Skip to main content

 

 

 

 

คือคนที่อยู่ป่า

 

ป่าทั้งป่าเหมือนกำลังร่ำร้องบทเพลงเศร้า

ลมหอบเอาความเคว้งคว้างมาสู่หัวใจเหงา

ช่างโศกวังเวงยามยินเสียงแมลงไพรกรีดครวญหวนไห้

หยาดน้ำจากตาข้ารินไหลอาบแก้มเกรอะกรัง

ข้าคุกเข่าอยู่ริมหลุมฝังศพพ่อ

บนเนินเขาเหนือหมู่บ้านกลางป่าลึก

เถาวัลย์ทอดเลื้อยรกแผ่คลุมไปทั่ว

ดอกไม้ที่ข้าเคยปลูกไว้รายรอบนั้นเหี่ยวแห้งเฉา

 

ข้ารู้,ว่าพ่อคงเสียใจ

หากข้าไม่อาจยุดยื้ออำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาได้

แผ่นดินถิ่นเกิดที่เคยสงบ สันติ และอิสระ

พลันสั่นสะเทือนด้วยบทบัญญัติที่ถูกจำกัดสิทธิ์

สิ่งที่พี่น้องของข้าร่วมต่อสู้มาเนิ่นนาน

กลับกลายเป็นเพียงสัญญาความว่างเปล่า!?

เมื่อพวกท่านพูดด้วยเสียงอันดังว่า…ไม่ไว้ใจ!!

 

โอ.ข้ารู้,เพราะหัวใจท่านมิได้ถูกปลดปล่อย

ความคิดจึงคับแคบอยู่ในกรอบของความระแวงสงสัย

เพราะวิถีชีวิตท่านอยู่แต่ในเมืองแห่งอำนาจ

ท่านจึงมองเห็นคนป่าคนไพรคือตัวปัญหา

คือคนชายขอบที่พวกท่านมิอาจมองเห็น

ดวงตาท่านหลับสนิท หัวใจคุณมืดมิด

คิด-คิด-คิดอยู่ในความคิดของตัวเอง

 

ท่านไม่อาจตัดแยกวิญญาณของเราให้ขาดลงได้

แผ่นดิน ภูเขา ป่าไม้ สายน้ำ และชนเผ่า

เป็นเช่นดั่งญาติมิตรเกื้อกูลผูกพันกันแนบแน่น

ใครบ้างเล่า,ไม่รู้จักความเจ็บปวดรวดร้าว

เมื่อรู้ว่ามีมือที่มองไม่เห็นมาฉุดพรากลูกออกจากอ้อมอกแม่

 

วิญญาณพ่อข้า,จงรับรู้…

เถิด,พี่น้องของข้าจงยืนหยัด

จงจับมือกันให้มั่น อย่าหวาดหวั่นครั่นคร้าม

แม้ในห้วงยามนี้ ดวงตะวันยังส่องแสงมาไม่ถึง.

 

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

 

ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์สะพานรุ้ง สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับที่ 9 ปีที่49 2-9 ..2545

 

 

 

ผมค้นบทกวีเก่าๆ ที่เคยเขียนไว้เมื่อครั้งทำงานอยู่ร่วมกับพี่น้องชนเผ่าบนดอยสูงออกมาอ่านอีกครั้ง หลังจากอ่านบทความและความคิดเห็นของนักวิชาการ ของ ดร.ท่านหนึ่ง แล้วรู้สึกผะอืดผะอมเหมือนกับถูกบังคับให้กินของหวานตามด้วยของขม

 

บางความเห็นของ ดร.ท่านนั้นได้เอ่ยออกมาชัดเจนว่า- -ชาวเขาสมควรออกจากป่า!

 

...ชาวเขา เอาเขาทั้งเขานับหมื่น ๆไร่ไปบำรุงบำเรอความสุขส่วนตัวของตนเอง 30 หลังคาเรือน แล้วมาอ้างว่าเป็นความมั่นคงทางอาหาร แย่จริง ๆ นี่คือการปล้นและปิดโอกาสให้คนอื่นได้ใช้ผืนป่ามากกว่า...” ดร.ท่านนั้นแสดงความเห็นเช่นนั้น

 

ทำให้ผมนึกไปถึงชุมชนปกากะญอแห่งหนึ่ง ที่อาศัยอยู่มานานหลายชั่วอายุคนขึ้นมาทันใด ชุมชนที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวมาหลายรางวัล เป็นชุมชนที่หลายคนไปเยือนต่างกลับออกมาบอกให้สังคมและโลกรับรู้ว่า- -พวกเขา 30 หลังคาเรือน แต่สามารถดูแลป่าได้เป็นหมื่นๆไร่

 

แต่ ดร.ท่านนั้น กลับมองกลับข้าง เหมือนจะบอกว่า ทำไมคนแค่ 30 หลังคาเรือน ถึงครอบครองป่า เอาไปบำเรอสุขกันได้ตั้งหมื่นไร่

 

จนใครคนหนึ่งบอกกับ ดร.เหมือนอยากจะประชด ว่า “ดี งั้นก็อพยพพวกชาวเขาออกมาจากป่า ให้หมดเลย คงไม่ต่ำกว่าล้านคนแหล่ะ ให้ไปอยู่ที่ไหนดีล่ะ สร้างเกาะให้อยู่ใหม่ดี...หรือว่าสร้างคอนโดให้อยู่ในกรุงเทพดี จะได้มีงานทำ มีข้าวกิน...”

 

ดร.ท่านนั้น ตอบกลับทันใด…

 

ถ้าคิดว่าชาวเขาอยู่ลำบาก ก็มาอยู่ในเมือง รับจ้างซีครับ หรือไม่ก็ให้รัฐเลี้ยงให้อยู่เฉย ๆ อย่าไปเที่ยวทำลายป่า จับจองที่ดินของคนทั้งชาตินะครับ...” โห...ดร.คิดได้ไงนี่

 

แต่ผมรู้สึกชื่นชมกับผู้ที่บอกว่าเป็น ‘ศิษย์คนหนึ่ง’ ของ ดร.ท่านนั้น ที่ศิษย์กล้าวิพากษ์อาจารย์ตรงๆ

 

ผมไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ ถ้าชาวเขามีอำนาจ เขาจะออกโฉนดพื้นที่ป่าเขาทั้งหมด เป็นทรัพย์สินของพวกเขา เป็นของบรรพชนของพวกเขา เป็นของพวกเขามีอยู่แต่เดิม...รัฐไทยต่างหากที่ไปรุกรานพวกเขา ยึดครองภูเขาของเขา(ที่บรรพบุรุษเขาเคยอยู่เคยใช้เป็นที่ทำกินมาตลอดประวัติศาสตร์ของชาวเขา)นายทุนไทยบุกรุกที่ดินในป่าเขาเพื่อสร้างรีสอร์ท บุกรุกป่าเขาเพื่อสร้างบ้านพักตากอากาศ(ทั้งนายทุน นักการเมือง ทหาร/หรือไม่ก็ทั้งสามอาชีพนี้คือคนๆเดียวกันกลุ่มเดียวกัน)...”

 

ศิษย์คนหนึ่ง’ ยังบอกตรงๆ อีกว่า “...เหตุผลของอาจารย์ บางครั้งก็เป็นเหตุผลของนักประเมินมูลค่าทรัพย์สิน อาจารย์ไม่เข้าใจความมั่นคงของชีวิตของชาวชนบท ที่เป็นคนชายขอบ เรื่องนี้มันเป็นมุมมองที่ต่างกัน ระหว่างชนชั้นนายทุน ชนชั้นผู้รับใช้นายทุน กับเจ้าของทรัพยากร เราเป็นผู้รุกราน ชาวปกากะญอ รุกรานผีตองเหลือง รุกรานชาวซาไก ซามัง กล่าวร้ายต่อพวกเขา ทั้งที่สิ่งที่พวกเขาทำ เป็นวิถีชีวิต วนเวียนทำไร่ แต่เรากลับไปสร้างสนามกอล์ฟ เพียงเพื่อคนกลุ่มหนึ่ง สร้างรีสอร์ทเพียงเพื่อคนกลุ่มหนึ่ง ที่เปลี่ยนทรัพยากรของคนท้องถิ่น มาเป็นของคนกลุ่มหนึ่ง แล้วใช้กฎหมาย พ...- ...มาบังคับใช้อ้างกฎหมาย อ้างรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้ผมไม่เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ...”

ยัง...ยังไม่พอ ‘ศิษย์คนหนึ่ง’ ยังวิพากษ์อาจารย์ ดร.ท่านนั้นทิ้งท้ายอีกว่า...“ตอนแรกผมเชื่อว่าอาจารย์จะทรยศต่อชนชั้นของตัวเอง เพื่อประชาชนผู้ยากไร้ แต่แล้วอ่านไปนานๆ พบว่า...อาจารย์ก็มีจิตวิญญาณของผู้เป็นชนชั้นนายทุน มองการลงทุนคือกำไร มองกำไร...เป็นแค่เพียงตัวเงิน...”


ผมอ่านความคิดเห็นทั้งหมดในท้ายบทความชิ้นนี้ ซึ่งยังโต้เถียงกันไม่รู้จบ แล้วรู้สึกทอดถอนใจ...

 

เพื่อกันลืม- - ดร.ท่านนั้น คือ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย กับบทความที่ชื่อ ‘โฉนดชุมชน เรื่องวิบัติที่ต้องคัดค้านอย่างถึงที่สุด’ เชิญชวนไปอ่านกันได้ที่...http://www.prachatai.com/journal/2009/09/25985

 

 

 

 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
“พระจันทร์กำลังขึ้นในหุบเขาผาแดง...” เสียงของเจ้าธันวา ลูกชายกวีเอ่ยออกมาด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น กับภาพที่ฉายอยู่เบื้องหน้า พระจันทร์ดวงกลมโตกำลังเดินทาง โผล่พ้นหลังดอยผาแดงอย่างช้าๆ ก่อนลอยเด่นอยู่เหนือยอด ลอยสูงขึ้นไปบนเวิ้งฟ้าราตรี  0 0 0 0 อีกหนึ่งความทรงจำที่ตรึงผมไว้กับการเดินทางวันนั้น เป็นการเดินทางช้าๆ ไม่เร่งรีบ เรียบง่าย ไม่มีเป้าหมาย แต่เราได้อะไรๆ จากความเรียบง่ายนั้นมามากมาย เมื่อผมนัดกับพี่ชายกวี ‘สุวิชานนท์ รัตนภิมล’ คนเขียนหนังสือ คนเขียนเพลง คนเขียนคำกวี เพื่อไปค้นหาความลี้ลับบางอย่างกลางป่า
ภู เชียงดาว
เหมือนว่าอดีตกำลังกวักมือเรียกหาเหมือนว่าปัจจุบันกำลังคลี่เผยความลับอยู่เบื้องหน้าฉันรู้สึกตื่นเต้น อยากก้าวย่างไปบนทางสายนั้น ถนนความหวังและความใฝ่ฝันภูเขาลูกนั้นที่ฉันคุ้นเคย แม่น้ำสายนั้นที่ฉันฝันถึงป่าไม้ผืนนั้นยังตรึงไว้ในดวงตากับสายลมเริงร่า กลางทุ่งหญ้าสีทอง แหละนั่นตะวันเจิดจ้า กับท้องฟ้าสีฟ้าเบิกบานสดใสเพราะโลกใบนี้ช่างกว้างใหญ่เพราะโลกใบนี้ยังไม่โหดร้ายเกินไปนักฉันจึงออกเดินทาง ไกลแสนไกลไปตามหาความฝันอันกว้างใหญ่ไปค้นหาความหวังใหม่ไม่รู้จบเพราะโลกใบนี้ช่างกว้างใหญ่เพราะโลกใบนี้ยังไม่โหดร้ายเกินไปนักฉันจึงศรัทธา คิดและฝัน...ฉันจึงออกเดินทาง....…
ภู เชียงดาว
เธอมิใช่ผู้หญิงที่สูงศักดิ์หากคือหญิงผู้แน่นหนักรักยิ่งใหญ่รักในอิสรภาพ ความเป็นไทรักต่อสู้ เพื่อสิ่งยากไร้- -ในสังคมเธอมิใช่เป็นเจ้าหญิงในตำนานหากทำงานกับปัญหาอันหมักหมมกระชากแหวก กรอบมายา ค่านิยมเพียรเพาะบ่มความแกร่งกล้า- -พยายามเธอเฝ้าเรียน เฝ้าฝืนและตื่นรู้แม้อยู่ท่ามกลางสายตาที่เหยียดหยามหากเธอยังต่อสู้กับความเสื่อมทรามแม้จักผ่านกี่ห้วงยามความเลวร้าย !ใช่,และเธอไม่ได้ต่อสู้เพื่อตัวเองหากเปล่งเสียงร้องปกป้องชนทั้งหลายเพื่อภราดรภาพ เสรีภาพของหญิงชายเพื่อเปล่งแสงแห่งความหมาย- -ความเท่าเทียม !เธอคือหญิงนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่มีจิตใจกล้าหาญชาญยอดเยี่ยมเธอประกาศยืนหยัด...“ความเท่าเทียม”…
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ : http://www.aromdee.net/pic_upload/Sep07/p2120_1.jpgในวันฟ้าเปลี่ยนสีข้ามองเห็นสัตว์การเมืองเปลี่ยนร่างบ้างสลัดคราบทิ้งกลายพันธุ์บ้างเกาะเกี่ยวกระหวัดรัดกันสมสู่ เสพสม กลิ้งเกลือกกองอาจมกิเลส ความใคร่อยาก อำนาจไม่รู้จบอา- - ข้ามองเห็นผู้คนเดินผ่านไปมา มองเห็นแล้วส่ายหน้าหดหู่ใจ...............ผมค้นบทกวีที่ผมแต่งเอาไว้นานแล้ว ออกมาอ่านอีกครั้งหนึ่ง...หลังมีข่าวว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งในนามว่า “เหี้ย” ออกมาผสมพันธุ์กันในทำเนียบรัฐบาล แหละนี่คือ "เบื้องหลัง 'เหี้ย' หลงฤดู โชว์อึดเสพเมถุน-เล้าโลมเป็นชั่วโมง ในทำเนียบหลังตึกไทยคู่ฟ้า" ที่เผยแพร่ใน ‘มติชนออนไลน์’…
ภู เชียงดาว
เมื่อวันก่อน เพื่อนนักเขียนสาวเมืองเหนือ นาม “สร้อยแก้ว คำมาลา” ส่งข่าวมาบอกว่า จะเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ที่ ‘ร้านเล่า’ เชียงใหม่ ในช่วงเย็น วันที่ 12 ก.พ.นี้ พร้อมกับชักชวนผมเข้าไปร่วมวงคุยกับศิลปินนักเขียนเมืองเหนือกันด้วย“ชื่อหนังสือ... เพราะคิดถึง... เป็นรวมความเรียงที่เคยเขียนไว้ในนิตยสารสานใจคนรักป่าเมื่อปีก่อนๆ แต่เพิ่งเอามารวมเล่มเจ้า” เสียงหวานๆ ของเธอบอกเล่าให้ฟัง“ปกสีชมพูอีกแม่นก่อ...” ผมแหย่เธอเล่น“แม่นแล้ว...สีชมพูหวานแหววเลยแหละ...” เธอรีบบอกพร้อมเสียงหัวเราะเบาๆ
ภู เชียงดาว
 ภาพประกอบโดย : ขวัญข้าวจากตาน้ำน้อยน้อยค่อยหยาดหยดผ่านขุนห้วยเคี้ยวคดรดรินไหลสู่ลุ่มน้ำสาขา -  -เดินทางไกลไปเลี้ยงชีพหล่อเลี้ยงในหัวใจคนกว่าจะเป็นแม่น้ำอันกว้างใหญ่ต้องผสานสายใยอันใหญ่ล้นดินอุ้มน้ำ  ป่าอุ้มฝน  คนอุ้มคนกว่าจะเป็นผลิตผลของแผ่นดินนั่นแสงแดด สายลมคอยห่มป่าโน่นเม็ดฝนหล่นโปรยมามิรู้สิ้น…ฟังสิเพลงนกป่า หญ้าผลิบานให้ได้ยินว่าชีวินนั้นสอดคล้องกันและกันลองหันมองจ้องดูสรรพสิ่ง…เราจะเห็นความจริงมิแปรผันคน ดิน น้ำ ป่า ฯ พึ่งพาอาศัยกันหากสิ่งหนึ่งผกผัน  สิ่งนั้นตาย !มาเถิด,  มาร่วมกันปกป้องป่ามารักษาสายน้ำ…
ภู เชียงดาว
อยู่ดีๆ ก็มีเพื่อนคนหนึ่งส่งเรียงความ เรื่องวันเด็ก ของ ด.ช.ภูภู่ มาให้ แถมยังย้ำบอกอีกว่าต้องอ่าน อืมม...ใช่ พออ่านแล้วฮาเลยนะครับ ผมว่าอารมณ์ขัน แสบ มัน ฮา อย่างนี้ น่าจะเขียนส่ง ต่วยตูน นะเนี่ยไม่รู้ว่าใครได้อ่านกันหรือยัง ขออนุญาตนำมาแปะให้อ่านกันตรงนี้แล้วกันครับ...ขอย้ำ- -โปรดเขย่าอารมณ์ขันก่อนอ่าน...
ภู เชียงดาว
เย็นลมเหนือพัดโชยผ่านกิ่งไม้ เย็นเยียบเย็นตะวันโผล่พ้นฉายแสงเช้าละมุนอุ่นอ่อนหากชีวิตหลายชีวิตโหยหา หวนหาความงามครั้งเก่าก่อนแม้ผ่านนานหลายนาน กี่เดือนปี ความหลังยังคงกรุ่นกลิ่นหอมนิ่งฟังสิ- -คล้ายยินเสียงนางฟ้าครวญเพลงแว่วมาแต่ไกลยังจดจำภาพเธอติดตาอยู่เสมอนะนางฟ้าเธอผู้มีดวงตาสุกใสในวัยเยาว์ฝันแก้มเธอเปล่งปลั่งดั่งดอกไม้สีชมพูแย้มผลิหวานงามแสนงามในนามของความรักที่เธอโปรยปรายแจกจ่ายให้ทุกคนคราพบเห็นยัง เป็น อยู่ เช่นนั้นใช่ไหม...นางฟ้าจากเช้า สู่บ่าย ล่วงลับเย็นยามตะวันอำลาลับขอบเขาตะวันตก...ในเงียบนั้นเรามองเห็นแสงงามอยู่กลางทุ่งเมฆฝันยังระบำร่ายรำฝันอยู่อย่างนั้นเช่นเดิมอยู่ใช่ไหม...…
ภู เชียงดาว
1.ฤดูหนาว...เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกชื่นชอบฤดูกาลนี้กันเป็นพิเศษ บางคนชื่นชอบเพราะชีวิตได้สัมผัสกับไอหนาว หมอกขาว ตะวันอุ่น...หลายคนอาจหลงรักดอกไม้ที่พากันแข่งชูช่อเบ่งบานล้อลมหนาวกันดื่นดาษ บางคนอาจชื่นชอบ เพราะเป็นฤดูกาลแห่งการถวิลหาความหลังที่ครั้งหนึ่งนั้นมีหัวใจที่เคยระรื่นชื่นสุขบางคนอาจชื่นชอบเพราะความสะอาดสดของอากาศของฤดูหนาวทว่าเมื่อหันไปมองคนอีกกลุ่มหนึ่งบนดอยสูง ในพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกล...ฤดูหนาวกลับกลายเป็นความทารุณ โหดร้ายมากพอๆ กับความตายกันเลยทีเดียวใช่, ความหนาวทำให้หลายชีวิตต้องเผชิญกับความเป็นความตายมานับไม่ถ้วนแล้วหละนึกไปถึงร่างอันบอบบาง…
ภู เชียงดาว
ภาพโดย www.thaingo.org -งาม- เธองามดั่งดวงดอกไม้ป่าเบ่งบานสะพรั่งในหมู่มวลธรรมชาติสรรพสิ่งเพียงลมสายบริสุทธิ์พัดต้องล่องลอยมาสู่,ชีวิตเธอก็คลี่กลีบนวลยิ้มแย้มเบิกบานอยู่อย่างนั้นให้สัมผัสพบเห็นเป็นที่ชื่นชมในกัลยาณมิตรให้ชุ่มชื่นดวงจิตเธอช่วยชุบชูชีวิตหลายชีวิตให้มีหวังยิ่งยามแผ่นดินแล้งแห้งหรือเร่าร้อนดังไฟ-แกร่ง-เธอแกร่งดั่งภูผาที่ยืนท้าต้านแรงลม แดด ฝนวิถียังเฝ้าฝ่าฟัน บากบั่น ยึดมั่น ก้าวไปบนถนนของคนจนและความจน แหละผจญไปบนเส้นทางของความจริงแม้ร่างนั้นดูบอบบาง หากยังฝืนกำหมัดหยัดยืนชูมือขึ้นสู่ฟ้า เพียรวาดฝัน ปรารถนา ปวงประชาพบทางแห่งเสรีใช่, เหมือนกับที่เธอว่าไว้ในบทกวี...“…
ภู เชียงดาว
ข้าไม่สนใจที่จะก้าวไปข้างหน้า ข้าเดินอย่างสบายๆ ให้ทุกสิ่งดำเนินไปในวิถีของมัน มีข้าวสามทะนานอยู่ในย่าม มีฟืนใกล้เตาไฟ แล้วจะสนใจไยกับมายาและการบรรลุธรรม ชื่อเสียงและโชคลาภจะมีประโยชน์อันใด ข้านั่งในกระท่อม ฟังเสียงฝนยามค่ำ เหยียดขาอย่างอิสระอยู่ในโลก. ‘เรียวกัน’ ผมกลับมาพักอยู่ในสวนบนเนินเขาอีกครั้ง,ในวันที่ลมหนาวมาเยือน เป็นการกลับมาใช้วิถีของความเรียบง่ายและเป็นสุข, ผมรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ เมื่อมาพักอยู่ในบ้านสวน ซึ่งนับวันสวนยิ่งคล้ายป่าไปทุกที ใจผมรู้สึกนิ่ง สงบมากขึ้น ไม่ต้องเคร่งเครียด เร่งรน หากใช้ชีวิตให้กลมกลืนและใกล้กับวิถีธรรมชาติให้มากที่สุดมาถึงห้วงยามนี้ ผมบอกกับตัวเองว่า…