Skip to main content
ค่ำนั้น, ผมกลับมานั่งในบ้านปีกไม้ในหุบผาแดง นิ่งมองภาพเก่าๆ ของพ้อเลป่า สลับกับภาพครั้งสุดท้ายของเขาก่อนจะละสังขารไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา

\\/--break--\>

 



www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=308.105


พ้อเลป่า นั่งเซ็นชื่อตัวเองลงบนหนังสือให้กับสุวิชานนท์ รัตนภิมล

เมื่อ 8 มีนาคม 2552 หนึ่งเดือนก่อนพ้อเลป่าจะจากไป

 

ลายเซ็นของพ้อเลป่า กับหนังสือที่เขาเขียน

 

ปกหนังสือ เพลงชีวิตปกากะญอ

 

 

แหละนี่คือบางบท บางถ้อยคำที่ซ่อนแฝงไว้มากมายปรัชญาบนภูเขา ที่พ้อเลป่าได้ขีดเขียนไว้ ก่อนที่ วีระศักดิ์ ยอดระบำ จะนำมารวบรวมแปล และศูนย์ชาติพันธุ์และการพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2538

 

บางบท บางตอนนั้น ทำให้เรามองเห็นถึงภาพวิถีชีวิตของพี่น้องชนเผ่าในยุคก่อนๆ ที่กระทำและถูกกระทำทั้งในเรื่องของสงคราม ความแปลกเปลี่ยน ความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ อันเป็นสัจจะสามัญอย่างแท้จริง ครั้นเมื่อนำมาอ่านคิดทบทวนดูในห้วงยามนี้ คำบอกเล่าของ พ้อเลป่า นั้นยังคงสะกิดเตือนใจเราให้ฉุกคิดได้เสมอๆ

 

ฝรั่งสร้างทาง

เอาเงินมาหว่าน

อย่าได้เพ้อฝันว่าแผ่นดินจะร่มเย็น

 

ได้ข่าวเจ้าคำจะมา ได้ข่าวว่าตนบุญจะมา

คอยหนึ่งปีเจ้าคำก็ไม่มา คอยสองปีตนบุญก็ไม่มา

มองลงไปใต้ถุน มีแต่ศพคนตาย

 

หมาเห่าเก่ง หางขาดหมด

เห่าเส้นทางโบราณ

 

แม่อดข้าว สมัยก่อนแม่ไม่ตาย

แม่กินข้าวป่า แม่ไม่ตาย

 

ความสนุกสนานในเมืองใหญ่เวียงหลวง

ข้าวอร่อย เรายังกินไม่ลง

 

ต้นข้าวหักลงไม่พ้นน้ำ

เจ้าทำชื่อเสียงของเจ้าให้ดังเอง

 

เห็นคนอื่นทัดดอกไม้ป่า ดอกไม้ดง

อย่าไปเอาอย่างเขา

 

แม่ของเจ้าชอบคนใหญ่คนโต

ชอบแต่คนขี่ช้างมา

 

ช้างพลายพอใจกับงาขาว

ส่วนเจ้าอยากมีชื่อดัง

 

เสียงน้ำรำพึง เสียงดินรำพัน

ข่าวว่าพระเจ้าตาย

ข่าวว่าคำไม่มีแล้ว

เราสองคนสร้างบ้านอยู่ตามลำพัง

หายสาบสูญเหมือนปลาติดไซ

 

เสียงปืนดังที่กิ่วดอย

พี่ไปรบศึก พี่กลับมาแล้ว

 

สิ่งดุร้ายที่สุดขึ้นมาตามแม่น้ำสาละวิน

สิ่งฉลาดที่สุดขึ้นมาตามแม่น้ำสาละวิน

มีหนวดขาวหนึ่งเส้น

กัดชาวป่าตายไปหนึ่งคน

คนหวาดกลัวเพราะมันพูดเก่ง

 

รดน้ำไม้ล้ม

สักวันไม้ล้มจะออกดอก

 

ไม้สองต้นอยู่ห่างกัน

ลมพัดยอดเอียงเอนแนบชิด

 

น้องกับพี่ พี่กับน้อง

เหมือนผลไทรสุก นกกามากินเต็มต้น

 

ถ้าน้องเป็นพันธุ์ข้าว พี่จะเป็นด้ามเสียม

หว่านเมล็ดสนุกสนานบนภูเขา

 

ถ้าน้องเป็นสันเขา พี่จะเป็นหุบเขา

ถ้าน้องเป็นข้าวเปลือก พี่จะเป็นยุ้งข้าว

 

หากเจ้าเดินบนเส้นเชือกได้

ข้าจะเดินบนคมหอกคมดาบ

 

ไม้ไผ่ลำเดียวทอดข้ามน้ำไม่ได้

ข้าวเปลือกเมล็ดเดียวต้มเหล้าไม่ได้

 

ถ้าน่องมนุษย์ตั้งท้องได้

คนทุกคนก็เป็นพี่น้องเดียวกัน

 

บนภูเขามีหญ้ามีหนาม

บนเทือกเขามีหญ้ามีหนาม

เด็กๆ ไป เด็กๆ ถามทาง

ผู้ใหญ่ไป ผู้ใหญ่ถามทาง

ที่ไม่ถามทาง คือกระต่าย

ไปเอง หลงทางเอง

 

คนเฒ่าชี้ทางบนภูเขา

คนแก่ชี้ทางบนภูเขา

ดอกคำตูมรากแน่น

ดอกเงินตูมรากแน่น

วิถีแห่งจิตวิญญาณดั้งเดิม

อย่าขวางทางเราเลย

 

เธอไม่คดกินจากแผ่นดิน

ไม่แบ่งเขตกินจากน้ำ

เธอเป็นผู้กำหนดเสียงดังทั้งแผ่นดิน

 

พี่น้องประสานนิ้วมือ

ฟ้าถล่ม ช่วยกันยันไว้

 

ผมขออนุญาตบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ในฐานะนักเขียนคนแรกของปกากะญอ

พ้อเลป่าละสังขาร เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 ด้วยวัย 85 ปี ณ บ้านแม่แฮใต้

วันที่ 6 เมษายน 2552 พ้อเลป่า ได้คืนร่าง คืนสู่ธรรมชาติ ท่ามกลางบทเพลง ‘พ้อเลป่า' ที่ญาติพี่น้องลูกหลานของแผ่นดินได้ร่วมกันขับกล่อม ก่อนหย่อนร่างฝังดินกลบอย่างเรียบง่ายกลางป่าใหญ่

 

หากหลายคนบอกว่า แม้ร่างของพ้อเลป่าจะย่อยสลายเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกับดิน กับธรรมชาติ แต่พ้อเลป่ายังคงมีชีวิตอยู่ในโลกนี้

 

คงเหมือนกับที่พ้อเลป่าเคยพูดกับนักเขียนหนุ่มคนหนึ่งเอาไว้เมื่อเกือบสิบปีก่อนว่า คนเราเกิดมาแล้วต้องตาย แต่เราจะไม่ตายก็ด้วยสิ่งที่สร้างเอาไว้

 

"เราปลูกต้นไม้เอาไว้ เขียนหนังสือเอาไว้ เมื่อเราตายไปสิ่งนี้จะยังอยู่"


 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
  เมื่อนั่งอยู่ในความเงียบ ในสวนบนเนินเขายามเช้าตรู่ เพ่งดูหมอกขาวคลี่คลุมดงดอยอยู่เบื้องหน้า ทุ่งนาเบื้องล่างลิบๆ นั้นเริ่มแปรเปลี่ยนสี จากทุ่งข้าวสีเขียวสดกลายเป็นสีเหลืองทองรอการเก็บเกี่ยว ใช่, ใครต่อใครเมื่อเห็นภาพเหล่านี้ คงรู้สึกชื่นชมภาพอันสดชื่นรื่นรมย์กันแบบนี้ทุกคนทว่าจริงๆ แล้ว พอค้นให้ลึกลงไป ก็จะพบว่า ในความงามนั้นมีความทุกข์ซุกซ่อนอยู่ให้รับรู้สึก เมื่อนึกถึงภาพเก่าๆ ของหมู่บ้าน ผ่านไปไม่กี่สิบปี  จะมองเห็นได้เลยว่าหมู่บ้านเกิดของผมมีความแปลกเปลี่ยนไปอย่างเร็วและแรง อย่างไม่น่าเชื่อ“ตอนนี้ อะหยังๆ มันก่อเปลี่ยนไปหมดแล้ว...” เสียงใครคนหนึ่งบ่นเหมือนรำพึงจริงสิ,…
ภู เชียงดาว
ผมเริ่มค้นพบว่าตัวเองนั้นไม่เหมาะกับเมือง หลังจากที่ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่มานานหลายปี ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงคิดเช่นนี้- -อาจเป็นเพราะระยะหลังรู้สึกว่าชีวิตตัวเองแปลกและป่วย บางครั้งคล้ายยินเสียงจากข้างในกำลังบอกอะไรบางอย่าง ราวกับจะบอกว่า... ‘ที่สุดแล้ว,ชีวิตต้องกลับคืนสู่เส้นทางที่จากมา’ แหละนั่น ทำให้ผมเริ่มวางแผนกลับไปใช้ชีวิตในสวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากที่ปล่อยให้สวนรกร้างว่างเปล่ามานานเต็มทีจริงสิ, ผมปล่อยให้ต้นไม้ในสวนรกเรื้อและโตขึ้นตามลำพัง ไร้การดูแลเอาใจใส่ ไม่มีเวลารดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย คงเหมือนกับชีวิตตัวเองกระมัง ที่ต้องมาอยู่กับเมือง มัวแต่ไขว่คว้าบางสิ่ง…
ภู เชียงดาว
สิ่งดี ๆ ในชีวิต พ่อค้าแวะมาหาคนสวนที่เขากำลังพักผ่อนอยู่ตรงหน้ากระท่อม “สวัสดีครับคนสวน” พ่อค้าทักทาย “ผมมีข้อเสนอดีๆ มาให้ คุณคงสนใจเป็นแน่” และเมื่อเห็นทีท่าเฉยเมยของคนสวน พ่อค้าก็เริ่มพูดธุระที่เขาคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งคนสวนจะต้องขยายพื้นที่ปลูกกุหลาบเพิ่มขึ้นและพ่อค้าจะเป็นคนเอาไปขายในเมือง “คนสวน ด้วยความชำนาญของคุณ กุหลาบของเราจะสวยงามที่สุดในเมือง” พ่อค้าสรุปด้วยท่าทีกระหยิ่มยิ้มย่อง “ขอบคุณแต่เราไม่สนใจ” คนสวนตอบพร้อมยิ้มอย่างเคย “แต่คุณจะได้เงินเยอะ...” พ่อค้าว่า ท่าทางแปลกใจ “ผมไม่สนใจเงินทองหรอก” “ใครๆ ก็อยากได้เงินกันทั้งนั้น...” “แต่ไม่ใช่ผม…
ภู เชียงดาว
ความเรียบง่ายมีแรงดึงดูดที่ลี้ลับเพราะมันจะฉุดเราไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่คนส่วนใหญ่ในโลกไปกันไปจากการทำตัวให้เด่น ไปจากการสะสมไปจากการทะนงหลงตนและจากการเป็นเป้าสายตาของสาธารณะไปสู่ชีวิตสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน กระจ่างใสยิ่งกว่าสิ่งใดๆที่วัฒนธรรมบริโภคอย่างฉาบฉวยรู้จักกัน.                                                        …
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ  www.salweennews.orgที่มาภาพ www.sarakadee.comที่มาภาพ www.salweennews.orgกอดกับความเย็นเยียบอยู่อย่างนั้น, กลางป่าเปลี่ยวอ้อมอกอันบอบบางของเธอมิเคยอบอุ่นอยู่กับความมืดดำในความรู้สึกหวาดหวั่นพรั่นพรึง, ชีวิตความตายเหมือนมิเคยแยกจางห่างกันเลยโอ. เด็กๆ  ตามแนวชายแดนยามใดหนาวฤดูลมแล้งแห้งโหมพัดเข้ามาสู่,หัวใจเธอนั้นเหมือนจักรับรู้รสสัมผัสชีวิตวิถีที่จำต้องระเหเร่ร่อนนั่น,คือสัญญาณความขัดแย้งอันเลวร้ายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลืบเขารอการอุบัติเสียงแม่กระซิบบอกพวกเธอเบาๆเร็วเข้า,…
ภู เชียงดาว
  “การถอยออกไปจากสนามรบของชีวิตทำงานเงียบๆ ด้วยเป้าหมายที่สร้างสรรค์คือคำตอบหนึ่งต่อคำถามที่ว่าจะอยู่อย่างไรในสถานการณ์ที่ทุกอย่างกำลังพังทลาย”จากหนังสือ “ความเงียบ”จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปลผมไม่รู้ว่า สวนของผมนั้นกลายเป็นสวนผสมผสานตั้งแต่เมื่อไหร่...แต่ผมรู้ว่า พักหลังมานี่ เมื่อเดินทางกลับบ้านไปสวนทีไร ผมมักติดกล้าไม้เข้าไปในสวนเกือบทุกครั้ง ไม่อย่างก็สองอย่าง แวะซื้อมาจากกาดคำเที่ยง บ้างได้มาจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่มอบให้มา พอไปถึง ก็ลงมือขุดหลุม เอาเศษฟางเศษหญ้าลงคลุกกับเนื้อดิน หย่อนต้นไม้ต้นเล็กลงไป กลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือรอให้น้ำฟ้าหล่นรดให้ฉ่ำชื้นเอง…
ภู เชียงดาว
    “...เมื่อมนุษย์จมอยู่กับฝูงชนที่ขาดความเป็นมนุษย์ ถูกผลักไปมาอย่างอัตโนมัติไปตามแรงเหวี่ยง บุคคลนั้นก็สูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้ สูญเสียคุณธรรม หมดความสามารถที่จะรัก และศักยภาพที่จะกำหนดตนเอง เมื่อสังคมประกอบด้วยผู้คนที่ไม่รู้จักความวิเวกภายใน สังคมนั้นก็ไม่อาจรวมกันได้ด้วยความรัก แต่อยู่ได้ด้วยอำนาจครอบงำและความรุนแรง...” ถ้อยคำของ “โทมัส เมอร์ตัน” คัดมาจากหนังสือ “ความเงียบ” จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปล สวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดของผม ตั้งอยู่ในเนื้อที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความกว้างและยาวราวสี่ห้าไร่…