Skip to main content

ภาสกร  อินทุมาร 


เหตุการณ์ที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ลงบทความเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติที่มหาชัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มาจากประเทศพม่า กล่าวว่าแรงงานเหล่านี้จะเข้ามายึดครองพื้นที่ รวมทั้งคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ที่ห้ามมิให้แรงงานเหล่านี้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เพราะเกรงว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

สิ่งที่สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ซึ่งอ้างว่า “รักชาติ” แต่เป็นการรักชาติแบบ “มองไม่เห็นความเป็นมนุษย์” และได้ส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวางต่อความรู้สึกนึกคิดของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคนไทยเชื้อสายมอญในมหาชัย ที่มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กับแรงงานมอญย้ายถิ่นที่มาจากพม่า

ความเกี่ยวโยงสัมพันธ์ระหว่างคนไทยเชื้อสายมอญในมหาชัยกับคนมอญย้ายถิ่นที่มาจากประเทศพม่าได้เกิดขึ้นมาเนิ่นนาน ดังคำพูดของ “พระครูปลัดโนรา อภิวโร” เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล แห่งตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ผู้ซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญในพื้นที่ ที่ว่า

“...วัดศิริมงคลนั้นห่างไกลจากตลาด ห่างไกลจากโรง งานไม่เท่าไหร่นัก คนมอญก็มาหลบลี้ ก็มาหลบก่อนที่จะเข้าโรง งาน หลบอยู่ที่วัดนี้ ประกอบกับหลวงพ่อเก่าท่านเมตตาต่อคน มอญ เพราะท่านรู้เรื่องคนมอญดี เพราะว่าหลวงพ่อก็เป็นคน มอญ แต่เป็นคนมอญไทยรามัญ ทีนี้พอคนมอญพม่าเข้ามาอยู่ แล้ว หลวงพ่อก็ให้ความอุปการะ หุงข้าวให้กินบ้าง พาไปหลบ ตำรวจบ้าง สมัยก่อนทางด้านหน้าวัดที่ติดกับแม่น้ำท่าจีน ส่วน ทางด้านหลังเป็นสวนพุทรา หลวงพ่อก็ให้คนขับรถไปหลบ... เขา ไม่ลืมบุญคุณที่ได้กินข้าว ได้ที่อยู่อาศัย เขาก็เลยมาต่อๆ กันเรื่อย หมู่ทางบ้านเขาก็รู้กันแล้วบอกต่อๆ กันไป แล้วก็อีกอย่างหนึ่งที่นี่ ก็มีพระมอญพม่าด้วย...” *

20080108 p30
พระอาจารย์โนรา เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล

ทุกวันนี้ พระครูปลัดโนราและวัดศิริมงคล ก็ยังมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับคนมอญย้ายถิ่น ดังเช่นการที่คนมอญย้ายถิ่นจะเข้ามาทำบุญที่วัดทุกวันพระและวันสำคัญทางศาสนา และการที่มีพระมอญจากเมืองมอญจำพรรษาอยู่นั้น ก็ได้ทำให้คนมอญย้ายถิ่นได้เข้ามาขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ อาทิ การรักษาโรคตามแบบโบราณ การสะเดาะเคราะห์ ฯลฯ นอกจากนี้ ด้วยความช่วยเหลือของพระครูปลัดโนรา วัดศิริมงคลจึงถูกใช้เป็นสถานที่ที่คนมอญย้ายถิ่นจัดงาน “วันชาติมอญ” หรือ “วันรำลึกบรรพบุรุษมอญ” มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ โดยที่งานดังกล่าว ก็คือพื้นที่ของการธำรงความเป็นชาติพันธุ์มอญ ผ่านการสดุดีวีรชนมอญและการแสดงทางวัฒนธรรม

20080108 p26
พระอาจารย์มาลัย เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก

นอกจากพระครูปลัดโนราแล้วนั้น ยังมี “หลวงพ่อมาลัย” เจ้าอาวาส “วัดบางหญ้าแพรก” ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร อีกท่านหนึ่ง ที่ช่วยเกื้อหนุนให้คนมอญย้ายถิ่นได้ธำรงความเป็นชาติพันธุ์ของตน หลวงพ่อมาลัยเป็นคนไทยเชื้อสายมอญบ้านบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ท่านได้รับนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรกเมื่อหลายสิบปีก่อน ดังนั้นท่านจึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่เข้าใจความเป็นไปของคนมอญย้ายถิ่นที่มหาชัย บทบาทสำคัญของท่านที่มีต่อคนมอญย้ายถิ่นก็คือ การอนุญาตให้ใช้สถานที่วัดเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ” โดยที่แนวคิดของการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวก็คือ

“...เพื่อรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมและรักษาภาษามอญให้มีอยู่ และเพื่อให้ชาวมอญไม่หมดไปในโลกนี้ เมื่อเราเกิดมาเป็นคนมอญ เราก็อยากให้เด็กมอญได้ภูมิใจในความเป็นชนชาติของเขา เพราะว่าคนเราเกิดเป็นมอญนี้มันก็มีความน้อยใจ ในเมื่อเขาไม่มีการศึกษา เขาก็จะไม่รู้ประวัติศาสตร์ของมอญ ไม่รู้ว่าเผ่าพันธุ์เป็นอย่างไร เขาจะน้อยใจ... คนไทยทำไมถึงไม่หมดไป ก็เพราะภาษาไทย ภาษานั้นสำคัญมาก... จะรักษาประเทศให้อยู่ได้ ภาษาและวัฒนธรรมต้องคงอยู่...” **

นอกจากจะสอนภาษา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมมอญแล้ว ศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ ยังสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ เพื่อให้ลูกหลานมอญสามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อีกด้วย และด้วยบทบาทของหลวงพ่อมาลัยในการเป็นผู้อุปถัมภ์ศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญเช่นนี้เอง ที่ทำให้คนมอญย้ายถิ่นมีความเคารพศรัทธาต่อท่าน ดังจะเห็นได้ จากการที่ในห้องเช่าของคนมอญย้ายถิ่นจำนวนมาก มีรูปภาพของท่านอยู่บนหิ้งบูชาร่วมกับภาพของสถานที่และบุคคลที่คนมอญเคารพ ดังเช่น ภาพพระธาตุต่างๆ ภาพพระพุทธรูปที่สำคัญ ภาพกษัตริย์มอญในอดีต ภาพพระยาเจ่ง รวมทั้งพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นต้น

20080108 p24
เด็กๆ ลูกหลานแรงงานมอญ ภายในศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ วัดบางหญ้าแพรก

หากมองจากสายตาคนนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสายตาของรัฐไทย บทบาทของหลวงพ่อมาลัยและพระครูปลัดโนราที่มีต่อคนมอญย้ายถิ่น ก็อาจทำให้เกิดคำถามที่ว่า เพราะเหตุใดพระทั้งสองรูปจึงให้ความช่วยเหลือและดูแลคนที่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย แต่หากมองด้วยสายตาของมนุษย์ด้วยกันก็จะพบว่าแรงงานมอญที่เข้ามานั้น ล้วนถูกผลักจากชุมชนดั้งเดิมของตนด้วยความเดือดร้อนทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง การให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ที่เดือดร้อนเช่นนี้ ก็คือหน้าที่หนึ่งที่มนุษย์พึงมีต่อกันมิใช่หรือ  และเมื่อมองด้วยสายตาของความเป็นชาติพันธุ์ สิ่งที่พระครูปลัดโนรา และหลวงพ่อมาลัยกระทำต่อคนมอญย้ายถิ่นนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากสายใยของความเป็นชาติพันธุ์ “มอญ” ที่ยึดโยงกันอยู่ ซึ่งสายใยของชาติพันธุ์และความเป็นมนุษย์นั้น ล้วนอยู่เหนือเส้นแดนที่ถูกขีดขึ้นโดยรัฐ

20080108 p25
เด็กก็คือเด็ก ไม่บอกใครจะรู้ว่าชาติพันธุ์ไหน ขาวหรือดำ ดีหรือชั่ว

 

เชิงอรรถ

* สัมภาษณ์ พระครูปลัดโนรา อภิวโร เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, อ้างใน สุกัญญา เบาเนิด. การสร้างอัตลักษณ์ของคน มอญย้ายถิ่น: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์มานุษย วิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙.

** สัมภาษณ์ นายจอมอญ ครูประจำศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ วัดบางหญ้า แพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, อ้างใน สุกัญญา เบาเนิด. การสร้างอัตลักษณ์ ของคนมอญย้ายถิ่น: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙.

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…