาแล้วกวาดกองเถ้าถ่านให้กระจัดกระจายด้วยส้นเท้ากันเลยทีเดียว) ฟังดูแล้วก็ไม่น่าจะเจ็บแสบอะไร เพียงแต่คนมอญมีประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวด ด้วยตนเองเคยมีบ้านเมือง ปราสาทราชวัง และกษัตริย์ราชบัลลังก์ วันหนึ่งก็ถูกพม่าบุกปล้นทำลายและยึดครอง มีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมากันในหมู่คนมอญว่า พม่าเข่นฆ่าผู้คนไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์ ศพลอยเกลื่อนจนแม่น้ำอิรวดีเป็นสีเลือด ไฟที่เผาผลาญปราสาทราชวัง วัดวาอาราม รวมทั้งบ้านเรือนราษฎรเปลวเพลิงลุกไหม้ขึ้นสูงหลายเส้นและนานนับเดือนโดยไม่ยอมดับ ปัจจุบันผืนดินบริเวณนั้นสุกเป็นดินเผา (อิฐ) ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้กระทั่งทุกวันนี้

แม้ประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าทำนองนี้จะไม่ส่งเสริมความสมานฉันท์ในโลกปัจจุบัน แต่ในเมื่อจนถึงทุกวันนี้ ผู้ถูกกระทำยังไม่ได้รับการเยียวยา มีแต่จะตอกย้ำด้วยพฤติกรรมดั้งเดิม (พม่า)  บาดแผลเก่าใหม่และความทรงจำที่เลวร้ายจึงกระตุ้นเตือนให้ลูกหลานมอญรำลึกถึงชนชาติและบรรพชนของตนที่ต้องหอบลูกจูงหลานหนีไฟสงครามเข้ามาอาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย คนนอกวัฒนธรรมคงรู้สึกขำหากถูกด่าว่า อีเผาเมือง ผีเผาไหม้ หรือ อีเผาเหี้ยน แต่สำหรับคนมอญโดยเฉพาะหญิงสาวด้วยแล้ว ถึงกับน้ำตาตกแทบจะหาสามีไม่ได้กันเลยทีเดียว เพราะการถูกด่าว่า
อีเผาเมือง นั้น เท่ากับถูกหาว่าเป็น พม่า ผู้เผาบ้านเผาเมืองของบรรพชนจนราบพนาสูญ

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นมีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นจากการหาที่เก็บของเก่าก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ว่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังคิดทำพิพิธภัณฑ์ว่าจะใช้เก็บของเก่าหรือใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนเริ่มเห็นคุณค่าท้องถิ่นของตน การตัดสินใจเกี่ยวกับท้องถิ่นจึงควรมาจากท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน     หญ้าขัดมอญ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย ตระกูลเดียวกับชบา ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องปลูกและดูแลรักษา คนในสังคมเมืองคงไม่คุ้นชื่อคุ้นต้นไม้ชนิดนี้ หลายคนเห็นเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งที่ต้องกำจัด นอกจากบางคนที่ช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัวก็อาจจะพบว่า หญ้าขัดมอญ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเล็กเรียวเขียวเข้ม ยิ่งเวลาออกดอก สีเหลืองอ่อนหวานพราวพรายรายเรียงอยู่ทั่วทุกช่อใบ ชวนมองไม่น้อย แถมมีประโยชน์ในครัวเรือนหลายอย่าง ทั้งด้านการใช้สอยและสรรพคุณทางสมุนไพร
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน ๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริงขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนบทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์ 
ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว…
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า "ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."
องค์ บรรจุน
 องค์ บรรจุนธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น
องค์ บรรจุน
ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่