Skip to main content

มีเรื่องหนึ่ง ที่อยากเตือนตัวเองมากๆ นั่นคือว่านักภาวนาหลายๆ คน พอภาวนาไปแล้ว ก็เริ่มคิดว่าเป็นนักภาวนา บางทีเราก็หลงไปสร้างภาพความเป็นคนดีขึ้นมาทันที จนลืมนึกถึงไปว่าเราภาวนาเพื่อเห็นความจริง และความจริงนี้ก็เป็นความจริงธรรมดาของกายและใจเท่านั้นเอง


จะว่าไปการเป็นนักภาวนานี้ก็เป็นการสร้างความทุกข์ให้กับตัวเองแบบหนึ่งเหมือนกันนะครับ เมื่อก่อนผมมักจะแบกรับความเป็นนักภาวนากับตัวเอง ตัวเองจะต้องเป็นคนเรียบร้อย ทำอะไรช้าๆ เนิบๆ นุ่มนวล อ่อนโยน ไม่โกรธใคร มีเมตตาต่อทุกๆ คน ทว่าภาพเหล่านี้กลับมาทำให้ตัวเองไม่สามารถที่จะ “ยอมรับ” ความจริงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจได้เลย


เพราะภาพของความเป็นนักภาวนา มันพ่วงเอาความดีเข้ามาด้วย หรือถ้าจะกล่าวตรงๆ ก็คือ เป็นนักภาวนาแล้วติดดี นี่แก้ได้ยากกว่าติดร้าย เพราะว่าสภาวะความดี เช่น การแสดงออกที่อ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว ไม่โกรธใคร หรือต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ตัวของเราเองต้องแบกความทุกข์เพราะเราอยากให้จิตที่ไม่ดีมันดี และอยากจะให้คนอื่นมองเราในแง่ดี ว่าเราเป็นนักภาวนาในความดี


การเป็นนักภาวนาในแง่ของการแสดงออก ผมเห็นด้วยว่าเราควรจะแสดงออกในทางที่ดีต่อคนอื่น ทั้งทางกายและวาจา ส่วนเรื่องของท่าทีและบุคลิกก็เป็นอีกอย่างที่อาจเป็นจริตนิสัยประจำตัวของคนๆ นั้น ทว่าสิ่งที่เราหลายคนกำลังเผชิญและควรจะยอมรับนั่นคือ “ความจริง” ที่เกิดขึ้นที่กายและใจ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม


การที่จะช่วยให้เรามองข้ามความดีเลวได้ นั่นคือ “ใช้ใจรู้” มากกว่า “ใช้หัวรู้” เพราะหัวของเรามักจะคิดอยู่ตลอดเวลาว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี มีความพอใจ ไม่พอใจ ยินดี ยินร้ายในหลายๆ อย่าง และแนะนอนว่าหัวของเราถูกสอนมาตลอดว่าให้เป็นคนดี ขณะเดียวกัน การใช้ใจรู้หรือยอมรับความจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เพียงใจเรารู้เฉยๆ รู้ซื่อๆ ว่าตอนนี้จิตใจเป็นแบบนี้ ขณะนี้จิตใจแปรเปลี่ยนไปเป็นอีกแบบ และรู้ตามจริงแต่ละขณะๆ ใจจะไม่ปรุงแต่งหรือยินดียินร้าย และจะอยู่กับความจริงที่เกิดขึ้น


การเรียนรู้กายและใจตามความเป็นจริง เป็นเรื่องธรรมดาที่มักเจอและเราหลายคนก็ไปสร้างภาพนักภาวนาที่สวยหรู เป็นคนอีกแบบหนึ่ง กลายเป็นติดดีและบางทีก็เกิดกิเลสแฝงเข้ามาโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะไปคิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น คนอื่นดีไม่เท่าตัวเอง


มาถึงตรงจุดนี้ผมจึงเข้าใจคำสอนของครูบาอาจารย์ที่ว่า “ให้ปฏิบัติเหมือนไม่ได้ปฏิบัติ” หรือ “ให้ภาวนาเหมือนไม่ได้ภาวนา” ผมจึงมองว่านักภาวนาควรรู้ทันตัวเองตรงจุดนี้ หรืออาจต้องลืมเรื่องภาวนาไปก่อน หากยังติดในภาพนักภาวนาที่ตัวเองสร้างขึ้นและกลายเป็นคนไม่ธรรมดา และหันกลับมาให้ชีวิตตามปกติ ธรรมดา มีสุข มีทุกข์ ดีใจ เสียใจ มีความอยาก ความโกรธ ความหลง และยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นในใจของตน เพราะจิตของการภาวนานี้เป็นการมองเข้ามายังตัวตนที่เป็นอยู่ มันเป็นเรื่องความจริงที่อยู่เหนือความดีความเลว เพียงแค่เรายอมรับความร้ายกาจ ยอมรับกิเลส ไม่ปฏิเสธ ไม่หนี ไม่ผลักไส และอดทนต่อการมาเยือนของสภาวะที่ไม่ชอบใจ เพียงแค่รู้ แค่ดูเฉยๆ


เพราะสภาวะร้ายๆ เราแค่รู้ข้างในใจตัวเองเพื่อให้เกิดปัญญา ส่วนการแสดงออกต่อผู้อื่นทางกาย วาจา ท่าที ก็ให้มีเมตตาอยู่ไว้ เพราะยังไงความจริงที่เราเผชิญก็จะทำให้เรามีปัญญาและเมตตาต่อตนเองและผู้อื่นไปอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม

 

 

 

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ชีวิตนี้แสนสั้นและใจก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช้าสายบ่ายค่ำจิตใจไม่เหมือนเดิม กายก็มีทั้งสุขและทุกข์แปรปรวนไปตามธรรมดา ชีวิตแต่ละวันจึงแสนจะสั้นและดูแล้วไม่เที่ยงเอาเสียเลย จนบางครั้งรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้ทำอะไรก่อนที่ลมหายใจจะหมดไป จึงต้องใคร่ครวญคิดคำนึงอยู่เสมอๆ ว่าตั้งแต่เกิดมามีอะไรที่ตัวเองยังไม่ได้ทำบ้าง และก็ควรจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนี้เพื่อลงมือทำสิ่งนั้นอย่างจริงจังไม่ใช่แค่คิดและปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ
พันธกุมภา
เร็วๆ นี้ผมและญาติธรรมกำลังร่วมกันดำเนินการจัดพิมพ์ธรรมใจไดอารี่ ฉบับธรรมทาน ซึ่งพี่ๆ ญาติธรรม ทุกๆ คน ที่ได้มาพบเจอ รู้จัก สนทนาธรรมกัน ได้ช่วยเหลือ เกื้อกูล ให้คำปรึกษา แนะนำต่างๆ มากมาย และเมื่อมีผู้เสนอให้ทำ ธรรมใจไดอารี่ขึ้น
พันธกุมภา
สำหรับผมกับแฟน เราทั้งสองคบกันด้วยเหตุแห่งความศรัทธาที่มีต่อกัน ในวันที่เราเจอกันครั้งแรก แม้ไม่ได้รู้สึกอยากจะได้มาครอบครองแต่ด้วยความที่เธอเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่สนใจในทางธรรม ทั้งการถือศีล และการปฏิบัติ ทำให้เราทั้งสองได้สนทนาและแบ่งปันการภาวนาของกันและกันและก็ได้คุยกันเรื่อยมา
พันธกุมภา
วันธรรมดาวันหนึ่ง ชีวิตประจำวันก็ผ่านไปด้วยเหตุปัจจัยเหมือนเดิม มีประชุม ทำค่าย อบรม เดินทางจัดกิจกรรมตามจังหวัดต่างๆ ได้เจอผู้คนมากหน้าหลายตา มีโอกาสได้สนทนากันตามเรื่องราวที่แตกต่างกันไป แต่ข้างในใจกลับเต็มไปด้วยความเฉื่อยชา เบื่อหน่าย ไม่ค่อยมีความสุขเท่าใดนัก
พันธกุมภา
การได้สังเกตจิตใจของตัวเองตามความเป็นจริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าจิตใจนี้มีธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปมาตามเหตุปัจจัยเงื่อนไขชีวิต แล้วยังมีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปสู่ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ความโกรธ ขุ่นเคือง หงุดหงิด ความไม่รู้เนื้อรู้ตัว ขาดสติ เผลอหลงใหลไปกับโลกของความคิดและสิ่งภายนอกใจ
พันธกุมภา
คำอวยพรจากเพื่อนๆ พี่น้อง หลายๆ คน ส่งมายังผมหลายฉบับ ทำให้เกิดความปีติยินดี ที่ได้รับคำอวยพรอย่างยิ่ง และผมก็ได้ตอบกลับไปยังเพื่อนๆ พี่น้อง ทั้งที่ส่งมาและไม่ได้ส่งมา อีกหลายๆ คน การให้พรจึงเสมือนเป็นการให้กำลังใจและบอกให้กันและกันรู้ว่ายังคงระลึกถึงกันอยู่เสมอ
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่การเจริญสติของใครหลายคนติดอยู่กับอารมณ์คือหลงไปแช่อยู่กับอารมณ์นานจึงทำให้เกิดการเผลอยึดมั่นในอารมณ์นั้น กลายเป็นติดหลุม เผลอลงไปแช่ จะรู้สึกมัวๆ หรือเผลอไปแทรกแซง จนยากยิ่งนักที่จะรู้สึกตัวทัน ทั้งนี้ครูบาอาจารย์ท่านแนะไว้ว่าอาจเป็นเพราะจิตยังไม่ถึงฐานหรือจิตยังไม่ตั้งมั่น
พันธกุมภา
  ในการภาวนาบ่อยครั้งนักที่ผมมักจะได้ยินคนอื่นๆ มาเล่าให้ฟังทำนองว่า สถานที่นี้ไม่ดีเลย ไม่เหมาะที่จะภาวนาเลย เสียงก็ดัง คนก็เยอะ ไม่มีที่ ไม่มีทางเดินจงกรมหรือนั่งปฏิบัติเลย เพราะมองว่าการที่จะภาวนาได้นั้นจะต้องไปในสถานที่ที่มีรูปแบบ เช่น มีทางให้เดินจงกรม มีเบาะให้นั่งภาวนา เป็นต้น
พันธกุมภา
ปลายเดือนตุลาคม 2552 นี้ ผมได้มีโอกาสไปภาวนากับพี่ๆ ญาติธรรมเชียงใหม่ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งพวกเราไปกัน 4 คน ได้แก่ พี่เอ้ พี่ยา พี่นา และผม ซึ่งผมรู้จักพี่ๆ ผ่านทางการสนทนาในอินเตอร์เน็ตและทุกๆ คนก็ภาวนาในแนวดูจิตเหมือนๆ กัน
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่รู้สึกตัว และอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นภายในใจ มันยิ่งทำให้เห็นว่าเราสามารถตามรู้ ตามดูสภาวะต่างๆ ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ด้านบวก หรืออารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นภายในใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีหน้าที่เหมือนกันคือ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้
พันธกุมภา
ในแต่ละวันชีวิตคนเราก็มีเวลา 24 ชั่วโมง เหมือนกัน ไม่มีใครมีเวลามากหรือน้อยไปกว่ากัน ทว่าอยู่ที่ว่าใครจะจัดสรรเวลาให้กับตัวเองมากน้อยเพียงใด ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และอื่นๆ อีกมายมาย ซึ่งการจัดระดับความสำคัญของภารกิจระหว่างวันแต่ลัอย่างนื้ถือเป็นเรื่องที่ช่วยให้วันแต่ละวันผ่านไปอย่างมีคุณประโยชน์
พันธกุมภา
โดยปกติแล้ว ผมมักจะเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่กับที่ เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหวตัวเองไปๆ มาๆ ดังนั้นการเจริญสติด้วยการรู้สึกที่กายและใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมานี้ จึงเป็นการภาวนาที่ทำให้ผมถนัดและสามารถรู้สึกตัวได้บ่อยที่สุด