Skip to main content
ค่ำนั้น, ผมกลับมานั่งในบ้านปีกไม้ในหุบผาแดง นิ่งมองภาพเก่าๆ ของพ้อเลป่า สลับกับภาพครั้งสุดท้ายของเขาก่อนจะละสังขารไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา

\\/--break--\>

 



www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=308.105


พ้อเลป่า นั่งเซ็นชื่อตัวเองลงบนหนังสือให้กับสุวิชานนท์ รัตนภิมล

เมื่อ 8 มีนาคม 2552 หนึ่งเดือนก่อนพ้อเลป่าจะจากไป

 

ลายเซ็นของพ้อเลป่า กับหนังสือที่เขาเขียน

 

ปกหนังสือ เพลงชีวิตปกากะญอ

 

 

แหละนี่คือบางบท บางถ้อยคำที่ซ่อนแฝงไว้มากมายปรัชญาบนภูเขา ที่พ้อเลป่าได้ขีดเขียนไว้ ก่อนที่ วีระศักดิ์ ยอดระบำ จะนำมารวบรวมแปล และศูนย์ชาติพันธุ์และการพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2538

 

บางบท บางตอนนั้น ทำให้เรามองเห็นถึงภาพวิถีชีวิตของพี่น้องชนเผ่าในยุคก่อนๆ ที่กระทำและถูกกระทำทั้งในเรื่องของสงคราม ความแปลกเปลี่ยน ความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ อันเป็นสัจจะสามัญอย่างแท้จริง ครั้นเมื่อนำมาอ่านคิดทบทวนดูในห้วงยามนี้ คำบอกเล่าของ พ้อเลป่า นั้นยังคงสะกิดเตือนใจเราให้ฉุกคิดได้เสมอๆ

 

ฝรั่งสร้างทาง

เอาเงินมาหว่าน

อย่าได้เพ้อฝันว่าแผ่นดินจะร่มเย็น

 

ได้ข่าวเจ้าคำจะมา ได้ข่าวว่าตนบุญจะมา

คอยหนึ่งปีเจ้าคำก็ไม่มา คอยสองปีตนบุญก็ไม่มา

มองลงไปใต้ถุน มีแต่ศพคนตาย

 

หมาเห่าเก่ง หางขาดหมด

เห่าเส้นทางโบราณ

 

แม่อดข้าว สมัยก่อนแม่ไม่ตาย

แม่กินข้าวป่า แม่ไม่ตาย

 

ความสนุกสนานในเมืองใหญ่เวียงหลวง

ข้าวอร่อย เรายังกินไม่ลง

 

ต้นข้าวหักลงไม่พ้นน้ำ

เจ้าทำชื่อเสียงของเจ้าให้ดังเอง

 

เห็นคนอื่นทัดดอกไม้ป่า ดอกไม้ดง

อย่าไปเอาอย่างเขา

 

แม่ของเจ้าชอบคนใหญ่คนโต

ชอบแต่คนขี่ช้างมา

 

ช้างพลายพอใจกับงาขาว

ส่วนเจ้าอยากมีชื่อดัง

 

เสียงน้ำรำพึง เสียงดินรำพัน

ข่าวว่าพระเจ้าตาย

ข่าวว่าคำไม่มีแล้ว

เราสองคนสร้างบ้านอยู่ตามลำพัง

หายสาบสูญเหมือนปลาติดไซ

 

เสียงปืนดังที่กิ่วดอย

พี่ไปรบศึก พี่กลับมาแล้ว

 

สิ่งดุร้ายที่สุดขึ้นมาตามแม่น้ำสาละวิน

สิ่งฉลาดที่สุดขึ้นมาตามแม่น้ำสาละวิน

มีหนวดขาวหนึ่งเส้น

กัดชาวป่าตายไปหนึ่งคน

คนหวาดกลัวเพราะมันพูดเก่ง

 

รดน้ำไม้ล้ม

สักวันไม้ล้มจะออกดอก

 

ไม้สองต้นอยู่ห่างกัน

ลมพัดยอดเอียงเอนแนบชิด

 

น้องกับพี่ พี่กับน้อง

เหมือนผลไทรสุก นกกามากินเต็มต้น

 

ถ้าน้องเป็นพันธุ์ข้าว พี่จะเป็นด้ามเสียม

หว่านเมล็ดสนุกสนานบนภูเขา

 

ถ้าน้องเป็นสันเขา พี่จะเป็นหุบเขา

ถ้าน้องเป็นข้าวเปลือก พี่จะเป็นยุ้งข้าว

 

หากเจ้าเดินบนเส้นเชือกได้

ข้าจะเดินบนคมหอกคมดาบ

 

ไม้ไผ่ลำเดียวทอดข้ามน้ำไม่ได้

ข้าวเปลือกเมล็ดเดียวต้มเหล้าไม่ได้

 

ถ้าน่องมนุษย์ตั้งท้องได้

คนทุกคนก็เป็นพี่น้องเดียวกัน

 

บนภูเขามีหญ้ามีหนาม

บนเทือกเขามีหญ้ามีหนาม

เด็กๆ ไป เด็กๆ ถามทาง

ผู้ใหญ่ไป ผู้ใหญ่ถามทาง

ที่ไม่ถามทาง คือกระต่าย

ไปเอง หลงทางเอง

 

คนเฒ่าชี้ทางบนภูเขา

คนแก่ชี้ทางบนภูเขา

ดอกคำตูมรากแน่น

ดอกเงินตูมรากแน่น

วิถีแห่งจิตวิญญาณดั้งเดิม

อย่าขวางทางเราเลย

 

เธอไม่คดกินจากแผ่นดิน

ไม่แบ่งเขตกินจากน้ำ

เธอเป็นผู้กำหนดเสียงดังทั้งแผ่นดิน

 

พี่น้องประสานนิ้วมือ

ฟ้าถล่ม ช่วยกันยันไว้

 

ผมขออนุญาตบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ในฐานะนักเขียนคนแรกของปกากะญอ

พ้อเลป่าละสังขาร เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 ด้วยวัย 85 ปี ณ บ้านแม่แฮใต้

วันที่ 6 เมษายน 2552 พ้อเลป่า ได้คืนร่าง คืนสู่ธรรมชาติ ท่ามกลางบทเพลง ‘พ้อเลป่า' ที่ญาติพี่น้องลูกหลานของแผ่นดินได้ร่วมกันขับกล่อม ก่อนหย่อนร่างฝังดินกลบอย่างเรียบง่ายกลางป่าใหญ่

 

หากหลายคนบอกว่า แม้ร่างของพ้อเลป่าจะย่อยสลายเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกับดิน กับธรรมชาติ แต่พ้อเลป่ายังคงมีชีวิตอยู่ในโลกนี้

 

คงเหมือนกับที่พ้อเลป่าเคยพูดกับนักเขียนหนุ่มคนหนึ่งเอาไว้เมื่อเกือบสิบปีก่อนว่า คนเราเกิดมาแล้วต้องตาย แต่เราจะไม่ตายก็ด้วยสิ่งที่สร้างเอาไว้

 

"เราปลูกต้นไม้เอาไว้ เขียนหนังสือเอาไว้ เมื่อเราตายไปสิ่งนี้จะยังอยู่"


 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
ค่ำนั้น, ผมกลับมานั่งในบ้านปีกไม้ในหุบผาแดง นิ่งมองภาพเก่าๆ ของพ้อเลป่า สลับกับภาพครั้งสุดท้ายของเขาก่อนจะละสังขารไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา
ภู เชียงดาว
เดาะ บื่อ แหว่ ควา สี่ จื้อ เนอ มู้ โข่ ลอ ปก้อ เฉาะ ถ่อ เจอพี่น้องประสานนิ้วมือฟ้าถล่มช่วยกันค้ำไว้ โถ่ ศรี ซี้ เล้อ แหม่จอ ป่า ซี้ ด่า แคนกยูงตายเพราะขนหางขุนนางตายเพราะเชื่อคนยุยง
ภู เชียงดาว
  ที่มาภาพ : www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=308.105เมื่อเราพูดถึงเรื่อง การพัฒนาและความเจริญ ที่คนส่วนใหญ่ต่างมุ่งไปทางนั้นอย่างไม่ลืมหูลืมตา และมันกำลังรุกคืบคลานเข้ามาในวิถีบนบ้านป่าบ้านดอยอย่างต่อเนื่อง
ภู เชียงดาว
ผมหยิบงานที่ผมเขียนถึง ‘พ้อเลป่า' ปราชญ์ปกากะญอขึ้นมาอ่านอีกครั้ง หลังทราบข่าวจาก ‘หญ้าน้ำ ทุ่งขุนหลวง' ว่า ‘พ้อเลป่า' เสียชีวิตอย่างสงบแล้วเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา... ก่อนที่ผมและเพื่อนกำลังออกเดินทางไปบนทางสายเก่า สายนั้น...
ภู เชียงดาว
                          (๑) หอมกลิ่นภูเขาล่องลอยโชยมาในห้วงยามเย็นฉันยืนอยู่บนเนินเขาเหนือหมู่บ้านปล่อยให้สายแดดสีทองส่องสาดกายมองไปเบื้องล่าง- -ท้องทุ่งแห่งชีวิตยังเคลื่อนไหวไปมา ไม่หยุดนิ่งในความหม่นมัว ในความบดเบลอฉันมองเห็นภาพซ้อนแจ่มชัด แล้วเลือนราง
ภู เชียงดาว
ผมเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ที่ใช้ชีวิตในเมืองนั้นคงเหน็ดหน่ายและเหนื่อยหนักจากการงาน ชีวิตหลายชีวิตอาจถูกทับถมด้วยภาระหน้าที่อันหนักอึ้ง ยังไม่นับนานาปัญหาที่เข้ารุมสุมแน่นหนาอีกหลายชั้น จนดูเหมือนว่าชั่วชีวิตนี้คงยากจะสลัดให้หลุดพ้นไปได้ ที่ผมพูดเช่นนี้เพราะครั้งหนึ่งตัวผมเองเคยเอาชีวิตไปวางไว้อยู่ในเมืองนานหลายปี แน่นอน ใครหลายคนในสังคมเมืองจึงชอบเอา ‘การเดินทาง' เป็นหนทางเดียวที่จะหลุดพ้นออกจากกงล้อแห่งการงานนั้นได้ และมักเอาช่วงสิ้นปีหรือวันปีใหม่ เป็นวันแห่งการปลดปล่อย ในขณะที่ตัวผมนั้น กลับไม่ได้เดินทางไปไหนเลย ยังมีชีวิตแบบวันต่อวัน อยู่กับปัจจุบันขณะ ในหุบเขาผาแดงแห่งนี้
ภู เชียงดาว
ผมไม่รู้ว่าในช่วงชีวิตหนึ่งของคนเรา จะมีสักกี่คนสามารถทำความฝันให้เป็นจริงได้กี่ครั้งกี่หนกันแน่นอน ความฝันใครบางคนอาจเกลื่อนกล่น ความฝันใครหลายคนอาจหล่นหาย ใครหลายใครอาจมองว่าความฝันคือความเพ้อฝัน ไกลจากความจริง แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายๆ คน ไม่เคยละทิ้งความฝันพยายามฟูมฟักความฝัน กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดู แม้บ่อยครั้งอาจอาจเหนื่อยหนัก เหน็ดหน่าย กว่าจะทำให้ความฝันนั้นกลายเป็นจริงได้...เหมือนชายคนนี้...ที่ทำให้ฝันหนึ่งนั้นกลายเป็น ความงาม และความจริง... ผมมีโอกาสเดินทางไปเยือน เวียงแหง อำเภอเล็กๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ติดกับชายแดนไทย-พม่า ซึ่งผมเคยบันทึกไว้ว่า เป็นดินแดนหุบเขาที่มีชีวิต…
ภู เชียงดาว
ผมรู้แล้วว่า วิถีคนสวนกับคนเขียนกวีนั้นไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ต้องฝึก ทดลอง เรียนรู้ ลงมือทำ ทุกวัน ทุกวัน และแน่นอนว่า เมื่อลงมือทำแล้ว เราจำเป็นต้องหมั่นรดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย เติมความรักความเอาใจใส่ลงไปอย่างต่อเนื่อง (ถ้าไม่อย่างนั้น พันธ์พืชที่เราหว่านลงไปอาจเฉาเหี่ยวแห้งไป หรือไม่ผืนดินอันอุดมก็อาจแข็งด้านดินดานไปหมด) หลังจากนั้น เรายังต้องอดทนและรอคอยให้มันออกดอกออกผล กระทั่งเราสามารถเข้าไปเก็บเกี่ยวผลผลิตที่งอกเงยในบั้นปลายได้ ทุกวันนี้ ผมยังถือว่าตนเองเป็นเพียงคนสวนมือใหม่ และเป็นคนฝึกเขียนบทกวีอยู่เสมอ ทุกวัน หลังจากพักงานสวน ผมจะลงมือเขียนบทกวี โดยเฉพาะในยามนี้…