Skip to main content

 

 

 

 

คือคนที่อยู่ป่า

 

ป่าทั้งป่าเหมือนกำลังร่ำร้องบทเพลงเศร้า

ลมหอบเอาความเคว้งคว้างมาสู่หัวใจเหงา

ช่างโศกวังเวงยามยินเสียงแมลงไพรกรีดครวญหวนไห้

หยาดน้ำจากตาข้ารินไหลอาบแก้มเกรอะกรัง

ข้าคุกเข่าอยู่ริมหลุมฝังศพพ่อ

บนเนินเขาเหนือหมู่บ้านกลางป่าลึก

เถาวัลย์ทอดเลื้อยรกแผ่คลุมไปทั่ว

ดอกไม้ที่ข้าเคยปลูกไว้รายรอบนั้นเหี่ยวแห้งเฉา

 

ข้ารู้,ว่าพ่อคงเสียใจ

หากข้าไม่อาจยุดยื้ออำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาได้

แผ่นดินถิ่นเกิดที่เคยสงบ สันติ และอิสระ

พลันสั่นสะเทือนด้วยบทบัญญัติที่ถูกจำกัดสิทธิ์

สิ่งที่พี่น้องของข้าร่วมต่อสู้มาเนิ่นนาน

กลับกลายเป็นเพียงสัญญาความว่างเปล่า!?

เมื่อพวกท่านพูดด้วยเสียงอันดังว่า…ไม่ไว้ใจ!!

 

โอ.ข้ารู้,เพราะหัวใจท่านมิได้ถูกปลดปล่อย

ความคิดจึงคับแคบอยู่ในกรอบของความระแวงสงสัย

เพราะวิถีชีวิตท่านอยู่แต่ในเมืองแห่งอำนาจ

ท่านจึงมองเห็นคนป่าคนไพรคือตัวปัญหา

คือคนชายขอบที่พวกท่านมิอาจมองเห็น

ดวงตาท่านหลับสนิท หัวใจคุณมืดมิด

คิด-คิด-คิดอยู่ในความคิดของตัวเอง

 

ท่านไม่อาจตัดแยกวิญญาณของเราให้ขาดลงได้

แผ่นดิน ภูเขา ป่าไม้ สายน้ำ และชนเผ่า

เป็นเช่นดั่งญาติมิตรเกื้อกูลผูกพันกันแนบแน่น

ใครบ้างเล่า,ไม่รู้จักความเจ็บปวดรวดร้าว

เมื่อรู้ว่ามีมือที่มองไม่เห็นมาฉุดพรากลูกออกจากอ้อมอกแม่

 

วิญญาณพ่อข้า,จงรับรู้…

เถิด,พี่น้องของข้าจงยืนหยัด

จงจับมือกันให้มั่น อย่าหวาดหวั่นครั่นคร้าม

แม้ในห้วงยามนี้ ดวงตะวันยังส่องแสงมาไม่ถึง.

 

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

 

ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์สะพานรุ้ง สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับที่ 9 ปีที่49 2-9 ..2545

 

 

 

ผมค้นบทกวีเก่าๆ ที่เคยเขียนไว้เมื่อครั้งทำงานอยู่ร่วมกับพี่น้องชนเผ่าบนดอยสูงออกมาอ่านอีกครั้ง หลังจากอ่านบทความและความคิดเห็นของนักวิชาการ ของ ดร.ท่านหนึ่ง แล้วรู้สึกผะอืดผะอมเหมือนกับถูกบังคับให้กินของหวานตามด้วยของขม

 

บางความเห็นของ ดร.ท่านนั้นได้เอ่ยออกมาชัดเจนว่า- -ชาวเขาสมควรออกจากป่า!

 

...ชาวเขา เอาเขาทั้งเขานับหมื่น ๆไร่ไปบำรุงบำเรอความสุขส่วนตัวของตนเอง 30 หลังคาเรือน แล้วมาอ้างว่าเป็นความมั่นคงทางอาหาร แย่จริง ๆ นี่คือการปล้นและปิดโอกาสให้คนอื่นได้ใช้ผืนป่ามากกว่า...” ดร.ท่านนั้นแสดงความเห็นเช่นนั้น

 

ทำให้ผมนึกไปถึงชุมชนปกากะญอแห่งหนึ่ง ที่อาศัยอยู่มานานหลายชั่วอายุคนขึ้นมาทันใด ชุมชนที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวมาหลายรางวัล เป็นชุมชนที่หลายคนไปเยือนต่างกลับออกมาบอกให้สังคมและโลกรับรู้ว่า- -พวกเขา 30 หลังคาเรือน แต่สามารถดูแลป่าได้เป็นหมื่นๆไร่

 

แต่ ดร.ท่านนั้น กลับมองกลับข้าง เหมือนจะบอกว่า ทำไมคนแค่ 30 หลังคาเรือน ถึงครอบครองป่า เอาไปบำเรอสุขกันได้ตั้งหมื่นไร่

 

จนใครคนหนึ่งบอกกับ ดร.เหมือนอยากจะประชด ว่า “ดี งั้นก็อพยพพวกชาวเขาออกมาจากป่า ให้หมดเลย คงไม่ต่ำกว่าล้านคนแหล่ะ ให้ไปอยู่ที่ไหนดีล่ะ สร้างเกาะให้อยู่ใหม่ดี...หรือว่าสร้างคอนโดให้อยู่ในกรุงเทพดี จะได้มีงานทำ มีข้าวกิน...”

 

ดร.ท่านนั้น ตอบกลับทันใด…

 

ถ้าคิดว่าชาวเขาอยู่ลำบาก ก็มาอยู่ในเมือง รับจ้างซีครับ หรือไม่ก็ให้รัฐเลี้ยงให้อยู่เฉย ๆ อย่าไปเที่ยวทำลายป่า จับจองที่ดินของคนทั้งชาตินะครับ...” โห...ดร.คิดได้ไงนี่

 

แต่ผมรู้สึกชื่นชมกับผู้ที่บอกว่าเป็น ‘ศิษย์คนหนึ่ง’ ของ ดร.ท่านนั้น ที่ศิษย์กล้าวิพากษ์อาจารย์ตรงๆ

 

ผมไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ ถ้าชาวเขามีอำนาจ เขาจะออกโฉนดพื้นที่ป่าเขาทั้งหมด เป็นทรัพย์สินของพวกเขา เป็นของบรรพชนของพวกเขา เป็นของพวกเขามีอยู่แต่เดิม...รัฐไทยต่างหากที่ไปรุกรานพวกเขา ยึดครองภูเขาของเขา(ที่บรรพบุรุษเขาเคยอยู่เคยใช้เป็นที่ทำกินมาตลอดประวัติศาสตร์ของชาวเขา)นายทุนไทยบุกรุกที่ดินในป่าเขาเพื่อสร้างรีสอร์ท บุกรุกป่าเขาเพื่อสร้างบ้านพักตากอากาศ(ทั้งนายทุน นักการเมือง ทหาร/หรือไม่ก็ทั้งสามอาชีพนี้คือคนๆเดียวกันกลุ่มเดียวกัน)...”

 

ศิษย์คนหนึ่ง’ ยังบอกตรงๆ อีกว่า “...เหตุผลของอาจารย์ บางครั้งก็เป็นเหตุผลของนักประเมินมูลค่าทรัพย์สิน อาจารย์ไม่เข้าใจความมั่นคงของชีวิตของชาวชนบท ที่เป็นคนชายขอบ เรื่องนี้มันเป็นมุมมองที่ต่างกัน ระหว่างชนชั้นนายทุน ชนชั้นผู้รับใช้นายทุน กับเจ้าของทรัพยากร เราเป็นผู้รุกราน ชาวปกากะญอ รุกรานผีตองเหลือง รุกรานชาวซาไก ซามัง กล่าวร้ายต่อพวกเขา ทั้งที่สิ่งที่พวกเขาทำ เป็นวิถีชีวิต วนเวียนทำไร่ แต่เรากลับไปสร้างสนามกอล์ฟ เพียงเพื่อคนกลุ่มหนึ่ง สร้างรีสอร์ทเพียงเพื่อคนกลุ่มหนึ่ง ที่เปลี่ยนทรัพยากรของคนท้องถิ่น มาเป็นของคนกลุ่มหนึ่ง แล้วใช้กฎหมาย พ...- ...มาบังคับใช้อ้างกฎหมาย อ้างรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้ผมไม่เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ...”

ยัง...ยังไม่พอ ‘ศิษย์คนหนึ่ง’ ยังวิพากษ์อาจารย์ ดร.ท่านนั้นทิ้งท้ายอีกว่า...“ตอนแรกผมเชื่อว่าอาจารย์จะทรยศต่อชนชั้นของตัวเอง เพื่อประชาชนผู้ยากไร้ แต่แล้วอ่านไปนานๆ พบว่า...อาจารย์ก็มีจิตวิญญาณของผู้เป็นชนชั้นนายทุน มองการลงทุนคือกำไร มองกำไร...เป็นแค่เพียงตัวเงิน...”


ผมอ่านความคิดเห็นทั้งหมดในท้ายบทความชิ้นนี้ ซึ่งยังโต้เถียงกันไม่รู้จบ แล้วรู้สึกทอดถอนใจ...

 

เพื่อกันลืม- - ดร.ท่านนั้น คือ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย กับบทความที่ชื่อ ‘โฉนดชุมชน เรื่องวิบัติที่ต้องคัดค้านอย่างถึงที่สุด’ เชิญชวนไปอ่านกันได้ที่...http://www.prachatai.com/journal/2009/09/25985

 

 

 

 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
  เมื่อนั่งอยู่ในความเงียบ ในสวนบนเนินเขายามเช้าตรู่ เพ่งดูหมอกขาวคลี่คลุมดงดอยอยู่เบื้องหน้า ทุ่งนาเบื้องล่างลิบๆ นั้นเริ่มแปรเปลี่ยนสี จากทุ่งข้าวสีเขียวสดกลายเป็นสีเหลืองทองรอการเก็บเกี่ยว ใช่, ใครต่อใครเมื่อเห็นภาพเหล่านี้ คงรู้สึกชื่นชมภาพอันสดชื่นรื่นรมย์กันแบบนี้ทุกคนทว่าจริงๆ แล้ว พอค้นให้ลึกลงไป ก็จะพบว่า ในความงามนั้นมีความทุกข์ซุกซ่อนอยู่ให้รับรู้สึก เมื่อนึกถึงภาพเก่าๆ ของหมู่บ้าน ผ่านไปไม่กี่สิบปี  จะมองเห็นได้เลยว่าหมู่บ้านเกิดของผมมีความแปลกเปลี่ยนไปอย่างเร็วและแรง อย่างไม่น่าเชื่อ“ตอนนี้ อะหยังๆ มันก่อเปลี่ยนไปหมดแล้ว...” เสียงใครคนหนึ่งบ่นเหมือนรำพึงจริงสิ,…
ภู เชียงดาว
ผมเริ่มค้นพบว่าตัวเองนั้นไม่เหมาะกับเมือง หลังจากที่ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่มานานหลายปี ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงคิดเช่นนี้- -อาจเป็นเพราะระยะหลังรู้สึกว่าชีวิตตัวเองแปลกและป่วย บางครั้งคล้ายยินเสียงจากข้างในกำลังบอกอะไรบางอย่าง ราวกับจะบอกว่า... ‘ที่สุดแล้ว,ชีวิตต้องกลับคืนสู่เส้นทางที่จากมา’ แหละนั่น ทำให้ผมเริ่มวางแผนกลับไปใช้ชีวิตในสวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากที่ปล่อยให้สวนรกร้างว่างเปล่ามานานเต็มทีจริงสิ, ผมปล่อยให้ต้นไม้ในสวนรกเรื้อและโตขึ้นตามลำพัง ไร้การดูแลเอาใจใส่ ไม่มีเวลารดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย คงเหมือนกับชีวิตตัวเองกระมัง ที่ต้องมาอยู่กับเมือง มัวแต่ไขว่คว้าบางสิ่ง…
ภู เชียงดาว
สิ่งดี ๆ ในชีวิต พ่อค้าแวะมาหาคนสวนที่เขากำลังพักผ่อนอยู่ตรงหน้ากระท่อม “สวัสดีครับคนสวน” พ่อค้าทักทาย “ผมมีข้อเสนอดีๆ มาให้ คุณคงสนใจเป็นแน่” และเมื่อเห็นทีท่าเฉยเมยของคนสวน พ่อค้าก็เริ่มพูดธุระที่เขาคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งคนสวนจะต้องขยายพื้นที่ปลูกกุหลาบเพิ่มขึ้นและพ่อค้าจะเป็นคนเอาไปขายในเมือง “คนสวน ด้วยความชำนาญของคุณ กุหลาบของเราจะสวยงามที่สุดในเมือง” พ่อค้าสรุปด้วยท่าทีกระหยิ่มยิ้มย่อง “ขอบคุณแต่เราไม่สนใจ” คนสวนตอบพร้อมยิ้มอย่างเคย “แต่คุณจะได้เงินเยอะ...” พ่อค้าว่า ท่าทางแปลกใจ “ผมไม่สนใจเงินทองหรอก” “ใครๆ ก็อยากได้เงินกันทั้งนั้น...” “แต่ไม่ใช่ผม…
ภู เชียงดาว
ความเรียบง่ายมีแรงดึงดูดที่ลี้ลับเพราะมันจะฉุดเราไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่คนส่วนใหญ่ในโลกไปกันไปจากการทำตัวให้เด่น ไปจากการสะสมไปจากการทะนงหลงตนและจากการเป็นเป้าสายตาของสาธารณะไปสู่ชีวิตสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน กระจ่างใสยิ่งกว่าสิ่งใดๆที่วัฒนธรรมบริโภคอย่างฉาบฉวยรู้จักกัน.                                                        …
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ  www.salweennews.orgที่มาภาพ www.sarakadee.comที่มาภาพ www.salweennews.orgกอดกับความเย็นเยียบอยู่อย่างนั้น, กลางป่าเปลี่ยวอ้อมอกอันบอบบางของเธอมิเคยอบอุ่นอยู่กับความมืดดำในความรู้สึกหวาดหวั่นพรั่นพรึง, ชีวิตความตายเหมือนมิเคยแยกจางห่างกันเลยโอ. เด็กๆ  ตามแนวชายแดนยามใดหนาวฤดูลมแล้งแห้งโหมพัดเข้ามาสู่,หัวใจเธอนั้นเหมือนจักรับรู้รสสัมผัสชีวิตวิถีที่จำต้องระเหเร่ร่อนนั่น,คือสัญญาณความขัดแย้งอันเลวร้ายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลืบเขารอการอุบัติเสียงแม่กระซิบบอกพวกเธอเบาๆเร็วเข้า,…
ภู เชียงดาว
  “การถอยออกไปจากสนามรบของชีวิตทำงานเงียบๆ ด้วยเป้าหมายที่สร้างสรรค์คือคำตอบหนึ่งต่อคำถามที่ว่าจะอยู่อย่างไรในสถานการณ์ที่ทุกอย่างกำลังพังทลาย”จากหนังสือ “ความเงียบ”จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปลผมไม่รู้ว่า สวนของผมนั้นกลายเป็นสวนผสมผสานตั้งแต่เมื่อไหร่...แต่ผมรู้ว่า พักหลังมานี่ เมื่อเดินทางกลับบ้านไปสวนทีไร ผมมักติดกล้าไม้เข้าไปในสวนเกือบทุกครั้ง ไม่อย่างก็สองอย่าง แวะซื้อมาจากกาดคำเที่ยง บ้างได้มาจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่มอบให้มา พอไปถึง ก็ลงมือขุดหลุม เอาเศษฟางเศษหญ้าลงคลุกกับเนื้อดิน หย่อนต้นไม้ต้นเล็กลงไป กลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือรอให้น้ำฟ้าหล่นรดให้ฉ่ำชื้นเอง…
ภู เชียงดาว
    “...เมื่อมนุษย์จมอยู่กับฝูงชนที่ขาดความเป็นมนุษย์ ถูกผลักไปมาอย่างอัตโนมัติไปตามแรงเหวี่ยง บุคคลนั้นก็สูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้ สูญเสียคุณธรรม หมดความสามารถที่จะรัก และศักยภาพที่จะกำหนดตนเอง เมื่อสังคมประกอบด้วยผู้คนที่ไม่รู้จักความวิเวกภายใน สังคมนั้นก็ไม่อาจรวมกันได้ด้วยความรัก แต่อยู่ได้ด้วยอำนาจครอบงำและความรุนแรง...” ถ้อยคำของ “โทมัส เมอร์ตัน” คัดมาจากหนังสือ “ความเงียบ” จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปล สวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดของผม ตั้งอยู่ในเนื้อที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความกว้างและยาวราวสี่ห้าไร่…