Skip to main content

ขนิษฐา คันธะวิชัย

อากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด

ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข”

*******************

สงกรานต์ปีนี้ ฉันและสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพออกเดินสายไปงานสงกรานต์มอญตามชุมชนมอญต่างๆ ในช่วงเทศกาลอย่างนี้เราได้นอนตากแอร์อยู่บ้านอ่านหนังสือน้อยมาก เพราะอย่างไรเสียเราก็ต้องไปช่วยงานกัน แม้เอาเข้าจริงตัวฉันเองจะทำได้แค่แต่งชุดมอญ ทำหน้าตาปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ เดินคุยกับคนโน้นทีคนนี้ทีเป็นสีสันให้ได้บรรยากาศแบบมอญๆ ในงานก็ตาม 

ช่วงที่ต้องออกงานสงกรานต์มอญนั้น ฉันตัวเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ได้เปียกน้ำที่เขาประพรมหรือสาดเล่นกัน หากแต่เปียกเหงื่อ เนื่องจากฉันต้องใส่เสื้อมอญแขนยาว (เพราะยังโสด หากแต่งงานแล้วจึงใส่เสื้อแขนยาวเพียงแค่ครึ่งข้อศอก) ห่มสไบและนุ่งซิ่นยาว แทบไม่ได้รับลมเลย แถมยังต้องตากแดด หรืออยู่กลางแจ้ง ทำให้มีเหงื่อซึมตลอดเวลา ซึ่งนี่ก็คือธรรมชาติในฤดูร้อน  แต่คนอื่นๆ ที่มาร่วมงานก็มิได้ย่อท้อต่อความร้อนจากธรรมชาติแห่งฤดูร้อนนี้ ยังคงแต่งชุดมอญมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ด้วยต้องการร่วมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นและธำรงความเป็นมอญไว้

คนไทยเชื้อสายมอญที่ฉันได้พบนั้น ส่วนใหญ่จะมีสำนึกว่าตัวเอง “เป็นคนไทย” กันแล้ว อย่างไรก็ตามเขาก็ยังรู้ว่าตนเองมีเชื้อสายมอญ หรือเป็นคนมอญอยู่ นี่ทำให้ฉันนึกถึงทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์ที่บอกว่า “อัตลักษณ์นั้นมีความหลากหลายและซับซ้อน” นอกจากนี้ “มอญ” เอง ก็ยังมีการแบ่งเป็น “มอญใน - มอญนอก” หรือ “มอญไทย–มอญมอญ” ซึ่งก็หมายถึง “มอญที่เป็นคนไทย” กับ “มอญที่เพิ่งมาจากพม่า” ซึ่งส่วนใหญ่จะมาเป็นแรงงานที่รัฐไทยเหมารวมว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั่นเอง (เห็นไหม โดนอัตลักษณ์อีกชุดทับซ้อน) เหล่านี้คือการแบ่งที่ได้ยินบ่อย จริงๆ แล้วยังมีการแบ่งที่ยิบย่อยกว่านี้ เช่น มอญแรงงาน มอญเก่า มอญใหม่ มอญเชื้อสายเจ้าเมืองมอญ มอญบ้านนอก ฯลฯ [1] อย่างไรก็ตามแม้จะมีการแบ่งเป็นมอญกลุ่มต่างๆ ทั้งแบบที่ใช้ภูมิศาสตร์ ชนชั้นในสังคม หรือแบบที่ใช้ช่วงเวลาในการเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นตัวกำหนด แต่ฉันก็พบว่าชาวมอญยังมีสำนึกความเป็นมอญร่วมกันอยู่ ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวเชื่อมโยงสำนึกความเป็นมอญไว้ก็อาจมีหลายอย่าง เช่นภาษา การมีเชื้อสายมอญ [2] และประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกัน

http://blogazine.prachatai.com/upload/ong/ong_20080425-071647.jpg
รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ถ่ายภาพร่วมกับคณะกรรมการจัดงานสงกรานต์มอญบ้านมอญ นครสวรรค์

อาจเป็นเพราะการมีสำนึกความเป็นมอญร่วมกันอยู่นี่เอง ที่ทำให้มอญที่เป็น “ไทย” แล้ว กับมอญเมืองมอญ ยังมีปฏิสัมพันธ์และร่วมงานกันอยู่บ้าง เช่น การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมตามแนวชายแดน และกรณีของการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมมอญที่บ้านมอญ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ซึ่งแกนนำชุมชนก็ได้รับความช่วยเหลือจากมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เนื่องจากมีความเป็นเครือญาติเชื่อมโยงกัน แต่ในส่วนของเครื่องแต่งกายนั้น ได้รับเอาการแต่งกายแบบมอญสังขละบุรี ที่ผู้ชายแต่งกายโดยใช้เสื้อพื้นขาว ตารางแดง โสร่งแดง ส่วนผู้หญิงแต่งกายโดยนุ่งซิ่นลายดอกพิกุล และคนในชุมชนก็ยอมรับว่า “นี่เป็นการแต่งกายแบบมอญแท้ๆ” ซึ่งฉันมองว่า นี่เป็นความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากมอญเมืองมอญ เพราะการแต่งกายแบบนี้มอญเมืองมอญเป็นผู้คิดค้นขึ้นใหม่ [3] และนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้ฉันที่ร่ำเรียนมานุษยวิทยาได้นึกถึงบทเรียนในวิชา “ธรรมชาติของวัฒนธรรม” ที่บอกว่าวัฒนธรรมมีการถ่ายเทถ่ายทอดซึ่งกันและกัน

http://blogazine.prachatai.com/upload/ong/ong_20080425-071705.jpg
ลูกหลานมอญบ้านมอญ กับการแสดงมอญรำ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากนางปรุง วงศ์จำนง
ครูมอญรำจากเกาะเกร็ด

เรื่องการรับและถ่ายทอดทางวัฒนธรรมระหว่างมอญไทยกับมอญเมืองมอญนี้มีมานานแล้ว เรื่องที่ฉันมักจะได้ยินเสมอคือเรื่องการรับมอญรำ กล่าวคือย้อนไปเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วมอญเมืองมอญได้จ้างวงดนตรีมอญเมืองไทยไปเล่นที่มะละแหม่ง เพื่อเป็นการถ่ายทอดและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมมอญที่หายไปมากในพื้นที่นั้น ซึ่งทางวงดนตรีมอญที่ไปจากไทยนอกจากจะได้ช่วยฟื้นฟูดนตรีแล้ว ก็ได้ค้นพบท่ารำมอญจากมะละแหม่งมา 10 ท่า หลังจากนั้นก็ได้เพิ่มเข้าไปอีก 2 ท่า จนกลายเป็น “มอญรำ” อันเป็นแม่แบบของมอญรำที่เกาะเกร็ด และถ่ายทอดสู่ชุมชนมอญอีกหลายแห่งในทุกวันนี้ [4]

จะเห็นได้ว่ามอญในเมืองไทยและมอญที่มาจากพม่า ก็มีการติดต่อกันเป็นปกติตั้งแต่สมัยก่อนเรื่อยมาจนปัจจุบัน ซึ่งก็มักจะเป็นเรื่องของการธำรงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ การฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรม อย่างในงานใหญ่ประจำปีที่ทางชมรมเยาวชนมอญจัดคือ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ก็เป็นงานที่เน้นด้านประเพณี วัฒนธรรม มีการทำบุญให้บรรพบุรุษ ร้องเพลงลูกทุ่งในเนื้อภาษามอญ เล่นสะบ้า ร้องรำดนตรีพื้นบ้านมอญ ส่วนมอญเมืองมอญที่มาร่วมงานนั้น ก็มาร่วมงานในส่วนการจัดเตรียมสถานที่ ร่วมการแสดงทางวัฒนธรรม ร่วมทำบุญให้บรรพบุรุษ มาฟัง มาพูดภาษามอญให้รู้สึกอบอุ่นใจเท่านั้น ซึ่งฉันคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็น “ธรรมชาติของวัฒนธรรม” คือเป็นธรรมดาที่คนมาอยู่ต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมจะมีความโหยหาวัฒนธรรมของตนเอง เมื่อมีการจัดงานประเพณีมอญขึ้นมา แรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นชาวมอญมาร่วมงานบ้าง ก็น่าจะเป็นเรื่องปกติ แต่กระนั้นก็ยังโดนมองว่าจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

http://blogazine.prachatai.com/upload/ong/ong_20080425-071729.jpg
มอญรำจากเมืองมะละแหม่ง (ประเทศพม่า) สายใยมอญ 2 เมือง ในงานศพพระสงฆ์มอญจังหวัดปทุมธานี

ฉันนึกไม่ออกว่างานทำบุญ งานร้องรำทำเพลงอย่างนั้นจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงได้อย่างไร หรือจะเป็นเพราะว่าเขามองจากข้างนอก ซึ่งเป็นคนละมุมกับฉัน เข้าทำนอง “สองคนยลตามช่อง” คือมองของสิ่งเดียวกัน มองปรากฎการณ์เดียวกัน แต่มองมาจากคนละช่อง ฉันเห็นด้านหนึ่ง เขาเห็นอีกด้านหนึ่ง

วันนี้ฉันได้หยุดอยู่บ้านเขียนงาน อ่านหนังสือ ซึ่งหนังสือที่ได้อ่านคือ In the Balance เป็นหนังสือที่รายงานเกี่ยวกับผลกระทบที่ชุมชนท้องถิ่นได้รับจากการสร้างเขื่อนสาละวิน จัดทำโดยองค์กรเยาวชนมอญก้าวหน้า (แน่นอนว่าคนละองค์กรกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ) รายละเอียดเป็นอย่างไร ไว้ค่อยพูดถึงกันทีหลัง แต่ครั้งนี้ฉันสนใจบทสัมภาษณ์ชาวบ้านริมแม่น้ำสาละวินบทหนึ่ง มีใจความว่า

“จริงๆ แล้วเราทำนายได้ว่าฤดูฝนจะมาช้าหรือเร็ว น้ำขึ้นลงเมื่อไหร่ ถ้าหากว่าฝนตกก่อนสงกรานต์แสดงว่าปีนี้ฤดูฝนจะมาเร็ว แต่ถ้าหากฝนตกหลังสงกรานต์แสดงว่าปีนี้ฤดูฝนจะมาช้า แต่ไม่ว่าจะอย่างไรฝนก็ต้องมาหลังจากสงกรานต์ประมาณ 40 วันแน่ๆ น้ำขึ้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้นน้ำจะลง ในเวลานี้ชาวประมงจะจับปลาได้เยอะและทำเงินได้มาก เมื่อเรารู้สิ่งเหล่านี้แล้ว ก็ทำให้เรามีความปลอดภัยในการอาศัย ณ ริมฝั่งน้ำ เรารู้ว่าเราจะเจออะไรในเวลาใด เราก็ปรับตัวไปตามความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติได้”

บทสัมภาษณ์นี้แสดงให้เห็นถึงการเข้าใจธรรมชาติของชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำสาละวิน เนื่องจากคนเหล่านี้อยู่อาศัยและพึ่งพิงฝนและน้ำตามธรรมชาติมาตลอด จึงได้เข้าใจธรรมชาติ พาให้ฉันคิดไปถึงว่าผู้ปกครอง ผู้นำ ซึ่งต้องปกครองคน อยู่กับคน ก็ควรจะเข้าใจธรรมชาติของ “ความเป็นคน” ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการที่คนเราต้องการความมั่นคงทางจิตใจด้วย และการรู้รากเหง้าของตนเองก็เป็นการเสริมสร้างความภูมิใจและความมั่นคงทางจิตใจทางหนึ่ง ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพจัดงานต่างๆ ขึ้นก็เพื่อธำรงวัฒนธรรมประเพณีมอญไม่ให้สูญสลายไป ไม่ได้คิดเรื่องรัฐชาติหรือส่งเสริมให้มีการแบ่งแยกดินแดนในประเทศเพื่อนบ้านแต่อย่างใด ฉันในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ อยากจะให้พ่อเมืองสมุทรสาครและผู้เกี่ยวข้องเข้าใจชมรมเราเสียที จะได้ไม่ต้องพาดพิงชมรมเราอย่างผิดๆ ถูกๆ เข้าใจว่าเรากำลังจัดตั้งกองกำลังทำอะไรบางสิ่ง (จินตนาการสูงมาก) ดังที่ท่านได้พูดในงานสงกรานต์ที่วัดเกาะ ซึ่งจริงๆ แล้วฉันก็เห็นว่าทางชมรมฯก็ยินดีที่จะให้ข้อมูลหรือพบปะพูดคุยทำความเข้าใจกับท่านเสมอ หากแต่เป็นท่านเองที่ระงับการพบปะโดยบอกว่า “เข้าใจแล้ว”  

http://blogazine.prachatai.com/upload/ong/ong_20080425-071750.jpg
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ในชุดโสร่งอีสาน และคำกล่าวเปิดงานที่ไม่มีสคริป
ในงานสงกรานต์มอญบ้านเกาะ จังหวัดสมุทรสาคร

*******************

อากาศร้อนขึ้นทุกปีๆ ใครๆ ก็ว่ามาจากภาวะโลกร้อน ร้อนๆ แบบนี้อาจส่งผลต่ออารมณ์ของผู้คนได้ ฉันหวังว่าท่านผู้อ่านบล๊อคนี้จะไม่หงุดหงิดเพราะอากาศที่ร้อนระอุ เพราะนี่ก็คือธรรมชาติ อันเป็นสิ่งที่เราต้องอยู่กับมัน และเดี๋ยวอากาศก็จะเย็นลงเองในฤดูฝน ซึ่งคนที่ไม่พยายามเข้าใจธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติที่เป็นลม ฟ้า ดิน ฝน ธรรมชาติของวัฒนธรรม หรือธรรมชาติของมนุษย์ ก็คงจะอยู่อย่างไม่มีความสงบสุขนัก
 


1     อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำเหล่านี้ได้ใน สุกัญญา เบาเนิด.การสร้างอัตลักษณ์ของคนมอญย้ายถิ่น : ศึกษากรณีแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร.วิทยานิพนธ์ (สค.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
2     ข้อคิดเห็นจากการพูดคุยกับชาวมอญ ของดร.เจือจันทร์ วงศ์พลกานันท์ 
3     ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายมอญนี้ ดูข้อเขียนขององค์ บรรจุน ได้ที่ http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=62&main_menu_id=5 
4     ดูเพิ่มได้ที่ http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=88&main_menu_id=14

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…