Skip to main content

การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง

คำด่าไม่ต้องสอน มิหนำซ้ำยังเรียนรู้ไว เพราะภาษามีไว้สื่อความคิด ถ่ายทอดอารมณ์ เเละเเน่นอนว่าภาษาที่ดีต้องสื่อได้ทุกอารมณ์เเม้เเต่อารมณ์โกรธ ฉะนั้นการสืบทอดคำด่าจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ละชาติแต่ละภาษาคงไม่ต้องการให้ภาษาของตนมีคำหยาบ แต่ก็ไม่อาจเลี่ยงการเกิดขึ้นของคำด่าได้อย่างแน่นอน แม้แต่คำสุภาพในสมัยหนึ่ง คนอีกสมัยหนึ่งกลับมองว่าไม่สุภาพ เช่น กู มึง แต่ใช่ว่าจะคนในสมัยปัจจุบันจะไม่นิยมใช้


เท่าที่สังเกตดูสังคมไทย ในการด่าจะมีการแบ่งแยกเพศค่อนข้างชัดเจน หากเป็นชายอกสามศอก นิยมแบบตระกูลสัตว์ไม่ประเสริฐทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์สี่เท้าที่มีบุญคุณอย่าง
ควาย สัตว์ป่าที่ไม่เคยอุจจาระรดหัวใครอย่าง แรด รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานที่นักธรรมชาติวิทยาบอกว่าเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่ เหี้ย อาศัยอยู่ หากเพศเดียวกันด่ากันเองก็มักมอบของส่วนตัวที่มีเหมือนๆ กันให้ไปดูต่างหน้า นั่นคือ กล้วย แต่ถ้าจะแฝงความหมายถึงความขลาดแล้วก็ต้อง ไอ้หน้าตัวเมีย ซึ่งคำนี้เองผู้ชายที่ถูกด่าจากผู้ชายด้วยกันก็จะเจ็บแสบประมาณหนึ่ง แต่ถ้าคนด่าเป็นหญิงแล้วจะถึงกับปวดแสบปวดร้อนเลยทีเดียว

ในเพศหญิง นิยมเปรียบเทียบคนที่ไม่ชอบหน้าว่า เป็นดอกไม้ชั้นสูงที่ทำด้วยทองคำ ถ้าเป็นสมัยก่อนยังมีอีกคำนั่นคือ
สำเพ็ง ถึงแม้จะเป็นย่านการค้าขายของคนจีนแต่ก็มีการทำธุรกิจส่วนตัวของผู้หญิงด้วย คนที่ถูกด่าจึงถูกเปรียบเปรยเป็น โสเภณี ส่วนคำที่ผู้หญิงนิยมด่าเพศเดียวกันรวมทั้งด่าผู้ชาย (ชายอกสามศอกคงไม่ใช้ด่าใคร นอกจากผู้ชายสีชมพู) นั่นคือ หน้าอี๋

แถวบ้านผมมีอีกคำที่นิยมด่ากัน นั่นคือ
อีเห็ด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่า เห็ด มันมีลักษณะพิเศษอย่างไร คนถึงเอามาใช้เป็นคำด่ากัน

เท่าที่ได้ลองเสิร์ชหาข้อความที่มีผู้เขียนกระทู้เอาไว้ในเว็บไซท์ต่างๆ พบว่า มีนักท่องอินเตอร์เนตรวบรวมคำด่าของบรรดาชนชาติต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งได้ยกมาพอเป็นสังเขป ดังนี้

คำที่ฝรั่งด่ากัน คำที่ได้ยินกันบ่อยหน่อยจากฮอลลีวู้ดก็น่าจะเป็น
Fuck you คงจะทำนองเดียวกันกับ เจ้ดแม่ง ในภาษาไทย นอกนั้นก็เป็นต้นว่า Dumbbell (ยัยทึ่ม) Lunatic (บ้า) Bone head (งี่เง่า) Schmuck (โง่) Mad dog (หมาบ้า) Creep (แมลงโสโครก) prick (ตัวซวย) wicked (เลวทราม) Go Fuck yourself ! (อันนี้ขอไม่แปลดีกว่า) (จาก : http://www.siamzone.com/board/view. php?sid=749099)

คำด่าภาษาจีนน่าจะคล้ายๆ กับภาษาไทยตรงที่ นิยมด่าพ่อล่อเเม่เเละด่าถึงโครตเหง้าเหล่ากอ เช่น เก๋าเจ้ง (ชาติหมา) หวังปา (แปลว่า ตะพาบน้ำ คงทำนองเดียวกับที่คนไทยด่ากันด้วยคำว่า ไอ้เอี้ย เเต่คนจีนด่าว่า ไอ้ตะพาบ) วังปาดั้น (ไอ้พันธุ์ถ่อย) (จาก
: http://www.china2learn.com/board/ show.php? qID =3698)

คำด่าของคนทางเหนือที่คุ้นหูมักด่ากันว่า จ่าดวอก หรือ จ่าดง่าว นอกนั้นที่พบในเว็บไซท์เป็นกองพะเรอเกวียนที่ดูคล้ายจะฟังออกแต่ไม่ค่อยเข้าใจและเลยไม่รู้จะเจ็บแสบอย่างไรไหว เช่น

...ห่ากิ๋นตั๊บ ง่าวสุ๊ดหัวสุ๊ดตี๋นบ่อมีปั๋ญญาหาเงิน...มีก่ากู้ๆๆๆ...บ่าปันต๋าย...บ่าง่าว...  บ่ะฮ่ากิ๋นตั๊บ กิ๊นไต๋ บะลูกค่ำ ลูกงำ... ตำเฮาะ ตำวายตายพาย ตายกั๊ดบ่าจ๊าดหมา อีแห่น ซากต๋าย สิบหล๊วกคิงเขา แลกง่าวฮาอันเดว ยังบ่าเอาน่ะบะ จ๋าเหลือ... อิ่วอก อิ่พาย ตุ่มปิ๊ดติดคอ บ่าฮ่า บ่าวอก บ่าปันต๋ายบ่าหน้ามุ่ม... (จาก : http://www.cm108.com/bbb/lofiversion/index.php/t25269. html)

คำด่าของคนอีสาน เช่น หมากินความคึด ไม่สามารถสรรหาคำอธิบายได้ตรงๆ แปลโดยศัพท์ในภาษาไทยกลางก็คือ สุนัขกินความคิด ซึ่งดูจะเป็นคำธรรมดาๆ ซึ่งคนไม่รู้ภาษาอีสานคงไม่รู้สึกเจ็บ หากให้เทียบเคียงกับคำในภาษาไทยก็คงจะทำนองเดียวกันกับ โง่บัดซบ (จาก
: http://www. esaanvoice.net/esanvoice/know/showart.php?Category=bot&No=11919)

ส่วนคำด่าของคนทางใต้ เท่าที่เคยสัมผัสคนใต้มาบ้าง ขนาดคนใต้ที่สนิทสนมกันคุยกันธรรมดาก็ยังดูเหมือนกำลังจะมีเรื่อง แล้วหากเกิดด่ากันขึ้นมาคงยิ่งระทึกขวัญคนที่ไม่คุ้นเคยไม่น้อย เป็นต้นว่า เร่อ (ซื่อบื้อ เกือบๆ จะโง่ ทำอะไรไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่รู้เรื่อง) ฉอย (เสือก) ทำถ้าว (เสือก) ถ็อกหวัก (คำนี้ไม่กล้าแปล มีผู้รู้เทียบเคียงให้ฟังเพียง แผ่แม่เบี้ย) ขาดหุ้น (สติไม่สมประกอบ) เบล่อ (โง่) ขี้ฮก (โกหก) จองดอง (ทะลึ่ง) ห่าจก (ตะกละ) เอิด (เกเร) โบล่ะ (ขี้เหร่) (จาก
: http://www. muanglung.com/pasatai.htm)

แล้วคนมอญด่ากันแบบไหน ที่แน่นอนก็คือ คนมอญไม่นิยมด่ากันด้วยการลากโคตรเหง้าเอามากอง ไม่ด่ากันแบบยกให้เป็นสัตว์ที่ไม่ประเสริฐ รวมทั้งไม่เอาอวัยวะของผู้ที่ถูกด่าไปเปรียบเทียบกับอวัยวะที่ควรปกปิดหรืออวัยวะที่อยู่ระดับล่างๆ ของร่างกาย จะมีเพียงคำเดียวที่ด่ากันด้วยคำที่บ่งบอกบอกถึงนัยยะการสืบพันธุ์ คำด่าของคนมอญส่วนใหญ่เป็นลักษณะเฉพาะทางชาติพันธุ์ที่ดูแล้วไม่น่าจะเป็นคำที่ใช้ด่าทอกันได้ แน่นอนว่าคนชาติพันธุ์หนึ่งด่ากัน (ด่ากันเองหรือด่าคนต่างชาติพันธุ์) ก็ย่อมแปลกลิ้นแปร่งหูกว่าคำที่คนชาติพันธุ์อื่นด่ากัน


คำด่าของคนมอญที่ผมได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เกิด เป็นคำด่าที่มีมานานแล้วหลายร้อยปีไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่หดหาย และไม่เพิ่มขึ้น มอญในเมืองไทยและมอญในเมืองมอญ (ประเทศพม่าในปัจจุบัน) ก็ยังคงด่าเหมือนกัน (ด่ากันรู้เรื่อง) คำที่แปลกออกไป
ที่บ่งบอกบอกนัยยะการสืบพันธุ์ นั่นคือ จะต๊อก ส่วนคำด่าอมตนิรันดร์กาลมีเพียง ๓ คำ นั่นคือ จองเดิง จองเฮียก และ จองต่ะฮ์

มีอยู่คำเดียวที่รับเอาวัฒนธรรม (หรือเปล่า) การด่าแบบคนไทยไปใช้นั่นคือ
ปะกาวทอ   ปะกาว แปลว่า ดอกไม้ ทอ เป็นภาษามอญโบราณและเป็นต้นกำเนิดของคำว่า ทอง ในภาษาไทย ดังนั้นคำนี้จึงด่าที่เกิดจากการแลกรับปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมกับสังคมไทย ซึ่งมักจะเอามาด่ากันแบบขำๆ เสียมากกว่า

ในจำนวนคำด่าทั้ง ๓ คำของมอญจะสังเกตได้ว่าขึ้นต้นด้วยคำว่า
จอง คำนี้แปลว่า เผา ส่วน เดิง แปลว่า เมือง เฮียก แปลว่า ใหม้ และ ต่ะฮ์ แปลว่า เตียน เหี้ยน โล่ง (ประมาณว่าเผาแล้วกวาดกองเถ้าถ่านให้กระจัดกระจายด้วยส้นเท้ากันเลยทีเดียว) ฟังดูแล้วก็ไม่น่าจะเจ็บแสบอะไร เพียงแต่คนมอญมีประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวด ด้วยตนเองเคยมีบ้านเมือง ปราสาทราชวัง และกษัตริย์ราชบัลลังก์ วันหนึ่งก็ถูกพม่าบุกปล้นทำลายและยึดครอง มีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมากันในหมู่คนมอญว่า พม่าเข่นฆ่าผู้คนไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์ ศพลอยเกลื่อนจนแม่น้ำอิรวดีเป็นสีเลือด ไฟที่เผาผลาญปราสาทราชวัง วัดวาอาราม รวมทั้งบ้านเรือนราษฎรเปลวเพลิงลุกไหม้ขึ้นสูงหลายเส้นและนานนับเดือนโดยไม่ยอมดับ ปัจจุบันผืนดินบริเวณนั้นสุกเป็นดินเผา (อิฐ) ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้กระทั่งทุกวันนี้

แม้ประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าทำนองนี้จะไม่ส่งเสริมความสมานฉันท์ในโลกปัจจุบัน แต่ในเมื่อจนถึงทุกวันนี้ ผู้ถูกกระทำยังไม่ได้รับการเยียวยา มีแต่จะตอกย้ำด้วยพฤติกรรมดั้งเดิม (พม่า)  บาดแผลเก่าใหม่และความทรงจำที่เลวร้ายจึงกระตุ้นเตือนให้ลูกหลานมอญรำลึกถึงชนชาติและบรรพชนของตนที่ต้องหอบลูกจูงหลานหนีไฟสงครามเข้ามาอาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย คนนอกวัฒนธรรมคงรู้สึกขำหากถูกด่าว่า อีเผาเมือง ผีเผาไหม้ หรือ อีเผาเหี้ยน แต่สำหรับคนมอญโดยเฉพาะหญิงสาวด้วยแล้ว ถึงกับน้ำตาตกแทบจะหาสามีไม่ได้กันเลยทีเดียว เพราะการถูกด่าว่า
อีเผาเมือง นั้น เท่ากับถูกหาว่าเป็น พม่า ผู้เผาบ้านเผาเมืองของบรรพชนจนราบพนาสูญ

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง
องค์ บรรจุน
บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร
องค์ บรรจุน
แม้พุทธศาสนาจะมีต้นกำเนิดมาจากชมพูทวีป แต่ชนชาติต่างๆ ได้มีการแลกรับปรับใช้ในแบบของตนเอง เกิดลัทธินิกายผิดแผกแตกต่างกันไป สำหรับพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเถรวาทของมอญ ซึ่งเลื่องชื่อเรื่องความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์และความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชนมอญ ข้อหนึ่งที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้คือ พุทธประวัติตอนที่พระนางพิมพาสยายผมลงเช็ดพระบาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธประวัติตอนนี้มีกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของมอญเท่านั้น นอกจากนี้ชาวมอญยังได้นำมาใช้ในชีวิตจริงกับกษัตริย์และราชวงศ์อีกด้วย…
องค์ บรรจุน
ตลาดน้ำเกิดใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วอึดใจ ท่ามกลางธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ผู้คนให้การต้อนรับแบบน้ำใสใจจริง และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์รายรอบที่น่าสนใจ แม้จะเป็นตลาดน้ำเกิดใหม่เมื่อไม่นานแต่ก็ไม่มีการเสริมแต่งอย่างฝืนธรรมชาติ ซ้ำยังโดดเด่นด้วยของกินของใช้และของฝากหลากหลายโดยพ่อค้าแม่ขายคนในท้องถิ่น เปิดขายทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่เช้าตรู่เรื่อยไปจนแดดร่มลมตก จากนั้นตลาดก็จะวายไปเองตามวิถีทางของมัน  
องค์ บรรจุน
ป้าขจี (สงวนนามสกุล) เป็นคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายวัฒนธรรม คลุกคลีกับผู้คนตั้งแต่เหนือสุดจนเกือบใต้สุดแดนสยาม อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลายชาติพันธุ์ในตัวของป้า กับวัยที่ผ่านสุขทุกข์มาแล้วกว่า ๗๖ ปี จิตใจที่โน้มเอียงเลือกจะอยู่ข้างวัฒนธรรมแบบใดหรือยอมรับการผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากน้อยเพียงใดนั้น คงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่หล่อหลอมป้าขจีมาตั้งแต่วัยเด็ก
องค์ บรรจุน
ไม่รู้ว่าทำไมนักวิชาการที่ชอบใช้ทฤษฎีเมืองนอกเมืองนา ประเภทท่องจำขี้ปากฝรั่งมาพูด (สังเกตดูจากบทความวิชาการที่มักมีวงเล็บภาษาอังกฤษ มีเชิงอรรถในแต่ละหน้าเกือบครึ่งหน้ากระดาษ ฉันไม่ได้รังเกียจหลักการวิชาการของต่างชาติที่มีมาก่อนเรา เพียงแต่สงสัยว่า ตรงไหนกันหนอคือความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากสมองของคนเขียน...?) ชอบเอาทฤษฎีมาทดสอบพฤติกรรมเอากับคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงในสังคม โดยมักมีคำถามและ “คำพิพากษา” ต่อคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เมื่อพบเจอคนชาติพันธุ์นุ่งห่มชุดประจำชาติของเขาในกิจกรรมสำคัญ ก็ล้วนมีคำพูดถากถางเสียดสี และพูดคุยกันในกลุ่มของตัวเองแบบเห็นเป็นเรื่องขำ
องค์ บรรจุน
ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ
องค์ บรรจุน
เม้ยเผื่อน เล่าว่า ตนเองเกิดที่ย่านวัดน่วมกานนท์ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับบ้านปากบ่อและอยู่ภายในตำบลเดียวกันและเป็นหมู่บ้านของสามีและเครือญาติทางสามี
องค์ บรรจุน
  ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น
องค์ บรรจุน
ผมเป็นคนมหาชัย แม้ว่ามหาชัยเป็นเพียงแค่ชื่อตำบลหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่คนทั่วไปกลับรู้จักคุ้นเคยมากกว่าชื่อจังหวัด เช่นเดียวกับ แม่กลอง ซึ่งเปรียบเหมือนชื่อเล่นที่คนเคยปากมากกว่าชื่อสมุทรสงคราม ทั้งที่เป็นเพียงชื่อตำบลเล็กๆ เท่านั้น ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ชายทะเลอ่าวไทย สมุทรสาครมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านท่าจีน ไม่ต่างจากสมุทรสงครามที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านแม่กลอง
องค์ บรรจุน
มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยมีรัฐเอกราชปกครองตนเองอยู่ตอนใต้ของประเทศพม่า ปัจจุบันอยู่ในฐานะชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า ขณะที่มอญส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามายังดินแดนไทย และมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยเช่นเดียวกัน ชนชาติมอญ มีประวัติศาสตร์และอารยธรรมสืบเนื่องมายาวนาน แม้ปัจจุบันจะไม่มีรัฐปกครองตนเอง แต่วัฒนธรรมมอญทางด้านศาสนา ภาษา วรรณคดี สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมของชนชาติในภูมิภาคนี้ ล้วนได้รับอิทธิพลจากมอญ
องค์ บรรจุน
ราชาธิราช คือ วรรณคดีไทยที่แปลมาจากพงศาวดารมอญ โดยมีการแต่งเติมรายละเอียดบางอย่าง จึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารมอญ แม้คนมอญจำนวนมากเชื่อว่า “ราชาธิราช” เป็นพงศาวดารชาติมอญก็ตาม เพราะได้รับอิทธิพลจากการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และคณะ แปลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ นำมาสู่การจัดพิมพ์จำหน่ายโดยหมอบรัดเลย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ และอีกหลายสำนักพิมพ์มากกว่า ๒๒ ครั้ง ไม่นับแบบเรียน การแสดงลิเก ละครพันทาง ละครเวที และละครโทรทัศน์