Skip to main content

ผมเขียนเรื่องนี้ตอนเพิ่งตื่น ตอนนี้ยังไม่ได้ล้างหน้า แปรงฟัน ตาก็ดูเบลอ ทำอะไรก็เบลอๆ อยู่นิดหนึ่ง ยังไม่ค่อยมีใจอยากจะทำอะไร ความขี้เกียจเป็นเพื่อนที่ไม่หนีไปไหน ยังคงยืนอยู่ข้างๆ กายผม ไม่อยากทำอะไรเลย แม้ว่าจะมีงานมากน้อยเพียงใด ผมอยากจะหยุดเวลาไว้ตรงที่การอยู่เฉยๆ เพราะเวลาไม่ได้ทำอะไรก็ดีไปอีกอย่าง...บอกไม่ถูกครับ

เท่านี้นึกได้...การที่อยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะถ้าโยงมาที่เรื่องการปฏิบัติธรรม เห็นว่ามีอยู่หลายๆ อย่างที่ไม่ควรทำในการปฏิบัติธรรม นั่นคือ การดัดแปลงกายและการดัดแปลงจิต คือ การดัดแปลงกาย เช่น เวลาเราจะปฏิบัติธรรม เราจะตั้งท่าทาง ต้องนั่งแบบนี้ ต้องเดินแบบนี้ ต้องหายใจแบบนี้ กลายเป็นการไม่เป็นเรื่องปกติไป

 

ส่วนการดัดแปลงใจคือแทนที่เวลาโกรธเราจะรู้ แต่กลับไปหาสิ่งอื่นมากระทบใหม่ให้หายโกรธหรืออย่างเช่นเวลาเศร้า เหงา เราก็จะหาเพลงเพราะมาฟัง ซึ่งนี่รวมไปถึงการรู้ถึงอารมณ์ที่ผิดๆ เช่น เวลาโกรธอยู่ก็รู้สึกว่าตัวเองไม่โกรธ ต้องมีสติ ต้องนิ่ง ต้องไม่โกรธ แบบนี้ถือเป็นการดัดแปลงและแทรกแซงจิตไปโดยปริยาย

 

การดัดแปลงกายและดัดแปลงจิตนี้ จะทำให้เราอึดอัด ไม่สบาย ไม่ผ่อนคลาย เพราะเวลาปฏิบัติธรรมนั้นจิตจะแน่น อึดอัด ขึ้นมากลางอก หรือ แบบมีจิตหนักๆ ทึบๆ เกร็ง ดูไม่เป็นปกติ อันนี้ผมก็เคยทำในช่วงก่อนๆ เช่น เวลาจะทำสมาธิ ก็ตั้งท่าเลย ว่าต้องนั่งแบบนี้ นับลมหายใจแบบนั้น ค่อยๆ กำหนดลมหายใจ นั่งตัวตรงๆ นานๆ จะปวดจะเมื่อยก็ทนเอา ทนดูเวทนาไป ไม่สนใจว่ากายจะเมื่อยล้าเพียงใด

 

ทีนี้พอกลับมาดูอีกทีก็พบว่าจริงๆ แล้ว การที่เราไปนั่งแบบนั้น ไม่ได้ทำให้เรามีสมาธิเลย แต่เรากลับจะกลัวการนั่งไม่ถูกท่า หรือเดินไม่ถูกจังหวะ หรือ เคลื่อนไหวมือผิดรูปแบบมากกว่า ซึ่งมันทำให้เราลืมสาระสำคัญของการเจริญสติไปเลย ซึ่งก็คือการมีสติระลึกรู้ทุกๆ อิริยาบถ ทุกๆ จิตที่เกิดขึ้นและดับลง

 

พอไม่ได้ไปดัดแปลงกายและจิตมาก แล้วก็ใช้ชีวิตแบบปกติ ลองปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ก็จะพบเลยว่าธรรมะที่แท้จริง คือต้องสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้ และจะพบเลยว่าเราสามารถจะปลุกให้จิตที่หลับใหล ให้ตื่นรู้ ขึ้นมาได้ ในภาวะปัจจุบันขณะ ซึ่งไม่ต้องไปรอเวลานั่งสมาธิตอนเย็นๆ หรือตื่นมาทำในตอนเช้า เพราะเวลาๆ ทุกๆ ขณะเราสามารถที่จะเจริญสติได้

 

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงค่อยๆ พยายามตามรู้เอาเรื่อยๆ รู้ที่กาย รู้ที่ใจ พี่ๆ นักปฏิบัติหลายท่านที่ได้สนทนาด้วย เขาก็บอกแค่ว่า "แค่รู้" ก็พอแล้ว เพราะเมื่อเรารู้สึกตัวตามความเป็นจริงแล้ว จิตของเราจากที่ยังหลับใหลอยู่ก็จะตื่นขึ้นมา เมื่อจิตตื่นแล้ว สภาวะรู้สึกตัว และการมีสติสัมปชัญญะก็จะเกิดขึ้น

 

ตอนที่ผมยังง่วงหาวอยู่นี้ เหมือนจิตที่ไม่ตื่น ไม่หลับ เป็น "จิตละเมอ" คือ เดี๋ยวเผลอ เดี๋ยวตื่น เดี๋ยวรู้สึกตัว ตอนนี้จิตของผมรู้อะไรก็ไม่รู้ ไม่สามารถบอกได้ แต่รู้ว่ามันค่อยๆ รู้สึกตัวอยู่บ่อยๆ เนืองๆ และบางทีเมื่อเผลอก็รู้ทัน เมื่อโกรธก็รู้ทัน และสิ่งที่ต้องทำต่อไป คือ รู้สึกตัวไปเรื่อยๆ ดูสภาวะนี้ไปเรื่อยๆ และทำอย่างเนืองๆ

 

ผมพบว่าจิตที่ละเมอนี้ยังไม่ใช่จิตที่ตื่น หรือมีสติตลอดเวลา เพราะจิตของผมก็เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เป็นอนัตตา เราก็อาจปล่อยจิตได้เผลอบ้าง ได้หลงไปบ้าง ได้มีสติบ้าง เพื่อที่เราจะได้เห็นว่า จิตเรานั้นไม่เที่ยง เป็นอนัตตา และเราเองก็ทุกข์ต้องที่เรายึดจิตนั้นไว้ การจะทำให้จิตนั้นหลุดออกจากทุกข์ก็เพียงแค่ "รู้" ไปเรื่อยๆ ซึ่งก็น่าจะพอให้ใจได้ตื่นขึ้นมาบ้าง....

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
มีเรื่องหนึ่ง ที่อยากเตือนตัวเองมากๆ นั่นคือว่านักภาวนาหลายๆ คน พอภาวนาไปแล้ว ก็เริ่มคิดว่าเป็นนักภาวนา บางทีเราก็หลงไปสร้างภาพความเป็นคนดีขึ้นมาทันที จนลืมนึกถึงไปว่าเราภาวนาเพื่อเห็นความจริง และความจริงนี้ก็เป็นความจริงธรรมดาของกายและใจเท่านั้นเอง
พันธกุมภา
ช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา ผมตั้งใจอธิษฐานในการภาวนาในรูปแบบอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง หรือ “เนสักชิก” ซึ่งเป็นธุดงควัตร นั้นหมายความว่าช่วงกลางคืนผมจะไม่นอนหลับ แต่จะเจริญสติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่หัวค่ำจนถึงช่วงสว่าง และใช้ชีวิตต่ออย่างปกติ
พันธกุมภา
สำหรับเรื่องป่าเขา มีเรื่องหนึ่งที่ผมจำได้ ตอนนั้นในการเข้าร่วมคอร์สภาวนาแห่งหนึ่ง อาจารย์ผู้นำกระบวนการ ได้เชื้อเชิญให้ผู้เข้าร่วมทุกคน ได้ร่วมหาคำตอบของชีวิตโดยการเข้าไปในป่า และอยู่ตรงนั้นเพื่อหาคำตอบให้กับชีวิตของตัวเอง โดยการอยู่เงียบๆ และอยู่กับตัวเองคนเดียวให้มากที่สุด ไม่พูดไม่คุยกับใคร และรอคำตอบที่เกิดขึ้นในใจของเรา
พันธกุมภา
ชีวิตในการอยู่ท่ามกลางขุนเขา ป่าไม้ ร่มไพร ลำธาร เป็นช่วงเวลาที่ทำให้ได้มีอากาสเฝ้ามองใจของตัวเองได้อย่างลึกซึ้ง เป็นบรรยากาศที่เห็นอาการต่างๆ เกิดขึ้น แปรเปลี่ยนไป ตามการปรุงแต่งของอารมณ์และสิ่งที่เข้ามากระทบภายนอก ทั้งการดูผ่านตา ได้ยินผ่านหู ได้กลิ่นผ่านจมูก ก็ตาม
พันธกุมภา
ผมชอบเดินทางไปในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยเพราะจะทำให้จิตใจตัวเองเกิดอารมณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งที่ไม่ค่อยจะเกิด เช่น ความขุ่นเคืองใจในการตากแดด ความกลัวจากการเดินในป่าช้า ความเหนื่อยจากการเดินหลงทาง เป็นต้น ซึ่งการหาสิ่งใหม่ให้ใจได้รู้ได้เห็นนี้จะช่วยให้เห็นสภาวะต่างๆ เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ถือเป็นอุบายหนึ่งในการภาวนา
พันธกุมภา
การเจริญสติในช่วงที่อยู่ที่วัดป่าสุคะโต ภายหลังจากผ่านบททดสอบแรกเรื่องการเดินจงกรมที่ผมมัวแต่ไปตั้งท่าว่าอยากรู้อยากดูสภาวะแล้ว ก็ได้เกิดความรู้สึกตัวขึ้นว่าตัวเองนั้นเผลอไปจ้องมองเสียนาน
พันธกุมภา
การเดินทางมาเจริญสติที่วัดป่าสุคะโตในช่วงก่อนเข้าพรรษานี้ แม้ว่าที่พักจะไม่เพียงพอแต่ผมก็ได้นอนด้านบนศาลา ซึ่งมีผู้คนมาจากหลายๆ ที่มาร่วมเจริญสติ และยังมีคณะผ้าป่าที่มาร่วมทอดผ้าป่าอีกด้วย ครานี้ที่วัดจึงแน่นไปด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา อยู่ในวัยเด็กเล็ก ไปจนถึงผู้สูงอายุ
พันธกุมภา
วันเข้าพรรษาปีนี้ผมมีความตั้งใจกับตัวเองที่จะภาวนาให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้นโดยการเจริญสติในรูปแบบอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความอดทน พากเพียรให้กับตัวเอง ในการมีสติสัมปชัญญะมากยิ่งขึ้นกว่าชีวิตปกติที่ผ่านมา
พันธกุมภา
 สวัสดีประชาไท สวัสดี ผองน้องพี่ ประชาไทสบายดี กันไหม ให้ถามหาได้พบกัน แบ่งปันธรรม แต่นานมาขอขอบคุณ วิถีพา เราพบกัน
พันธกุมภา
  เรื่องนี้ผ่านมานานแล้ว, ปลายฝนต้นหนาว อากาศร้อนระอุไปทั่วแผ่นฟ้า ผมไม่ค่อยได้มีโอกาสมานั่งพักผ่อนอยู่นิ่งๆ คนเดียวมานานแล้ว เพราะหน้าที่การงานที่มากมาย ทำให้ฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมาของผมเป็นช่วงเวลาที่ผ่านไปอย่างไร้ค่า เพียงเพราะผมมุ่งแต่จะทำงาน แต่ไม่ได้มีโอกาสได้ดูแลคนที่ผมรักเลยแม้แต่น้อย ผมทำงานที่มูลนิธิแห่งหนึ่ง เราทำงานเพื่อสังคม มีอุดมการณ์ที่อยากเห็นคนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี งานที่เราทำเป็นงานเพื่อส่วนรวม เพื่อประโยชน์ของคนอื่น ซึ่งนั่นทำให้ผมต้องมีเวลาให้กับงาน ให้กับคนอื่นมากกว่าการดูแลตัวเองและการดูแลคนที่ผมรัก
พันธกุมภา
ชีวิตเกิดมาหนนี้ สิ่งที่ต้องการสูงสุดคืออะไร? คำถามนี้ ถามแล้ว ถามอีก ใจคอยถามอยู่ตลอดเวลาว่าต้องการอะไร ปรารถนาสิ่งใด ทำไมยังไม่มุ่งไปทางนั้นให้เต็มที่ ไยจึงกลัวที่จะเลือก ที่จะตัดสินใจ แม้ว่ารู้และเห็นว่าความน่ากลัว สังเวช อนาถใจของการเวียนว่ายนี้มีมากน้อยเพียงใด แต่เหตุใด ใจจึงไม่เคยหลุดออกจากสมมุติมากมายที่เกาะกุมเราไว้
พันธกุมภา
ช่วงหลังๆ นี้ผมได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับญาติธรรมกัลยาณมิตรหลายๆ คน ซึ่งแต่ละคนก็เจอสภาวะจิตที่แตกต่างกัน มีรูปแบบการภาวนาที่แตกต่างกัน ตามจริต ตามเหตุ ปัจจัยของแต่ละคน ทำให้แต่ละคนเจอกับสภาวะต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน และมีความรู้ ตื่น เบิกบาน ที่มากมายคละกันไป กัลยาณมิตรที่ร่วมสนทนากันนี้มีอยู่ในหลายวัย หลากอาชีพ และมีความสนใจในการภาวนาที่แตกต่างกัน บางคนมีปัญหาเรื่องความรัก ปัญหาครอบครัว ปัญหากับที่ทำงาน ปัญหากับการเรียน และก็ล้วนแต่มองเห็นว่าการภาวนาโดยการเจริญสติรู้กายรู้ใจในชีวิตประจำวันนี้จะทำให้ตัวเองได้เข้าใจความทุกข์และพ้นจากความทุกข์