Skip to main content

Bruce Springsteen Magic

Magic เป็นชื่ออัลบั้มล่าสุดของ Bruce Springsteen (หรือที่เรียกกันว่า The Boss*) ในอัลบั้มนี้เขากลับมาร่วมงานกับวงแบ็คอัพที่ชื่อ E Street band อีกครั้ง ทำให้ทิศทางของอัลบั้มนี้เน้นไปที่แนวทางของร็อคอีกครั้ง หลังจากอัลบั้มที่แล้วคือ Devils and Dust ออกเป็นงานแนวโฟล์คมากกว่า

แต่ไม่ว่าจะเป็น Bruce Springsteen ในแบบของโฟล์คหรือ Bruce Springsteen ในแบบของร็อค ผมก็รู้สึกว่าดนตรีของ The Boss ผู้นี้ก็ช่างเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นอเมริกันอยู่เสมอมา

ซึ่งดนตรีในอัลบั้ม Magic นี้ไม่เพียงแค่กลิ่นของความเป็นอเมริกันที่ยังคงมีอยู่ถ้วนทั่วอย่างเดียวเท่านั้น แต่ละเพลงที่ถ่ายทอดออกมาจาก The Boss กับวง E Street Band นี้ ยังคงอวลไปด้วยซาวน์แบบเก่า ๆ ไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก

ทีแรกผมคิดว่าการคงทีไม่เดินไปไหนต่อแบบนี้มันน่าเอามาด่าในคอลัมน์นี้อยู่เหมือนกัน แต่ฉันทาคติในตัวผมเองมันได้ครอบครองพื้นที่ความคิดของผมไปสิ้นแล้ว (จะว่าไป...การยึดถือความคิดที่ว่าดนตรีต้องเปลี่ยนแปลง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ก็เป็นความ "ยึดติด" อย่างหนึ่งได้เหมือนกัน)

ฉันทาคติมันมาจากความปลาบปลื้มในดนตรี ...โดยจริง ๆ แล้ว อัลบั้ม Magic แม้ยังจะคงความเก่า แต่มนต์ขลังในดนตรีนั้นก็เจือจางลง จนอาจชวนตั้งคำถามว่า มันเป็นที่ตัวของ Springsteen เอง หรือตัวผมเองกันแน่ ที่เปลี่ยนไป

แม้มนต์ขลังจะเจือจางลง แต่อัลบั้มนี้ก็ทำให้ได้รู้ว่า The Boss คนนี้ก็ยังคงเป็น The Boss คนเดิม คนเดียวกับที่ทำร็อคทรงพลังอย่าง Born to run ที่เนื้อหาเกี่ยวกับการชวนกันออกหนีเที่ยวของคู่รักที่เป็นระดับล่างในสังคม The Boss คนเดียวกับที่ทำเพลงโหยเศร้า ด้วยเสียงฮาร์โมนิก้า อย่าง The River เพลงนี้ผมมีโอกาสได้ฟังจากเทปรวมฮิตตั้งแต่สมัยวัยกระเตาะ และหลงเสน่ห์มนต์ขลังของมันเข้า จนถึงขั้นพยายามแปลเนื้อเพลงทั้งหมดทั้งที่ภาษาอังกฤษยังเสน็ค ๆ ฟิชช์ ๆ (งู ๆ ปลา ๆ)

เรื่องราวในเนื้อเพลงของ The River พูดถึงหนุ่มสาวที่รักกันมาตั้งแต่สมัย high school แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในสมัยนั้น (ซึ่งตรงกับสมัยของ ปธน. โรนัลด์ เรแกน) และสถานะที่ยากจน ทำให้ทั้งคู่ไม่มีเงินสำหรับการแต่งงาน ที่ซึ่งเปรียบเสมือนสถานวิวาห์ของทั้งคู่ จึงกลายเป็น "แม่น้ำ" ที่พวกเขาเคยลงไปใช้เล่น และใช้เวลาร่วมกัน

"...No wedding day smiles, no walk down the aisle
No flowers, no wedding dress

That night we'd go down to the river
And into the river we'd drive
Oh down to the river we did ride"

- The River

แม้ Springsteen จะแอบกัดเรื่องเศรษฐกิจยุครัฐบาลเรแกนไว้ แต่เรแกนก็เคยชมว่า The Boss นี้ช่างเต็มไปด้วยความรักชาติ (Patriotic) เพราะเข้าใจผิดว่าเพลง Born in the U.S.A จากอัลบั้มชื่อเดียวกันนั้นเป็นเพลงเชิดชูความเป็นอเมริกัน แต่จริง ๆ แล้วเพลงนี้เขาได้แต่งให้กับเพื่อนทหารผ่านศึก ที่ไปรบในสงครามเวียดนาม แล้วต้องกลับมาพบเจอกับความยากลำบากหลังกลับมาจากสงคราม ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์แย่ ๆ ที่ติดตัวมา ภาวะการว่างงาน หรือ ความรู้สึกแปลกแยก

"Down in the shadow of the penitentiary
Out by the gas fires of the refinery
I'm ten years burning down the road
Nowhere to run ain't got nowhere to go"

- Born in the U.S.A

ผมไม่รู้ว่า Bruce Springsteen นั้น Patriotic ขนาดไหน แต่ผมเชื่อว่าชายผู้นี้คือคนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดอุดมคติแบบอเมริกัน (American Ideal) และอุดมคติแบบอเมริกันนี้ได้แฝงฝังอยู่ในเนื้อหาเขาอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเพลงสะท้อนชีวิตคนสามัญทั่วไป เพลงเชิงสังคมการเมือง หรือแม้กระทั่งเพลงรัก

Bruce in the USA

แต่เนื้อหาในอัลบั้ม Magic นี้ ฟังดูแล้วราวกับว่า Bruce กำลังพยายามสื่อถึงความผิดหวัง อเมริกาในทุกวันนี้ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอย่างอุดมคติวาดไว้


การเชิดชูและตอบแทนคนทำงานหนัก ถูกเอามาปั้นให้เป็นอเมริกันดรีมส์ล่อหลอกผู้คน
การยึดมั่นในเสรีภาพ ก็พบแต่เสรีภาพลวงตา ในระดับตื้น ๆ
ความรักชาติและความหวาดกลัวถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทำสงคราม แย่งชิงทรัพยากร

แต่ใช่ว่าอเมริกาสมัยก่อนจะเต็มไปด้วยความดีงาม ไม่ว่าจะในยุคสมัยใด อุดมคติแบบอเมริกันถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือตอบสนองความต้องการไม่รู้จบของคนบางกลุ่มเพียงเท่านั้น เหล่าผู้ที่เชื่อในอุดมคติดีงามเหล่านั้นจริง ๆ ถ้าไม่ได้ถูกหลอกใช้ ก็จะรู้สึกสับสนในสิ่งที่ตนเชื่อ เพราะ "นักมายากล" ทั้งหลายช่างบิดเบือนพลังทางนามธรรมให้กลายเป็นอาวุธของตนเองได้เก่งกาจ ราวเสกเหรียญให้หายไป เสกกระต่ายให้ออกมาจากหมวก

"I got a coin in your palm
I can make it disappear
I got a card up my sleeve
Name it and I'll pull it out your ear
I got a rabbit in the hat
If you wanna come and see
...
And the freedom that you sought
Driftin' like a ghost amongst the trees
This is what will be
This is what will be (This is what will be)"

- Magic

ในเนื้อเพลง Long Walk Home มีฉากที่พ่อพูดกับลูก ถึงความสวยงามของประเทศที่ธงโบกสะบัดเป็นดาวเท่าจำนวนรัฐ "พ่อ" ในเพลงนี้คงเป็นคนยุคก่อนที่ความเชื่อในอุดมคติแบบอเมริกันยังไม่เลือนหาย ขณะที่ "ลูก" ผู้เป็นเด็กหนุ่มสาวในยุคปัจจุบันคงยากที่จะกลับไปเชื่ออะไรแบบนั้นได้อีก เพราะโลกนอกประตูบ้านที่เขาพบเจอ มันช่างไม่อะไรที่ตรงกับอุดมคติเหล่านั้นอยู่เลย และเส้นทางที่จะย้อนกลับบ้าน ย้อนกลับไปสู่อุดมคติในจุดนั้น มันช่างแสนยาวไกล

"My father said ‘Son, we're lucky in this town,
It's a beautiful place to be born.
It just wraps its arms around you,
Nobody crowds you and nobody goes it alone'

‘Your flag flyin' over the courthouse
Means certain things are set in stone.
Who we are, what we'll do and what we won't' "

- Long Walk Home

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ผมมีต่ออัลบั้มนี้คือ ในช่วงครึ่งแรกของอัลบั้มเพลงของ Springsteen ยังคงมีความสดใสในแบบของตัวเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นบทเพลงถึงประธานาธิบดีบุชอย่าง You'll be comin' down  เพลงที่พูดถึงสถานการณ์สงครามอ้อม ๆ อย่าง Your Own Worst Enemy เพลงชื่อน่ารัก ๆ ที่มีเมโลดี้ไพเราะน่ารักไม่แพ้กันอย่าง I'll Work for Your Love เพลงที่พูดถึงความรู้สึกแปลกแยกกับยุคสมัยแบบหยิกแกมหยอกด้วยจังหวะสนุก ๆ อย่าง Girls in Their Summer Clothes  ขณะที่ Livin' in the Future เพลงกลื่น Soul ที่มีจังหวะสนุกไม่แพ้กัน แม้เนื้อหามันจะชวนหลบลี้จากโลกปัจจุบัน เฝ้าฝันถึงอนาคตที่เปี่ยมด้วยอุดมคติ แต่ก็ยังคงท่วงถ้อยแบบประชดประชัน ไม่เชื่อถือตัวเองอยู่ในที

"Woke up election day
Sky's gunpowder and shades of grey
Beneath the dirty sun
I whistle my time away
Then just about sun down
You come walkin' through town
Your boot heels clickin' like
The barrel of a pistol spinnin' round"

- Livin' in the Future

มาจนถึงช่วงหลังของอัลบั้มความสดใสก็หดหายไป ความซีเรียสจริงจังเข้ามาแทนที่ ไม่ว่าจะกับเพลง Last to die ที่เอามาจากคำพูดของ John Kerry วิจารณ์ทั้งสงครามเวียดนามและสงครามอิรัก เพลงช้าหม่น ๆ อย่าง Devil's Arcade ก็ยังไม่วายพูดเรื่องบรรยากาศของสงคราม จากมุมมองของทหาร เช่นเดียวกับ Devils and Dust จากอัลบั้มที่แล้ว

"The cool desert morning
And nothing to say
Just metal and plastic
Where your body caved"

- Devil's Arcade

แม้ The Boss จะเป็นเหมือนเช่นนักอุดมคติผู้เคว้งคว้างหลงทาง เพราะความคิดที่ตนยึดกุมอยู่นั้นได้ถูกสั่นคลอนครั้งแล้วครั้งเล่า จนพอรู้ตัวโลกที่มองเห็นก็กลายเป็นอื่น เสียงที่ดังเข้ามาในหู ก็ไม่ใช่เสียงอันคุ้นเคยที่อยากได้ยิน เราควรจะโทษยุคสมัย? โทษความแปลกแยกของตัวเอง? โทษอุดมคติที่แม้ว่าเราจะเต็มใจเดินตามมันเสมอมา?

การบิดเบือนของอุดมคติ เป็นเรื่องห้ามไม่ได้ในโลกที่สิ่งที่เห็นและสิ่งที่เป็น ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ส่วนตัวผมเชื่อว่านักอุดมคติ ที่จริงจังและจริงใจในความคิดของตัวเองก็ยังคงมีอยู่ และเขาคงไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าการที่ใครจะเข้าใจในสิ่งที่เขาเป็น พวกเขาเปรียบเสมือนคลื่นวิทยุในโลกที่ไม่มีใครรู้จัก คอยกระจายเสียงเรียกหาผู้ร่วมเส้นทางความคิด This is Radio Nowhere , is there anybody alive out there (ที่นี่คือสถานีไร้ถิ่นฐาน มีใครยังอยู่แถวนี้บ้าง) หรือหากไม่มีใครจริง ๆ อย่างน้อยก็ขอเสียงจังหวะปลุกเร้าพลังชีวิตให้กลับมาก็ยังดี!

"I want a thousand guitars
I want the pounding drums
I want a million different voices speaking in tongues
....
I just wanna hear some rhythm
I just wanna hear some rhythm
I just wanna hear some rhythm
I just wanna hear your rhythm"

- Radio Nowhere

เมื่อได้ฟังอัลบั้มนี้แล้ว ยังไงผมก็ยังคงยืนยันว่า Bruce Springsteen คือชาวอเมริกัน ผู้ที่มีความคิดอุดมคติแบบอเมริกัน ทำเพลงขายคนอเมริกันเดินถนนทั่วไป และด้วยแนวเพลงร็อคในแบบอเมริกันแต่กระนั้น ก็ไม่อยากให้ลืมว่า

เขาก็คืออเมริกัน ในแบบของตัวเขาเอง 

(*The Boss ฟังดูเป็นฉายาขาใหญ่ แต่จริง ๆ แล้วฉายานี้ได้มาตั้งแต่ยังตระเวนเล่นตามผับกับวง เพราะ Bruce Springsteen มีหน้าที่เป็นคนรับเงินแล้วนำมาเฉลี่ยให้คนในวง จึงได้มีคนเรียกว่า The Boss ... แล้วก็เรียกกันจนทุกวันนี้)

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…