Skip to main content

2_07_01

ลุ่มน้ำแม่ป๋าม’ ถือว่าเป็นลุ่มน้ำสาขาหลักที่สำคัญของแม่น้ำปิงอีกสายหนึ่งของอำเภอเชียงดาว ที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย

เมื่อย้อนทวนขึ้นไปบนความสลับซับซ้อนของต้นกำเนิดน้ำแม่ป๋าม หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ตาน้ำ จะพบว่าอยู่บริเวณชุมชนบ้านแม่ปาคี ต.สันทราย ของ อ.พร้าว ก่อนจะลัดเลาะไหลอ้อมตีนดอยผาแดง ลงสู่หุบห้วยบริเวณบ้านป่าตึงงาม โดยมีสายน้ำย่อยอีกสายหนึ่ง คือน้ำแม่ป๋อย ได้ไหลมารวมกับน้ำแม่ป๋ามตรงสบน้ำบ้านออน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว

นอกจากนั้นยังมีลำน้ำแม่มาดอีกสายหนึ่ง ซึ่งมีขุนน้ำอยู่บริเวณป่าเชิงดอยบ้านปางโม่ ก็ได้ไหลมาสมทบกับน้ำแม่ป๋าม แล้วค่อยไหลผ่านหมู่บ้านแม่ป๋าม ก่อนไหลรวมลงไปบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อ้อมผ่านบ้านปิงโค้ง

ว่ากันว่า อนุภาคของลุ่มน้ำแม่ป๋ามนี้ได้ครอบคลุมพื้นที่หลายหมู่บ้านในตำบลปิงโค้ง และเนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ป๋ามเป็นพื้นที่ที่มีฐานทรัพยากรความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนแถบนี้จึงมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ป๋ามมาโดยตลอด

แน่นอน ลุ่มน้ำแม่ป๋าม จึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนพื้นเมืองหลายชนเผ่าโดยคนในลุ่มน้ำได้ร่วมรักษาป่า ดูแลสายน้ำ มีการจัดการทรัพยากรมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการจัดการป่าไม้ในรูปแบบป่าชุมชน การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝาย และการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อทำการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ รวมไปถึงการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ มีวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่ธรรมชาติกันมานานเนิ่นหลายชั่วอายุคน

2_07_02

และเมื่อผมพลิกดูประวัติชุมชนบ้านเกิดของผมอีกครั้ง ยิ่งทำให้คุณค่าความหมายของคำว่า‘บ้านเกิด’ ของผมนั้นเด่นชัดมากยิ่งขึ้น

บ้านแม่ป๋าม’ ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกราวปี พ.. 2491 ชื่อของหมู่บ้านนี้ถูกตั้งขึ้นตามชื่อของลำน้ำป๋ามที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ประชากรที่อพยพเข้ามาอยู่เป็นกลุ่มแรกในหมู่บ้านแห่งนี้ เป็นคนงานลูกจ้างของบริษัทบอมเบย์ค้าไม้ จำกัด ว่ากันว่าบริษัทนี้ เจ้าน้อยชมพู ณ เชียงใหม่ เป็นผู้จัดการและได้รับสัมปทานป่าผืนนี้

ใช่ ผืนป่าบริเวณนี้เป็นป่าสักทองผืนใหญ่ที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งในประเทศไทยก็ว่าได้ แต่เมื่อมีนายทุนเข้ามาตัดโค่นอย่างถูกกฎหมาย โดยรัฐบาลยุคนั้นอนุมัติการันตีให้ ว่าเป็นการดำเนินการที่บริสุทธิ์ถูกต้องผ่านสัญญาสัมปทาน สักทองขนาดใหญ่หลายคนโอบ จึงถูกตัดโค่นและชักลากออกจากป่าโดยคนและช้าง วันแล้ววันเล่า ปล่อยลงแม่น้ำป๋าม ไหลลงแม่น้ำปิง ผ่านตัวเมืองเชียงดาว เข้าสู่เมืองเชียงใหม่ ไปสู่ลุ่มน้ำปิงตอนล่าง กระทั่งลอยคอในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแพขนาดยักษ์มหึมา ก่อนลงสู่ทะเล

เมื่อพูดถึงเรื่องการเดินทางของไม้สัก ทำให้นึกถึงคำบอกเล่าของอาจารย์เทพศิริ สุขโสภา ที่บอกเล่าให้ผมฟังอย่างออกรส

รู้มั้ยไม้สักแถบนี้เดินทางล่องข้ามน้ำข้ามทะเลไปไกลถึงยุโรปโน่น...”

ต่อมา เมื่อสัญญาสัมปทานป่าผืนนี้หมดลง บริษัทดังกล่าวก็ได้ย้ายไปสัมปทานป่าในพื้นที่แห่งใหม่ ทว่าคนงานรับจ้างกลุ่มนี้ เห็นทำเลที่ตั้งแถบนี้มีความอุดมสมบูรณ์ จึงยุติบทบาทการเป็นลูกจ้าง ไม่ได้ติดตามไป ต่างพากันลาออกจากบริษัทดังกล่าวและได้ช่วยกันหักร้างถางพงผืนดินผืนป่าบริเวณนี้ พร้อมทั้งสร้างกระต๊อบ ลงหลักปักฐาน ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ ชื่อว่า ‘บ้านแม่ป๋าม’ นับแต่ตั้งนั้นมา

ในประวัติศาสตร์ชุมชน ยังบอกอีกว่า จากนั้นไม่นาน ได้มีราษฎรจากอำเภอฮอด อำเภอดอยเต่า ที่ถูกผลกระทบจากน้ำท่วมเนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพล ที่จังหวัดตาก ทำให้น้ำได้เอ่อท้นขึ้นเหนือเข้าท่วมหมู่บ้าน เรือกสวนไร่นา ราษฎรเหล่านี้จึงได้พากันอพยพเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านแม่ป๋ามแห่งนี้ นอกจากนั้น ยังมีคนพื้นเมืองอีกหลายกลุ่ม อาทิ จากอำเภอพร้าว ฝาง แม่แตง สะเมิง แม่ริม ฯลฯ พอทราบข่าวจากญาติพี่น้องก็ได้อพยพโยกย้ายมาอยู่รวมกัน จนกระทั่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 60 ครัวเรือน ในขณะนั้น

ต่อมาในปี พ.. 2491 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ก็ได้ประกาศให้ บ้านแม่ป๋ามเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้เป็นหมู่ที่ 10 ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาปกครองลูกบ้านเป็นคนแรกคือ นายอ้น จันทร์ตา (ขณะนี้ยังมีชีวิตอยู่ ) โดยมีหมู่บ้านบริวารในการปกครองคือ บ้านปางมะเยา บ้านออน และบ้านแม่มะกู้

จนผ่านมาถึงปี พ.. 2520 กรมการปกครองมหาดไทยได้แบ่งเขตการการปกครองใหม่ โดยให้หมู่บ้านแม่ป๋าม เปลี่ยนเป็นหมู่ที่ 3 ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน

2_07_03
พ่ออ้น จันทร์ตา
ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแม่ป๋าม

...ผมนิ่งอ่านประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเกิด แล้วทำให้รู้และเข้าใจชัดขึ้นว่า ในแต่ละลุ่มน้ำนั้นมีประวัติศาสตร์ ในประวัติศาสตร์นั้นมีผู้คน และในแต่ละชุมชนนั้นมีที่มาที่ไป ซึ่งเกี่ยวโยงกับธรรมชาติมาโดยตลอด มีทั้งการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและการฝืนธรรมชาติ

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทำให้ผมมองเห็นร่องรอยของอดีต ทั้งการรุกคืบ แก่งแย่ง ทำลายวิถีธรรมชาติดั้งเดิมของรัฐและนายทุนที่เข้าไปสัมปทานป่าไม้ป่าสักจนหมดเกลี้ยงภายในชั่วอายุคน มองเห็นภาพพี่น้องจากฮอด ดอยเต่า ที่หนีน้ำท่วมจากผลกระทบที่ได้รับจากการสร้างเขื่อนภูมิพล พาครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานกันใหม่ที่นี่ ภาพของการฟื้นฟูและบุกเบิกสร้างชุมชนใหม่ มีการขุดสร้างเหมืองฝาย ขุดลอกลำเหมืองไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ภาพการขุดนาเบิกนา จนกลายเป็นท้องทุ่งในหุบเขาอันงดงามที่ทำให้เราได้เห็นในปัจจุบันนี้

จริงสิ, เมื่อนับดูจาก พ..ที่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านเกิดของผมกำลังย่างเข้าสู่วัยชราแล้ว และยังคงสภาพความเป็นอยู่ที่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติกันอย่างปกติสุข

แหละนี่คือบางฉาก บางเรื่องราวของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ป๋าม ฉายให้เห็นถึงวิถีการดำรงของผู้คนที่อยู่ร่วมกับลำน้ำสายนี้มาเนิ่นนาน

แต่ครั้นพอผมพลิกไปค้นหาความหมายของคำว่า ‘ลุ่มน้ำ’ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน นั้นได้ระบุว่า ลุ่มน้ำ: บริเวณที่ลุ่ม ซึ่งมีแม่น้ำสำคัญ และสาขาไหลผ่าน เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ‘ลุ่มน้ำ’ ในความหมายของราชบัณฑิตยสถาน หรือในความหมายของรัฐนั้น จะมองเพียงแค่พื้นที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำไหลผ่านเพียงเท่านั้น แต่ไม่ได้มองในมิติเชื่อมโยงของผู้คนและชุมชนที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มน้ำเหล่านั้นเลย

ก็คงเหมือนกับที่ชาวบ้านกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ จู่ๆ ก็มีข่าวมาว่ากรมทรัพยากรน้ำกำลังจัดการผันน้ำกกมาลงแม่น้ำป๋าม ลงแม่น้ำปิง ก็อาจเป็นเพราะว่าพวกเขามองเพียงแค่ ‘ลุ่มน้ำ’ ที่ต้องจัดการ แต่ไม่ได้มองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนลุ่มน้ำจะเปลี่ยนไปหรือไม่ และจะส่งผลกระทบต่อพวกเขายังไงในอนาคต

หรือว่า ลุ่มน้ำก็คือบริเวณที่ลุ่ม ซึ่งมีแม่น้ำสำคัญ และสาขาไหลผ่าน เท่านั้นเอง!?

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
“พระจันทร์กำลังขึ้นในหุบเขาผาแดง...” เสียงของเจ้าธันวา ลูกชายกวีเอ่ยออกมาด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น กับภาพที่ฉายอยู่เบื้องหน้า พระจันทร์ดวงกลมโตกำลังเดินทาง โผล่พ้นหลังดอยผาแดงอย่างช้าๆ ก่อนลอยเด่นอยู่เหนือยอด ลอยสูงขึ้นไปบนเวิ้งฟ้าราตรี  0 0 0 0 อีกหนึ่งความทรงจำที่ตรึงผมไว้กับการเดินทางวันนั้น เป็นการเดินทางช้าๆ ไม่เร่งรีบ เรียบง่าย ไม่มีเป้าหมาย แต่เราได้อะไรๆ จากความเรียบง่ายนั้นมามากมาย เมื่อผมนัดกับพี่ชายกวี ‘สุวิชานนท์ รัตนภิมล’ คนเขียนหนังสือ คนเขียนเพลง คนเขียนคำกวี เพื่อไปค้นหาความลี้ลับบางอย่างกลางป่า
ภู เชียงดาว
เหมือนว่าอดีตกำลังกวักมือเรียกหาเหมือนว่าปัจจุบันกำลังคลี่เผยความลับอยู่เบื้องหน้าฉันรู้สึกตื่นเต้น อยากก้าวย่างไปบนทางสายนั้น ถนนความหวังและความใฝ่ฝันภูเขาลูกนั้นที่ฉันคุ้นเคย แม่น้ำสายนั้นที่ฉันฝันถึงป่าไม้ผืนนั้นยังตรึงไว้ในดวงตากับสายลมเริงร่า กลางทุ่งหญ้าสีทอง แหละนั่นตะวันเจิดจ้า กับท้องฟ้าสีฟ้าเบิกบานสดใสเพราะโลกใบนี้ช่างกว้างใหญ่เพราะโลกใบนี้ยังไม่โหดร้ายเกินไปนักฉันจึงออกเดินทาง ไกลแสนไกลไปตามหาความฝันอันกว้างใหญ่ไปค้นหาความหวังใหม่ไม่รู้จบเพราะโลกใบนี้ช่างกว้างใหญ่เพราะโลกใบนี้ยังไม่โหดร้ายเกินไปนักฉันจึงศรัทธา คิดและฝัน...ฉันจึงออกเดินทาง....…
ภู เชียงดาว
เธอมิใช่ผู้หญิงที่สูงศักดิ์หากคือหญิงผู้แน่นหนักรักยิ่งใหญ่รักในอิสรภาพ ความเป็นไทรักต่อสู้ เพื่อสิ่งยากไร้- -ในสังคมเธอมิใช่เป็นเจ้าหญิงในตำนานหากทำงานกับปัญหาอันหมักหมมกระชากแหวก กรอบมายา ค่านิยมเพียรเพาะบ่มความแกร่งกล้า- -พยายามเธอเฝ้าเรียน เฝ้าฝืนและตื่นรู้แม้อยู่ท่ามกลางสายตาที่เหยียดหยามหากเธอยังต่อสู้กับความเสื่อมทรามแม้จักผ่านกี่ห้วงยามความเลวร้าย !ใช่,และเธอไม่ได้ต่อสู้เพื่อตัวเองหากเปล่งเสียงร้องปกป้องชนทั้งหลายเพื่อภราดรภาพ เสรีภาพของหญิงชายเพื่อเปล่งแสงแห่งความหมาย- -ความเท่าเทียม !เธอคือหญิงนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่มีจิตใจกล้าหาญชาญยอดเยี่ยมเธอประกาศยืนหยัด...“ความเท่าเทียม”…
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ : http://www.aromdee.net/pic_upload/Sep07/p2120_1.jpgในวันฟ้าเปลี่ยนสีข้ามองเห็นสัตว์การเมืองเปลี่ยนร่างบ้างสลัดคราบทิ้งกลายพันธุ์บ้างเกาะเกี่ยวกระหวัดรัดกันสมสู่ เสพสม กลิ้งเกลือกกองอาจมกิเลส ความใคร่อยาก อำนาจไม่รู้จบอา- - ข้ามองเห็นผู้คนเดินผ่านไปมา มองเห็นแล้วส่ายหน้าหดหู่ใจ...............ผมค้นบทกวีที่ผมแต่งเอาไว้นานแล้ว ออกมาอ่านอีกครั้งหนึ่ง...หลังมีข่าวว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งในนามว่า “เหี้ย” ออกมาผสมพันธุ์กันในทำเนียบรัฐบาล แหละนี่คือ "เบื้องหลัง 'เหี้ย' หลงฤดู โชว์อึดเสพเมถุน-เล้าโลมเป็นชั่วโมง ในทำเนียบหลังตึกไทยคู่ฟ้า" ที่เผยแพร่ใน ‘มติชนออนไลน์’…
ภู เชียงดาว
เมื่อวันก่อน เพื่อนนักเขียนสาวเมืองเหนือ นาม “สร้อยแก้ว คำมาลา” ส่งข่าวมาบอกว่า จะเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ที่ ‘ร้านเล่า’ เชียงใหม่ ในช่วงเย็น วันที่ 12 ก.พ.นี้ พร้อมกับชักชวนผมเข้าไปร่วมวงคุยกับศิลปินนักเขียนเมืองเหนือกันด้วย“ชื่อหนังสือ... เพราะคิดถึง... เป็นรวมความเรียงที่เคยเขียนไว้ในนิตยสารสานใจคนรักป่าเมื่อปีก่อนๆ แต่เพิ่งเอามารวมเล่มเจ้า” เสียงหวานๆ ของเธอบอกเล่าให้ฟัง“ปกสีชมพูอีกแม่นก่อ...” ผมแหย่เธอเล่น“แม่นแล้ว...สีชมพูหวานแหววเลยแหละ...” เธอรีบบอกพร้อมเสียงหัวเราะเบาๆ
ภู เชียงดาว
 ภาพประกอบโดย : ขวัญข้าวจากตาน้ำน้อยน้อยค่อยหยาดหยดผ่านขุนห้วยเคี้ยวคดรดรินไหลสู่ลุ่มน้ำสาขา -  -เดินทางไกลไปเลี้ยงชีพหล่อเลี้ยงในหัวใจคนกว่าจะเป็นแม่น้ำอันกว้างใหญ่ต้องผสานสายใยอันใหญ่ล้นดินอุ้มน้ำ  ป่าอุ้มฝน  คนอุ้มคนกว่าจะเป็นผลิตผลของแผ่นดินนั่นแสงแดด สายลมคอยห่มป่าโน่นเม็ดฝนหล่นโปรยมามิรู้สิ้น…ฟังสิเพลงนกป่า หญ้าผลิบานให้ได้ยินว่าชีวินนั้นสอดคล้องกันและกันลองหันมองจ้องดูสรรพสิ่ง…เราจะเห็นความจริงมิแปรผันคน ดิน น้ำ ป่า ฯ พึ่งพาอาศัยกันหากสิ่งหนึ่งผกผัน  สิ่งนั้นตาย !มาเถิด,  มาร่วมกันปกป้องป่ามารักษาสายน้ำ…
ภู เชียงดาว
อยู่ดีๆ ก็มีเพื่อนคนหนึ่งส่งเรียงความ เรื่องวันเด็ก ของ ด.ช.ภูภู่ มาให้ แถมยังย้ำบอกอีกว่าต้องอ่าน อืมม...ใช่ พออ่านแล้วฮาเลยนะครับ ผมว่าอารมณ์ขัน แสบ มัน ฮา อย่างนี้ น่าจะเขียนส่ง ต่วยตูน นะเนี่ยไม่รู้ว่าใครได้อ่านกันหรือยัง ขออนุญาตนำมาแปะให้อ่านกันตรงนี้แล้วกันครับ...ขอย้ำ- -โปรดเขย่าอารมณ์ขันก่อนอ่าน...
ภู เชียงดาว
เย็นลมเหนือพัดโชยผ่านกิ่งไม้ เย็นเยียบเย็นตะวันโผล่พ้นฉายแสงเช้าละมุนอุ่นอ่อนหากชีวิตหลายชีวิตโหยหา หวนหาความงามครั้งเก่าก่อนแม้ผ่านนานหลายนาน กี่เดือนปี ความหลังยังคงกรุ่นกลิ่นหอมนิ่งฟังสิ- -คล้ายยินเสียงนางฟ้าครวญเพลงแว่วมาแต่ไกลยังจดจำภาพเธอติดตาอยู่เสมอนะนางฟ้าเธอผู้มีดวงตาสุกใสในวัยเยาว์ฝันแก้มเธอเปล่งปลั่งดั่งดอกไม้สีชมพูแย้มผลิหวานงามแสนงามในนามของความรักที่เธอโปรยปรายแจกจ่ายให้ทุกคนคราพบเห็นยัง เป็น อยู่ เช่นนั้นใช่ไหม...นางฟ้าจากเช้า สู่บ่าย ล่วงลับเย็นยามตะวันอำลาลับขอบเขาตะวันตก...ในเงียบนั้นเรามองเห็นแสงงามอยู่กลางทุ่งเมฆฝันยังระบำร่ายรำฝันอยู่อย่างนั้นเช่นเดิมอยู่ใช่ไหม...…
ภู เชียงดาว
1.ฤดูหนาว...เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกชื่นชอบฤดูกาลนี้กันเป็นพิเศษ บางคนชื่นชอบเพราะชีวิตได้สัมผัสกับไอหนาว หมอกขาว ตะวันอุ่น...หลายคนอาจหลงรักดอกไม้ที่พากันแข่งชูช่อเบ่งบานล้อลมหนาวกันดื่นดาษ บางคนอาจชื่นชอบ เพราะเป็นฤดูกาลแห่งการถวิลหาความหลังที่ครั้งหนึ่งนั้นมีหัวใจที่เคยระรื่นชื่นสุขบางคนอาจชื่นชอบเพราะความสะอาดสดของอากาศของฤดูหนาวทว่าเมื่อหันไปมองคนอีกกลุ่มหนึ่งบนดอยสูง ในพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกล...ฤดูหนาวกลับกลายเป็นความทารุณ โหดร้ายมากพอๆ กับความตายกันเลยทีเดียวใช่, ความหนาวทำให้หลายชีวิตต้องเผชิญกับความเป็นความตายมานับไม่ถ้วนแล้วหละนึกไปถึงร่างอันบอบบาง…
ภู เชียงดาว
ภาพโดย www.thaingo.org -งาม- เธองามดั่งดวงดอกไม้ป่าเบ่งบานสะพรั่งในหมู่มวลธรรมชาติสรรพสิ่งเพียงลมสายบริสุทธิ์พัดต้องล่องลอยมาสู่,ชีวิตเธอก็คลี่กลีบนวลยิ้มแย้มเบิกบานอยู่อย่างนั้นให้สัมผัสพบเห็นเป็นที่ชื่นชมในกัลยาณมิตรให้ชุ่มชื่นดวงจิตเธอช่วยชุบชูชีวิตหลายชีวิตให้มีหวังยิ่งยามแผ่นดินแล้งแห้งหรือเร่าร้อนดังไฟ-แกร่ง-เธอแกร่งดั่งภูผาที่ยืนท้าต้านแรงลม แดด ฝนวิถียังเฝ้าฝ่าฟัน บากบั่น ยึดมั่น ก้าวไปบนถนนของคนจนและความจน แหละผจญไปบนเส้นทางของความจริงแม้ร่างนั้นดูบอบบาง หากยังฝืนกำหมัดหยัดยืนชูมือขึ้นสู่ฟ้า เพียรวาดฝัน ปรารถนา ปวงประชาพบทางแห่งเสรีใช่, เหมือนกับที่เธอว่าไว้ในบทกวี...“…
ภู เชียงดาว
ข้าไม่สนใจที่จะก้าวไปข้างหน้า ข้าเดินอย่างสบายๆ ให้ทุกสิ่งดำเนินไปในวิถีของมัน มีข้าวสามทะนานอยู่ในย่าม มีฟืนใกล้เตาไฟ แล้วจะสนใจไยกับมายาและการบรรลุธรรม ชื่อเสียงและโชคลาภจะมีประโยชน์อันใด ข้านั่งในกระท่อม ฟังเสียงฝนยามค่ำ เหยียดขาอย่างอิสระอยู่ในโลก. ‘เรียวกัน’ ผมกลับมาพักอยู่ในสวนบนเนินเขาอีกครั้ง,ในวันที่ลมหนาวมาเยือน เป็นการกลับมาใช้วิถีของความเรียบง่ายและเป็นสุข, ผมรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ เมื่อมาพักอยู่ในบ้านสวน ซึ่งนับวันสวนยิ่งคล้ายป่าไปทุกที ใจผมรู้สึกนิ่ง สงบมากขึ้น ไม่ต้องเคร่งเครียด เร่งรน หากใช้ชีวิตให้กลมกลืนและใกล้กับวิถีธรรมชาติให้มากที่สุดมาถึงห้วงยามนี้ ผมบอกกับตัวเองว่า…