Skip to main content

 

 

bobdylan.jpg
 

 

จำได้ว่าเทปเพลงที่ผมได้ฟังเป็นม้วนสุดท้ายคือเทปรวมเพลงของ Bob Dylan ซึ่งผมไปอัดเอามาจากคนอื่นอีกที

 

ผมฟังมันจากเครื่องเล่นเทปพกพา (Walkman-ของปลอมเท่านั้น) แบบเปิดลำโพงได้ รถที่ผมใช้นั้นเครื่องเล่นเทปมันพังไปตั้งแต่ช่วงที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ช่วงหนึ่งผมจึกมักจะเอา Walkman ตัวนี้มาวางเปิดไว้ในรถแทน และเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์หรือรถไฟก็มักจะติดเจ้าเครื่องเล่นนี้เสียบหูฟัง ฟังเทปที่ว่านี้ไปขณะเดินทางทุกครั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น เทป Cassette คู่การเดินทางของผมไม่ว่าจะในระยะใกล้หรือระยะไกลเลยก็ว่าได้

คุณภาพเสียงจากเครื่องเล่นของผมในตอนนั้น เรียกได้ว่าเอาไปเทียบกับการฟังจาก CD หรือแม้แต่การฟังจากไฟล์เสียงไม่ได้เลยทีเดียว (ในกรณีที่เทียบกับไฟล์เสียงที่คุณภาพ สัก 128 KB/s ขึ้นไป) แต่ผมไม่ได้เป็นคนที่จริงจังกับคุณภาพเสียงขนาดพวก Audiophile เสียงร้องของ Bob Dylan เองก็สาก ๆ เป็นเอกลักษณ์อยู่แล้ว  ดนตรีเขาก็ไม่ซับซ้อนมากขนาดต้องหาความต่างจากคุณภาพเสียง

ที่สำคัญคือ ความรู้สึกตอนที่ได้ฟังเสียงคุณภาพต่ำ สลับกับเสียงเครื่องยนต์รอบข้างขณะขับรถกลับบ้านนั้น มันเป็นความรู้สึกดี ๆ ที่อธิบายออกมาเป็นคำพูดยากได้มาก จนกระทั่งว่าถ้าคุณภาพเสียงมันดีกว่านี้ คงไม่ได้อารมณ์ในแบบเดียวกัน

เรื่องของการอัดเพลงลง Cassette นี้ชวนให้ผมนึกถึงสิ่งที่เรียกว่า Mixtape

Mixtape คือการนำเอาบทเพลงจากศิลปินคนเดียวหรือต่างศิลปินก็ได้ มารวบรวมเป็นอัลบั้ม อัดลงเทปคาสเซทท์ โดยเรียงลำดับ Track ต่าง ๆ ตามใจตนเอง มีบางส่วนที่อาจจะมีลักษณะเอาดนตรีประเภทเดียวกันมาใส่ไว้ด้วยกัน บ้างก็เอาดนตรีเนื้อหาใกล้กันหรือสอดคล้องกันมารวมเป็นคอนเซปต์อัลบั้มในแบบของตัวเอง ใครที่มีความสามารถในด้านเครื่องมือเครื่องไม้ก็อาจจะดัดแปลงซาวน์เสริมเข้าไปในขั้นตอนต่าง ๆ ตามแต่เห็นเหมาะสม

กับเรื่องนี้คนที่จริงจังกับเรื่อง Mixtape บางคน จะถือว่าการเรียบเรียง Track ลงอัลบั้มเป็นเรื่องเชิงสุนทรียรสเลยทีเดียว ว่าแล้วก็นึกถึง ร็อบ ตัวเอกในนิยายและภาพยนตร์เรื่อง High Fidelity ที่มักจะชอบจัด 5 อันดับเพลงให้กับอะไรต่าง ๆ ในชีวิต

ถ้าพูดให้ใกล้ตัวเข้ามามากกว่านี้หน่อย สำหรับบางคนที่เกิดในยุคเทปอัดเฟื่องฟู คงต้องได้พบเจอ Mixtape ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการอัดเทปรวมเพลงรัก ส่งให้กันนั่นเอง (อันนี้จะกลายเป็นความทรงจำที่ดีหรือความทรงจำที่อยากจะลืมก็ไม่อาจทราบได้ :P)

นอกจากนี้ เทปอัดยังทำให้เกิดวัฒนธรรม Bootleg และ Tape Trading ตามมา เรื่องของ Tape Trading นั้นผมเกิดไม่ทัน และไม่มักคุ้นมันสักเท่าไหร่ แต่ได้ยินว่ามันมีคุณูปการต่อดนตรีใต้ดินมาก ๆ

(ไม่นับเทปพีค็อก ที่คงตรึงตราอยู่ในความทรงจำของหลาย ๆ คนอยู่แล้ว)

ขณะที่ Bootleg นั้นมันคือการบันทึกเสียงจากการแสดงสดอย่างไม่เป็นทางการ (ซึ่งต่างจาก Live album ซึ่งออกมาจากต้นสังกัดอย่างเป็นทางการ) รวมถึง "เพลงหายาก" (Rarity) ซึ่งหมายถึงพวก Demo งานที่ยังไม่สมบูรณ์ (แต่รั่วไหลออกมาก่อน) , งานที่ศิลปินไม่ได้วางแผนจะปล่อยออกมา

อะไรพวกนี้เป็นต้นซึ่งดูเหมือนว่าวัฒนธรรมการบันทึกเสียงนี้เสี่ยงต่อกฏหมายลิขสิทธิ์เอาการ แต่ในขณะเดียวกันบางศิลปินก็กลับอนุญาตให้ผู้เข้าชมอัดเสียงกันได้ตามสบาย เช่นวง The Grateful Dead , Nickel Creek , The Decemberists , John Mayer , Jack Johnson ฯลฯ

ขณะที่บางคนมองเป็นวิกฤต แต่ตันสังกัดหัวธุรกิจก็มองมันเป็นโอกาส แทนที่จะปล่อยให้ผู้ฟังทำแจกทำขายกันเอง ทางต้นสังกัดก็ทำการเลยออก Bootleg ของตัวเองอย่างเป็นทางการ (Official Bootleg) ให้กับศิลปินที่พอมีหน้ามีตามาขายเองเสียเลย

ตัวผมเติบโตผ่านยุคที่ CD เข้ามาแทนเทปคาสเสทท์ และในปัจจุบันนี้เอง Digital media กำลังปันพื้นที่กับ CD อย่างสนุกสนาน (ในความรู้สึกผมนะ คนอื่นอาจจะไม่สนุกเท่าไหร่ เพราะส่วนตัวผมเสพย์ดนตรีทั้งทาง CD และไฟล์เพลง นอกจากนี้ก็คิดว่า CD จะยังไม่ตายง่าย ๆ) วัฒนธรรมการ Mixtape อาจจะกลายเป็นการ WriteCD ซึ่งทำได้สะดวกรวดเร็วกว่าการอัดเทปแบบเป็นเพลง ๆ ไป โปรแกรมเล่นเพลงในคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะโปรแกรมไหนก็มีระบบจัด Playlist ได้อิสระง่ายดาย อารมณ์ไหนก็เลือกเอาได้

cassettes.jpg

แต่ถ้าหากลองได้สำรวจความรู้สึกอันละเอียดอ่อนมนุษย์ดูแล้วล่ะก็ ความรู้สึกของการได้ WriteCD ให้ใครบางคน (อย่าเพิ่ง ! อย่าเพิ่งเอาเรื่องลิขสิทธิมาขัดอารมณ์โรแมนติกสิ เดี๋ยวค่อยไปเถียงกันทีหลัง) หรือการได้ส่งไฟล์เพลงให้ใครบางคน มันก็ต่างกับ ความรู้สึกตอนที่เราได้อัดเทปอยู่ลึก ๆ

ยังไงก็น่าลองหยุดทำความเข้าใจตัวเองกันสักนิดก็ดีว่า ความรู้สึกเก่า ๆ ตอนที่เรากดไอ่ปุ่มที่มีจุดแดง ๆ บนเครื่องอัดเทป แล้วนั่งดูรีลมันหมุนไปนั้น เป็นความรู้สึกที่ดีกว่าตอนที่เรานั่งฟังเสียงวี้ ๆ จากการเบิร์นซีดี จริงน่ะหรือ หรือมันเป็นแค่อุปาทานของเราเอง

เป็นธรรมดาที่เวลาเราเกิดความรู้สึกแบบหวนรำลึกหาอดีต (Nostalgia) แล้ว ภาพความเลวร้ายของ "อดีต" จะดูเลือน ๆ ไป สิ่งที่เด่นชัดกว่าคือด้านดี ๆ ของมัน ทำให้ยึดติดไปเองว่าอดีตมันดีกว่าปัจจุบัน ดีกว่าอนาคตการฝันถึงอดีตชั่วยามมันดีที่ช่วยปลุกปลอบหัวใจให้คลายความหมองหม่นไปบ้าง แต่สิ่งที่น่ากลัวคือการยึดมั่นถือมั่นจนอยากที่จะให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลับไปเป็นเหมือนเดิม แล้วปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง

ยังไม่รู้ว่าโลกจะหมุนไปไกลถึงแค่ไหนอีก เวลาเราก้าวไปข้างหน้า มันจะต้องมีอะไรหล่นหายไปรายทางเสมอ ความรู้สึกเก่า ๆ พวกนั้นเราอาจไม่ได้กลับคืนมา แต่มันก็ดีไม่ใช่หรือเวลาที่เราได้แค่คิดถึงมัน

ผมเคยยึดติดอดีตและอะไรเก่า ๆ อยู่เหมือนกัน แต่เวลาที่ผันผ่านไปจะทำให้เราเรียนรู้ว่า สิ่งที่มันหล่นหายไป สิ่งเราคิดถึงมันอาจจะเป็นแค่ภาพมายาฉุดเราไว้ สำหรับสิ่งที่จะมีขึ้นในวันข้างหน้าขอเพียงแค่เรามีส่วนร่วมกำหนดมัน เราอาจจะได้พบเจอสิ่งที่ดีกว่าก็ได้

บางคนอาจจะเกิดทันยุคของแผ่นเสียง Vinyl ที่มันเคยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมดนตรีอย่างแยกไม่ออก ก่อนที่จะห่างหายไปตามยุคสมัย แล้วในตอนนี้มันก็กลับมาอีกครั้ง ต่างกันตรงที่กลับมาด้วยความเป็น Rarity และเป็นสินค้าสำหรับนักสะสมทุกวันนี้

Cassette เองก็ยังคงมีใช้กัน เพียงแต่ไม่แพร่หลาย และวัฒนธรรมที่มากับมันคงถูกโอนถ่ายไปสู่ CD ไปสู่ Digital media โดยเปลี่ยนคุณลักษณะให้เข้ากับความสะดวกรวดเร็วของตัวมันเองแล้ว สักวันหนึ่งแม้แต่ CD เองก็อาจจะกลายเป็นวัฒนธรรมกลุ่มย่อย (Subculture) ที่มีกลุ่มคนอีกหยิบมือหนึ่ง รักษาและสะสมมันไว้ด้วยใจรักเช่นเดียวกับ Vinyl และ เทปคาสเสทท์ ก็ได้

มันคงไม่ได้ตายไปร้อยเปอร์เซนต์ มันเพียงแค่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น และน่าสนุกหากได้คิดว่า วัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่มากับการเผยแพร่ดนตรีรูปแบบใหม่ในยุคต่อไปจะมีลักษณะเป็นเช่นไร

แม้ผมจะไม่มีเครื่องเล่นคาสเสทท์นั้นแล้ว แต่เสียงร้องแหบ ๆ ของ Bob Dylan จากเทปอัดม้วนนั้นยังคงตรึงอยู่ในใจผมเสมอ มีเพลงโปรดผมเพลงนึงที่ผมมักเปิดฟังเวลาเสียกำลังใจ เนื้อหาของมันที่เปล่งมาจากลำโพง Lo-fi เสียงแตก ๆ นั้น ยังคงย้ำเตือนอยู่เสมอว่า "The Time They are A-Changin' "

.
.
.

"เวลานั้นหรือคือการเปลี่ยนแปลง"

 

"The line it is drawn
The curse it is cast
The slow one now
Will later be fast
As the present now
Will later be past
The order is
Rapidly fadin'.
And the first one now
Will later be last
For the times they are a-changin'"

- The Time They are A-changin' 

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…