Skip to main content
 

  

In The Flesh?

"Tell me is something eluding you sunshine?
Is this not what you expected to see?
If you'd like to find out what's behind these cold eyes
You'll just have to claw your way through this disguise"

จากเพลง ‘In The Flesh?'
ของ Pink Floyd

อดอร์โน...ผมศึกษาและเขียนแย้งแนวคิดของคุณในเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคมาพอสมควร แต่สิ่งที่ผมค้นพบได้จากตัวคุณมันมีแต่เรื่องเกี่ยวกับความคิดทฤษฎีทั้งนั้น

บางขณะที่ผมเคาะแป้นคีย์บอร์ดถกเถียงกับทฤษฎีของคุณ ผมก็ไพล่นึกไปว่า ในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่นั้น อะไรที่ทำให้คุณบันเทิงใจกับดนตรีที่มีซาวด์แบบ Atonal จนคุณถึงกับเขียนชมมันเป็นวรรคเป็นเวรขนาดนี้ (ไม่หรอก ผมยังไม่เชื่ออยู่ดีว่า Atonal music มันจะ Liberate อะไรใครได้ แต่ผมรู้ว่าคุณชอบมัน แบบเดียวกับที่ผมชอบวงร็อคหลายๆ วง) แล้วในแวดวงสังคมที่คุณอยู่ เขายอมรับกับความชอบ ยอมรับกับรสนิยมของคุณขนาดไหน?

อะไรกันที่ทำให้คุณมองดนตรีแจ๊สแบบลบๆ การที่ใครจะมองอะไรแบบลบๆ มีความเป็นไปได้ว่าเขาจะถูกกระทำจากสิ่งนั้นมาก่อน การนำทฤษฎีมาจับในแง่หนึ่งมันเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้ได้มองอะไรจากเหตุผล จากตรรกะ มากกว่าจากอารมณ์หรือความรู้สึก แต่ในอีกแง่หนึ่งมันก็คือการ sublime ทำให้การแสดงทัศนะทางลบต่ออะไรอย่างหนึ่งยอมรับได้ อย่างน้อยก็ในวงวิชาการที่รับได้กับการใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

เท่าที่ผมรู้มาจากชีวประวัติของคุณ คุณมีโอกาสได้สัมผัสเปียโนตั้งแต่ยังเยาว์วัย แล้วมันก็ทำให้คุณปิติกับเสียงของมัน กับฝีมือเปียโนที่ก้าวหน้าของตัวเอง คุณเป็นนักเรียนที่หลงรักความรู้และตัวหนังสือ เรียนจบออกมาด้วยระดับท็อปและพ่วงเอามิตรทางวิชาการออกมาด้วย

ตอนที่คุณอายุเท่าๆ กับผมในตอนนี้ ช่วงอายุที่คนเรากำลังหาทิศทางก้าวย่างไปสู่วัยทำงานนั้น คุณคิดอยากจะใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาเอามาใช้วิจารณ์ดนตรีมาก แล้วคุณก็ได้เขียนงานวิจารณ์ที่คุณอยากเขียนสมใจ (เช่นเดียวกับผมที่ได้เขียนถึงคุณในตอนนี้) ก่อนที่คุณจะได้พบกับ คนอย่าง Alban Berg และ Arnold Schoenberg โดยเฉพาะคนหลังนี้เป็นผู้ที่นำพาให้คุณได้ค้นพบกับความมหัศจรรย์ของดนตรีแบบ Atonality

ใช่ ! ด้วยความมาดมั่นของคนหนุ่มแน่น คุณจึงเอาความรู้ที่คุณสะสมมาจากการศึกษาบวกกับความคิดคุณเอง มาอธิบายความน่าชื่นชมของดนตรีที่คุณชอบ แต่ดูเหมือนตา Schoenberg เองก็เฉยๆ ไม่ยี่หระกับการที่คุณเอาปรัชญามาจับกับดนตรีของเขาเสียเท่าไหร่ แม้คุณอยากจะพรรณนาถึงความปลาบปลื้มที่คุณมีต่อเพลงๆ หนึ่งอย่างไร มันก็ดูจะเปล่าประโยชน์ในสายตาของศิลปินอีโก้แรงเหล่านั้น คุณถึงหันมาเอาดีทางด้านงานทางสังคมและวิชาการ

กระนั้นผมก็นึกถึงภาพของคุณที่โดดเดี่ยวท่ามกลางฝูงชน ท่ามกลางงานเลี้ยงสวมหน้ากากของดนตรีแจ๊ส ตัวดนตรีเองมันไม่ได้ผิดบาปอะไรหรอก แต่กลุ่มชนที่เชยชมมัน ทั้งๆ ที่พวกเขาอาจจะแค่อยากเข้าสังคม อยากสวมหน้ากากเพื่อให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของงานเลี้ยงนั่นต่างหากใช่ไหม ที่ทำให้คุณรู้สึกแย่

แต่ถ้าคิดในอีกทาง คุณอาจจะแค่สวมหน้ากากได้ไม่เก่งเท่าผมก็ได้...

One of the few

"...make them me, make them you,
make them do what you want them to
make them laugh, make them cry,
make them lie down and die"

- จากเพลง "One of the few"
ของ Pink Floyd

ผมเป็นคนที่เติบโตมาในครอบครัวชนชั้นกลางที่ฐานะการงานครอบครัวกระท่อนกระแท่นบ้าง แต่ก็เรียกได้ว่ามีอันจะกิน และคงเหมือนๆ กับครอบครัวชนชั้นกลางทั่วไปที่ได้ยินเพลงป็อบตามยุคสมัยจนชินชา โรงเรียนจะจับผมไปเต้นเพลงพี่เบิร์ด ธงไชย ในงานวันเด็ก คอนเสิร์ตในทีวีวันเสาร์อาทิตย์ก็มีนักร้องของค่ายใหญ่สลับกันมาออกทีวีให้ดู ผมตามดูรายการมิวสิควีดิโอของวัยรุ่น (ที่แบ่งค่ายกันชัดเจน) เพื่อที่จะได้มีเรื่องคุยกับเพื่อนตอนไปโรงเรียน

จนกระทั่งพอผมโตขึ้นอีกหน่อย พอจะรู้สึกถึงคำว่า เบื่อ' ผมเริ่มเบื่อเพลงป็อบตลาดแบบเดิมๆ ที่คนพากันพูดถึงซ้ำๆ เพลงที่ฉายในรายการก็แบบเดิมๆ ทำให้รู้สึกอยากค้นหาอะไรใหม่ๆ เพราะเพลงรักเนื้อหาซ้ำๆ เหล่านั้น ไม่ได้ให้คำตอบอะไรกับผมอีกต่อไป แต่ก็มองไม่เห็นว่าจะมีอะไรดีกว่า

พอดีว่าในช่วงหนึ่งที่ครอบครัวต้องย้ายบ้าน ผมได้ไปค้นพบเทปเพลงแปลกๆ เข้า เป็นเทปเพลงที่ไม่มีป้ายแปะบอกว่าเป็นเพลงของใคร

เมื่อความอยากรู้อยากเห็นทำให้ผมเอาเทปม้วนนั้นมาใส่ในเครื่องแล้วกดปุ่มเพลย์ ทันใดนั้นเครื่องเล่นก็แว่วเสียงกีต้าร์โปร่งละมุนหูออกมา มีเสียงนักร้องเหมือนกำลังขับขานออกมาจากดินแดนที่ห่างไกล เนื้อร้องของมันเป็นภาษาอังกฤษที่ผมฟังไม่เข้าใจ แต่กลับทำให้ความรู้สึกปิติเอ่อล้นออกมาอย่างอธิบายไม่ถูก ผมมารู้จากแม่หลังว่านี่เป็นเพลงคันทรี่สมัยก่อนที่เคยชอบฟัง ซึ่งโลกใบเล็กๆ ของผมในตอนนั้นทำให้ผมมองว่าไอ่เทปนี่เป็น "ของแปลก" สำหรับผมไปแล้ว (ซึ่งต่อมาก็จะรู้ว่า โลกนี้มันช่างกว้างขวาง และมีอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ กว่านี้อีกหลายเท่านัก)

  

สิ่งที่ผมคิดว่ามีความสำคัญกับรสนิยม พื้นฐาน การฟังเพลงของแต่ละคน มันมาจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และสื่อฯ

คนที่อยู่ในสังคมเมืองอย่างผม อิทธิพลที่สำคัญคงไม่พ้นสื่อโทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งผมเองก็ได้รับรู้มาเท่าที่สื่อเหล่านี้เสนอมาให้ เพื่อนๆ ที่คุยกันในโรงเรียนก็คือคนที่เสพย์สื่ออันเดียวกับเรานั่นแหละ อาจจะเว้นให้คนที่มีอภิสิทธิ์หน่อยคือคนที่มีเคเบิลทีวี ที่จะคอยเอาวัฒนธรรมป็อบแบบ MTV มากึ่งอวดกึ่งเผยแพร่ ...ยุคสมัยที่ผมเติบโตมาเป็นเช่นนี้จริงๆ จึงไม่แปลกหากเขาจะไม่รู้จักเพลงคันทรี่ และเพลงเก่าอื่นๆ ที่ผมบังเอิญค้นพบจากเทปนิรนาม

ยุคสมัยของผมในเวลาต่อมายังมีการคาบเกี่ยวของยุคบอยแบนด์กับอัลเตอร์เนทีฟ ความทรงจำของทั้งวงบอยแบนด์และอัลเตอร์เนทีฟนั้นมีอยู่แน่ๆ แต่ไม่กระจ่างชัดเท่าวงร็อคเก่าๆ หลายวงที่ผมค่อยๆ ทำความรู้จักมัน ผมจึงรู้จัก Take That, Boyzone ดีพอๆ กับที่รู้จัก Scorpions, The Eagles หรือ Pink Floyd เหมือนผมบิดนาฬิกาย้อนเวลากลับอยู่คนเดียว ขณะที่คนอื่นๆ แห่แหนไปกับอะไรอย่างหนึ่ง ไม่ว่ามันจะมีชื่อว่าอะไรก็ตาม

คุณลองนึกถึงภาพผมในตอนที่ยังเป็นเด็กหนุ่มสวมกางเกงขาสั้นที่สวมหน้ากาก ทำตัวกลมกลืนไปกับกลุ่มคนที่เชยชมอะไรทั้งหลาย ทั้งที่ในใจผมไม่ได้รู้สึกเชยชมไปกับสิ่งเหล่านั้นด้วยจริงๆ เลย ผมจะเดินตัวลีบเวลาที่นึกถึงอารมณ์อันบรรเจิดของเพลง Bohemian Rhapsody (เพลงจากวง Queen) ความเกรี้ยวกราดในเพลงของ Nirvana แต่ไม่สามารถพูดให้ใครฟังได้ มวลชนอันแปลกหน้าเหล่านั้นต่างสวมหน้ากากของสัตว์ประหลาด...หน้ากากอันเดียวกับที่ผมสวมไว้ด้วย

ผมได้แต่ซ่อนความรู้สึกเหน็ดหน่ายไว้ใต้หน้ากากนั่น รู้สึกอยากจะก่นด่าไอ่เพลงมองโลกในแง่ดีตอหลดตอแหล จากวงที่เขาไม่สนว่ามันจะมาจากค่ายเพลงกระแสหลัก หรือ So-Called อินดี้ (คำว่า "อินดี้" ในวงการเพลงไทยสำหรับผมมันไม่มีความหมายอะไรเท่าไหร่ หลายๆ วงที่เรียกตัวเองว่าเป็นอินดี้ก็มีดนตรีธรรมดาๆ ไม่ค่อยต่างจากในกระแสหลัก นานๆ ทีจะเจอที่แหวกๆ ออกมา หรืออีกนัยหนึ่งคือคำๆ นี้ถูกบิดเบือนไปสู่การค้าในรูปแบบที่เนียนและดูมีระดับกว่าเท่านั้น) ใจจะขาด หากแต่กระแสมวลชนสวมหน้ากากพวกนั้นคงกลืนกินเสียงของผมไปหมด

หน้ากากสัตว์ประหลาดที่เขาสวมนั้น มันช่างคับ (แคบ), หนัก, หนา และวันหนึ่งก็จะทำให้ผมเจ็บปวดกับมันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

โชคร้ายที่อดอร์โนอยู่ได้ไม่ถึงยุคของอินเตอร์เน็ต และโชคดีที่อินเตอร์เน็ตทำให้ผมได้พบกับคนที่เรียกได้ว่าเป็น "พวกเดียวกัน" ในทางรสนิยม ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากอีกต่อไป

การที่ผมเขียนแย้งอดอร์โนเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคนั้น ไม่ได้หมายความว่าอะไรที่เป็นกระแสนิยมมันคือสิ่งที่ดีและน่าชื่นชมเสมอไป ผมอยากให้รู้ไว้ว่า คนที่รู้สึกถูกกระทำจากวัฒนธรรมกระแสนิยมมันก็มีอยู่ และอย่าได้เอาชนชั้นล่าง เอาคนจนมาอ้างเลย ผมจะบอกให้ก็ได้ว่าผู้นำเทรนด์กระแสหลักจริงๆ มันก็คือชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อนี่แหละ

ผมอยากจะบอกอีกว่า ไอ่วัฒนธรรมกระแสรองทั้งหลายส่วนหนึ่งมันมีที่มาจากคนที่รู้สึกถูกกระทำจากกระแสหลักนั่นแหละ แล้วชนชั้นกลางที่พวกคุณชอบด่าๆ กันมันก็มีหลายจำพวก เพราะฉะนั้นการที่เอะอะอะไรก็ด่าวัฒนธรรมกระแสรองแบบไม่ลืมหูลืมตา ไม่แยกแยะ มันก็ฟังดูตื้นเขินและเหมารวม ไม่ต่างกับที่อดอร์โนด่าเพลงป็อบเลย

In The Flesh

"...And they sent us along as a surrogate band
We're gonna find out where you folks really stand"

- จากเพลง "In The Flesh" 
ของ Pink Floyd

อดอร์โน...ผมเชื่อว่าทั้งผมและคุณต่างเคยมีความเจ็บปวดอันเดียวกัน มีความเกลียดชังคล้ายๆ กัน ผมอาจจะเขียนแย้งคุณ แต่ผมไม่ได้ปฏิเสธความคิดของคุณไปหมดทุกอย่าง ในแง่การพยายามเชื่อมโยงเรื่องดนตรีกับการปลดปล่อยตัวเองและสังคมอะไรของคุณนั่นมันฟังดูลักลั่นก็จริง แต่ในแง่วัฒนธรรมคุณมีส่วนถูก

การผลิตซ้ำของมายาคติในเนื้อหา มันช่วยตอกย้ำภาพของอะไรบางอย่าง ไม่ว่าภาพอันนั้นมันจะบิดเบือนไปจากความเข้าใจที่แท้จริงของคนสักเพียงใดก็ตาม เพลง "ฤดูที่แตกต่าง" อาจทำให้ใครหลายคนเชื่อเอาเองว่าคนเรามันมีทุกข์ต้องมีสุข เราจงได้แต่รอคอย' ไอ่ความสุขนั้นมาเองเหมือนแสงแดดในฤดูร้อนแล้วกันนะ ซึ่งคนที่เชื่อในเนื้อหาเพลงนี้บางคนเอาความเชื่อนี้ไปตัดสินคนที่เรียกร้องหาความสุข ว่าทำไมไม่รู้จักมองโลกในแง่ดี ทั้งที่ไม่เคยรู้เลยว่า อีกหลายๆ คนในโลกมีฝนตกอยู่ตรงที่เขาตลอดเวลา และไม่เคยพบไอ่ ฟ้าสว่าง' ที่ว่าเลยแม้แต่น้อย

แต่ขณะเดียวกันก็น่าสงสัยว่า เพลงที่พูดถึงความเจ็บปวดจากคนระดับล่างในสังคมบางเพลง มันก็เป็นการตอกย้ำความต้อยต่ำของพวกเขาหรือไม่ หรือว่าจริงๆ แล้วมันเป็นแค่การช่วย "สะท้อน" ภาพหรือความรู้สึกของพวกเขาออกมาได้เท่านั้นเอง

แต่ก็นะ...อดอร์โน...ศิลปะหรือวัฒนธรรม มันไม่ใช่อะไรแข็งๆ หรือตรงทื่อแบบที่จะใช้อธิบายเหมารวมแบบโต้งๆ ได้ ถึงผมจะเชื่อว่าสื่อสาธารณ์ ป็อบปูล่าร์มิวสิค อะไรพวกนี้มันมีส่วนในการปรับเปลี่ยน บิดเบือน การรับรู้และความเชื่อ ของผู้คน แต่การปฏิเสธศิลปะหรือสื่อสาธารณ์โดยสิ้นเชิงมันคงไม่ใช่ทางออกที่ดี 

 แล้วทางออกของพวกเราคืออะไรน่ะหรือ?

คราวหน้าผมจะมาบอกคุณ...

 

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…