Skip to main content

องค์ บรรจุน

วงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง มอญนกขมิ้น กราวมอญรำ เป็นต้น และสิ่งที่โดดเด่นของดนตรีมอญ คือ วงปี่พาทย์มอญ อันเป็นที่นิยมมาทุกยุคทุกสมัย

ปี่พาทย์มอญ

ปี่พาทย์มอญ "ดนตรีเสนาะ ศิษย์ครูเจิ้น" จังหวัดปทุมธานี

สมัยกรุงธนบุรีนั้นมีหลักฐานปรากฎตามหมายรับสั่งในงานฉลองพระแก้วมรกตว่า
“…ในระยะที่ว่างนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์ รามัญ และมโหรีไทยมโหรีแขก ฝรั่ง มโหรีจีน ญวน เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช ๒ เดือนกัน ๑๒ วัน พระราชทานเบี้ยเลี้ยงผู้ที่มาเล่นนั้น หมื่นราชาราชมโหรีไทย ชาย ๒ หญิง ๔ พระยาธิเบศรบดีมโหรีแขก ๒ มโหรีฝรั่ง ๓ พระยาราชาเศรษฐีองเชียงชุนมโหรีญวน พระยาราชาเศรษฐีจีน มโหรีจีน ๖ พระยารามัญวงศ์มโหรีมอญ คนเพลงชาย ๒ หญิง ๔ พิณพาทย์ ๙ หลวงพิพิทวาทีมโหรีเขมร ชาย ๔ หญิง ๓ หมื่นเสนาะภูบาลพิณพาทย์ไทย ๕ รามัญ ๕ ลาว ๑๒…” [2]

วงปี่พาทย์มอญมีเครื่องดนตรีบรรเลงเทียบได้กับวงปี่พาทย์เครื่องห้าของไทย ได้แก่
(๑) ปี่มอญ มีรูปร่างคล้ายปี่ชวา แต่ขนาดใหญ่กว่า และมีลำโพงทำด้วยทองเหลือง ครอบต่ออยู่ตรงปลายปี่
(๒) ระนาดเอก มีลักษณะรูปร่างเหมือนของไทย
(๓) ฆ้องมอญ ลักษณะของวงฆ้องจะโค้งขึ้นทั้ง ๒ ข้าง ตัวร้านฆ้องแกะสลักลวดลายปิดทอง ประดับกระจกงดงาม ทางด้านซ้ายของคนตีมักแกะเป็นรูปกินนรจับนนาค เรียกว่าหน้าพระ
(๔) ตะโพนมอญ รูปร่างคล้ายตะโพนไทย แต่ใหญ่กว่า และตรงกลางหุ่นป่องน้อยกว่า ใช้บรรเลงผสมในวงปีพาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ กำกับจังหวะต่างๆ
(๕) เปิงมางคอก มีหลายลูก โดยมากจะมี ๗ ลูก เทียงเสียงสูงต่ำเรียงลำดับกันไป แขวนกับคอกเป็นวง ล้อมตัวผู้ตี
นอกจากนี้ยังมีเครื่องประกอบจังหวะ คือ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง ซึ่งมี ๓ ลูก มีเสียงสูงต่ำเป็น ๓ เสียง บรรเลงรวมกันเรียกว่า วงปี่พาทย์มอญ

ปี่พาทย์มอญ บางลำพู
ปี่พาทย์มอญ "ดุริยปราณีต" บางลำพู กรุงเทพฯ งาน ๕ ธันวามหาราช ปี ๒๕๔๘ ณ ท้องสนามหลวง

วงปี่พาทย์มอญ เป็นวงดนตรีที่นิยมเล่นทั้งงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป แต่ภายหลังมีการนำวงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานพระศพของสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงดำริว่า สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์นั้นเป็นเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดฯ ให้นำวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลง และด้วยเหตุนี้เองภายหลังจากงานพระศพดังกล่าว จึงได้เกิดเป็นค่านิยมว่า หากเป็นงานศพผู้ดีจะต้องมีปี่พาทย์มอญบรรเลงด้วย [3] จนกลายเป็นธรรมเนียมยึดถือกันในเวลาต่อมาในหมู่ชาวไทย ซึ่งไม่เฉพาะแต่ศพผู้ดีเท่านั้นแม้ศพของสามัญชนทั่วไปก็เชื่อถืออย่างเดียวกันว่า ปี่พาทย์มอญนั้นใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น และพาลเกิดความเชื่อตามมาว่าวงดนตรีปี่พาทย์มอญเป็นสิ่งอัปมงคล หากไม่มีงานศพหรือคนตายแล้ว ห้ามเอาขึ้นบ้านเรือนผู้ใด เพราะเชื่อว่าจะเป็นลางไม่ดี [4]

ภาพฆ้องมอญด้านข้าง แกะสลักรูปกินนรจับนาค
ฆ้องมอญด้านข้าง แกะสลักรูปกินนรจับนาค

ไม่เพียงแต่การบรรเลงวงปี่พาทย์มอญเท่านั้น ที่เกิดเป็นค่านิยมว่าเป็นวงดนตรีที่ใช้เฉพาะงานอัปมงคล แม้แต่เสียงดนตรีที่เกิดจากการบรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ยังถูกเหมารวมไปด้วย ได้แก่ เสียงของ “ตะโพนมอญ” ซึ่งมีเสียงดังกังวาลลึกกว่าตะโพนไทย หน้าใหญ่ภาษามอญเรียกว่า "เมิ่กโหน่ก" และในภาษาไทยเรียกว่า "หน้าเทิ่ง" หรือ "หน้าเท่ง" ส่วนหน้าเล็กภาษามอญเรียกว่า "เมิ่กโด้ด" และในภาษาไทยเรียกว่า “หน้าทึง” เนื่องจากเวลาตีตะโพนแล้วเสียงที่ได้คือ “เท่ง-ทึง” เช่นนี้เอง ประกอบกับผู้คนมักได้ยินเสียงตะโพนมอญในงานศพเสมอ จึงเกิดเป็นคำเรียกคนตายในอีกความหมายหนึ่งว่า “เท่งทึง” [5]

 

ตะโพนมอญ ที่มาของคำว่า
ตะโพนมอญ ที่มาของคำว่า "เท่งทึง"

 

ความเป็นจริงนั้นก็ด้วยเหตุผลที่ได้แจ้งแล้วข้างต้นแล้วว่า ปี่พาทย์มอญบรรเลงได้ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล (งานศพ) ทั่วไป อย่างเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ในงาน ๕ ธันวามหาราช ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพได้นำวงปี่พาทย์มอญ มอญรำ และนักร้องเพลงมอญ ไปแสดงบนเวทีกลางท้องสนามหลวงเพื่อร่วมเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มิได้มีปัญหาแต่อย่างใด ทางราชสำนัก สำนักพระราชวัง และมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช มิได้มีคำถามใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสถาบันเหล่านี้เข้าใจดี ในหมู่คนมอญก็ยังมีค่านิยมแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง การที่คนไทยรับปี่พาทย์มอญไปแสดงนับเป็นสิ่งที่ดี วัฒนธรรมการดนตรีจะได้ไม่หยุดนิ่ง มีพัฒนาการ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่อย่างน้อยควรมีคำอธิบายความหมายที่มาที่ไปให้ได้รู้กัน ลองคิดกันดูเล่นๆ หากใครสักคนคิดตั้งวงปี่พาทย์มอญขึ้นมา และยึดถือเป็นอาชีพของครอบครัว ปีหนึ่งๆ รับแต่งานศพ มันจะไปพอกินอะไร คงต้องลุกขึ้นมานั่งแช่งชักหักกระดูกให้ผู้คนล้มตายกันทุกวัน “จะได้งานเข้า”

----------
1 ไพโรจน์ บุญผูก. (๒๕๓๗). ปี่พาทย์-มอญรำ. ใน สยามอารยะ. ๒(๒๓). หน้า ๕๒.
2 กรมหลวงนรินทรเทวี. (๒๕๔๖). อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันลงมากรุงธนบุรี. ใน ศิลปวัฒนธรรม. หน้า ๑๔๑.
3 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ; และ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. (๒๕๐๕). สาส์นสมเด็จ เล่มที่ ๑๘. หน้า ๑๐๗.
4 อนันต์ สบฤกษ์. (๒๕๕๑). เพลงพื้นบ้าน ‘กันตรึม’ ในกระแสการเปลี่ยนแปลง. ใน เอกสารประกอบการบรรยายประชุมวิชาการ, แผนที่วัฒนธรรม: เครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ชายแดน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑. เอกสารอัดสำเนา.
5 สมภพ ภิรมย์. (๒๕๒๕). มอญ. ใน รวมเกล็ดพงศาวดารและประวัติศาสตร์ชนชาติมอญ. บรรณานุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพรองอำมาตย์โท ขุนอาโภคคดี (เพิ่ม หลักคงคา). หน้า ๗๓.

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…