Skip to main content

 

\\/--break--\>

 

 

 

 

ต้นเดือนเมษายน เขากับเพื่อนสนิทอดีตครูดอย ขับรถขึ้นมาจากใต้ พากันไปเยือนห้วยเสือเฒ่า ไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน อันเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของพี่น้องชาวกะยัน หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในนามกะเหรี่ยงคอยาว ในความรู้สึกขณะนั่งอยู่ในรถตอนนั้น เขาบอกกับตัวเองว่า ไม่อยากไปเยือนในฐานะนักท่องเที่ยว หากอยากไปในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง เขาตั้งใจแวะไปเยี่ยมหาแม่เฒ่ามะโน ซึ่งก่อนหน้านั้นเพื่อนและน้องสาวคนหนึ่งเคยมากินนอนอยู่กับครอบครัวของแม่เฒ่า จนสนิทแนบแน่นกันเป็นดั่งเครือญาติผูกพัน

 

แม่เฒ่ามะโนดีใจใบหน้าเปื้อนยิ้ม ที่เห็นพวกเรามาเยี่ยม รีบกุลีกุจอขอตัวไปต้มน้ำ หากาแฟมาให้เรานั่งจิบกันในเพิงหน้ากระท่อม ใกล้ๆ กับแผงขายของที่ระลึก ใกล้เที่ยง นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเริ่มทยอยกันเข้ามา ดูเหมือนว่าทุกคนที่มาเยือนห้วยเสือเฒ่าจะไม่สนใจอย่างอื่น นอกจากจ้องมองดูห่วงทองเหลืองบนคอของแม่หญิงชาวกะยัน ด้วยสายตาของความกระหายใคร่รู้ พร้อมขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก แม่เฒ่าบอกว่า ตอนนี้ใส่ห่วงทั้งหมด 24 ห่วง ยาวที่สุดในหมู่บ้าน ครั้นเมื่อสอบถามน้ำหนักของห่วงในร่างกายของแม่เฒ่า จึงรู้ว่าน้ำหนักห่วงบนคอ 5 กก.และที่สวมห่วงขาอีกข้างละ 1 กก.รวมเป็น 7 กก.ซึ่งหนักไม่ใช่เล่น

 

แต่แม่เฒ่ามะโนยังยิ้มอย่างภูมิใจกับห่วงทองเหลืองของแท้ที่เหลืออยู่...

 

แหละเมื่อพูดถึงชาวกะยัน เชื่อว่าคนส่วนใหญ่มักรู้จักกันเพียงแค่กะเหรี่ยงสวมห่วงคอสีทอง ที่จัดไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาชมเหมือนกับเป็นสวนสัตว์มนุษย์เพียงแค่นั้น แต่ไม่ค่อยมีใครรับรู้และสนใจว่า พวกเขาก็เป็นมนุษย์เผ่าพันธุ์อิสระกลุ่มหนึ่งที่จำต้องเดินทางไกล ลี้ภัยจากการสู้รบในฟากฝั่งพม่า หนีจากโหดร้ายอดยาก มาอาศัยอยู่ในเมืองไทยนานกว่ายี่สิบปีแล้ว

 

ทำให้เขานึกไปถึงถ้อยคำของน้องสาวคนนั้น ที่ปัจจุบันไปเป็นสะใภ้ของแม่เฒ่ามะโน ได้บันทึกเอาไว้ให้เห็นภาพเป็นจริง ไม่ใช่เหมือนกับที่หลายๆ องค์กรหน่วยงานนั้นมองเห็น

 

เธอบอกว่า ชาวกะยันก็เหมือนนกพลัดถิ่น ที่จำต้องทิ้งรังเพื่อหาที่อยู่แห่งใหม่ ทว่าครั้นมาถึงดินแดนใหม่ กลับพบว่า ชีวิตนั้นอยู่รอด หากถูกมือที่มองไม่เห็นจับต้อนเข้ากรง แล้วป้อนข้าวป้อนน้ำให้พอประทังชีวิต

 

คงเหมือนกับที่เธอบอกเช่นนั้น...เขาครุ่นคิด นั่นทำให้เขารู้ว่า นกพลัดถิ่นฝูงนี้จึงไม่อาจจะโบยบินต่อไป ตราบใดที่อำนาจรัฐ อำนาจลับ และผลประโยชน์ ยังเข้าครอบครองและครอบงำพวกเขาอยู่

 

"ทุกวันนี้ ไม่มีบัตร ไปไหนไม่ได้ ไปได้แค่เมืองแม่ฮ่องสอนเท่านั้น" แม่เฒ่าเอ่ยออกมาเบาๆ

 

"แล้วถ้าเขาอนุญาตให้ไปได้ อยากไปไหนบ้างละ" เขาแหย่ถามเล่นๆ

 

"อยากไปเชียงใหม่ อยากไปกรุงเทพฯ อยากขี่เครื่องบิน อยากไปทะเล แม่มีเพื่อนเป็นฝรั่งด้วยนะ เขาอยู่แถวทะเล แต่ไปไม่ได้ ไม่มีบัตร..." แม่เฒ่าบอกเล่าความฝันเหมือนเด็กๆ

 

ภาพที่เขามองเห็นในวันนั้น ชาวกะยันยังคงอาศัยอยู่ในกระท่อมเก่าๆ เพิงพักหลังเล็กๆ ที่เบียดเสียดกันอยู่ในเนื้อที่อันจำกัดเช่นนั้น ไม่สามารถปลูกไร่ใส่สวนเหมือนคนทั่วไปได้ วิถีความเป็นอยู่จึงแร้นแค้นและจำยอม

 

กระนั้น พี่น้องชาวกะยันกลุ่มนี้ ยังคงฝันถึงดินแดนแห่งใหม่ แม้ว่าดินแดนนั้นจะไกลและนานเพียงใดก็ตาม ใช่ หลายคนที่นี่ยังหวังจะบินไกลเป็นครั้งสุดท้าย ตามโครงการของ UNDP โดยยึดหลักกติกาสากลของสหประชาชาติ ว่าผู้ลี้ภัยย่อมมีสิทธิที่จะเลือกไปอยู่ประเทศที่สาม เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่

 

"ตอนนี้ลูกๆ เตรียมตัวไปประเทศที่สามกันแล้วหละ..." แม่เฒ่าเอ่ยออกมากลางความเงียบ

 

"ถ้าแม่มีโอกาสไปอยู่ประเทศที่สาม แม่อยากไปที่ไหน"

 

"อยากไปอเมริกา...แต่ถ้าไม่ใช่อเมริกา ก็จะไม่ไปไหน ขออยู่เมืองไทยที่นี่ดีกว่า"

 

"ทำไมถึงอยากไปอยู่อเมริกา" เขาแกล้งถาม

 

"ไม่รู้เหมือนกัน..."

 

แม่เฒ่ามะโนพูดซื่อๆ ไม่ได้อธิบายอะไรให้เราชัด จนเขาครุ่นคิดไปเองว่า อาจเป็นเพราะใครต่อใครพูดถึงประเทศสหรัฐอเมริกาให้แม่เฒ่าฟัง หรือไม่อาจได้ดูโทรทัศน์ ฟังข่าวที่พูดถึงอเมริกากันอยู่บ่อยๆ ว่าอเมริกานั้นมีเสรีภาพ

 

คำพูดของแม่เฒ่า ทำให้เขานึกไปถึงคำบอกเล่าของ ‘เดวิด ธอโร' ที่ว่าไว้ใน ‘วอลเดน'

 

‘...อเมริกาที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียวนั้น คือประเทศที่คุณมีเสรีภาพ ที่จะใช้วิถีชีวิต ซึ่งสามารถจะทำให้คุณอยู่ได้, เป็นดินแดนซึ่งรัฐ ไม่พยายามที่จะบีบคั้นให้คุณรักษาไว้ซึ่งระบบทาส และสงคราม'

 

เขาหันไปมองแม่เฒ่ามะโนอีกครั้ง แม่เฒ่าอาจรู้สึกเช่นนั้น หากในห้วงเวลานี้ แม่เฒ่ายังยืนอยู่ที่เดิม ที่นี่...ดินแดนที่ไม่มีสงคราม หากเสรีภาพนั้นแหว่งหายไปนานแล้ว!

 

 

 

 

 

 

 

ก่อนเขาและเพื่อนๆ จะขอตัวลากลับในวันนั้น แม่เฒ่าหยิบโปสการ์ดรูปวาดแม่เฒ่าแรเงาสีเทาให้คนละใบ ก่อนบอกย้ำว่า "หมั่นมาหากันนะ มาครั้งหน้ามานอนค้างที่นี่ซักคืน"

 

ในขณะที่ทุกคนยกมือไหว้ โอบกอดและร่ำลา เขามองเห็นดวงตาแม่เฒ่านั้นรื้นๆ ด้วยน้ำใสๆ

เป็นดวงตาของความโดดเดี่ยว แปลกแยก และเหงาเศร้า

จ้องมองเหม่อดูผู้คนที่เดินเข้ามาและเดินจากไปเงียบๆ

หมายเหตุ : งานชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกคอลัมน์คนคือการเดินทาง เสาร์สวัสดี กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 พ.ค.2552

 

 

 

 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
  เมื่อนั่งอยู่ในความเงียบ ในสวนบนเนินเขายามเช้าตรู่ เพ่งดูหมอกขาวคลี่คลุมดงดอยอยู่เบื้องหน้า ทุ่งนาเบื้องล่างลิบๆ นั้นเริ่มแปรเปลี่ยนสี จากทุ่งข้าวสีเขียวสดกลายเป็นสีเหลืองทองรอการเก็บเกี่ยว ใช่, ใครต่อใครเมื่อเห็นภาพเหล่านี้ คงรู้สึกชื่นชมภาพอันสดชื่นรื่นรมย์กันแบบนี้ทุกคนทว่าจริงๆ แล้ว พอค้นให้ลึกลงไป ก็จะพบว่า ในความงามนั้นมีความทุกข์ซุกซ่อนอยู่ให้รับรู้สึก เมื่อนึกถึงภาพเก่าๆ ของหมู่บ้าน ผ่านไปไม่กี่สิบปี  จะมองเห็นได้เลยว่าหมู่บ้านเกิดของผมมีความแปลกเปลี่ยนไปอย่างเร็วและแรง อย่างไม่น่าเชื่อ“ตอนนี้ อะหยังๆ มันก่อเปลี่ยนไปหมดแล้ว...” เสียงใครคนหนึ่งบ่นเหมือนรำพึงจริงสิ,…
ภู เชียงดาว
ผมเริ่มค้นพบว่าตัวเองนั้นไม่เหมาะกับเมือง หลังจากที่ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่มานานหลายปี ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงคิดเช่นนี้- -อาจเป็นเพราะระยะหลังรู้สึกว่าชีวิตตัวเองแปลกและป่วย บางครั้งคล้ายยินเสียงจากข้างในกำลังบอกอะไรบางอย่าง ราวกับจะบอกว่า... ‘ที่สุดแล้ว,ชีวิตต้องกลับคืนสู่เส้นทางที่จากมา’ แหละนั่น ทำให้ผมเริ่มวางแผนกลับไปใช้ชีวิตในสวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากที่ปล่อยให้สวนรกร้างว่างเปล่ามานานเต็มทีจริงสิ, ผมปล่อยให้ต้นไม้ในสวนรกเรื้อและโตขึ้นตามลำพัง ไร้การดูแลเอาใจใส่ ไม่มีเวลารดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย คงเหมือนกับชีวิตตัวเองกระมัง ที่ต้องมาอยู่กับเมือง มัวแต่ไขว่คว้าบางสิ่ง…
ภู เชียงดาว
สิ่งดี ๆ ในชีวิต พ่อค้าแวะมาหาคนสวนที่เขากำลังพักผ่อนอยู่ตรงหน้ากระท่อม “สวัสดีครับคนสวน” พ่อค้าทักทาย “ผมมีข้อเสนอดีๆ มาให้ คุณคงสนใจเป็นแน่” และเมื่อเห็นทีท่าเฉยเมยของคนสวน พ่อค้าก็เริ่มพูดธุระที่เขาคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งคนสวนจะต้องขยายพื้นที่ปลูกกุหลาบเพิ่มขึ้นและพ่อค้าจะเป็นคนเอาไปขายในเมือง “คนสวน ด้วยความชำนาญของคุณ กุหลาบของเราจะสวยงามที่สุดในเมือง” พ่อค้าสรุปด้วยท่าทีกระหยิ่มยิ้มย่อง “ขอบคุณแต่เราไม่สนใจ” คนสวนตอบพร้อมยิ้มอย่างเคย “แต่คุณจะได้เงินเยอะ...” พ่อค้าว่า ท่าทางแปลกใจ “ผมไม่สนใจเงินทองหรอก” “ใครๆ ก็อยากได้เงินกันทั้งนั้น...” “แต่ไม่ใช่ผม…
ภู เชียงดาว
ความเรียบง่ายมีแรงดึงดูดที่ลี้ลับเพราะมันจะฉุดเราไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่คนส่วนใหญ่ในโลกไปกันไปจากการทำตัวให้เด่น ไปจากการสะสมไปจากการทะนงหลงตนและจากการเป็นเป้าสายตาของสาธารณะไปสู่ชีวิตสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน กระจ่างใสยิ่งกว่าสิ่งใดๆที่วัฒนธรรมบริโภคอย่างฉาบฉวยรู้จักกัน.                                                        …
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ  www.salweennews.orgที่มาภาพ www.sarakadee.comที่มาภาพ www.salweennews.orgกอดกับความเย็นเยียบอยู่อย่างนั้น, กลางป่าเปลี่ยวอ้อมอกอันบอบบางของเธอมิเคยอบอุ่นอยู่กับความมืดดำในความรู้สึกหวาดหวั่นพรั่นพรึง, ชีวิตความตายเหมือนมิเคยแยกจางห่างกันเลยโอ. เด็กๆ  ตามแนวชายแดนยามใดหนาวฤดูลมแล้งแห้งโหมพัดเข้ามาสู่,หัวใจเธอนั้นเหมือนจักรับรู้รสสัมผัสชีวิตวิถีที่จำต้องระเหเร่ร่อนนั่น,คือสัญญาณความขัดแย้งอันเลวร้ายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลืบเขารอการอุบัติเสียงแม่กระซิบบอกพวกเธอเบาๆเร็วเข้า,…
ภู เชียงดาว
  “การถอยออกไปจากสนามรบของชีวิตทำงานเงียบๆ ด้วยเป้าหมายที่สร้างสรรค์คือคำตอบหนึ่งต่อคำถามที่ว่าจะอยู่อย่างไรในสถานการณ์ที่ทุกอย่างกำลังพังทลาย”จากหนังสือ “ความเงียบ”จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปลผมไม่รู้ว่า สวนของผมนั้นกลายเป็นสวนผสมผสานตั้งแต่เมื่อไหร่...แต่ผมรู้ว่า พักหลังมานี่ เมื่อเดินทางกลับบ้านไปสวนทีไร ผมมักติดกล้าไม้เข้าไปในสวนเกือบทุกครั้ง ไม่อย่างก็สองอย่าง แวะซื้อมาจากกาดคำเที่ยง บ้างได้มาจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่มอบให้มา พอไปถึง ก็ลงมือขุดหลุม เอาเศษฟางเศษหญ้าลงคลุกกับเนื้อดิน หย่อนต้นไม้ต้นเล็กลงไป กลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือรอให้น้ำฟ้าหล่นรดให้ฉ่ำชื้นเอง…
ภู เชียงดาว
    “...เมื่อมนุษย์จมอยู่กับฝูงชนที่ขาดความเป็นมนุษย์ ถูกผลักไปมาอย่างอัตโนมัติไปตามแรงเหวี่ยง บุคคลนั้นก็สูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้ สูญเสียคุณธรรม หมดความสามารถที่จะรัก และศักยภาพที่จะกำหนดตนเอง เมื่อสังคมประกอบด้วยผู้คนที่ไม่รู้จักความวิเวกภายใน สังคมนั้นก็ไม่อาจรวมกันได้ด้วยความรัก แต่อยู่ได้ด้วยอำนาจครอบงำและความรุนแรง...” ถ้อยคำของ “โทมัส เมอร์ตัน” คัดมาจากหนังสือ “ความเงียบ” จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปล สวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดของผม ตั้งอยู่ในเนื้อที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความกว้างและยาวราวสี่ห้าไร่…