Skip to main content

 Adorno pop art

ที่ผ่านมาผมพูดถึงการที่ดนตรีไม่ได้ทำให้ใครกลายเป็นปัจเจกเทียมก็แล้ว พูดถึงโลกอันหลากหลายหลังปี 1970 ก็แล้ว พูดถึงการที่ตัวดนตรี Serious Music หรือ Popular Music ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ Liberate อะไรโดยตรง (เว้นแต่วัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย จะว่าไป หากนับวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย Popular Music น่ะ ช่วย “ปลดปล่อย” ผู้คนได้มากกว่าด้วยซ้ำ) ก็แล้ว

สำหรับในบทนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่อดอร์โนทำผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการปฏิเสธดนตรีป็อบโดยสิ้นเชิง ไม่ร่วมสังฆกรรมใด ๆ กับมันอีก เพราะเขาได้ตีกรอบมาแล้วว่าดนตรีป็อบมันย่อมเป็นอะไรที่ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน (Standardize) และความที่มันมีมาตรฐานเดียวกันนี่เอง จึงไม่จำเป็นต้องไปตีความหรือวิจารณ์อะไรมันให้ยุ่งยาก เพราะมันล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตแบบโรงงานที่สร้างมาเพื่อบริโภคแล้วก็รับทุกอย่างไปเท่านั้น

ขอย้ำอีกครั้งว่า นี่คือความผิดพลาดร้ายแรงที่สุดสำหรับอดอร์โน

ผมเชื่ออยู่ระดับหนึ่งว่า ศิลปะไม่ว่าจะแขนงไหน ป็อบหรือไม่ป็อบยังไงก็ตามแต่ มันมีส่วนในการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ อยู่ทั้งนั้น แต่ไม่ถึงขั้นล้างสมองหรือทำให้ผู้คนเกิดยึดถือในมาตรฐานเดียวกันไปหมดได้

การจะทำให้ผู้คนยึดถือมาตรฐานเดียวกันหมด (Standardization) มันเกิดจากการเรียนรู้ตั้งแต่กำเนิด ซึ่งสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ใกล้ชิดกับคน ๆ นั้นก็มีส่วนในตรงนี้

พิธีกรรมยืนเคารพธงชาติ การยืนในสถานการณ์อื่น ๆ ข่าวที่มาเวลาเดิมทุกวัน ภาพ เพลง และชุดสีเดียวซ้ำ ๆ ซาก ๆ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะถ่ายโอนลงในหัวใครได้ทันทีทันใดแบบการโหลดไฟล์ลงคอมพิวเตอร์ แต่มันเป็นเหมือนไวรัสที่ค่อย ๆ แอบครอบครองพื้นที่ความคิดของเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอย่างแนบเนียน

แต่กระนั้นก็น่าสงสัยว่าสิ่งที่ผมเพิ่งกล่าวถึงข้างต้น (และไม่ควรกล่าวถึงบ่อย ๆ หากยังรักตัวกลัวตีน) น่าจะเรียกว่าเป็น 'วัฒนธรรมป็อบ' ได้จริงหรือไม่

เพลงของแกรมมี่ อาร์เอส เราสามารถวิพากษ์วิจารณ์มันได้ในที่แจ้ง อาจจะต้องระแวดระวังแฟนคลับแบบสุดโต่งสักเล็กน้อย (แฟนคลับที่ดี ๆ น่าคบหามันก็มี) และถึงแม้ว่าเราจะถูกคุกคามทำร้ายเพียงเพราะวิพากษ์วิจารณ์เพลงป็อบที่คนส่วนใหญ่ชอบ กฏหมายก็พร้อมจะคุ้มครองเรา

แต่กับสิ่งที่ผมได้กล่าวถึงไป (และไม่ควรกล่าวถึงบ่อย ๆ หากยังไม่อยากถูกยัดข้อหา) นั้น วิพากษ์วิจารณ์ในที่แจ้งแทบไม่ได้ และหากเราถูกคุกคามทำร้ายเพราะวิพากษ์วิจารณ์ “…” ล่ะก็ กฏหมายในปัจจุบันก็คงไม่ปราณีเราแน่

น่าสงสัยว่า สิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้นั้น ควรจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมป็อบ (หรือวัฒนธรรมมวลชน) จริง ๆ หรือ เพราะดนตรีที่เป็นวัฒนธรรมมวลชนจริง ๆ นั้น ไม่ว่ามันจะถูกผลิตมาจาก นายทุนใหญ่ (อาเฮีย อากู๋ ฯลฯ) หรือ นายทุนน้อย (อินด้ง อินดี้) มันก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผู้คน 'เลือก' เข้าถึงมันได้ ไม่ว่าพวกเขาจะมีความเชื่อหรือทัศนคติแบบใด ไม่จำเป็นต้อง “ยัดเยียด” เปิดตามระบบขนส่งมวลชนที่ล้ำสมัยขัดกับเนื้อหาเพลง

พูดแบบทุนนิยมกระแสหลักเลยก็ได้ ว่าเพลงของ Pink Floyd สำหรับบางคน (รวมถึงผมเอง) อาจกลายเป็นเหมือนส่วนหนึ่งของชีวิต เพราะทั้งรูปแบบทางดนตรีที่ถูกจริตและเนื้อหาที่ “ตอบสนอง” ความรู้สึกพวกเขาได้ แต่นั่นเป็นเพราะเขาถูกยัดเยียดหรือเปล่า หรือว่าเขาได้ “เลือก” มันเองกันแน่

ขณะเดียวกัน Pink Floyd สำหรับบางคนอาจเป็นแค่ดนตรีที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ (น่าจะใช้คำว่า “ไม่อิน” จะถูกกว่า) แต่ก็เป็นเพียงเพราะมัน “ตอบสนอง” คนบางกลุ่มไม่ได้ คนกลุ่มนี้ไม่ได้ดีหรือเลว โง่หรือฉลาดกว่าใคร และหากเขาไม่ต้องการสิ่งที่ตอบสนองเขาไม่ได้ เขาก็แค่ “ไม่เลือก” มันเท่านั้นเอง

ความเชื่อหรือทัศนคติที่แตกต่างกันจะนำมาซึ่งการวิจารณ์ และการสามารถวิจารณ์ได้อย่างไม่ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ เป็นคุณสมบัติที่มีค่ายิ่งของวัฒนธรรมป็อบ การวิพากษ์วิจารณ์ การแสดงความเห็นโต้ตอบได้นี่แหละ ทำให้มันเป็นศิลปะ เป็นวัฒนธรรมของ “มวลชน” เป็นสิ่งที่ “สาธารณะ” อย่างแท้จริง

Pop culture conception and perception


เพลง “มอเตอร์ไซค์รับจ้าง” ของ โลโซ อาจทำให้ใครบางคนเปลี่ยนทัศนคติมามอง วิน-มอเตอร์ไซค์ในแง่ดีขึ้น ขณะที่บางคนอาจจะเคยมีประสบการณ์ร้าย ๆ จากคนทำอาชีพนี้มาก่อน เลยรู้สึกว่าเพลงนี้ไม่น่าเชื่อถือ แม้ทั้งคู่จะเห็นอะไรต่างกันในเพลง ๆ เดียว แต่หากพวกเขาแสดงความคิดเห็นกับมันร่วมกันได้ ย่อมเป็นเรื่องที่ดี

คนเราย่อมมีวิจารณญาณของตนเอง และการที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ มันยังทำให้เกิดการโต้ตอบกับเพลง ๆ นั้น แล้วเรายังสามารถเอาไปถกเถียงกับคนอื่น ๆ ที่ฟังเพลงเดียวกันได้ ทำให้ผู้ที่ฟังเพลงนี้ล้วนแต่เป็นผู้บริโภคที่แอคทีฟ ไม่ได้เป็นแค่ผู้บริโภคแบบสมยอมรับความคิดมาโดยไม่มีการคัดคานแบบที่อดอร์โนว่ามา ไอ่สิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้นี่สิ…น่ากลัว

การเมินเฉยโดยสิ้นเชิงต่อดนตรีป็อบซึ่งเป็นอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม รวมถึงเป็นวัฒนธรรมมวลชน จึงไม่ใช่ทางออกอย่างแน่นอน

หากในพื้นที่ของการเมืองมีเรื่องของระบบตรวจสอบจากแนวราบ มีเรื่องของประชาสังคมในการคัดค้านหรือผลักดันนโยบาย ในพื้นที่ของวัฒนธรรมก็มีการวิจารณ์ การแสดงความเห็น ไม่ว่าจะจาก So-Called professional อย่างนักวิจารณ์ , นักวิเคราะห์ , นักวิชาการ ฯลฯ หรือจากคนทั่วไป (แบบที่เรียกว่า Civil Report) ทั้งหลาย ซึ่งไม่ว่ามันจะผิดจะถูก จะฟังดูโง่หรือฟังดูฉลาดยังไง ก็เป็นเสียงที่มีคุณค่าในตัวมันเอง เพราะอย่างน้อยมันก็มาจากประชาชน

ปัญหาต่อมาคือ เราจะทำยังไงให้เสียงของผู้คนเป็นที่รับฟังโดยเท่าเทียม ไม่ว่ามันจะมีอคติ จะชี้นำ จะมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือจะไปขัดใจใคร เพราะมนุษย์ปุถุชนทุกคนล้วนแต่ยังมีอคติ มีการชี้นำในแบบของตนเอง มีการใส่ใจเรื่องผลประโยชน์ (บางคนอาจสำคัญถึงขั้นเป็นเรื่องของปากท้อง การอยู่รอด) แต่ทั้งหลายเหล่านี้คือความเป็นมนุษย์ที่อยู่ภายใต้ท้องฟ้าผืนเดียวกัน ไม่ได้มีใครอยู่เหนือฟากฟ้าของใคร

งานเขียนของอดอร์โนรวมถึงบทความของผมเอง ก็ล้วนอยู่ภายใต้สิ่งเหล่านี้ด้วย ทั้งผมและอดอร์โนต่างก็ชี้นำผู้อ่านอยู่ในแบบของตัวเอง แต่ผู้อ่านไม่ใช่หุ่นยนต์หรือคอมพิวเตอร์ ทั้งผมและอดอร์โนจึงไม่อาจป้อนข้อมูลชี้นำใครได้ 100% ทุกคนมีวิจารณญาณ มีทัศนคติดั้งเดิมที่ต่างกัน (จากการเรียนรู้ตั้งแต่กำเนิด) และมีเจตจำนงเสรีของตัวเอง

สิ่งที่ผมเพ้อฝันเอามาก ๆ คือจะทำอย่างไรให้คนยอมรับความต่างเหล่านี้ได้ โดยที่ไม่มีความต่างของใครลอยอยู่เหนือฟากฟ้า จนกลายเป็น “ความต่าง” ที่ดีกว่าของคนอื่น และที่น่ากลัวไปกว่านั้นคือ อะไรก็ตามที่มันลอยอยู่เหนือฟากฟ้ามันก็จะสร้าง “ความเหมือน” ขึ้นมาให้ต้องยอมรับแต่โดยดี เพราะว่ามันวิจารณ์ไม่ได้ โต้ตอบไม่ได้ … ในที่แจ้ง

ขอขอบคุณทุกท่านที่ (ทน) อ่านการโต้แย้งอดอร์โน (แบบฝ่ายเดียว เอาเปรียบคนที่ตายไปแล้วน่าดู :P ) มาจนถึงตอนจบ

จะ “เห็นชอบ” หรือ “เห็นแย้ง” อย่างไร ประเด็นไหน

เชิญวิจารณ์ และระบาย ได้ตามสะดวก
;)

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…