Skip to main content

องค์ บรรจุน

“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียว

20080125 ทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว ถ่ายเมื่อราวปี 2500
ทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี 2500

“ทะแยมอญ” เป็นชื่อที่คนไทยเรียกการละเล่นอย่างหนึ่งของคนมอญ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำในภาษามอญว่า แต็ะแหฺย็ะฮ์ หมายถึงการขับร้อง ทะแยมอญเป็นการละเล่นหรือการแสดงของชาวมอญที่มีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ (ร้องโต้ตอบกัน) คล้ายกับการเล่นเพลงพื้นเมืองของไทย เช่น เพลงลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว และเพลงเรือ แต่ไม่มีการร้องหยาบคาย โดยจะมีผู้ร้องชายหญิงโต้ตอบกันเป็นคู่ ๆ ประกอบการร่ายรำ สำหรับคำร้องนั้นเป็นภาษามอญ แต่ในปัจจุบันมีการประยุกต์คำร้องให้มีภาษาไทยปน มักใช้กับทำนองเพลงสมัยใหม่ เช่น เพลงลูกทุ่ง เป็นต้น (พระมหาจรูญ ญาณจารี : www.monstudies.com )

เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการละเล่นทะแยมอญ เป็นวงมโหรีเครื่องสายมอญ ซึ่งประกอบด้วยดนตรี ๕ ชิ้น ได้แก่ ซอมอญ (โกร่) จะเข้มอญ (กฺยาม) ขลุ่ย (อะโลด) เปิงมาง (ปุงตัง) และฉิ่ง (คะเด) และเนื่องจากปัจจุบันได้มีการประยุกต์เอาทำนองเพลงสมัยใหม่มาใช้ นักดนตรีจึงเพิ่มซอด้วงเพื่อทำทำนองอีก ๑ ชิ้น และในบางครั้งอาจเพิ่มฉาบเล็ก กรับ และกลองรำวง สำหรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะอีกด้วย

แต่เดิมวงทะแยมอญใช้เป็นมหรสพได้ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล โดยผู้ร้องจะปรับเนื้อหาของคำร้องให้เข้ากับงานแต่ละประเภท เช่น งานศพ ก็จะร้องพรรณนาคุณงามความดีของผู้ตาย งานแต่งงานก็จะร้องพรรณนาประวัติของบ่าวสาว ให้คติการครองเรือนและสิ่งที่ควรปฏิบัติต่อกัน จบด้วยการอวยพรคู่บ่าวสาว ส่วนงานที่เกี่ยวกับศาสนาก็จะร้องพรรณนาถึงอานิสงส์ของการทำบุญ และประวัติความเป็นมาของงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง เนื้อหากล่าวถึงตั้งแต่หลักธรรม และการดำเนินชีวิต

20080125 วงมโหรีมอญ หงส์ฟ้ารามัญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพฯ
วงมโหรีมอญ หงส์ฟ้ารามัญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพฯ งานเทิดพระเกียรติพระมิ่งมณีจักรีวงศ์ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ

บทร้องนั้นเดิมจะร้องโต้ตอบกันด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งที่เล่าเป็นเรื่องราว และการเกี้ยวพาราสีกัน ปัจจุบันผู้แสดงจะร้องด้วยการจำเนื้อร้องเป็นบท และใช้ร้องซ้ำๆ เนืองจากปัจจุบันอาชีพไม่สามารถยึดการแสดงทะแยมอญเป็นอาชีพหลัก หรือรวมตัวกันซ้อมหลังเลิกงานในไร่นาได้อีก เนื่องจากสภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ความนิยมลดน้อยลง โอกาสในการแสดงจึงมีน้อย

20080125 วงมโหรีและทะแยมอญ บ้านไร่เจริญผล ในงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ 60 ลพบุรี
วงมโหรีและทะแยมอญ บ้านไร่เจริญผล สมุทรสาคร ในงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ 60 จังหวัดลพบุรี

ปัจจุบันการแสดงทะแยมอญในเมืองไทยเหลือที่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น มีเพียงวงเดียวและยังเปิดรับการแสดงอยู่ คือวงหงส์ฟ้ารามัญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพฯ ที่ใช้การร้องด้วยปฏิภาณกวีแต่ก็มีแบบบทท่องจำด้วย ซึ่งได้รับความนิยมมาก มีการว่าจ้างไปทำการแสดงยังชุมชนมอญต่างๆ ทั่วประเทศ ส่วนวงทะแยมอญอื่นๆ ในเมืองไทยที่เคยมีก็ต่างโรยราลงไป ด้วยเหตุผลทางธุรกิจและขาดผู้สืบทอด ยังมีวงทะแยมอญที่พอนึกออกอีก ๓ แห่ง ได้แก่ บ้านเจ็ดริ้ว และบ้านไร่เจริญผล สมุทรสาคร และบ้านกระทุ่มมืด รอยต่อนครปฐมและนนทบุรี ซึ่งนักแสดงล้วนเป็นผู้สูงอายุ ที่ล้มหายตายจากไปก็มาก บางรายเครื่องดนตรียังอยู่ดีแต่เรี่ยวแรงจะดีดสีไม่มีแล้ว นางเอกประจำวงจะยืนร้องนานๆ ก็ไม่ไหว เรี่ยวแรงที่จะต่อล้อต่อเถียง เท้าสะเอวชี้หน้าพระเอกก็ลำบาก นักดนตรีสีซอกันไปร้องกันไปลูกหลานต้องคอยส่งยาดมชงยาหอมให้เป็นระยะๆ เพราะอายุนักแสดงจำนวนไม่ถึงสิบคนแต่อายุรวมกันเกือบพันปีอยู่รอมร่อ

วงทะแยมอญที่ชวนไปดูในครั้งนี้ไม่ใช่หงส์ฟ้ารามัญ แต่เป็นวงบ้านไร่เจริญผล สถานที่ๆ จะจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญ ในวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์นี้ เป็นวงเก่าแก่วงหนึ่ง ที่มีนักดนตรีมือดี นักร้องเสียงใสและไหวพริบปฏิภาณยอดเยี่ยม แถมยังมีการฝึกลูกหลานเอาไว้ในวงหลายคน แต่เดิมจะได้ดูทะแยมอญกันทีก็ต้องตรุษสงกรานต์หรืองานศพพระผู้ใหญ่ แต่คราวนี้ชวนไปดูเนื่องจากมีงานสำคัญ คืองานวันรำลึกชนชาติมอญ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๖๑ แล้ว โดยชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพได้จัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปทุกจังหวัดที่มีชุมชนมอญ (ราว ๓๕ จังหวัด) และชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศจะเดินทางมาร่วมงาน ซึ่งไม่ได้มามือเปล่า ยังแห่กองผ้าป่ามาร่วมทำบุญร่วมกับวัดที่เป็นเจ้าภาพ นำอาหารและการแสดงมาร่วมด้วย ซึ่งเป้าหมายสำคัญของชาวไทยเชื้อสายมอญที่มาในงานนี้คือ เพื่อทำบุญอุทิศกุศลแด่บรรพชนมอญผู้ล่วงลับ แต่ครั้งนี้อาจพิเศษกว่าทุกครั้ง เพราะชาวไทยเชื้อสายมอญทั่วประเทศจะร่วมจิตร่วมใจกันทำบุญอุทิศพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วยดวงใจที่เปี่ยมรักและอาลัยมิรู้คลาย

งานวันรำลึกชนชาติมอญทุกครั้งที่ผ่านมา จึงมิได้มีแต่ทะแยมอญเก่าแก่ที่หาชมยากและอยากชี้ชวนให้ไปดูเท่านั้น ยังละลานตาด้วยภาพพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่มีชีวิต ชาวมอญจากหลากหลายลุ่มน้ำล้วนแต่งกายสวยงามตามเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของตน สวมโสร่งนุ่งซิ่นเกล้าผมห่มสไบ สดับสุ้มเสียงสำเนียงมอญ ชิมอาหาร และชมการแสดงหลากหลายลุ่มน้ำ ที่มารวมตัวประชันให้ชมกันเต็มอิ่มเกินบรรยาย

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…