Skip to main content
ค่ำนั้น, ผมกลับมานั่งในบ้านปีกไม้ในหุบผาแดง นิ่งมองภาพเก่าๆ ของพ้อเลป่า สลับกับภาพครั้งสุดท้ายของเขาก่อนจะละสังขารไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา

\\/--break--\>

 



www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=308.105


พ้อเลป่า นั่งเซ็นชื่อตัวเองลงบนหนังสือให้กับสุวิชานนท์ รัตนภิมล

เมื่อ 8 มีนาคม 2552 หนึ่งเดือนก่อนพ้อเลป่าจะจากไป

 

ลายเซ็นของพ้อเลป่า กับหนังสือที่เขาเขียน

 

ปกหนังสือ เพลงชีวิตปกากะญอ

 

 

แหละนี่คือบางบท บางถ้อยคำที่ซ่อนแฝงไว้มากมายปรัชญาบนภูเขา ที่พ้อเลป่าได้ขีดเขียนไว้ ก่อนที่ วีระศักดิ์ ยอดระบำ จะนำมารวบรวมแปล และศูนย์ชาติพันธุ์และการพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2538

 

บางบท บางตอนนั้น ทำให้เรามองเห็นถึงภาพวิถีชีวิตของพี่น้องชนเผ่าในยุคก่อนๆ ที่กระทำและถูกกระทำทั้งในเรื่องของสงคราม ความแปลกเปลี่ยน ความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ อันเป็นสัจจะสามัญอย่างแท้จริง ครั้นเมื่อนำมาอ่านคิดทบทวนดูในห้วงยามนี้ คำบอกเล่าของ พ้อเลป่า นั้นยังคงสะกิดเตือนใจเราให้ฉุกคิดได้เสมอๆ

 

ฝรั่งสร้างทาง

เอาเงินมาหว่าน

อย่าได้เพ้อฝันว่าแผ่นดินจะร่มเย็น

 

ได้ข่าวเจ้าคำจะมา ได้ข่าวว่าตนบุญจะมา

คอยหนึ่งปีเจ้าคำก็ไม่มา คอยสองปีตนบุญก็ไม่มา

มองลงไปใต้ถุน มีแต่ศพคนตาย

 

หมาเห่าเก่ง หางขาดหมด

เห่าเส้นทางโบราณ

 

แม่อดข้าว สมัยก่อนแม่ไม่ตาย

แม่กินข้าวป่า แม่ไม่ตาย

 

ความสนุกสนานในเมืองใหญ่เวียงหลวง

ข้าวอร่อย เรายังกินไม่ลง

 

ต้นข้าวหักลงไม่พ้นน้ำ

เจ้าทำชื่อเสียงของเจ้าให้ดังเอง

 

เห็นคนอื่นทัดดอกไม้ป่า ดอกไม้ดง

อย่าไปเอาอย่างเขา

 

แม่ของเจ้าชอบคนใหญ่คนโต

ชอบแต่คนขี่ช้างมา

 

ช้างพลายพอใจกับงาขาว

ส่วนเจ้าอยากมีชื่อดัง

 

เสียงน้ำรำพึง เสียงดินรำพัน

ข่าวว่าพระเจ้าตาย

ข่าวว่าคำไม่มีแล้ว

เราสองคนสร้างบ้านอยู่ตามลำพัง

หายสาบสูญเหมือนปลาติดไซ

 

เสียงปืนดังที่กิ่วดอย

พี่ไปรบศึก พี่กลับมาแล้ว

 

สิ่งดุร้ายที่สุดขึ้นมาตามแม่น้ำสาละวิน

สิ่งฉลาดที่สุดขึ้นมาตามแม่น้ำสาละวิน

มีหนวดขาวหนึ่งเส้น

กัดชาวป่าตายไปหนึ่งคน

คนหวาดกลัวเพราะมันพูดเก่ง

 

รดน้ำไม้ล้ม

สักวันไม้ล้มจะออกดอก

 

ไม้สองต้นอยู่ห่างกัน

ลมพัดยอดเอียงเอนแนบชิด

 

น้องกับพี่ พี่กับน้อง

เหมือนผลไทรสุก นกกามากินเต็มต้น

 

ถ้าน้องเป็นพันธุ์ข้าว พี่จะเป็นด้ามเสียม

หว่านเมล็ดสนุกสนานบนภูเขา

 

ถ้าน้องเป็นสันเขา พี่จะเป็นหุบเขา

ถ้าน้องเป็นข้าวเปลือก พี่จะเป็นยุ้งข้าว

 

หากเจ้าเดินบนเส้นเชือกได้

ข้าจะเดินบนคมหอกคมดาบ

 

ไม้ไผ่ลำเดียวทอดข้ามน้ำไม่ได้

ข้าวเปลือกเมล็ดเดียวต้มเหล้าไม่ได้

 

ถ้าน่องมนุษย์ตั้งท้องได้

คนทุกคนก็เป็นพี่น้องเดียวกัน

 

บนภูเขามีหญ้ามีหนาม

บนเทือกเขามีหญ้ามีหนาม

เด็กๆ ไป เด็กๆ ถามทาง

ผู้ใหญ่ไป ผู้ใหญ่ถามทาง

ที่ไม่ถามทาง คือกระต่าย

ไปเอง หลงทางเอง

 

คนเฒ่าชี้ทางบนภูเขา

คนแก่ชี้ทางบนภูเขา

ดอกคำตูมรากแน่น

ดอกเงินตูมรากแน่น

วิถีแห่งจิตวิญญาณดั้งเดิม

อย่าขวางทางเราเลย

 

เธอไม่คดกินจากแผ่นดิน

ไม่แบ่งเขตกินจากน้ำ

เธอเป็นผู้กำหนดเสียงดังทั้งแผ่นดิน

 

พี่น้องประสานนิ้วมือ

ฟ้าถล่ม ช่วยกันยันไว้

 

ผมขออนุญาตบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ในฐานะนักเขียนคนแรกของปกากะญอ

พ้อเลป่าละสังขาร เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 ด้วยวัย 85 ปี ณ บ้านแม่แฮใต้

วันที่ 6 เมษายน 2552 พ้อเลป่า ได้คืนร่าง คืนสู่ธรรมชาติ ท่ามกลางบทเพลง ‘พ้อเลป่า' ที่ญาติพี่น้องลูกหลานของแผ่นดินได้ร่วมกันขับกล่อม ก่อนหย่อนร่างฝังดินกลบอย่างเรียบง่ายกลางป่าใหญ่

 

หากหลายคนบอกว่า แม้ร่างของพ้อเลป่าจะย่อยสลายเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกับดิน กับธรรมชาติ แต่พ้อเลป่ายังคงมีชีวิตอยู่ในโลกนี้

 

คงเหมือนกับที่พ้อเลป่าเคยพูดกับนักเขียนหนุ่มคนหนึ่งเอาไว้เมื่อเกือบสิบปีก่อนว่า คนเราเกิดมาแล้วต้องตาย แต่เราจะไม่ตายก็ด้วยสิ่งที่สร้างเอาไว้

 

"เราปลูกต้นไม้เอาไว้ เขียนหนังสือเอาไว้ เมื่อเราตายไปสิ่งนี้จะยังอยู่"


 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
ผมรู้ว่าสี่ห้าปีมานี้ ผมเขียนบทกวีได้ไม่กี่ชิ้น อาจเป็นเพราะต้องอยู่กับโลกข่าวสารที่จำเป็นต้องเร่งและเร็ว หรืออาจเป็นเพราะว่ามีบางสิ่งบางอย่างบดบัง จนหลงลืมมองสิ่งที่รอบข้าง มองเห็นอะไรพร่ามัวไปหมด หรือว่าเรากำลังหลงลืมความจริง...ผมเฝ้าถามตัวเอง...  อย่างไรก็ตามเถอะ...มาถึงตอนนี้ ผมกำลังพยายามฝึกใช้ชีวิต ให้อยู่กับความฝันและความจริงไปพร้อมๆ กัน ช่วงนี้ หลังพักจากงานสวน ผมจึงมีเวลาอยู่กับความเงียบลำพัง เพ่งมองภายในและสิ่งรายรอบมากยิ่งขี้น และผมเริ่มบันทึกบทกวีแคนโต้เหมือนสายน้ำ หลั่งไหล อย่างต่อเนื่อง ทุกวันๆ ตามดวงตาที่เห็น ตามหัวใจได้สัมผัสต้อง บ่อยครั้งมันมากระทบทันใด ไม่รู้ตัว…
ภู เชียงดาว
เกือบสามเดือนแล้วที่ผมพาตัวเองกลับมาอยู่ในหุบเขาบ้านเกิด ชีวิตส่วนใหญ่จึงขลุกอยู่แต่ในสวน ไม่ค่อยได้เดินทางไปไหนไกล แต่ผมกลับไม่รู้สึกว่าเหงาหรือห่างไกลกับผู้คนเลย เพราะในแต่ละเดือนมักมีมิ่งมิตรเดินทางมาเยี่ยมเยือนหากันตลอด  และทำให้ผมรู้อีกอย่างหนึ่งว่า...บางทีการอยู่นิ่งก็หมายถึงการเดินทาง ใช่ ผมหมายถึงว่า ในขณะที่ผมอยู่ในสวน หากยังมีผู้คนเดินทางแวะเวียนมาหา และที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ ผมยังมองเห็นเมล็ดพันธุ์เดินทางมายังสวนอย่างต่อเนื่อง “ผมเอาเมล็ดพันธุ์มาฝาก...” นักเดินทางคนหนึ่งเดินทางไกลมาจากสงขลา ล้วงเอาเมล็ดพันธุ์ที่ใส่ไว้ในกล่องฟิล์มยื่นให้ ขณะผมกำลังง่วนทำงานอยู่ในสวน
ภู เชียงดาว
หลังดินดำน้ำชุ่ม เขาหยิบเมล็ดพันธุ์หลากหลายมากองวางไว้ตรงหน้า มีทั้งเมล็ดผักกาดดอยที่พ่อนำมาให้ เมล็ดฟักทองที่พี่สาวฝากมา นั่นเมล็ดแตงกวา เมล็ดหัวผักกาด ถั่วพุ่ม ผักบุ้ง บวบหอม ผักชี ฯลฯ เขาค่อยๆ ทำไปช้าๆ ไม่เร่งรีบ ทั้งหว่านทั้งหยอดไปทั่วแปลง เสร็จแล้วเดินไปหอบใบหญ้าแฝกที่ตัดกองไว้ตามคันขอบรอบบ้านปีกไม้มาปูบนแปลงผักแทนฟางข้าว ให้ความชุ่มชื้นแก่ดินหลังจากนั้น เขามองไปรอบๆ แปลงริมรั้วยังมีพื้นที่ว่าง เขาเดินไปถอนกล้าตำลึง ผักปลัง ผักเชียงดา มะเขือ พริก อัญชัน ตะไคร้ ขิง ข่า กระเพรา โหระพา สาระแหน่ ฯลฯ มาปลูกเสริม หยิบลูกมะเขือเครือ(ที่หลายคนเรียกกันว่าฟักแม้วหรือซาโยเต้)…
ภู เชียงดาว
ในช่วงสองเดือน ก่อนที่เขาจะตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เกือบทุกเสาร์-อาทิตย์ เขาใช้เวลาเทียวขึ้นเทียวล่องระหว่างเมืองกับสวนในหุบเขาบ้านเกิด เพื่อวางแผนลงมือทำสวนผักหลังบ้าน แน่นอน- -เพราะเขาบอกกับตัวเองย้ำๆ ว่าหากคิดจะพามนุษย์เงินเดือน กลับไปใช้ชีวิตแบบนั้นได้ จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีฐานที่มั่น และมีผักไม้ไซร้เครือเตรียมไว้ให้พร้อม ให้พออยู่พอกินเสียก่อน ใช่ เขาหมายถึงการสร้างฐานความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวหลังบ้าน   หลายคนอาจบอกว่า งานทำสวนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เหมือนกับงานสาขาอาชีพอื่น แต่ก็อีกนั่นแหละ เขากลับมองว่า งานสวนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย…
ภู เชียงดาว
1. ในชีวิตคนเรานั้นคงเคยตั้งคำถามที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก คำถามคลาสสิกหนึ่งนั้นคือ...“คนเราต้องการอะไรในชีวิต!?...” คำตอบส่วนใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นต้องการปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต ...อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หากปัจจุบัน ‘เงิน’ กลับกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของคนเรา แน่นอน, เมื่อเอาเงินเป็นตัวกำหนดชะตากรรม,ชีวิต จึงทำให้ทุกคนต้องดิ้นรนเพียงเพื่อให้ได้มาทุกสิ่งทุกอย่าง จนทำให้ชีวิตหลายชีวิตนั้นขวนขวายทำงานกันอย่างหน่วงหนัก ‘การงาน’ ได้กระชากลากเหวี่ยงเรากระเด็นกระดอนไปไกลและไกล ให้ออกไปเดินบนถนนของความโลภ ไปสู่เมืองของความอยาก ไปสู่กงล้อของการไขว่คว้าที่หมุนวนอยู่ไม่รู้จบ…
ภู เชียงดาว
ค่ำนั้น, ฟ้าเริ่มครึ้มมัวหม่นเมฆฝน ข้ายืนจดจ้องฝูงมดดำเคลื่อนขบวนมหึมา ไต่ไปบนปีกไม้ไปหารวงรังแตนเกาะริมขอบหน้าต่างบ้านปีกไม้ หมู่มดยื้อแย่งขนไข่แตนกันออกจากรัง อย่างต่อเนื่อง ขณะฝูงแตนบินว่อนไปมาด้วยสัญชาติญาณ คงตระหนกตกใจระคนโกรธขึ้งเคียดแค้น แต่มิอาจทำอะไรพวกมันได้ เหล่าฝูงมดอาศัยพลพรรคนับพันนับหมื่นชีวิต ใช้ความได้เปรียบเข้าปล้นรังไข่พวกมันไปหมดสิ้น ไม่นาน ขบวนมดจำนวนมหาศาลก็ถอยทัพกลับไป ฝูงแตนไม่รู้หายไปไหน เหลือเพียงรังแตนที่กลวง ว่างเปล่า
ภู เชียงดาว
ในที่สุด, ผมก็พาตัวเองกลับคืนสู่บ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากโชคชะตาชักชวนชีวิตลงไปอยู่ในโลกของเมืองตั้งหลายขวบปี การกลับบ้านครั้งนี้ ผมกะเอาไว้ว่า จะขอกลับไปพำนักอย่างถาวร หลังจากชีวิตเกือบค่อนนั้นระหกระเหินเดินทางไปหลายหนแห่ง ผ่านทุ่งนา ภูเขา แม่น้ำ ทางป่า ถนนเมือง... จนทำให้บ้านเกิดนั้นเป็นเพียงคนรู้จักที่ไม่คุ้นเคย เป็นเหมือนโรงเตี๊ยมพักผ่อนชั่วคราวก่อนออกเดินทางไกล อย่างไรก็ตามได้อะไรมากและหลากหลาย... สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาสู่,ชีวิตการกลับบ้านเกิดหนนี้, เหมือนกับว่าไปเริ่มสู่จุดเริ่มต้นและก่อเกิด ผมบอกกับหลายคนว่ากำลังเกิดใหม่เป็นหนที่สามจากบ้านเกิด เข้ามาเรียนในเวียง…
ภู เชียงดาว
‘ลุ่มน้ำแม่ป๋าม’ ถือว่าเป็นลุ่มน้ำสาขาหลักที่สำคัญของแม่น้ำปิงอีกสายหนึ่งของอำเภอเชียงดาว ที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย เมื่อย้อนทวนขึ้นไปบนความสลับซับซ้อนของต้นกำเนิดน้ำแม่ป๋าม หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ตาน้ำ จะพบว่าอยู่บริเวณชุมชนบ้านแม่ปาคี ต.สันทราย ของ อ.พร้าว ก่อนจะลัดเลาะไหลอ้อมตีนดอยผาแดง ลงสู่หุบห้วยบริเวณบ้านป่าตึงงาม โดยมีสายน้ำย่อยอีกสายหนึ่ง คือน้ำแม่ป๋อย ได้ไหลมารวมกับน้ำแม่ป๋ามตรงสบน้ำบ้านออน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว นอกจากนั้นยังมีลำน้ำแม่มาดอีกสายหนึ่ง ซึ่งมีขุนน้ำอยู่บริเวณป่าเชิงดอยบ้านปางโม่ ก็ได้ไหลมาสมทบกับน้ำแม่ป๋าม แล้วค่อยไหลผ่านหมู่บ้านแม่ป๋าม…
ภู เชียงดาว
มองไปในความกว้างและเวิ้งว้าง ทำให้ผมอดครุ่นคิดไปลึกและไกล และพลอยให้อดนึกหวั่นไหวไม่ได้ หากภูเขา ทุ่งนาทุ่งไร่ สายน้ำ และวิถีชีวิตในหมู่บ้านเกิดของผมต้องเปลี่ยนไป เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติเข้ามาเยือน
ภู เชียงดาว
‘…เรารู้ซึ้งถึงสิ่งนี้ โลกนี้มิใช่ของมนุษย์ มนุษย์ต่างหากที่เป็นสมบัติของโลก สิ่งนี้เรารู้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเหมือนดังสายเลือดในครอบครัวเดียวกัน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นแก่บุตรธิดาของโลกด้วย มนุษย์ไม่ใช่ผู้สานทอใยแห่งชีวิต เขาเป็นเพียงเส้นใยหนึ่งในนั้น สิ่งใดก็ตามที่เขาทำต่อข่ายใยนั้น ก็เท่ากับกระทำต่อตนเอง...’จดหมายโต้ตอบของหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงที่ซีแอตเติ้ลจากหนังสือ ‘ณ ที่ดวงตะวันฉายแสง ข้าจะไม่สู้รบอีกต่อไป’วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ : แปล และเรียบเรียง
ภู เชียงดาว
  ผมยืนอยู่บนเนินเขาเหนือหมู่บ้าน จ้องมองภาพเคลื่อนไหวไปเบื้องหน้า... เป็นภาพที่คุ้นเคยที่ยังคงสวยสด งดงาม และเรียบง่ายในความรู้สึกผม ภาพชาวนาในท้องทุ่ง ภาพหุบเขาผาแดงที่มีป่าไม้กับลำน้ำแม่ป๋ามไหลผ่านคดโค้งเลียบเลาะระหว่างตีนดอยกับทุ่งนา ก่อนรี่ไหลลงไปสู่ลำน้ำปิง แม่น้ำในใจคนล้านนามานานนักนาน
ภู เชียงดาว
(1)ดอกฝนหล่นโปรยมาทายทักแล้ว,ในห้วงต้นฤดูหอมกลิ่นดินกลิ่นป่าอวลตรลบไปทั่วทุกหนแห่งหัวใจหลายดวงชื่นสดในชีวิตวิถีถูกปลุกฟื้นตื่นให้เริ่มต้นใหม่อีกคราครั้ง…ตีนเปลือยย่ำไปบนดินนุ่มชุ่มชื้น,เช้าวันใหม่ไต่ตามสันดอย ไปในไร่ด้วยกันนะน้องสาวผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน  ช่วยกันทำงานๆพี่ใช้เสียมลำไม้ไผ่กระทุ้งดิน  น้องหยิบเมล็ดข้าวหยอดใส่หลุมไม่เร่งรีบ ไม่บ่นท้อ ในความเหน็ดหน่ายเสร็จงานเราผ่อนคลาย  เอนกายผ่อนพักใต้เงาไม้ใหญ่แล้วพี่จะกล่อมให้, ด้วยเพลงพื้นบ้านโบราณขับขาน