Skip to main content

องค์ บรรจุน

วงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง มอญนกขมิ้น กราวมอญรำ เป็นต้น และสิ่งที่โดดเด่นของดนตรีมอญ คือ วงปี่พาทย์มอญ อันเป็นที่นิยมมาทุกยุคทุกสมัย

ปี่พาทย์มอญ

ปี่พาทย์มอญ "ดนตรีเสนาะ ศิษย์ครูเจิ้น" จังหวัดปทุมธานี

สมัยกรุงธนบุรีนั้นมีหลักฐานปรากฎตามหมายรับสั่งในงานฉลองพระแก้วมรกตว่า
“…ในระยะที่ว่างนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์ รามัญ และมโหรีไทยมโหรีแขก ฝรั่ง มโหรีจีน ญวน เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช ๒ เดือนกัน ๑๒ วัน พระราชทานเบี้ยเลี้ยงผู้ที่มาเล่นนั้น หมื่นราชาราชมโหรีไทย ชาย ๒ หญิง ๔ พระยาธิเบศรบดีมโหรีแขก ๒ มโหรีฝรั่ง ๓ พระยาราชาเศรษฐีองเชียงชุนมโหรีญวน พระยาราชาเศรษฐีจีน มโหรีจีน ๖ พระยารามัญวงศ์มโหรีมอญ คนเพลงชาย ๒ หญิง ๔ พิณพาทย์ ๙ หลวงพิพิทวาทีมโหรีเขมร ชาย ๔ หญิง ๓ หมื่นเสนาะภูบาลพิณพาทย์ไทย ๕ รามัญ ๕ ลาว ๑๒…” [2]

วงปี่พาทย์มอญมีเครื่องดนตรีบรรเลงเทียบได้กับวงปี่พาทย์เครื่องห้าของไทย ได้แก่
(๑) ปี่มอญ มีรูปร่างคล้ายปี่ชวา แต่ขนาดใหญ่กว่า และมีลำโพงทำด้วยทองเหลือง ครอบต่ออยู่ตรงปลายปี่
(๒) ระนาดเอก มีลักษณะรูปร่างเหมือนของไทย
(๓) ฆ้องมอญ ลักษณะของวงฆ้องจะโค้งขึ้นทั้ง ๒ ข้าง ตัวร้านฆ้องแกะสลักลวดลายปิดทอง ประดับกระจกงดงาม ทางด้านซ้ายของคนตีมักแกะเป็นรูปกินนรจับนนาค เรียกว่าหน้าพระ
(๔) ตะโพนมอญ รูปร่างคล้ายตะโพนไทย แต่ใหญ่กว่า และตรงกลางหุ่นป่องน้อยกว่า ใช้บรรเลงผสมในวงปีพาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ กำกับจังหวะต่างๆ
(๕) เปิงมางคอก มีหลายลูก โดยมากจะมี ๗ ลูก เทียงเสียงสูงต่ำเรียงลำดับกันไป แขวนกับคอกเป็นวง ล้อมตัวผู้ตี
นอกจากนี้ยังมีเครื่องประกอบจังหวะ คือ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง ซึ่งมี ๓ ลูก มีเสียงสูงต่ำเป็น ๓ เสียง บรรเลงรวมกันเรียกว่า วงปี่พาทย์มอญ

ปี่พาทย์มอญ บางลำพู
ปี่พาทย์มอญ "ดุริยปราณีต" บางลำพู กรุงเทพฯ งาน ๕ ธันวามหาราช ปี ๒๕๔๘ ณ ท้องสนามหลวง

วงปี่พาทย์มอญ เป็นวงดนตรีที่นิยมเล่นทั้งงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป แต่ภายหลังมีการนำวงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานพระศพของสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงดำริว่า สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์นั้นเป็นเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดฯ ให้นำวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลง และด้วยเหตุนี้เองภายหลังจากงานพระศพดังกล่าว จึงได้เกิดเป็นค่านิยมว่า หากเป็นงานศพผู้ดีจะต้องมีปี่พาทย์มอญบรรเลงด้วย [3] จนกลายเป็นธรรมเนียมยึดถือกันในเวลาต่อมาในหมู่ชาวไทย ซึ่งไม่เฉพาะแต่ศพผู้ดีเท่านั้นแม้ศพของสามัญชนทั่วไปก็เชื่อถืออย่างเดียวกันว่า ปี่พาทย์มอญนั้นใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น และพาลเกิดความเชื่อตามมาว่าวงดนตรีปี่พาทย์มอญเป็นสิ่งอัปมงคล หากไม่มีงานศพหรือคนตายแล้ว ห้ามเอาขึ้นบ้านเรือนผู้ใด เพราะเชื่อว่าจะเป็นลางไม่ดี [4]

ภาพฆ้องมอญด้านข้าง แกะสลักรูปกินนรจับนาค
ฆ้องมอญด้านข้าง แกะสลักรูปกินนรจับนาค

ไม่เพียงแต่การบรรเลงวงปี่พาทย์มอญเท่านั้น ที่เกิดเป็นค่านิยมว่าเป็นวงดนตรีที่ใช้เฉพาะงานอัปมงคล แม้แต่เสียงดนตรีที่เกิดจากการบรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ยังถูกเหมารวมไปด้วย ได้แก่ เสียงของ “ตะโพนมอญ” ซึ่งมีเสียงดังกังวาลลึกกว่าตะโพนไทย หน้าใหญ่ภาษามอญเรียกว่า "เมิ่กโหน่ก" และในภาษาไทยเรียกว่า "หน้าเทิ่ง" หรือ "หน้าเท่ง" ส่วนหน้าเล็กภาษามอญเรียกว่า "เมิ่กโด้ด" และในภาษาไทยเรียกว่า “หน้าทึง” เนื่องจากเวลาตีตะโพนแล้วเสียงที่ได้คือ “เท่ง-ทึง” เช่นนี้เอง ประกอบกับผู้คนมักได้ยินเสียงตะโพนมอญในงานศพเสมอ จึงเกิดเป็นคำเรียกคนตายในอีกความหมายหนึ่งว่า “เท่งทึง” [5]

 

ตะโพนมอญ ที่มาของคำว่า
ตะโพนมอญ ที่มาของคำว่า "เท่งทึง"

 

ความเป็นจริงนั้นก็ด้วยเหตุผลที่ได้แจ้งแล้วข้างต้นแล้วว่า ปี่พาทย์มอญบรรเลงได้ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล (งานศพ) ทั่วไป อย่างเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ในงาน ๕ ธันวามหาราช ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพได้นำวงปี่พาทย์มอญ มอญรำ และนักร้องเพลงมอญ ไปแสดงบนเวทีกลางท้องสนามหลวงเพื่อร่วมเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มิได้มีปัญหาแต่อย่างใด ทางราชสำนัก สำนักพระราชวัง และมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช มิได้มีคำถามใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสถาบันเหล่านี้เข้าใจดี ในหมู่คนมอญก็ยังมีค่านิยมแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง การที่คนไทยรับปี่พาทย์มอญไปแสดงนับเป็นสิ่งที่ดี วัฒนธรรมการดนตรีจะได้ไม่หยุดนิ่ง มีพัฒนาการ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่อย่างน้อยควรมีคำอธิบายความหมายที่มาที่ไปให้ได้รู้กัน ลองคิดกันดูเล่นๆ หากใครสักคนคิดตั้งวงปี่พาทย์มอญขึ้นมา และยึดถือเป็นอาชีพของครอบครัว ปีหนึ่งๆ รับแต่งานศพ มันจะไปพอกินอะไร คงต้องลุกขึ้นมานั่งแช่งชักหักกระดูกให้ผู้คนล้มตายกันทุกวัน “จะได้งานเข้า”

----------
1 ไพโรจน์ บุญผูก. (๒๕๓๗). ปี่พาทย์-มอญรำ. ใน สยามอารยะ. ๒(๒๓). หน้า ๕๒.
2 กรมหลวงนรินทรเทวี. (๒๕๔๖). อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันลงมากรุงธนบุรี. ใน ศิลปวัฒนธรรม. หน้า ๑๔๑.
3 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ; และ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. (๒๕๐๕). สาส์นสมเด็จ เล่มที่ ๑๘. หน้า ๑๐๗.
4 อนันต์ สบฤกษ์. (๒๕๕๑). เพลงพื้นบ้าน ‘กันตรึม’ ในกระแสการเปลี่ยนแปลง. ใน เอกสารประกอบการบรรยายประชุมวิชาการ, แผนที่วัฒนธรรม: เครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ชายแดน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑. เอกสารอัดสำเนา.
5 สมภพ ภิรมย์. (๒๕๒๕). มอญ. ใน รวมเกล็ดพงศาวดารและประวัติศาสตร์ชนชาติมอญ. บรรณานุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพรองอำมาตย์โท ขุนอาโภคคดี (เพิ่ม หลักคงคา). หน้า ๗๓.

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…