Skip to main content

มีนา

ถึง พันธกุมภา

…แม้ว่าฉันจะไม่ได้ไปที่วัดป่าสุคะโตกับเธอ ฉันเห็นบรรยากาศไปพร้อมกับการเล่าสู่กันของเธอ อดไม่ได้ที่จะนึกถึง “ความกลัว”

ตั้งแต่เด็ก เรามักถูกขู่ให้กลัวอยู่เสมอ เมื่อพ่อแม่เลี้ยงเรามา รัก ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เด็กเล็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นของตัวเอง เขาเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่รู้ว่า ไฟมันร้อน น้ำในบ่อมันลึกหรือตื้นเพียงไหน ปลั๊กไฟห้ามเอานิ้วแหย่เข้าไป อาจจะเดินไปไหนไกลๆ โดยพ่อแม่ไม่เห็นแล้วประสบอันตราย

สิ่งที่เด็กไม่ได้ประสบกับตัวเอง เด็กไม่รู้ว่าอันตราย ไฟมันร้อน น้ำมันลึก เป็นอย่างไร พ่อแม่จึงมักดึงเอาสัญชาติญาณด้านลึกคือความกลัวออกมา การขู่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กแก ตำรวจ คนบ้า ผี ฯลฯ อีกมากมายที่หล่อหลอมเรามา

ความกลัว เมื่อสัมพันธ์กับสิ่งใด นอกจากเราจะไม่แย่กว่า เรากลัวสิ่งนั้นจริงๆ หรือความกลัวที่อยู่ด้านในของเรามากกว่า

ตอนเด็กๆ ฉันกลัวที่จะเห็นผี ฉันไม่รู้จักว่าผีหน้าตาเป็นอย่างไร อย่างน้อยผีอาจจะหน้าตาเหมือน ปู่ ย่า หรือตา ของฉัน เพราะเขาเหล่านั้นได้เสียชีวิตตั้งแต่ฉันยังเด็ก ถ้าฉันพบหน้าตาแบบในรูปที่บ้าน หมายความว่าเขาเหล่านั้นเป็นผี ใช่ไหม แต่ตลอดช่วงชีวิตของฉัน ฉันไม่เคยเห็นเขาเลย แม้ว่าจะรู้ว่าเขาเคยมีชีวิตอยู่จริง

หรือจริงๆ แล้ว ฉันกลัวความตายกันแน่...

หากเปรียบกับชีวิตที่ฉันดำเนินอยู่ในเมือง ต้องพบเจอผู้คนมากมาย ทั้งที่รู้จัก ไม่รู้จัก และไม่สามารถรับรู้สิ่งที่เขาคิดได้ ไม่รู้ว่าเขาคิดดี คิดร้าย เป็นคนดีหรือคนร้าย เราเรียนรู้...ว่า คนเรารู้หน้าไม่รู้ใจ ประสบการณ์ชีวิตกับความกลัว สอนให้เรากลัวคนอื่นมากกว่ากลัวตัวเราเอง

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง เราประสบกับความกลัวของตัวเองมากกว่ากลัวคนอื่น เหตุการณ์ครั้งหนึ่งของฉัน ที่ทำให้คลี่คลายจุดนี้คือ ฉันมักชอบอ่านดวงชะตาชีวิตผ่านหนังสือต่างๆ ที่เพื่อนๆ บอกว่าแม่น!

...แล้วอย่างไร ฉันกลัวมาก เมื่อเขาเขียนว่า วันนี้ต้องระวังนั่น ระวังนี่ “ให้ระวังคนจะทำร้ายจิตใจ แล้วมีผลกระทบกับการงาน”  วันนั้นไม่เป็นอันทำอะไร ได้แต่ระวังว่า คนที่เขาไม่ชอบเราอยู่แล้วจะเล่นงานเราอย่างไร นอกจากสิ่งที่ได้คือความเครียดแล้ว ยังทำให้เราไม่มีความสุข ไม่สนุก เราไม่ได้จดจ่ออยู่กับการทำงาน มัวแต่กังวลว่าเขาจะทำอะไรเรา เราจะถูกเล่นงานอย่างไร

แท้จริงแล้ว ความกลัวคือสิ่งที่อยู่ในใจของฉันนี่เอง มากกว่าความกลัวในสิ่งที่เกิดขึ้นจริง หากเรามีสติและใช้ปัญญาที่เรามี แก้ไขสถานการณ์ที่มันเกิดขึ้นจริง เราก็จะผ่านพ้นมันไปได้

ความกลัวของคนเมืองหรือคนสมัยใหม่ (modern human) มันลึกซึ้งกว่าการทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกัน ทั้งกลัวว่าจะไม่มีงาน กลัวว่าคนที่ทำงานกับเราจะแย่งผลงานของเรา กลัวเราเก่ง/ไม่มีความสามารถเท่าเทียมกับคนอื่น

การแข่งขันกันในที่ทำงาน ในสำนักงาน ผู้ที่ได้รับประโยชน์มักเป็นองค์กรหรือสถาบัน หรือจะชี้ให้ถูกจุดก็คือ คนที่เป็นเจ้าของบริษัทหรือสถาบันนั้น ยิ่งลูกน้องแข่งขันกันทำงานให้ดีมากเท่าไร ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ชื่อเสียงก็ย่อมอยู่กับองค์กรนั้นๆ มากขึ้น

แล้วจะทำอย่างไรให้เรามีสติและใช้ปัญญากับความกลัวเหล่านั้นได้...จะมีอะไรดีไปกว่าการฝึก ใช้สติ และมีหลักธรรม คือความเป็นจริงตามธรรมชาติเป็นหลักในการไม่ทำร้ายกัน ซึ่งหากสถาบัน องค์กรใดๆ มีการสร้างระบบที่ดีก็จะช่วยให้คนที่แข่งขันกัน อยู่ในกฎ กติกา อย่างเช่น การสอบเพื่อให้ได้งาน มีความยุติธรรม ผู้เลือกและผู้ถูกเลือกเป็นคนที่มีความสามารถจริงๆ

แต่คนเราเดี๋ยวนี้ มักมีความสามารถ ความเก่ง มาอยู่แถวหน้าได้ จากการแข่งขันแล้วเป็นผู้ชนะที่เห็นได้ภายนอก ทั้งการเลื่อนตำแหน่ง การประกวด คนที่ได้ที่ 1 มีคนเดียวเสมอ หากการประกวด การสอบแข่งขัน หรือการเลื่อนตำแหน่งนั้น ไม่ได้ใช้ความยุติธรรมในมือของใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ย่อมได้คนที่มีความสามารถ

หากเราเป็นคนที่แข่งขันในเกมนี้ แล้วเราเป็นผู้ชนะในเกม แล้วเราเอาชนะความกลัวในขณะที่เราแข่งขันมาได้อย่างไร บางคนภาคภูมิใจในการแข่งชนะ เพราะเขาแข่งด้วยความสามารถและสติปัญญาที่แท้จริง บางคนแม้จะชนะแต่ไม่ภาคภูมิใจเลยเพราะเขารู้ตัวว่า เขาไม่ได้ใช้สติปัญญาที่แท้จริงมาแข่ง เขาย่อมกลัว  กลัวว่าคนอื่นจะรู้ กลัวว่าแล้วเขาจะรักษาชัยชนะอย่างไร

นอกจากความกลัวและการแข่งขันนี้แล้ว ความกลัวยังเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์พยายามเอาชนะธรรมชาติ มนุษย์ที่อยู่ภายใต้ธรรมชาติที่โหดร้าย อย่างทะเลทราย นอกจากมีความรู้เรื่องการอยู่กับทะเลทราย พายุทะเลทรายแล้ว ยังพยายามสร้างเครื่องมือ การป้องกันตัวให้พ้นจากธรรมชาติที่โหดร้าย และสามารถใช้เครื่องมือ ความรู้เพื่อการอยู่รอดอีกด้วย

ความกลัว...นอกจากจะมีด้านไม่ดีแล้ว ยังมีด้านดี อันเป็นปัจจัยผลักให้มนุษย์ได้เรียนรู้ ไม่ต่างอะไรกับการที่พันธกุมภาเจอะเจอกับความกลัวที่หลุมศพ แล้วผ่านมันมาได้ แท้จริงแล้ว ไม่มีความกลัวใดในมนุษย์ เท่ากับความกลัวที่อยู่ในใจของตนเลย

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยชอบอยู่กับตัวเอง เพราะมีความรู้สึกไม่มั่นคง อีกทั้งยังคิดว่าเราควรที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ บ้าง ในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีในความสัมพันธ์  แต่เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมและเพื่อนๆ จำนวนหนึ่งที่ทำงานขับเคลื่อนทางสังคมในเรื่องชีวิตทางเพศได้เข้าร่วมภาวนา หรือ Retreat ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการภาวนาเพื่อติดตามเพื่อนๆ ที่ได้ภาวนาในรุ่นต่างๆ ก่อนหน้านี้ให้ได้พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกันว่าใครเป็นอย่างไร มีสุข มีทุกข์อย่างไรบ้าง
พันธกุมภา
เมื่อมีเวลาตรวจดูสภาวะจิตใจของตัวเองในช่วงนี้แล้ว ก็เหมือนกับว่าผมได้พบกันสภาวธรรมต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนไปหลายๆ ประการ มีเกิด มีดับ สลับกันไปในจิตแต่ละช่วงขณะ คือค่อยๆ รู้สึกตัวบ้างในบางครั้ง รู้ว่าเผลอ รู้ว่าหลง รู้ว่าประคอง ในอารมณ์ต่างๆ เช่น ความคิด ความโกรธ หรือแม้กระทั่งความอยาก
พันธกุมภา
ผมถามพี่ที่รู้จักกันท่านหนึ่งว่า "ที่คนทั่วไปไม่ค่อยปฏิบัติธรรมเพราะอะไร"และพี่ท่านนี้ก็ได้ตอบจากประสบการณ์ของตัวเอง ว่า เมื่อก่อนเค้าไม่สนใจ  เพราะเป็นเด็กจะไม่ค่อยมีความทุกข์ แต่พอโตขึ้นแล้วไม่สามารถหาคำตอบได้ในบางคำถาม แต่ธรรมะกลับตอบได้
พันธกุมภา
ถามสวัสดีค่ะเหนื่อยจัง  นอนน้อยเลยเบลอมีคำถามมาถามน้องอีกแล้วค่ะ  คือเมื่อคืนและเมื่อหลายคืนก่อน ดูละครสาปภูษา กับสุสานภูเตศวรสองเรื่องนี้มีความเหมือนกันอยู่อย่างคือ  ย้อนยุค  ทะลุมิติ  โดยมีเรื่องวิญญาณมาเกี่ยวข้องจู่ๆ ก็มีคนถามขึ้นมาว่า  เชื่อเรื่อง ชาตินี้ ชาติหน้า ไหมทำให้พี่คิดขึ้นมาว่า เออ แล้วมันจริงเหรอ เรื่องนี้น่ะไม่รู้สิคะ  ตามความคิดส่วนตัวคือ เชี่อค่ะเชื่อ เลยไม่อยากทำอะไรไม่ดีเลย  อยากสั่งสมความดี สร้างบุญเพราะเราเห็นว่ามันสุขตั้งแต่นาทีที่ทำวันก่อนอ่านหนังสือคุณ ดังตฤณ พี่คิดว่าตามแนวคิดคุณดังตฤณ  มันก็มีจริงสิคะ ชาตินี้…
พันธกุมภา
ต่อจากการตอบจดหมายเรื่องทุกข์ใจกับคนที่ไม่ชอบเรา1 ขอบคุณอย่างยิ่งค่ะอ่านแล้วรู้สึกน้ำตาจะไหล
พันธกุมภา
ช่วงที่ผ่านมา มีจดหมายจาก คุณ พรพรรณ เขียนจดหมายมาสอบถามผม 4 เรื่องดังนี้  1. การที่เราต้องอยู่ร่วมกับคนที่เขาไม่ชอบเรา หรือมีทัศนคติที่ขัดแย้งกัน  เราควรทำอย่างไร2. การแผ่เมตตา  ช่วยให้ทุกข์ที่เกิดขึ้นคลายลง ได้หรือไม่  และการแผ่เมตตามีคุณอย่างไร3. การไปปฏิบัติ  จะช่วยให้เกิดผลบุญถึงเจ้ากรรมนายเวรได้จริงหรือเปล่าคะ4. คุณน้องเต้าเชื่อเรื่องกรรม หรือไม่คะ ผมได้รับและตอบกลับดังนี้.................... สวัสดีครับ ขอบคุณที่ไว้วางใจให้ผมได้แบ่งปันนะครับแต่...สภาวะของผมอาจเป็นคนอื่น…
พันธกุมภา
 คืนนี้ ดึกแล้วครับช่วงเวลาตีสามกว่าๆ ควรเป็นเวลาที่ผมจะได้นอนหลับอย่างสงบแต่ไม่รู้ทำไม? คืนนี้จึงเกิดความรู้สึกว่าอยากจะรวมเล่มบันทึก "ธรรมใจ ไดอารี่" นี้ให้เสร็จ
พันธกุมภา
ผมเขียนเรื่องนี้ตอนเพิ่งตื่น ตอนนี้ยังไม่ได้ล้างหน้า แปรงฟัน ตาก็ดูเบลอ ทำอะไรก็เบลอๆ อยู่นิดหนึ่ง ยังไม่ค่อยมีใจอยากจะทำอะไร ความขี้เกียจเป็นเพื่อนที่ไม่หนีไปไหน ยังคงยืนอยู่ข้างๆ กายผม ไม่อยากทำอะไรเลย แม้ว่าจะมีงานมากน้อยเพียงใด ผมอยากจะหยุดเวลาไว้ตรงที่การอยู่เฉยๆ เพราะเวลาไม่ได้ทำอะไรก็ดีไปอีกอย่าง...บอกไม่ถูกครับ
พันธกุมภา
  ตอนนี้ผมพบว่าความอ่อนล้าทำให้เหนื่อยกับสิ่งกำลังทำอยู่ ไม่ว่างานจะสนุกเพียงใด แต่ถ้าอะไรหลายๆ อย่างเข้ามาในชีวิตจนไม่สามารถจัดการได้ว่าจะทำอะไรก่อนหลัง วิธีการเรียงลำดับความสำคัญของงานเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับการมีชีวิตที่สมดุลกัน
พันธกุมภา
แม่เพิ่งโทรมาถามผมว่าวันเกิดปีนี้จะทำอะไร? และเตือนว่าอย่าลืมไปทำบุญถวายพระ แถมยังบอกอีกว่าปีนี้ อยากให้ทำทานโดยการซื้อผ้าเช็ดตัวให้กับผู้เฒ่าผู้แก่และเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆ ในหมู่บ้าน ผมรู้สึกดีใจที่คุณแม่โทรมา เพราะอย่างน้อยแสดงว่าท่านจำวันเกิดของผมได้ แม้ว่าผมจะไม่ค่อยตื่นเต้นอะไรกับวันเกิดเพราะมันก็เป็นวันธรรมดาวันหนึ่งสำหรับผม แต่ที่ไหนได้วันนี้เป็นวันสำคัญที่สุดในชีวิตของคุณแม่ เพราะท่านได้ให้การเกิดผมมาลืมตาดูโลก
พันธกุมภา
ช่วงอาทิตย์กว่าที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่คนรอบข้างผมต้องเสียชีวิตไปมากกว่า 3 คน คนหนึ่งเสียชีวิตด้วยการยิงตัวตาย อีกคนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง และคนสุดท้ายเสียชีวิตดูความชรา การจากไปของคนรู้จักเหล่านี้ แน่นอนว่านำมาซึ่งความเสียใจ ความเศร้าโศก และมันก็ทำให้ผมคิดถึง “ความตาย” อยู่ทุกๆ ขณะ เพราะความตายนี้เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราจริงๆ ซึ่งมันเป็นการบอกย้ำธรรมชาติของชีวิตว่าชีวิตทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง
พันธกุมภา
หลังจากวันที่เริ่มบันทึกมาจนถึงวันนี้ ก็ผ่านเลยมาหลายวันแล้ว มีเรื่องราวหลายๆ อย่างเกิดขึ้นในชีวิตแต่เท่าที่สำคัญและจำได้ดีคือ ช่วงวันที่ 5 - 15 มกราคม ที่ผ่านมา ผมและเพื่อนๆ ที่ทำงานสุขภาวะทางเพศประมาณ 20 คนได้เข้าอบรมภาวนาภายในและการเรียนรู้โครงสร้างทางสังคม ที่บ้านสวนธารทิพย์ ซึ่งมีพี่อวยพร เขื่อนแก้ว เป็นกระบวนกรหลัก