Skip to main content

ขนิษฐา คันธะวิชัย

อากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด

ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข”

*******************

สงกรานต์ปีนี้ ฉันและสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพออกเดินสายไปงานสงกรานต์มอญตามชุมชนมอญต่างๆ ในช่วงเทศกาลอย่างนี้เราได้นอนตากแอร์อยู่บ้านอ่านหนังสือน้อยมาก เพราะอย่างไรเสียเราก็ต้องไปช่วยงานกัน แม้เอาเข้าจริงตัวฉันเองจะทำได้แค่แต่งชุดมอญ ทำหน้าตาปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ เดินคุยกับคนโน้นทีคนนี้ทีเป็นสีสันให้ได้บรรยากาศแบบมอญๆ ในงานก็ตาม 

ช่วงที่ต้องออกงานสงกรานต์มอญนั้น ฉันตัวเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ได้เปียกน้ำที่เขาประพรมหรือสาดเล่นกัน หากแต่เปียกเหงื่อ เนื่องจากฉันต้องใส่เสื้อมอญแขนยาว (เพราะยังโสด หากแต่งงานแล้วจึงใส่เสื้อแขนยาวเพียงแค่ครึ่งข้อศอก) ห่มสไบและนุ่งซิ่นยาว แทบไม่ได้รับลมเลย แถมยังต้องตากแดด หรืออยู่กลางแจ้ง ทำให้มีเหงื่อซึมตลอดเวลา ซึ่งนี่ก็คือธรรมชาติในฤดูร้อน  แต่คนอื่นๆ ที่มาร่วมงานก็มิได้ย่อท้อต่อความร้อนจากธรรมชาติแห่งฤดูร้อนนี้ ยังคงแต่งชุดมอญมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ด้วยต้องการร่วมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นและธำรงความเป็นมอญไว้

คนไทยเชื้อสายมอญที่ฉันได้พบนั้น ส่วนใหญ่จะมีสำนึกว่าตัวเอง “เป็นคนไทย” กันแล้ว อย่างไรก็ตามเขาก็ยังรู้ว่าตนเองมีเชื้อสายมอญ หรือเป็นคนมอญอยู่ นี่ทำให้ฉันนึกถึงทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์ที่บอกว่า “อัตลักษณ์นั้นมีความหลากหลายและซับซ้อน” นอกจากนี้ “มอญ” เอง ก็ยังมีการแบ่งเป็น “มอญใน - มอญนอก” หรือ “มอญไทย–มอญมอญ” ซึ่งก็หมายถึง “มอญที่เป็นคนไทย” กับ “มอญที่เพิ่งมาจากพม่า” ซึ่งส่วนใหญ่จะมาเป็นแรงงานที่รัฐไทยเหมารวมว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั่นเอง (เห็นไหม โดนอัตลักษณ์อีกชุดทับซ้อน) เหล่านี้คือการแบ่งที่ได้ยินบ่อย จริงๆ แล้วยังมีการแบ่งที่ยิบย่อยกว่านี้ เช่น มอญแรงงาน มอญเก่า มอญใหม่ มอญเชื้อสายเจ้าเมืองมอญ มอญบ้านนอก ฯลฯ [1] อย่างไรก็ตามแม้จะมีการแบ่งเป็นมอญกลุ่มต่างๆ ทั้งแบบที่ใช้ภูมิศาสตร์ ชนชั้นในสังคม หรือแบบที่ใช้ช่วงเวลาในการเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นตัวกำหนด แต่ฉันก็พบว่าชาวมอญยังมีสำนึกความเป็นมอญร่วมกันอยู่ ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวเชื่อมโยงสำนึกความเป็นมอญไว้ก็อาจมีหลายอย่าง เช่นภาษา การมีเชื้อสายมอญ [2] และประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกัน

http://blogazine.prachatai.com/upload/ong/ong_20080425-071647.jpg
รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ถ่ายภาพร่วมกับคณะกรรมการจัดงานสงกรานต์มอญบ้านมอญ นครสวรรค์

อาจเป็นเพราะการมีสำนึกความเป็นมอญร่วมกันอยู่นี่เอง ที่ทำให้มอญที่เป็น “ไทย” แล้ว กับมอญเมืองมอญ ยังมีปฏิสัมพันธ์และร่วมงานกันอยู่บ้าง เช่น การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมตามแนวชายแดน และกรณีของการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมมอญที่บ้านมอญ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ซึ่งแกนนำชุมชนก็ได้รับความช่วยเหลือจากมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เนื่องจากมีความเป็นเครือญาติเชื่อมโยงกัน แต่ในส่วนของเครื่องแต่งกายนั้น ได้รับเอาการแต่งกายแบบมอญสังขละบุรี ที่ผู้ชายแต่งกายโดยใช้เสื้อพื้นขาว ตารางแดง โสร่งแดง ส่วนผู้หญิงแต่งกายโดยนุ่งซิ่นลายดอกพิกุล และคนในชุมชนก็ยอมรับว่า “นี่เป็นการแต่งกายแบบมอญแท้ๆ” ซึ่งฉันมองว่า นี่เป็นความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากมอญเมืองมอญ เพราะการแต่งกายแบบนี้มอญเมืองมอญเป็นผู้คิดค้นขึ้นใหม่ [3] และนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้ฉันที่ร่ำเรียนมานุษยวิทยาได้นึกถึงบทเรียนในวิชา “ธรรมชาติของวัฒนธรรม” ที่บอกว่าวัฒนธรรมมีการถ่ายเทถ่ายทอดซึ่งกันและกัน

http://blogazine.prachatai.com/upload/ong/ong_20080425-071705.jpg
ลูกหลานมอญบ้านมอญ กับการแสดงมอญรำ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากนางปรุง วงศ์จำนง
ครูมอญรำจากเกาะเกร็ด

เรื่องการรับและถ่ายทอดทางวัฒนธรรมระหว่างมอญไทยกับมอญเมืองมอญนี้มีมานานแล้ว เรื่องที่ฉันมักจะได้ยินเสมอคือเรื่องการรับมอญรำ กล่าวคือย้อนไปเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วมอญเมืองมอญได้จ้างวงดนตรีมอญเมืองไทยไปเล่นที่มะละแหม่ง เพื่อเป็นการถ่ายทอดและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมมอญที่หายไปมากในพื้นที่นั้น ซึ่งทางวงดนตรีมอญที่ไปจากไทยนอกจากจะได้ช่วยฟื้นฟูดนตรีแล้ว ก็ได้ค้นพบท่ารำมอญจากมะละแหม่งมา 10 ท่า หลังจากนั้นก็ได้เพิ่มเข้าไปอีก 2 ท่า จนกลายเป็น “มอญรำ” อันเป็นแม่แบบของมอญรำที่เกาะเกร็ด และถ่ายทอดสู่ชุมชนมอญอีกหลายแห่งในทุกวันนี้ [4]

จะเห็นได้ว่ามอญในเมืองไทยและมอญที่มาจากพม่า ก็มีการติดต่อกันเป็นปกติตั้งแต่สมัยก่อนเรื่อยมาจนปัจจุบัน ซึ่งก็มักจะเป็นเรื่องของการธำรงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ การฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรม อย่างในงานใหญ่ประจำปีที่ทางชมรมเยาวชนมอญจัดคือ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ก็เป็นงานที่เน้นด้านประเพณี วัฒนธรรม มีการทำบุญให้บรรพบุรุษ ร้องเพลงลูกทุ่งในเนื้อภาษามอญ เล่นสะบ้า ร้องรำดนตรีพื้นบ้านมอญ ส่วนมอญเมืองมอญที่มาร่วมงานนั้น ก็มาร่วมงานในส่วนการจัดเตรียมสถานที่ ร่วมการแสดงทางวัฒนธรรม ร่วมทำบุญให้บรรพบุรุษ มาฟัง มาพูดภาษามอญให้รู้สึกอบอุ่นใจเท่านั้น ซึ่งฉันคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็น “ธรรมชาติของวัฒนธรรม” คือเป็นธรรมดาที่คนมาอยู่ต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมจะมีความโหยหาวัฒนธรรมของตนเอง เมื่อมีการจัดงานประเพณีมอญขึ้นมา แรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นชาวมอญมาร่วมงานบ้าง ก็น่าจะเป็นเรื่องปกติ แต่กระนั้นก็ยังโดนมองว่าจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

http://blogazine.prachatai.com/upload/ong/ong_20080425-071729.jpg
มอญรำจากเมืองมะละแหม่ง (ประเทศพม่า) สายใยมอญ 2 เมือง ในงานศพพระสงฆ์มอญจังหวัดปทุมธานี

ฉันนึกไม่ออกว่างานทำบุญ งานร้องรำทำเพลงอย่างนั้นจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงได้อย่างไร หรือจะเป็นเพราะว่าเขามองจากข้างนอก ซึ่งเป็นคนละมุมกับฉัน เข้าทำนอง “สองคนยลตามช่อง” คือมองของสิ่งเดียวกัน มองปรากฎการณ์เดียวกัน แต่มองมาจากคนละช่อง ฉันเห็นด้านหนึ่ง เขาเห็นอีกด้านหนึ่ง

วันนี้ฉันได้หยุดอยู่บ้านเขียนงาน อ่านหนังสือ ซึ่งหนังสือที่ได้อ่านคือ In the Balance เป็นหนังสือที่รายงานเกี่ยวกับผลกระทบที่ชุมชนท้องถิ่นได้รับจากการสร้างเขื่อนสาละวิน จัดทำโดยองค์กรเยาวชนมอญก้าวหน้า (แน่นอนว่าคนละองค์กรกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ) รายละเอียดเป็นอย่างไร ไว้ค่อยพูดถึงกันทีหลัง แต่ครั้งนี้ฉันสนใจบทสัมภาษณ์ชาวบ้านริมแม่น้ำสาละวินบทหนึ่ง มีใจความว่า

“จริงๆ แล้วเราทำนายได้ว่าฤดูฝนจะมาช้าหรือเร็ว น้ำขึ้นลงเมื่อไหร่ ถ้าหากว่าฝนตกก่อนสงกรานต์แสดงว่าปีนี้ฤดูฝนจะมาเร็ว แต่ถ้าหากฝนตกหลังสงกรานต์แสดงว่าปีนี้ฤดูฝนจะมาช้า แต่ไม่ว่าจะอย่างไรฝนก็ต้องมาหลังจากสงกรานต์ประมาณ 40 วันแน่ๆ น้ำขึ้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้นน้ำจะลง ในเวลานี้ชาวประมงจะจับปลาได้เยอะและทำเงินได้มาก เมื่อเรารู้สิ่งเหล่านี้แล้ว ก็ทำให้เรามีความปลอดภัยในการอาศัย ณ ริมฝั่งน้ำ เรารู้ว่าเราจะเจออะไรในเวลาใด เราก็ปรับตัวไปตามความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติได้”

บทสัมภาษณ์นี้แสดงให้เห็นถึงการเข้าใจธรรมชาติของชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำสาละวิน เนื่องจากคนเหล่านี้อยู่อาศัยและพึ่งพิงฝนและน้ำตามธรรมชาติมาตลอด จึงได้เข้าใจธรรมชาติ พาให้ฉันคิดไปถึงว่าผู้ปกครอง ผู้นำ ซึ่งต้องปกครองคน อยู่กับคน ก็ควรจะเข้าใจธรรมชาติของ “ความเป็นคน” ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการที่คนเราต้องการความมั่นคงทางจิตใจด้วย และการรู้รากเหง้าของตนเองก็เป็นการเสริมสร้างความภูมิใจและความมั่นคงทางจิตใจทางหนึ่ง ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพจัดงานต่างๆ ขึ้นก็เพื่อธำรงวัฒนธรรมประเพณีมอญไม่ให้สูญสลายไป ไม่ได้คิดเรื่องรัฐชาติหรือส่งเสริมให้มีการแบ่งแยกดินแดนในประเทศเพื่อนบ้านแต่อย่างใด ฉันในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ อยากจะให้พ่อเมืองสมุทรสาครและผู้เกี่ยวข้องเข้าใจชมรมเราเสียที จะได้ไม่ต้องพาดพิงชมรมเราอย่างผิดๆ ถูกๆ เข้าใจว่าเรากำลังจัดตั้งกองกำลังทำอะไรบางสิ่ง (จินตนาการสูงมาก) ดังที่ท่านได้พูดในงานสงกรานต์ที่วัดเกาะ ซึ่งจริงๆ แล้วฉันก็เห็นว่าทางชมรมฯก็ยินดีที่จะให้ข้อมูลหรือพบปะพูดคุยทำความเข้าใจกับท่านเสมอ หากแต่เป็นท่านเองที่ระงับการพบปะโดยบอกว่า “เข้าใจแล้ว”  

http://blogazine.prachatai.com/upload/ong/ong_20080425-071750.jpg
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ในชุดโสร่งอีสาน และคำกล่าวเปิดงานที่ไม่มีสคริป
ในงานสงกรานต์มอญบ้านเกาะ จังหวัดสมุทรสาคร

*******************

อากาศร้อนขึ้นทุกปีๆ ใครๆ ก็ว่ามาจากภาวะโลกร้อน ร้อนๆ แบบนี้อาจส่งผลต่ออารมณ์ของผู้คนได้ ฉันหวังว่าท่านผู้อ่านบล๊อคนี้จะไม่หงุดหงิดเพราะอากาศที่ร้อนระอุ เพราะนี่ก็คือธรรมชาติ อันเป็นสิ่งที่เราต้องอยู่กับมัน และเดี๋ยวอากาศก็จะเย็นลงเองในฤดูฝน ซึ่งคนที่ไม่พยายามเข้าใจธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติที่เป็นลม ฟ้า ดิน ฝน ธรรมชาติของวัฒนธรรม หรือธรรมชาติของมนุษย์ ก็คงจะอยู่อย่างไม่มีความสงบสุขนัก
 


1     อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำเหล่านี้ได้ใน สุกัญญา เบาเนิด.การสร้างอัตลักษณ์ของคนมอญย้ายถิ่น : ศึกษากรณีแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร.วิทยานิพนธ์ (สค.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
2     ข้อคิดเห็นจากการพูดคุยกับชาวมอญ ของดร.เจือจันทร์ วงศ์พลกานันท์ 
3     ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายมอญนี้ ดูข้อเขียนขององค์ บรรจุน ได้ที่ http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=62&main_menu_id=5 
4     ดูเพิ่มได้ที่ http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=88&main_menu_id=14

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…