Skip to main content

องค์ บรรจุน

“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียว

20080125 ทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว ถ่ายเมื่อราวปี 2500
ทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี 2500

“ทะแยมอญ” เป็นชื่อที่คนไทยเรียกการละเล่นอย่างหนึ่งของคนมอญ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำในภาษามอญว่า แต็ะแหฺย็ะฮ์ หมายถึงการขับร้อง ทะแยมอญเป็นการละเล่นหรือการแสดงของชาวมอญที่มีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ (ร้องโต้ตอบกัน) คล้ายกับการเล่นเพลงพื้นเมืองของไทย เช่น เพลงลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว และเพลงเรือ แต่ไม่มีการร้องหยาบคาย โดยจะมีผู้ร้องชายหญิงโต้ตอบกันเป็นคู่ ๆ ประกอบการร่ายรำ สำหรับคำร้องนั้นเป็นภาษามอญ แต่ในปัจจุบันมีการประยุกต์คำร้องให้มีภาษาไทยปน มักใช้กับทำนองเพลงสมัยใหม่ เช่น เพลงลูกทุ่ง เป็นต้น (พระมหาจรูญ ญาณจารี : www.monstudies.com )

เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการละเล่นทะแยมอญ เป็นวงมโหรีเครื่องสายมอญ ซึ่งประกอบด้วยดนตรี ๕ ชิ้น ได้แก่ ซอมอญ (โกร่) จะเข้มอญ (กฺยาม) ขลุ่ย (อะโลด) เปิงมาง (ปุงตัง) และฉิ่ง (คะเด) และเนื่องจากปัจจุบันได้มีการประยุกต์เอาทำนองเพลงสมัยใหม่มาใช้ นักดนตรีจึงเพิ่มซอด้วงเพื่อทำทำนองอีก ๑ ชิ้น และในบางครั้งอาจเพิ่มฉาบเล็ก กรับ และกลองรำวง สำหรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะอีกด้วย

แต่เดิมวงทะแยมอญใช้เป็นมหรสพได้ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล โดยผู้ร้องจะปรับเนื้อหาของคำร้องให้เข้ากับงานแต่ละประเภท เช่น งานศพ ก็จะร้องพรรณนาคุณงามความดีของผู้ตาย งานแต่งงานก็จะร้องพรรณนาประวัติของบ่าวสาว ให้คติการครองเรือนและสิ่งที่ควรปฏิบัติต่อกัน จบด้วยการอวยพรคู่บ่าวสาว ส่วนงานที่เกี่ยวกับศาสนาก็จะร้องพรรณนาถึงอานิสงส์ของการทำบุญ และประวัติความเป็นมาของงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง เนื้อหากล่าวถึงตั้งแต่หลักธรรม และการดำเนินชีวิต

20080125 วงมโหรีมอญ หงส์ฟ้ารามัญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพฯ
วงมโหรีมอญ หงส์ฟ้ารามัญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพฯ งานเทิดพระเกียรติพระมิ่งมณีจักรีวงศ์ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ

บทร้องนั้นเดิมจะร้องโต้ตอบกันด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งที่เล่าเป็นเรื่องราว และการเกี้ยวพาราสีกัน ปัจจุบันผู้แสดงจะร้องด้วยการจำเนื้อร้องเป็นบท และใช้ร้องซ้ำๆ เนืองจากปัจจุบันอาชีพไม่สามารถยึดการแสดงทะแยมอญเป็นอาชีพหลัก หรือรวมตัวกันซ้อมหลังเลิกงานในไร่นาได้อีก เนื่องจากสภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ความนิยมลดน้อยลง โอกาสในการแสดงจึงมีน้อย

20080125 วงมโหรีและทะแยมอญ บ้านไร่เจริญผล ในงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ 60 ลพบุรี
วงมโหรีและทะแยมอญ บ้านไร่เจริญผล สมุทรสาคร ในงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ 60 จังหวัดลพบุรี

ปัจจุบันการแสดงทะแยมอญในเมืองไทยเหลือที่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น มีเพียงวงเดียวและยังเปิดรับการแสดงอยู่ คือวงหงส์ฟ้ารามัญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพฯ ที่ใช้การร้องด้วยปฏิภาณกวีแต่ก็มีแบบบทท่องจำด้วย ซึ่งได้รับความนิยมมาก มีการว่าจ้างไปทำการแสดงยังชุมชนมอญต่างๆ ทั่วประเทศ ส่วนวงทะแยมอญอื่นๆ ในเมืองไทยที่เคยมีก็ต่างโรยราลงไป ด้วยเหตุผลทางธุรกิจและขาดผู้สืบทอด ยังมีวงทะแยมอญที่พอนึกออกอีก ๓ แห่ง ได้แก่ บ้านเจ็ดริ้ว และบ้านไร่เจริญผล สมุทรสาคร และบ้านกระทุ่มมืด รอยต่อนครปฐมและนนทบุรี ซึ่งนักแสดงล้วนเป็นผู้สูงอายุ ที่ล้มหายตายจากไปก็มาก บางรายเครื่องดนตรียังอยู่ดีแต่เรี่ยวแรงจะดีดสีไม่มีแล้ว นางเอกประจำวงจะยืนร้องนานๆ ก็ไม่ไหว เรี่ยวแรงที่จะต่อล้อต่อเถียง เท้าสะเอวชี้หน้าพระเอกก็ลำบาก นักดนตรีสีซอกันไปร้องกันไปลูกหลานต้องคอยส่งยาดมชงยาหอมให้เป็นระยะๆ เพราะอายุนักแสดงจำนวนไม่ถึงสิบคนแต่อายุรวมกันเกือบพันปีอยู่รอมร่อ

วงทะแยมอญที่ชวนไปดูในครั้งนี้ไม่ใช่หงส์ฟ้ารามัญ แต่เป็นวงบ้านไร่เจริญผล สถานที่ๆ จะจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญ ในวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์นี้ เป็นวงเก่าแก่วงหนึ่ง ที่มีนักดนตรีมือดี นักร้องเสียงใสและไหวพริบปฏิภาณยอดเยี่ยม แถมยังมีการฝึกลูกหลานเอาไว้ในวงหลายคน แต่เดิมจะได้ดูทะแยมอญกันทีก็ต้องตรุษสงกรานต์หรืองานศพพระผู้ใหญ่ แต่คราวนี้ชวนไปดูเนื่องจากมีงานสำคัญ คืองานวันรำลึกชนชาติมอญ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๖๑ แล้ว โดยชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพได้จัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปทุกจังหวัดที่มีชุมชนมอญ (ราว ๓๕ จังหวัด) และชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศจะเดินทางมาร่วมงาน ซึ่งไม่ได้มามือเปล่า ยังแห่กองผ้าป่ามาร่วมทำบุญร่วมกับวัดที่เป็นเจ้าภาพ นำอาหารและการแสดงมาร่วมด้วย ซึ่งเป้าหมายสำคัญของชาวไทยเชื้อสายมอญที่มาในงานนี้คือ เพื่อทำบุญอุทิศกุศลแด่บรรพชนมอญผู้ล่วงลับ แต่ครั้งนี้อาจพิเศษกว่าทุกครั้ง เพราะชาวไทยเชื้อสายมอญทั่วประเทศจะร่วมจิตร่วมใจกันทำบุญอุทิศพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วยดวงใจที่เปี่ยมรักและอาลัยมิรู้คลาย

งานวันรำลึกชนชาติมอญทุกครั้งที่ผ่านมา จึงมิได้มีแต่ทะแยมอญเก่าแก่ที่หาชมยากและอยากชี้ชวนให้ไปดูเท่านั้น ยังละลานตาด้วยภาพพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่มีชีวิต ชาวมอญจากหลากหลายลุ่มน้ำล้วนแต่งกายสวยงามตามเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของตน สวมโสร่งนุ่งซิ่นเกล้าผมห่มสไบ สดับสุ้มเสียงสำเนียงมอญ ชิมอาหาร และชมการแสดงหลากหลายลุ่มน้ำ ที่มารวมตัวประชันให้ชมกันเต็มอิ่มเกินบรรยาย

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…