Skip to main content

ภาสกร  อินทุมาร 


เหตุการณ์ที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ลงบทความเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติที่มหาชัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มาจากประเทศพม่า กล่าวว่าแรงงานเหล่านี้จะเข้ามายึดครองพื้นที่ รวมทั้งคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ที่ห้ามมิให้แรงงานเหล่านี้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เพราะเกรงว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

สิ่งที่สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ซึ่งอ้างว่า “รักชาติ” แต่เป็นการรักชาติแบบ “มองไม่เห็นความเป็นมนุษย์” และได้ส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวางต่อความรู้สึกนึกคิดของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคนไทยเชื้อสายมอญในมหาชัย ที่มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กับแรงงานมอญย้ายถิ่นที่มาจากพม่า

ความเกี่ยวโยงสัมพันธ์ระหว่างคนไทยเชื้อสายมอญในมหาชัยกับคนมอญย้ายถิ่นที่มาจากประเทศพม่าได้เกิดขึ้นมาเนิ่นนาน ดังคำพูดของ “พระครูปลัดโนรา อภิวโร” เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล แห่งตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ผู้ซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญในพื้นที่ ที่ว่า

“...วัดศิริมงคลนั้นห่างไกลจากตลาด ห่างไกลจากโรง งานไม่เท่าไหร่นัก คนมอญก็มาหลบลี้ ก็มาหลบก่อนที่จะเข้าโรง งาน หลบอยู่ที่วัดนี้ ประกอบกับหลวงพ่อเก่าท่านเมตตาต่อคน มอญ เพราะท่านรู้เรื่องคนมอญดี เพราะว่าหลวงพ่อก็เป็นคน มอญ แต่เป็นคนมอญไทยรามัญ ทีนี้พอคนมอญพม่าเข้ามาอยู่ แล้ว หลวงพ่อก็ให้ความอุปการะ หุงข้าวให้กินบ้าง พาไปหลบ ตำรวจบ้าง สมัยก่อนทางด้านหน้าวัดที่ติดกับแม่น้ำท่าจีน ส่วน ทางด้านหลังเป็นสวนพุทรา หลวงพ่อก็ให้คนขับรถไปหลบ... เขา ไม่ลืมบุญคุณที่ได้กินข้าว ได้ที่อยู่อาศัย เขาก็เลยมาต่อๆ กันเรื่อย หมู่ทางบ้านเขาก็รู้กันแล้วบอกต่อๆ กันไป แล้วก็อีกอย่างหนึ่งที่นี่ ก็มีพระมอญพม่าด้วย...” *

20080108 p30
พระอาจารย์โนรา เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล

ทุกวันนี้ พระครูปลัดโนราและวัดศิริมงคล ก็ยังมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับคนมอญย้ายถิ่น ดังเช่นการที่คนมอญย้ายถิ่นจะเข้ามาทำบุญที่วัดทุกวันพระและวันสำคัญทางศาสนา และการที่มีพระมอญจากเมืองมอญจำพรรษาอยู่นั้น ก็ได้ทำให้คนมอญย้ายถิ่นได้เข้ามาขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ อาทิ การรักษาโรคตามแบบโบราณ การสะเดาะเคราะห์ ฯลฯ นอกจากนี้ ด้วยความช่วยเหลือของพระครูปลัดโนรา วัดศิริมงคลจึงถูกใช้เป็นสถานที่ที่คนมอญย้ายถิ่นจัดงาน “วันชาติมอญ” หรือ “วันรำลึกบรรพบุรุษมอญ” มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ โดยที่งานดังกล่าว ก็คือพื้นที่ของการธำรงความเป็นชาติพันธุ์มอญ ผ่านการสดุดีวีรชนมอญและการแสดงทางวัฒนธรรม

20080108 p26
พระอาจารย์มาลัย เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก

นอกจากพระครูปลัดโนราแล้วนั้น ยังมี “หลวงพ่อมาลัย” เจ้าอาวาส “วัดบางหญ้าแพรก” ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร อีกท่านหนึ่ง ที่ช่วยเกื้อหนุนให้คนมอญย้ายถิ่นได้ธำรงความเป็นชาติพันธุ์ของตน หลวงพ่อมาลัยเป็นคนไทยเชื้อสายมอญบ้านบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ท่านได้รับนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรกเมื่อหลายสิบปีก่อน ดังนั้นท่านจึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่เข้าใจความเป็นไปของคนมอญย้ายถิ่นที่มหาชัย บทบาทสำคัญของท่านที่มีต่อคนมอญย้ายถิ่นก็คือ การอนุญาตให้ใช้สถานที่วัดเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ” โดยที่แนวคิดของการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวก็คือ

“...เพื่อรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมและรักษาภาษามอญให้มีอยู่ และเพื่อให้ชาวมอญไม่หมดไปในโลกนี้ เมื่อเราเกิดมาเป็นคนมอญ เราก็อยากให้เด็กมอญได้ภูมิใจในความเป็นชนชาติของเขา เพราะว่าคนเราเกิดเป็นมอญนี้มันก็มีความน้อยใจ ในเมื่อเขาไม่มีการศึกษา เขาก็จะไม่รู้ประวัติศาสตร์ของมอญ ไม่รู้ว่าเผ่าพันธุ์เป็นอย่างไร เขาจะน้อยใจ... คนไทยทำไมถึงไม่หมดไป ก็เพราะภาษาไทย ภาษานั้นสำคัญมาก... จะรักษาประเทศให้อยู่ได้ ภาษาและวัฒนธรรมต้องคงอยู่...” **

นอกจากจะสอนภาษา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมมอญแล้ว ศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ ยังสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ เพื่อให้ลูกหลานมอญสามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อีกด้วย และด้วยบทบาทของหลวงพ่อมาลัยในการเป็นผู้อุปถัมภ์ศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญเช่นนี้เอง ที่ทำให้คนมอญย้ายถิ่นมีความเคารพศรัทธาต่อท่าน ดังจะเห็นได้ จากการที่ในห้องเช่าของคนมอญย้ายถิ่นจำนวนมาก มีรูปภาพของท่านอยู่บนหิ้งบูชาร่วมกับภาพของสถานที่และบุคคลที่คนมอญเคารพ ดังเช่น ภาพพระธาตุต่างๆ ภาพพระพุทธรูปที่สำคัญ ภาพกษัตริย์มอญในอดีต ภาพพระยาเจ่ง รวมทั้งพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นต้น

20080108 p24
เด็กๆ ลูกหลานแรงงานมอญ ภายในศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ วัดบางหญ้าแพรก

หากมองจากสายตาคนนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสายตาของรัฐไทย บทบาทของหลวงพ่อมาลัยและพระครูปลัดโนราที่มีต่อคนมอญย้ายถิ่น ก็อาจทำให้เกิดคำถามที่ว่า เพราะเหตุใดพระทั้งสองรูปจึงให้ความช่วยเหลือและดูแลคนที่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย แต่หากมองด้วยสายตาของมนุษย์ด้วยกันก็จะพบว่าแรงงานมอญที่เข้ามานั้น ล้วนถูกผลักจากชุมชนดั้งเดิมของตนด้วยความเดือดร้อนทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง การให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ที่เดือดร้อนเช่นนี้ ก็คือหน้าที่หนึ่งที่มนุษย์พึงมีต่อกันมิใช่หรือ  และเมื่อมองด้วยสายตาของความเป็นชาติพันธุ์ สิ่งที่พระครูปลัดโนรา และหลวงพ่อมาลัยกระทำต่อคนมอญย้ายถิ่นนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากสายใยของความเป็นชาติพันธุ์ “มอญ” ที่ยึดโยงกันอยู่ ซึ่งสายใยของชาติพันธุ์และความเป็นมนุษย์นั้น ล้วนอยู่เหนือเส้นแดนที่ถูกขีดขึ้นโดยรัฐ

20080108 p25
เด็กก็คือเด็ก ไม่บอกใครจะรู้ว่าชาติพันธุ์ไหน ขาวหรือดำ ดีหรือชั่ว

 

เชิงอรรถ

* สัมภาษณ์ พระครูปลัดโนรา อภิวโร เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, อ้างใน สุกัญญา เบาเนิด. การสร้างอัตลักษณ์ของคน มอญย้ายถิ่น: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์มานุษย วิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙.

** สัมภาษณ์ นายจอมอญ ครูประจำศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ วัดบางหญ้า แพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, อ้างใน สุกัญญา เบาเนิด. การสร้างอัตลักษณ์ ของคนมอญย้ายถิ่น: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙.

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…