Skip to main content

ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแล

เพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์ วงดนตรีจากกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกรมที่ร่วมกับกรมศิลปากร ผลิตเพลง Propaganda ให้กับรัฐบาล

ยุคสมัยผ่านเลยมาก็นานแล้ว เพลง ๆ นี้ก็ยังคงเปิดต่อมาพ้นผ่านยุคสมัยต่าง ๆ แม้จะเริ่มคลายความนิยมลงไป แต่มันก็ยังคงดำรงอยู่ในบ้านเรา เช่นเดียวกับระบอบศักดินาทหาร :P

หมายเหตุไว้เสียเล็กน้อยว่า ถึงแม้ "เนื้อหา" ของเพลงสุนทราภรณ์บางเพลงจะไปในเชิงเชิดชูผู้นำ จารีตนิยม และ โฆษณาชวนเชื่อ แต่ด้าน "รูปแบบ" ก้นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี ทำให้ดนตรีไทยมีความเป็นสมัยใหม่ (Modernize) และ ผสานกับความเป็นตะวันตก (Westernize) ได้ เพราะดนตรีแนวสุนทราภรณ์ได้หยิบยืมรูปแบบของแจ๊สซ์สายบิ๊กแบนด์ (ซึ่งตะวันตกในยุคนั้น แจ๊สซ์กำลังบูมมาก) เข้ามาผสานกับเนื้อร้องแบบบทกวีและการร้องเฉพาะแบบ (ส่วนตัวผมไม่ชอบเสียงร้องแบบนี้เอาซะเลย ถึงจะมีคนบอกว่าเป็นการร้องที่ต้องใช้ความสามารถมากแค่ไหนก็ตาม)

แต่นั่นแหละ เพราะการเปลี่ยนแปลงมันเป็นสิ่งที่เกิดจากชนชั้นนำ เปลี่ยนแปลงภายใต้โครงสร้างแบบ "บนลงล่าง" ทำให้อยู่ภายใต้การควบคุม เนื้อหามันจึงไม่เติบโตเท่าไหร่ หากเทียบกับยุคต่อ ๆ มาที่ดนตรีกลายเป็นวัฒนธรรมมวลชน (Popular Culture) อย่างแท้จริง และสำหรับคนที่เป็นโรค Western Allergy เกลียดกลัววัฒนธรรมตะวันตกขึ้นสมอง ผมก็มีข่าวดีมาบอกว่าดนตรีในทุก ๆ วันนี้ถ้าไม่นับดนตรีท้องถิ่น และ ดนตรีไทยเดิม แล้วละก็เพลงไทยทั้งหลายก็เป็นดนตรีที่รับอิทธิพลจากตะวันตกมาปรับใช้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นดนตรีป็อบในกระแส นอกกระแส ใต้ดิน เพื่อชีวิต แม้กระทั่งลูกทุ่ง

เอาล่ะ ขอกลับมาพูดถึงประวัติ โอลด์ แลงค์ ซายน์ ที่มีความซับซ้อนและน่าสนุกกว่า

Robert Burns

โรเบิร์ต เบิร์นส์

โดยต้นกำเนิด เพลงนี้แต่งขึ้นโดย โรเบิร์ต เบิร์นส์ ตั้งแต่สมัยปลายศตวรรษที่ 17 ซึ่งโรเบิร์ต เบิร์นส์ คนนี้เป็นกวี นักคิด นักประพันธ์เพลงคนสำคัญของสก็อตแลนด์ เพลงนี้เองเข้าก็หยิบยืมทำนองจากเพลงพื้นบ้านของสก็อตแลนด์มาดัดแปลง และในทีแรกนั้นเพลงนี้ยังไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับเทศกาลปีใหม่เลย

โอลด์ แลงค์ ซายน์ (Auld Lang Syne) เป็นภาษาสก็อตแลนด์ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "Old long Ago" หรือเป็นไทยคือ "เมื่อเนิ่นนานมา" เนื้อเพลง ๆ นี้ สามารถตีความได้ต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่ามันพูดถึงการให้ลืมสิ่งเก่าไปรับสิ่งใหม่ ๆ มา อีกฝ่ายที่ติดชาตินิยมหน่อยก็ว่าโรเบิร์ต เบิร์นส์ ผู้เป็นนักคิดคนสำคัญย่อมต้องแต่งเพลงนี้เพื่อพูดถึงอดีตอันเกรียงไกรของชาวสก็อตฯ ขณะที่ในปัจจุบัน คนที่ช่างสงสัยแบบ Skeptic ก็เริ่มเสนอว่า จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็นเนื้อหาส่วนตัวของอีตาเบิร์นส์เอง คือเพลงนี้เขาแต่งเพื่อระบายความรู้สึกหวนหาอดีต คิดถึงเพื่อนเก่า คนรักเก่า วันเวลาเก่า ๆ ของเขาก็เท่านั้น

อย่างไรก็ดีเพลงนี้กลายเป็นเป็นเพลงเฉลิมฉลองวันปีใหม่ของชาวสก็อตฯ (Hogmanay) และกลายเป็นเพลงปีใหม่ของอีกหลาย ๆ พื้นที่ในโลกเมื่อ Guy Lombardo นักดนตรีชาวแคนาดา เล่นเพลงนี้ในรายการวิทยุของอเมริกาช่วงรอยต่อระหว่างปี 1938-1939 แม้จนบัดนี้เพลงฉบับของ Guy ยังคงใช้เปิดเป็นเพลงแรกของปี เพื่อเฉลิมฉลองงานปีใหม่ที่ไทม์สแควร์

จริง ๆ แล้วอาจจะไม่ใช่เนื้อเพลง โอลด์ แลงค์ ซายน์ ที่แพร่หลาย แต่เป็นเมโลดี้สุดติดหู (และถึงขั้นหลอนหู) ของมันต่างหาก

ในหลาย ๆ ประเทศเอาทำนองเพลงนี้ไปใช้ต่างโอกาสกัน ในไต้หวันใช้ทำนองเพลงนี้เปิดในวันจบการศึกษาและในงานศพ ที่ญี่ปุ่นก็เอาเพลงนี้มาแปลงเป็นเพลง Hotaru no Hikari (แสงหิ่งห้อย) ใช้ในงานพิธีจบการศึกษาเช่นกัน ส่วน รพินทรนารถ ฐากูร ปราชญ์วรรณกรรมชาวอินเดียเอาทำนองเพลงนี้มาแต่งเป็น "About the Old Days" ในไทยเองเพลงนี้ก็กลายมาเป็นเพลงแบบขวา ๆ อย่าง "สามัคคีชุมนุม" ที่ไม่แค่เอาทำนองเขามา แม้แต่พิธีการไขว้มือจับกันก็เอามาจากพิธีกรรมของชาวสก็อตฯ ด้วย

Hogmanay

เทศกาล Hogmanay

และล่าสุด ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมานี้เอง ทำนองเพลง Auld Lang Syne ก็ถูกเปิดในพิธีสละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของผู้นำเผด็จการปากีสถาน เปอร์เวช มูชาร์ราฟ เพื่อที่เขาจะได้สืบทอดอำนาจทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ต่อไป ไม่รู้วิญญาณของตาโรเบิร์ต เบิร์นส์ รู้เข้าจะ "เซ็งสาดดด" ขนาดไหน เมื่อเพลงที่แต่งโดยนักคิดเสรีนิยม (Liberalism) เช่นเขาถูกเอาไปใช้ในพิธีกรรมของทหารเผด็จการซะแล้ว

จริง ๆ แล้ว ผมเห็นว่าเนื้อเพลงนี้แต่งได้ไพเราะมาก พอเห็นถูกเอาไปแปลงเป็นเพลงขวา ๆ มั่งล่ะ เอาไปใช่ในพิธีของเผด็จการบ้างล่ะ มันช่างฟังดูน่าหดหู่เหลือหลาย แม้จะแค่ชอบเนื้อเพลงต้นฉบับมันก็ยังชวนให้รู้สึกผิด

แต่ผมก็ได้ค้นพบว่าเพลง ๆ นี้มันไม่ได้มีแต่เอาไปใช้ในพิธีการ หรือเอาไปใช้อย่างขรึมขลังอย่างเดียว ในหมู่ศิลปินเพลงสมัยนิยมทั่ว ๆ ไปก็เอาเพลงนี้มาเล่นกันอย่างสนุกสนานบันเทิงใจ ซึ่งต้องขอบคุณพวกเขาที่ทำให้ผมฟังเพลงนี้ได้สนิทหูขึ้นมาหน่อย

นอกจาก Guy Lombardo ผู้ทำให้เพลง Auld Lang Syne กระฉ่อนไปทั่วโลกแล้ว ในช่วงรอยต่อของปี 1969-1970 มือกีต้าร์โลกันต์ Jimi Hendrix ได้เล่นเพลง Auld Lang Syne ในแบบฉบับ Blues-Rock ที่ The Fillmore East ซึ่งในช่วงนั้นดนตรี Rock กำลังเฟื่องฟู และรอยต่อของทศวรรษทั้งสองนี้ก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญของวงการดนตรี Rock เลยก็ว่าได้

นอกจากนี้ยังมีฉบับเสียงประสานของวงป็อบอย่าง Beach Boys มีฉบับ Rock กลิ่นพื้นบ้านอเมริกันของ Bruce Springsteen and the E Street Band รวมถึงฉบับกีต้าร์โซโล่แปลกหู ที่ Guns ‘n' Roses เล่นไว้ใน Live at Leeds เมื่อปี 2002 ซึ่งหลังจากนั้น Buckethead มือกีต้าร์จอมเพี้ยนก็ได้โซโล่ต่อเป็นทำนองเพลงธีมหลักของ Star Wars :)

ไม่เพียงแค่การเล่นแบบ (พยายามจะ) Cover เพลงนี้เท่านั้น บางทีเนื้อหาของเพลงนี้ก็ถูกนำไปใช้ในบริบทอื่น เช่นนักร้องโฟล์ค/ป็อบ Dan Fogelberg ที่เพิ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งไปเมื่อวันที่ 17 ธันวา ปีนี้เอง ก็เคยแต่งเพลงที่ชื่อ Same Old Lang Syne ขึ้น เนื้อเพลงพูดถึงการได้พบเจอคนรักเก่าโดยบังเอิญในคืนคริสต์มาส แล้วเรื่องราวเก่า ๆ ก็หวนย้อนกลับมา

Dan Fogelberg

Dan Fogelberg

สำหรับผมแล้ว สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นเสน่ห์ที่มาจากยุคเฟื่องฟูของศิลปะและวัฒนธรรมมวลชน ทำให้มีการนำสิ่งที่อยู่บนหิ้งมาตีความใหม่ มีทั้งการเล่นล้อและการแสดงความเคารพต้นฉบับอย่างเสรี

หลังจากวันที่ 31 ไป ปฏิทินเก่าจะหมดหน้าที่ปฏิทินใหม่มาแทน แต่ก็ยังเป็นเครื่องช่วยสมมุติเวลาเหมือนเดิม เพลง "สวัสดีปีใหม่" เพลงเดิมจะยังคงแว่วเสียงออกมาทางโทรทัศน์ให้ได้ยิน หลายที่ในโลกก็ร่วมบรรเลงท่วงทำนองเดิมของ Auld Lang Syne แต่ภายใต้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เราเห็นว่ามัน "เหมือนเดิม" ผมเชื่อว่ามันมี "การเติบโต" ของอะไรบางอย่างแฝงอยู่ และสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้และเติบโตนั้น มันคือศิลปะและวัฒนธรรมที่ไม่ได้ถูกแช่แข็ง ควบคุม หรือถูกกุมความหมายโดยคนเพียงบางกลุ่ม

มิเช่นนั้นแล้ว วันปีใหม่ที่ผู้คนเฝ้าฝันถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งเก่า ๆ ไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่ดีกว่า
ก็จะเหลือเพียงแค่การเปลี่ยนแปลง...ตัวเลขศักราชบนปฏิทินใหม่เท่านั้น

"Should auld acquaintance be forgot,
and never brought to mind ?
Should auld acquaintance be forgot,
and auld lang syne ?"

"ขอสิ่งเก่า ๆ จงถูกลืมเลือนไป
และไม่เก็บมาใส่ใจ
ขอสิ่งเก่า ๆ จงถูกลืมเลือนไป
และไหลไปสู่อดีตเนิ่นนาน"

- Auld Lang Syne

บล็อกของ Music

Music
     จำได้ว่าเทปเพลงที่ผมได้ฟังเป็นม้วนสุดท้ายคือเทปรวมเพลงของ Bob Dylan ซึ่งผมไปอัดเอามาจากคนอื่นอีกที  ผมฟังมันจากเครื่องเล่นเทปพกพา (Walkman-ของปลอมเท่านั้น) แบบเปิดลำโพงได้ รถที่ผมใช้นั้นเครื่องเล่นเทปมันพังไปตั้งแต่ช่วงที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ช่วงหนึ่งผมจึกมักจะเอา Walkman ตัวนี้มาวางเปิดไว้ในรถแทน และเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์หรือรถไฟก็มักจะติดเจ้าเครื่องเล่นนี้เสียบหูฟัง ฟังเทปที่ว่านี้ไปขณะเดินทางทุกครั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น เทป Cassette คู่การเดินทางของผมไม่ว่าจะในระยะใกล้หรือระยะไกลเลยก็ว่าได้คุณภาพเสียงจากเครื่องเล่นของผมในตอนนั้น…
Music
 ที่ผ่านมาผมพูดถึงการที่ดนตรีไม่ได้ทำให้ใครกลายเป็นปัจเจกเทียมก็แล้ว พูดถึงโลกอันหลากหลายหลังปี 1970 ก็แล้ว พูดถึงการที่ตัวดนตรี Serious Music หรือ Popular Music ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ Liberate อะไรโดยตรง (เว้นแต่วัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย จะว่าไป หากนับวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย Popular Music น่ะ ช่วย “ปลดปล่อย” ผู้คนได้มากกว่าด้วยซ้ำ) ก็แล้วสำหรับในบทนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่อดอร์โนทำผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการปฏิเสธดนตรีป็อบโดยสิ้นเชิง ไม่ร่วมสังฆกรรมใด ๆ กับมันอีก เพราะเขาได้ตีกรอบมาแล้วว่าดนตรีป็อบมันย่อมเป็นอะไรที่ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน (Standardize) และความที่มันมีมาตรฐานเดียวกันนี่เอง…
Music
   In The Flesh?"Tell me is something eluding you sunshine?Is this not what you expected to see?If you'd like to find out what's behind these cold eyesYou'll just have to claw your way through this disguise"จากเพลง ‘In The Flesh?'ของ Pink Floydอดอร์โน...ผมศึกษาและเขียนแย้งแนวคิดของคุณในเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคมาพอสมควร แต่สิ่งที่ผมค้นพบได้จากตัวคุณมันมีแต่เรื่องเกี่ยวกับความคิดทฤษฎีทั้งนั้นบางขณะที่ผมเคาะแป้นคีย์บอร์ดถกเถียงกับทฤษฎีของคุณ ผมก็ไพล่นึกไปว่า ในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่นั้น อะไรที่ทำให้คุณบันเทิงใจกับดนตรีที่มีซาวด์แบบ Atonal จนคุณถึงกับเขียนชมมันเป็นวรรคเป็นเวรขนาดนี้ (…
Music
    Arnold Schoenberg(นักประพันธ์เพลงคนโปรดของ Adorno)ดูเหมือนความตายของ Adorno ในปี 1969 จะทำให้ผู้ที่ใช้แนวคิดของ Adorno มาวิพากษ์ Popular Music หยุดเติบโตไปด้วย พวกเขามักจะมองดนตรีที่มีอิทธิพลตั้งแต่ยุค 70's เป็นต้นมาอย่างเหมารวมและติ้นเขิน พวกเขาถึงขั้นจัด The Beatles, Nirvana และ Linkin Park ไว้ในประเภทเดียวกันผมไม่ปฏิเสธความเป็นป็อบและร็อคของทั้งสามวงที่ยกตัวอย่างมานี้ หากความเป็นร็อคคือความหนัก และการมีจังหวะที่ชัดเจน หากความป็อบคือความติดหู ฟังง่าย ผมก็เชื่อว่าทั้ง สี่เต่าทอง, กรันจ์เจอร์นิพพาน และ สวนสาธารณะของลินคอร์น ต่างก็มีความเป็นป็อบและความเป็นร็อคทั้งสิ้น (…
Music
Theodor W. Adornoผมได้อ่านบทความเรื่อง "ทบทวนแนวคิด ‘อุตสาหกรรมวัฒนธรรม' : เมื่อวัฒนธรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างวัฒนธรรม" ของ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ จากวิภาษาฉบับที่ 7 แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเรื่องของนักคิด/นักวิจารณ์ ที่ชื่อ Theodor Adorno นี้ จากบทความชื่อ "อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม (Popular Music)" ในหนังสือชื่อ "เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป็อบ" ซึ่งเป็นบทความที่พูดถึงเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะAdorno เป็นนักคิดสังคมนิยมชาวเยอรมัน ผู้นำเอาแนวคิดของทั้ง Max Waber, Marx และ แม้แต่ Sigmund Freud เข้ามาจับในงานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของเขา…
Music
ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแลเพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์…
Music
"ถึงรู้ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น แต่ก็ยากจะทำใจ"คำๆ นี้ใช้ได้ดีกับสถานการณ์ในช่วงวันที่ 19-21 ที่ผ่านมา กับการที่พวก Elite ทั้งหลายที่นั่งเออออห่อหมกกับร่างกฏหมายที่จะมีผลกับประชาชนทั้งประเทศ ดูตัวเลขก็รู้แล้วว่าพวกเขาเออออห่อหมกกันขนาดไหน ไม่โปร่งใสมากขนาดไหน และเผด็จการกันขนาดไหน!เป็นที่รู้กันว่า พวก Elite ทั้งหลายนี้มาจากการคัดเลือกแต่งตั้งกันเองของคนบางกลุ่ม ซึ่งทำให้ได้กลิ่นคณาธิปไตยตุๆ แล้ว กระบวนการพิจารณากฏหมาย ที่พากันออกถี่ระรัว จนราวกับว่าพวกเขาไม่ได้คลอด กม.ลูกทั้งหลายอย่างมีสติ แต่เหมือนคนเมาสำรอกอาเจียนเอาทุกสิ่งทุกอย่างในใส้ในพุงออกมา!ใช่แล้ว!…
Music
นึกย้อนไปถึงวันที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยวันแรกๆ ชุดยูนิฟอร์มถูกระเบียบกับตำราเรียนเล่มใหญ่ๆ หอพักในมหาวิทยาลัยที่ทำให้พานพบกับผู้คนมากหน้าหลายตา ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ต่างไปจากตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม คือความรู้สึกว่า ที่นี่ ฉันจะมีเสรีภาพมากขึ้น มีชีวิตที่หลากหลายกว่าเก่า และพื้นที่ทางความคิดที่จะปลดปล่อยฉันจากกรงขังอันแปลกแยกของโลกใบเดิมได้แต่แล้วก็ได้พบว่า สิ่งที่คาดหวังเอาไว้มันเป็นความจริงเพียงแค่บางส่วน นอกนั้นเป็นมายาภาพที่ฉันนึกฝันเอาเองใช่ๆ ฉันเคยถูกเสี้ยมสอนเช่นเดียวกับอีกหลายๆ คนว่าผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ สิ่งที่พวกเขามอบให้เราต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ…
Music
"ไม่ว่าจะสูงต่ำดำขาว ทุกคนล้วนมีชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน ไม่มีชีวิตของใครที่มีค่ามากกว่าของใคร ท่านทั้งหลาย...ประโยคสุดท้ายในเพลง Imagine ของ จอห์น เลนนอน ไม่ได้มีความหมายแบบนี้หรอกหรือ"
Music
Magic เป็นชื่ออัลบั้มล่าสุดของ Bruce Springsteen (หรือที่เรียกกันว่า The Boss*) ในอัลบั้มนี้เขากลับมาร่วมงานกับวงแบ็คอัพที่ชื่อ E Street band อีกครั้ง ทำให้ทิศทางของอัลบั้มนี้เน้นไปที่แนวทางของร็อคอีกครั้ง หลังจากอัลบั้มที่แล้วคือ Devils and Dust ออกเป็นงานแนวโฟล์คมากกว่าแต่ไม่ว่าจะเป็น Bruce Springsteen ในแบบของโฟล์คหรือ Bruce Springsteen ในแบบของร็อค ผมก็รู้สึกว่าดนตรีของ The Boss ผู้นี้ก็ช่างเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นอเมริกันอยู่เสมอมาซึ่งดนตรีในอัลบั้ม Magic นี้ไม่เพียงแค่กลิ่นของความเป็นอเมริกันที่ยังคงมีอยู่ถ้วนทั่วอย่างเดียวเท่านั้น แต่ละเพลงที่ถ่ายทอดออกมาจาก The Boss กับวง E…
Music
ในคืนวันที่ 10 ของเดือนที่แล้ว (ตุลาคม)...ผมนั่งหน้าจอคอมพ์ใจจดใจจ่ออยู่กับเว็บไซต์ http://www.inrainbows.com/ เพราะได้ข่าวว่าวง Radiohead จะประกาศขายเพลงแบบ Digital Download ผ่านทางเว็บไซต์นี้และที่ทำให้คนตื่นเต้นกันอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทางวง Radiohead ประกาศว่า จะสามารถสั่งซื้อในแบบที่ผู้ซื้อสามารถให้ราคาเองได้ตามใจชอบ ...ตามใจชอบในที่นี้หมายความว่า แม้แต่จะใส่เงินเป็น 0.00 (ซึ่งก็เหมือนขอโหลดมาฟรี ๆ นั่นแหละ) ก็สามารถทำได้ ! ซึ่งจะว่าไปเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ขนาดนั้น เพราะผมเคยเจอวงที่ชื่อว่า Craw เปิดเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อง่าย ๆ ว่า http://www.craw.com/…
Music
"ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี" วง Porcupine Tree อาจจะเป็นที่รู้จักน้อยมากสำหรับคนทั่วไป และอาจจะเป็นที่รู้จักบ้างพอสมควรสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนว Progressive Rock ซึ่ง Porcupine Tree ถือเป็นวงที่มีแนวทางของ Psychedelic/Space อันหลอนและล่องลอยแบบ Pink Floyd เป็นหลัก…