Skip to main content
เรื่องการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกของผู้บริหารไทยก็สะท้อนความเป็นประเทศด้อยพัฒนาทางปัญญา บรรดาอีลิตไทยและหางเครื่องชอบด่าเขาว่าทำตัวเป็นเจ้าอาณานิคม แต่ตัวเองก็อยากจะไปเดินเฉิดฉายอยู่กับเขา คิดว่าการทำแรงกิ้ง มันง่าย ก็แค่บังคับ กดดัน ล่อลวงให้อาจารย์รุ่นใหม่ทำบทความภาษาอังกฤษ
 
บ้างก็ใช้วิธี "จ้างแปล" จ้างบริษัทอำนวยความสะดวก เพื่อให้ได้ตีพิมพ์ หรือตั้งแก๊งค์ทำ predatory journal รับเงิน แล้วตีพิมพ์ในวารสารชื่อประหลาดๆ มีทีมบรรณาธิการประหลาดๆ ครอบจักรวาล
 
ค่า H index อะไรตัวเองก็ไม่เคยมี แต่หันมากดดันเป็นเรื่องเป็นราว กระทั่งเชื่อว่าทำแบบนี้ตัวเองจะสร้างผลงานให้ประจักษ์ได้ (แน่นอน มันนับตัวเลข ไม่นับเบื้องหลังนี่)
คิดว่าทำแบบนี้แล้วการอุดมศึกษาไทยมันจะเจริญก็ยิ่งตลก เพราะนี่คือการยอมถวายตัวเป็นอาณานิคมทางปัญญาให้แก่ SCOPUS ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า ทื่อ และจำกัดฐานข้อมูล ที่บางกรณีเป็นเรื่องธุรกิจมากกว่าการสร้างสรรค์ทางปัญญา วารสารบางอันที่ดีๆ ก็ไม่ถูกนับรวม เป็นต้น
ต้องตระหนักด้วยว่าการจัดลำดับเช่นนี้ มี lingual bias, English language centric, อาจจะมีเรื่อง racial bias ด้วยซ้ำในเรื่อง impact แต่ก็ดีตรงที่มันบังคับให้เกิด internationalization of academic works ผ่านท่อ ภาษาอังกฤษ ซึ่งในที่สุด มันก็ลำบากเหมือนกันเพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้มีพันธะกับท้องถิ่นเสียแล้ว
ถึงที่สุด นโยบายอุดมศึกษาไทยก่อนไปดวงจันทร์ คงหนีไม่พ้นการแต่งหน้าทาปาก เดินในอาเซียน หลอกตัวเองไปวันๆ ว่าทำดีที่สุดแล้ว ด้วยการกดดันอาจารย์รุ่นใหม่ๆ ส่วนตัวเองก็มีคำนำหน้าชื่ออันแสนวิเศษคุ้มครองกายอยู่แล้ว
แต่ In pursuit of academic excellence จำเป็นต้องทำหลายด้าน
1. translation งาน classic ก็สำคัญ แต่มีราคาต่ำสุดในโลกของการขอตำแหน่งทางวิชาการ
2. งานเขียน foundation ในภาษาไทย ซึ่งมีน้อยอย่างน่าใจหาย พอขยับแปลจาก a short introduction ต่างๆ ก็กลับไปข้อ 1 หรือไม่ก็คือกลับไปหางานภาษาอังกฤษอย่างเดียว วนเป็น loop ไป ถ้า foundation ไม่แน่นแล้วจะเขียนงานดีๆ งานใหญ่ๆ งานใหม่ๆ ได้อย่างไร
ในญี่ปุ่นตอนสร้างชาติ เขาแปลงานที่สำคัญเป็นภาษาเขาหมด เพื่อให้คนเข้าถึงความรู้ในระนาบกว้างมากที่สุด แต่ชนชั้นนำไทย ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นคอขวด คอยกักเก็บ กลั่นกรองความรู้มาตลอด
ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน เกาหลี หรือ เวียดนาม ต่างมีงานสำคัญๆ ของโลกแปลเป็นภาษาตัวเองหมด แล้วค่อยขยับไปอ่านงาน original
 
ซึ่งกว่าประเทศไทยจะทำได้ทัน คงไม่มีวันทันในรุ่นผม หรือรุ่นน้องๆ ที่ต้องทำอะไรบ้าๆ บอๆ ไปอีกนาน ถ้ากระโดดพลิกตัวทันก็หอบผ้าผ่อนไปดาวดวงอื่นเสียยังอาจจะทัน
แผนความเสี่ยงของผมคือซื้อหวย (ถ้าไม่ลืม) และนับเวลาถอยหลัง หาแมว หมา ไว้ข้างๆ ปลอบใจตัวเองจนกว่าจะลาโลก
คงไม่มีวันเห็นการอุดมศึกษาไทยเปลี่ยน ถ้าทำกันอย่างนี้

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนถามว่ารถไฟแบบเก่าไม่ดีตรงไหน คนเราเจริญแต่วัตถุ ควรให้ความสำคัญกับจิตใจ ตอบคำถามเพื่อนไปแล้วอยากแชร์กับท่านอื่นๆ นะครับ ขอโทษเพื่อนอีกทีถ้าทำให้กระอักกระอ่วนใจ แต่อยากจะเล่าแบ่งปันกับคนอื่นๆ ด้วย เรื่องรถไฟรางคู่ หรือความเร็วสูงนั้น ที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
(ข้อความต่อไปนี้มาจากรายงานวิจัยเรื่องชีวประวัติรัฐธรรมนูญและธรรมนูญแห่งรา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นัยสำคัญของการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งคือการปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยด้วยเป็นการดึงดันต่อประกาศพระราชกฤษฎีกาในการเลือกตั้งเตรียมการถอยหลังย้อนทวนเข็มนาฬิกาของพรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งมาโดยตลอดเล่ห์กลตื้นๆ แบบนี้ อาจเป็นเส้นผมบังภูเขา เป็นหลุมพรางก่อนจะ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนดีไปไหนหนอ? ถ้ายังจำกันได้เมื่อ พ.ศ.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ขอทบทวน political literacy เกี่ยวกับศาลอาญาและศาลรัฐธรรมน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันมานี้ผมหมกมุ่นกับเรื่องนิรโทษกรรมจนลืมไปว่าคนจำนวนมาก "ข้าม" เรื่องนิรโทษกรรมไป "ล้มรัฐบาล" กันแล้ว
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เวลานี้ใครไม่ออกมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมก็จะกลายเป็นเชยล้าสมัย ผมอยากให้ลองดูประวัติศาสตร์นิดหน่อยครับไม่อยากพูดมากเลยเอารูปมาแปะเลยนะครับ ภาพเหล่านี้มาจากหนังสือเล่มนี้ครับ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สมัยที่ทำหน้าที่อนุกรรมการตรวจสอบความจริงกรณีเผากรุงเทพ 34 จุดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือ กทม.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าเรื่องนิรโทษกรรมคืออะไร ผมต้องบอกว่าดีใจมากที่คนไทยสนใจการเมืองมาก ทั้งสองสีเสื้อ และน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมวิชาชีพจากหลายสถาบัน เราคุยกันถึงประเด็นที่ว่าแนวคิดบริหารรัฐกิจและการศึกษาที่หยิบเอาแนวทางการบริหารจากภาคเอกชนมาใช้ ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติ ในบางแห่งบรรจุภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ไว้ในคณะวิทยาการจัดการ บางสถาบันยกระดับให้เป็น "คณะ" บางแห่งยกฐานะเท่าเทีย
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 มีข่าวว่าอดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 14 ตุลาคม 2516 ระดมกำลังตั้งกลุ่มกระทิงแดงและรวมตัวที่กองบัญชาการ 103 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.56 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความทรงจำอันพร่าเลือนของคนเหล่านี้จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว