Skip to main content

ขนิษฐา คันธะวิชัย

ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมาก

โดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้

ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูง

นครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551

 

ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวส่งถึงนายพลเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่า ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่ผู้เขียนมีโอกาสอ่านข้อความในสาส์นแสดงความเสียใจ ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ ก็รู้สึกซึ้งใจที่รัฐบาลลาวไม่ได้มองข้ามการมีอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในพื้นที่ที่ประสบภัย

จากการที่รายงานข่าวว่า “พายุไซโคลนถล่มพม่า” ทำให้คนทั่วไปมักจะนึกถึงชาวพม่าโดยรวมๆ แต่อันที่จริง ลึกลงไปในคำว่า “พม่า” ก็ยังมี มอญ กะเหรี่ยง และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อีกด้วย

ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวกับผู้เขียนว่า พื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติมากที่สุดคือบริเวณ Delta (ปากแม่น้ำ) ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่ของชาวมอญ โดยมากหัวเมืองมอญจะอยู่ริมทะเล แต่ภายหลังพื้นที่ในบริเวณนั้นมีชาวกะเหรี่ยงเข้าไปอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก นั่นก็เป็นไปได้ว่า ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ก็จะมีทั้งพม่า มอญ กะเหรี่ยง ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ในพื้นที่ นอกจากนี้ผู้เขียนได้ดูแผนที่ของบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุ ก็พบว่าบริเวณตอนเหนือของรัฐมอญก็ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งนั่นก็ทำให้ผู้เขียนแทบจะนั่งไม่ติดเก้าอี้ คิดแต่ว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเหลือชาวมอญในพม่าที่อาจจะโดนละเลยในการส่งความช่วยเหลือเพราะว่าเป็นคนของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่อต้านรัฐบาล (อย่าหาว่าลำเอียงห่วงแต่มอญเลย ก็เพราะเราเป็นสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพนี่นา)

ong_20080615-225654.jpg
แผนที่ประเทศพม่า แสดงพื้นที่บริเวณปากน้ำอิรวดี (Delta) ด้านซ้ายและรัญมอญด้านขวา

เรื่องนี้ อ.พรพิมล ตรีโชติ นักวิจัยที่เชี่ยวชาญเรื่องพม่าประจำสถาบันเอเชียศึกษาได้ให้ความเห็นกับผู้เขียนว่า ไม่ใช่เพียงชาวมอญหรือกะเหรี่ยงเท่านั้นที่จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ ชาวพม่าก็ไม่น่าจะได้รับความช่วยเหลือด้วย เพราะทหารพม่าถูกฝึกให้ควบคุมประชาชน ไม่ได้ถูกฝึกให้มาบริการประชาชน โดยเฉพาะในระยะหลังพื้นที่บริเวณนั้นเป็นพื้นที่ของกองกำลังกระเหรี่ยงเคเอ็นยู มีหรือที่รัฐบาลทหารพม่าจะรีบตัดสินใจเปิดรับการช่วยเหลือจากต่างชาติ หรือรีบส่งความช่วยเหลือไป

เมื่อได้ยินดังนั้นผู้เขียนจึงกุมขมับอยู่พักหนึ่ง ก่อนที่จะลงมือตรวจสอบข้อมูลความเสียหายในรัฐมอญตามศักยภาพอันน้อยนิดที่ผู้เขียนมี แต่ก็ไม่สามารถติดต่อคนเหล่านั้นได้ เนื่องจากช่วงนั้นใกล้วันลงประชามติในพม่า คนที่ผู้เขียนรู้จักก็คงจะเดินทางเข้าไปในพม่ากันหมดตั้งแต่ก่อนพายุแล้ว

ในช่วงที่พยายามติดตามข่าวเรื่องภัยพิบัติไซโคลนในพม่าอยู่นั้น ไม่มีสื่อใดให้รายงานความเสียหายที่กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับ โดยมักจะรายงานถึง “พม่า” โดยรวม อาจมีการพูดถึงมอญและกะเหรี่ยง บ้าง แต่ก็น้อยมาก ซึ่งผู้เขียนเห็นว่านั่นไม่ใช่ความผิดของสื่อแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าการดูข่าวของสำนักข่าวต่างๆ นั้น ไม่สามารถตอบคำถามของคนมอญในไทยหรือคนที่สนใจกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าไม่ได้ ว่า
“แล้วสถานการณ์ของคนมอญคนกะเหรี่ยงที่ได้รับผลกระทบด้วยนั้นเป็นอย่างไร”

ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ ก็มีหน้าที่เผยแพร่เรื่องราวของชาวมอญให้สังคมได้รับรู้ โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นเรื่องของมอญไทย หรือมอญในประเทศพม่า ซึ่งรัฐมอญก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แม้ใจจริงผู้เขียนก็อยากจะรู้ถึงสถานการณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ในเขตเดลต้าเหลือเกิน แต่นั่นก็เกินศักยภาพของผู้เขียนที่จะหาข่าวได้ ดังนั้นสิ่งที่จะรายงานต่อไปนี้จะเป็นสถานการณ์ในรัฐมอญที่อยู่ห่างออกมาจากเดลต้า

ผู้เขียนติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์ Independent Mon News Agency ว่ารัฐมอญได้รับความเสียหายน้อย เมื่อเทียบกับความเสียหายในเขตเดลต้า โดยในรัฐมอญก็มีรายงานความเสียหายคือหมู่บ้านประมงหายไป คนจำนวนสิบกว่าคนไร้ที่อยู่ และมีต้นไม้ล้ม หลังคาปลิว นี่คือข้อมูลทั้งหมดที่ผู้เขียนได้รับ ซึ่งก็ไม่ได้บอกถึงสถานการณ์ของคนเหล่านั้นว่ามีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร แต่ก็อนุมานเอาว่าคงจะได้รับความลำบากเช่นกัน

 

ong_20080615-225703.jpg
ภาพถ่ายทางอากาศบริเวญปากน้ำอิรวดีภายหลังพายุไซโคลนนาร์กีสกระหน่ำ

 

เมื่อรัฐมอญได้รับความเสียหายบ้างแต่น้อยกว่าทางเดลต้า ผู้ที่เสียหายน้อยกว่าก็ต้องช่วยเหลือผู้ที่เสียหายมากกว่า จนถึงวันนี้ เหตุการณ์ผ่านมา 1 เดือนแล้ว รัฐบาลพม่ายอมรับความช่วยเหลือจากนานาชาติมากขึ้น แต่ความเสียหายนั้นก็ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องตามปกติของการเกิดภัยพิบัติ และผู้ที่มีชีวิตรอดก็ต้องลำบากและอยู่กับความเศร้าความน่าสะเทือนใจกันต่อไป ในกรณีของชาวมอญที่อยู่ในรัฐมอญนั้น ข่าวใน Independent  Mon News Agency รายงานว่าหมู่บ้านมอญที่อยู่ริมทะเลได้รับคำสั่งให้เผาหรือฝังศพที่ลอยน้ำมา โดยมีการเรียกเก็บเงินบ้านละ 1,000 จ๊าด เพื่อนำมาใช้จ่ายในการจัดการศพที่ลอยมาติดชายหาดในเมืองเยซึ่งมีมาทุกวัน

ผู้เขียนจำได้ว่าช่วงที่เกิดพายุเกย์ในชุมพร ปี 2532 นั้น ผู้คนไม่ยอมรับประทานกุ้ง เนื่องจากกุ้งมักเกาะตามซากศพของผู้ประสบภัย ซึ่งเหตุการณ์พายุนาร์กีซนี้ก็เช่นกัน ราคาปลาในประเทศพม่าตกลงถึงร้อยละ 40 ในขณะที่ราคาเนื้อหมูและไก่ก็สูงขึ้น ในข่าวยังรายงานด้วยว่า มีศพอย่างน้อย 300 ศพที่ลอยมาถึงรัฐมอญทางใต้และก็ได้รับการฝังหรือเผาไปแล้ว บางศพไร้ขา บางศพไร้มือ หลายศพติดมากับแหอวนของชาวประมงและนั่นก็ทำให้ผู้คนไม่กล้ารับประทานอาหารทะเล  นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีการบังคับให้ชาวมอญในมะละแหม่งและเมืองอื่นๆ บริจาคให้ผู้ประสบภัยครอบครัวละ 3,000 จ๊าด หรือหากบ้านไหนที่มีมีมอร์เตอร์ไซค์ และเครื่องเล่นวีดีโอ ก็จะโดนให้บริจาคเพิ่มมากชึ้น

เมื่อพื้นที่อิระวดี ย่างกุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งความอุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ เป็นแหล่งปลูกข้าวส่งออกและเลี้ยงคนในประเทศได้รับความเสียหาย กลับกลายเป็นแหล่งโรคระบาด งูชุกชุม ไม่สามารถอาศัยอยู่หรือทำมาหากิน ผู้คนที่รอดชีวิตก็ต้องอพยพจากพื้นที่ด้วยถูกภัยธรรมชาติบังคับ ในตอนนี้ผู้คนในแถบปากแม่น้ำอิระวดีได้พากันลงมายังตอนใต้ ซึ่งก็คือเมืองเยในรัฐมอญซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้อย มีรายงานว่ามีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDP) เข้ามาในเมืองเยเป็นจำนวนถึง 400-500 คนต่อวันเลยทีเดียว

ในส่วนของการเตือนภัยหากจะมีพายุครั้งต่อไปนั้น ผู้คนในรัฐมอญบางส่วนก็ได้รับคำเตือนจากทหารพม่าว่าอาจมีพายุอีกลูกในกลางเดือนนี้ ขอให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ในที่สูงและสังเกตสัญญาณธงให้ดี หากเป็นธงแดงให้รีบหนีภัยโดยด่วน และเพื่อป้องกันภัยหากเกิดพายุขึ้นจริงๆ ชาวบ้านในรัฐมอญได้ตัดต้นไม้เก่าๆ ภายในบริเวณบ้านและตามท้องถนนออก มิให้ต้นไม้เก่าโค่นล้มทับตัวบ้านหรือกีดขวางถนนและเป็นอันตรายต่อผู้คน

และนี่ก็คือสถานการณ์คร่าวๆ ในรัฐมอญหลังพายุไซโคลนนาร์กีซ

ปล. หากผู้อ่านท่านใดสงสัยว่า แล้วทางการลาวได้ให้ความช่วยเหลือแก่พม่าอย่าใดบ้างหรือไม่ จากข่าวในหนังสือพิมพ์เวียงจันใหม่ วันที่ 4 มิถุนายน 2551 รายงานว่า ลาวได้ส่งทีมแพทย์ไปช่วยเหลือพม่าเป็นจำนวน 21 คน และได้มอบยาและอุปกรณ์การแพทย์ ไฟฟ้าสำรอง 2 เครื่อง และเครื่องอุปโภคให้แก่สาธารณสุขเมืองจาวตัน  รวมมูลค่ามูลค่า 69,992 ดอลลาร์สหรัฐ (อ้างอิงจากศูนย์ข้อมูลอินโดจีนศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา http://www.isc-gspa.org/News_isc/view1.asp?id=432 )

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…