Skip to main content

    คราวก่อนผมเล่าเรื่อง MIT Hacks ที่ชาว MIT เล่นแผลงๆ แบบปัญญาชน เช่น ยกเอารถทั้งคันไปบนยอดโดมของ MIT สร้างระบบไฟเพื่อฉายเกมส์ tetris บนตึกสูงในแคมปัส เป็นต้น การเล่นแผลงๆ เหล่านี้ ไม่ใช่การเล่นเฉยๆ แต่สะท้อนให้เห็นความสามารถชั้นสูงในการใช้ความรู้อันก้าวหน้าของพวกเขามาประยุกต์เพื่อแสวงหาความเป็นไปได้และสร้างอารมณ์ขัน

     จะว่าไป ชีวิตเหล่านักวิชาการก็มักจะถูกมองว่าเป็นหนอนตำรา (nerd) ที่ไม่เข้าใจโลก คร่ำเคร่งแต่กับการอ่านหนังสือ เขียนบทความหรือตำรา และซื่อบื้อ

 

     ในทางตรงกันข้าม MIT Hacks กลับสะท้อนอารมณ์ที่ต่างไปจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ผมเป็นนักวิชาการอาคันตุกะอยู่มากทีเดียว สถาปัตยกรรมในมหาวิทยาลัยก็สะท้อนความรู้สึกนี้ โดยเฉพาะงานออกแบบชิ้นสำคัญ ของ I.M. Pei หรือ Frank Gehry คนแรกนั้นผมค่อนข้างคุ้นตา เพราะเคยอาศัยในตึกที่ Pei ออกแบบมาหลายปีสมัยเรียนที่ University of Hawaii แต่ผลงานคนหลังนี่ ผมเพิ่งมีโอกาสเห็นก็คราวนี้ อาคารที่ Gehry ออกแบบเป็นอาคารที่ดูบิดเบี้ยวเหมือนไม่ใช่อาคาร มีส่วนที่ยื่น ส่วนที่เว้า ผิดแปลกไปจากอาคารทั่วไปที่มีลักษณะเป็นกล่อง การใช้วัสดุและสีสัน ยิ่งทำให้อาคารกลายเป็นประติมากรรมในตัวของมันเอง การปรับโครงสร้างของสถาปัตยกรรมแบบกล่องให้มีความซับซ้อนและเปลี่ยน concept ของการรับรู้ของคนเราเรื่องตึกอาคารจึงเป็นจุดเด่นสำคัญของ Gehry

 

     นอกจากนี้ การคร่ำเคร่งกับประเด็นทางสังคมอื่นๆ ก็สะท้อนออกมาในบทบาทหลายอย่าง เช่น การพูดถึงสิทธิและความเสมอภาคผ่านนิทรรศการย่อยที่จัดเป็นครั้งคราว รวมไปถึงการจัดกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ  แต่ในอีกด้าน MIT ก็มีด้านที่สื่อสะท้อนว่าชีวิตนักวิชาการไม่ได้คร่ำเคร่งเสมอไป ดังเช่นการแสดงอารมณ์ขันและเรียกเสียงหัวเราะ พร้อมๆ กับให้คนฉุกคิด เป็นครั้งคราวผ่านการทำ MIT Hacks กระทั่งศาสตราจารย์คนสำคัญของ MIT ก็ยอมร่วมกิจกรรมเต้นกังนัมสไตล์ใน MIT version ที่ผมพูดถึงเมื่อครั้งก่อน

 

     อีกด้านหนึ่ง ต้องบอกว่าความรู้และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ผมได้ยินมา ก็มาจากอาจารย์ ดร. อภิวัฒน์ รัตนวราหะ แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ศิษย์เก่า MIT ช่วยเล่าเกี่ยวกับ MIT ว่าพยายามเป็นมหาวิทยาลัยที่พยายามนำเอาองค์ความรู้มาปฏิบัติได้จริง และทำงานวิจัยในระดับ cutting edge หรืออยู่แนวหน้าสุดของวงการ ดังจะเห็นได้จากหนังสือที่ผลิตออกมาจาก MIT Press ล้วนแล้วแต่น่าอ่านน่าสนใจและข้ามสาขาอย่างมาก กระทั่งมากในระดับที่ต้องเป็นคนในวงแคบๆ เท่านั้นถึงจะเข้าใจ แต่ MIT Press ก็พิมพ์ผลงานเหล่านั้นออกมา แถมยังลดแลกแจกแถมในยามฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งบรรดานักวิชาการไทยที่มาอยู่ที่ฮาร์วาร์ดต้องแบกกลับบ้านคนละหลายกิโลกรัม

 

     อาจารย์อภิวัฒน์ สมเป็นศิษย์เก่า MIT เพราะเป็นคนรอบรู้และมองข้ามวิทยาการได้หลายมุมมอง แถมยังพาผมไปชม Media Lab ของ MIT ซึ่งตื่นตาตื่นใจมากๆ เพราะเป็นตึกวิจัยที่เปิดให้คนทั่วไปเดินเข้าไปในตัวอาคาร และจะเห็นกลุ่มวิจัยต่างๆ ทำงานกันให้เห็น เพราะผนังของ Media Lab เป็นกระจกใส มองทะลุไปเห็นนักวิจัยกำลังทำงาน เล่น หรือค้นคว้ากันตามประสา 

 

     แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่เกินความเข้าใจผมในหลายๆ เรื่อง แต่การได้เห็นนักวิจัยทำงานใน Lab และพยายามคิดค้นอะไรใหม่ๆ ที่เอาไปใช้ได้ ไม่เพียงแต่จุดประกายความสนใจของคนที่ได้พบเห็น แต่ยังสะท้อนคุณค่าบางประการที่ MIT พยายามหล่อหลอมนักศึกษา เช่น การวิจัยควรจะต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ ทำนองเดียวกันกับอาคารรัฐสภา หรือ Reichtag ของเยอรมันนี ที่ประชาชนสามารถเดินอยู่เหนือห้องประชุมของผู้แทนราษฎร เพื่อสังเกตุการประชุมได้โดยไม่มีอะไรปิดบัง และงานวิจัยจะต้องเป็นประโยชน์และสื่อสารกับสังคมไปพร้อมๆ กัน

 

     ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่ามหาวิทยาลัยของอเมริกามีบาดแผลที่ยากจะลบในเรื่องการสร้างอาวุธและรับงบประมาณจากกระทรวงกลาโหมเพื่อทำวิจัยสนับสนุนการทหาร หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการรับเงินที่จะไปช่วยรัฐบาลรบราฆ่าฟันเอาชีวิตคนมากกว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ความรู้เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ 

 

      แต่หลายคนก็โต้แย้งอีกเหมือนกันว่า การที่มหาวิทยาลัยรับใช้รัฐบาลนั้นก็สมควร โดยเฉพาะในมิติเรื่องความมั่นคง 

 

     เหตุผลฝ่ายหลังดูจะถูกมองว่าเป็นการแถไปข้างๆ คูๆ เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องจักรสังหาร เพราะมีบริษัทภาคเอกชนรับงานทำนองนี้อยู่แล้ว ดังในหนังเรื่อง Citizen Four ที่พูดถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) ที่เป็นวิศวกรโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์และทำงานให้บริษัทเอกชนที่รับจ้างรัฐบาลอีกทอดหนึ่งเพื่อสอดแนมประชาชน จนเขามองว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้อง และละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน จนสโนว์เดนทนไม่ไหวออกมาเปิดโปงรัฐบาลสหรัฐว่ากำลังร่วมมือกับบริษัทที่ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตต่างๆ ทำการสอดแนมประชาชนในนามความมั่นคงในสเกล (scale) ระดับอภิมหาศาล

 

    ในที่สุด เรื่องของมหาวิทยาลัยก็ต้องกลับมาพิจารณาบนฐานของสังคมว่า มหาวิทยาลัยพึงมีบทบาทอย่างไร ซึ่งผมเห็นว่าปรัชญาของมหาวิทยาลัยไทยออกจะมั่วๆ และมีความเป็นนามธรรมสูงมาก บางทีก็ใส่ความทะเยอทะยานแบบไม่สามารถบรรลุได้แม้ในชาตินี้และชาติหน้าเอาไว้ หากจะเข้าใจเรื่องนี้ลองเอา mission statement ของมหาวิทยาลัยไทยมาอ่านดูว่ามหาวิทยาลัยต้องการทำอะไรเพื่อความก้าวหน้าของสังคมไทย มีประโยชน์ด้านใดแก่ประชาชนไทยและสังคมโลก 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนถามว่ารถไฟแบบเก่าไม่ดีตรงไหน คนเราเจริญแต่วัตถุ ควรให้ความสำคัญกับจิตใจ ตอบคำถามเพื่อนไปแล้วอยากแชร์กับท่านอื่นๆ นะครับ ขอโทษเพื่อนอีกทีถ้าทำให้กระอักกระอ่วนใจ แต่อยากจะเล่าแบ่งปันกับคนอื่นๆ ด้วย เรื่องรถไฟรางคู่ หรือความเร็วสูงนั้น ที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
(ข้อความต่อไปนี้มาจากรายงานวิจัยเรื่องชีวประวัติรัฐธรรมนูญและธรรมนูญแห่งรา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นัยสำคัญของการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งคือการปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยด้วยเป็นการดึงดันต่อประกาศพระราชกฤษฎีกาในการเลือกตั้งเตรียมการถอยหลังย้อนทวนเข็มนาฬิกาของพรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งมาโดยตลอดเล่ห์กลตื้นๆ แบบนี้ อาจเป็นเส้นผมบังภูเขา เป็นหลุมพรางก่อนจะ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนดีไปไหนหนอ? ถ้ายังจำกันได้เมื่อ พ.ศ.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ขอทบทวน political literacy เกี่ยวกับศาลอาญาและศาลรัฐธรรมน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันมานี้ผมหมกมุ่นกับเรื่องนิรโทษกรรมจนลืมไปว่าคนจำนวนมาก "ข้าม" เรื่องนิรโทษกรรมไป "ล้มรัฐบาล" กันแล้ว
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เวลานี้ใครไม่ออกมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมก็จะกลายเป็นเชยล้าสมัย ผมอยากให้ลองดูประวัติศาสตร์นิดหน่อยครับไม่อยากพูดมากเลยเอารูปมาแปะเลยนะครับ ภาพเหล่านี้มาจากหนังสือเล่มนี้ครับ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สมัยที่ทำหน้าที่อนุกรรมการตรวจสอบความจริงกรณีเผากรุงเทพ 34 จุดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือ กทม.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าเรื่องนิรโทษกรรมคืออะไร ผมต้องบอกว่าดีใจมากที่คนไทยสนใจการเมืองมาก ทั้งสองสีเสื้อ และน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมวิชาชีพจากหลายสถาบัน เราคุยกันถึงประเด็นที่ว่าแนวคิดบริหารรัฐกิจและการศึกษาที่หยิบเอาแนวทางการบริหารจากภาคเอกชนมาใช้ ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติ ในบางแห่งบรรจุภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ไว้ในคณะวิทยาการจัดการ บางสถาบันยกระดับให้เป็น "คณะ" บางแห่งยกฐานะเท่าเทีย
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 มีข่าวว่าอดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 14 ตุลาคม 2516 ระดมกำลังตั้งกลุ่มกระทิงแดงและรวมตัวที่กองบัญชาการ 103 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.56 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความทรงจำอันพร่าเลือนของคนเหล่านี้จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว