Skip to main content

การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้ง

เรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด เรื่องการเมืองที่มาจากการผูกขาดของคนบนหิ้งก็ชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันนั้น การพยายามสกัดไม่ให้มีการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันโดยอ้างว่าจะเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองปกป้องตัวเองได้ มันก็ฟังดูเป็นการย่ำอยู่กับที่แล้วก็เป็นการปกป้องพวกพ้องที่อาจจะไม่ใช่นักการเมืองแต่อยู่บนหิ้งโดยอ้อม ๆ เช่นกัน

--------------------------

สิ่งที่อยู่บนหิ้งเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองหรือเรื่องศิลปวัฒนธรรมจะต้องถูกตั้งคำถามบ้างว่าพวกเขาเป็นตัวแทนของประชาชน หรือแม้แต่เป็นตัวแทนของ Minority ได้จริงหรือเปล่า

ชะแว๊บมาพูดถึงสิ่งที่น่าจะเป็น "ทางเลือกที่สาม" ในวงการของดนตรี สำหรับคนที่ไม่ค่อยปลาบปลื้มกับดนตรีกระแสหลัก และมีรสนิยมที่ต่างออกไป ผมพยายามหลีกเลี่ยงคำว่าอินดี้อย่างสุดชีวิตเพราะคำ ๆ นี้ ในปัจจุบันมันถูกนำไปแปลงความหมายโดยผู้มีบารมีนอกค่ายเพลงจนทำให้คนเข้าใจผิด ๆ ถูก ๆ และใครที่ไม่รู้จริงก็มักจะด่าเหมามันหมด

ช่วงนี้มีโอกาสได้ฟังอยู่สองวงคือ Disorder วงแนวเมทัลที่เน้นการใส่จังหวะแบบกรู๊ฟเสริมอิทธิพลจากฮาร์ดคอร์ บ้างอาจจะเรียกวงนี้ว่าเป็นแนวเมทัลเพื่อชีวิต !? ซึ่งน่าจะจงใจหมายถึงเนื้อเพลงที่ที่หันมาพูดถึงสังคมรอบตัวแทนการอยู่กับแฟนตาซี

อัลบั้มที่วงนี้เพิ่งออกมาคือ This's order ที่ผมฟังโดยรวมแล้วคงต้องพูดแบบบั่นทอนกำลังใจหน่อยว่า ในแง่ของดนตรีโดยรวมแล้วยังไม่สุดและไม่มีอะไรที่เด่นเป็นพิเศษออกมา เพลงช้าสองเพลงที่ดูหลุดโทนหน่อย ๆ เพราะดีครับ โดยเฉพาะสายลมที่จากไป ทั้งเนื้อหาและดนตรีมันชวนให้นึกถึงพวกเพื่อชีวิตจริง ๆ

เนื้อหารวม ๆ ของอัลบั้มนี้แล้วมันชวนให้นึกถึงเมทัลวิพากษ์สังคมอีกวงหนึ่ง ซึ่งถ้าจะให้พูดแล้วส่วนใหญ่ยังหนีไม่พ้นกรอบคิดเดิม ๆ ซึ่งไม่ค่อยต่างอะไรกับการแค่ได้ระบายอารมณ์ดิบ ๆ ออกมาเท่าไหร่ เว้นอยู่เพลงเดียวเท่านั้นที่ผมคิดว่าเข้าท่าคือเพลง หลอกตัวเอง ...ที่ถ้าหากอัลบั้มนี้เป็นคอนเซปท์อัลบั้มแล้วล่ะก็ มันเป็นเพลงปิดอัลบั้ม (ไม่นับ Instrumental Outro) ที่เหมาะสมทีเดียว

 

อีกวงหนึ่งที่หน้าปกเด่นตระหง่านออกมาคือวงที่ชื่อภูมิจิต ในอัลบั้ม Found and Lost ถ้าไม่รู้จักมาก่อนจะพยายามเดาไปหลายเลยว่ามันเป็นวงแนวอะไรกันแน่ ด้วยน่าปกและชื่อเพลงที่น่าสนใจทำให้ผมลองเอามาฟังดูก็พบว่ามันเป็นเพลงทีแม้จะยังคงพื้นฐานแบบป็อบร็อคเอาไว้ แต่ก็เจือด้วยนีโอ-ไซคีเดลิก บางเพลงออกเป็นชูเกส (Shoegaze) เลยทีเดียว

หลายเพลงในอัลบั้มนี้ฟังเพลินและเชื่อว่าตั้งใจทำได้ดีทีเดียว แต่บางเพลงก็ธรรมดาไปหน่อย ด้านเนื้อหานี้แหวกออกมาจากวงนอกกระแสวงอื่นอยู่เหมือนกัน เรียกว่ามีแนวทางของตัวเองดี เพลงอย่าง New World Order พูดถึงอะไรที่ไม่ค่อยได้ยินจากปากของศิลปินไทยเท่าไหร่นัก แต่การถ่ายทอดเพลงนี้ยังมีลักษณะที่ชวนให้รู้สึกว่ามันจริงจังก็จริงจังไม่สุด บางประโยคของเนื้อเพลงทำให้โทนจริงจังในเพลง "หลุด" ออกมาเล็กน้อย

ทางวงภูมิจิตเคยบอกไว้ว่าอัลบั้มนี้เหมือนเป็นคอนเซปท์อยู่กลาย ๆ เกี่ยวกับชีวิตเด็กชายคนหนึ่งที่อาจจะชื่อภูมิจิตก็ได้ โดยพูดถึงสิ่งที่เขาได้พบเจอผันผ่านมาในชีวิต มีทั้งเรื่องความประทับใจใน "เมฆสีรุ้ง" เรื่องวุ่นวายใน "มากมายก่ายกอง" ดนตรีของสองเพลงนี้ฟังได้แบบเรื่อย ๆ

ขณะที่เพลงที่ดูตรงไปตรงมามากที่สุดในอัลบั้มอย่าง "รอผล..." ที่พูดถึงการรอผลสอบเอนทรานส์ ผมว่าเพลงนี้มีวิธีการเล่าเรื่องแบบที่ชวนให้รู้สึกได้มากกว่าช่วงท้าย ๆ ที่เริ่มพูดถึงอะไรในเรื่องสัจธรรมที่ฟังดู Sophisicate เกินไปหน่อยเมื่อเทียบกับการพูดถึงอะไรที่จับต้องได้ในช่วงต้น ๆ ของอัลบั้ม (ในอีกแง่หนึ่งเพลงอย่าง "อัตวินิบาตกรรม" กับ "รักคือความทุกข์ สุขคือนิพพาน" อาจจะดูเข้ากับปกอัลบั้ม แต่ผมคิดว่าถ้าจะทำเป็นคอนเซปท์อัลบั้มเนื้อหาของเพลงไม่น่าจะทิ้งห่างแบบไม่มีจุดเชื่อมโยงขนาดนี้)

อย่างไรก็ตามผมก็ยอมรับวงนี้ในแง่ความสดใหม่ ขณะเดียวกันก็ของมองโลกในแง่ดีรอดูพัฒนาการทั้งด้านดนตรีด้านเนื้อหาของพวกเขาต่อไป 

 

บล็อกของ Music

Music
     จำได้ว่าเทปเพลงที่ผมได้ฟังเป็นม้วนสุดท้ายคือเทปรวมเพลงของ Bob Dylan ซึ่งผมไปอัดเอามาจากคนอื่นอีกที  ผมฟังมันจากเครื่องเล่นเทปพกพา (Walkman-ของปลอมเท่านั้น) แบบเปิดลำโพงได้ รถที่ผมใช้นั้นเครื่องเล่นเทปมันพังไปตั้งแต่ช่วงที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ช่วงหนึ่งผมจึกมักจะเอา Walkman ตัวนี้มาวางเปิดไว้ในรถแทน และเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์หรือรถไฟก็มักจะติดเจ้าเครื่องเล่นนี้เสียบหูฟัง ฟังเทปที่ว่านี้ไปขณะเดินทางทุกครั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น เทป Cassette คู่การเดินทางของผมไม่ว่าจะในระยะใกล้หรือระยะไกลเลยก็ว่าได้คุณภาพเสียงจากเครื่องเล่นของผมในตอนนั้น…
Music
 ที่ผ่านมาผมพูดถึงการที่ดนตรีไม่ได้ทำให้ใครกลายเป็นปัจเจกเทียมก็แล้ว พูดถึงโลกอันหลากหลายหลังปี 1970 ก็แล้ว พูดถึงการที่ตัวดนตรี Serious Music หรือ Popular Music ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ Liberate อะไรโดยตรง (เว้นแต่วัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย จะว่าไป หากนับวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย Popular Music น่ะ ช่วย “ปลดปล่อย” ผู้คนได้มากกว่าด้วยซ้ำ) ก็แล้วสำหรับในบทนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่อดอร์โนทำผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการปฏิเสธดนตรีป็อบโดยสิ้นเชิง ไม่ร่วมสังฆกรรมใด ๆ กับมันอีก เพราะเขาได้ตีกรอบมาแล้วว่าดนตรีป็อบมันย่อมเป็นอะไรที่ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน (Standardize) และความที่มันมีมาตรฐานเดียวกันนี่เอง…
Music
   In The Flesh?"Tell me is something eluding you sunshine?Is this not what you expected to see?If you'd like to find out what's behind these cold eyesYou'll just have to claw your way through this disguise"จากเพลง ‘In The Flesh?'ของ Pink Floydอดอร์โน...ผมศึกษาและเขียนแย้งแนวคิดของคุณในเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคมาพอสมควร แต่สิ่งที่ผมค้นพบได้จากตัวคุณมันมีแต่เรื่องเกี่ยวกับความคิดทฤษฎีทั้งนั้นบางขณะที่ผมเคาะแป้นคีย์บอร์ดถกเถียงกับทฤษฎีของคุณ ผมก็ไพล่นึกไปว่า ในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่นั้น อะไรที่ทำให้คุณบันเทิงใจกับดนตรีที่มีซาวด์แบบ Atonal จนคุณถึงกับเขียนชมมันเป็นวรรคเป็นเวรขนาดนี้ (…
Music
    Arnold Schoenberg(นักประพันธ์เพลงคนโปรดของ Adorno)ดูเหมือนความตายของ Adorno ในปี 1969 จะทำให้ผู้ที่ใช้แนวคิดของ Adorno มาวิพากษ์ Popular Music หยุดเติบโตไปด้วย พวกเขามักจะมองดนตรีที่มีอิทธิพลตั้งแต่ยุค 70's เป็นต้นมาอย่างเหมารวมและติ้นเขิน พวกเขาถึงขั้นจัด The Beatles, Nirvana และ Linkin Park ไว้ในประเภทเดียวกันผมไม่ปฏิเสธความเป็นป็อบและร็อคของทั้งสามวงที่ยกตัวอย่างมานี้ หากความเป็นร็อคคือความหนัก และการมีจังหวะที่ชัดเจน หากความป็อบคือความติดหู ฟังง่าย ผมก็เชื่อว่าทั้ง สี่เต่าทอง, กรันจ์เจอร์นิพพาน และ สวนสาธารณะของลินคอร์น ต่างก็มีความเป็นป็อบและความเป็นร็อคทั้งสิ้น (…
Music
Theodor W. Adornoผมได้อ่านบทความเรื่อง "ทบทวนแนวคิด ‘อุตสาหกรรมวัฒนธรรม' : เมื่อวัฒนธรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างวัฒนธรรม" ของ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ จากวิภาษาฉบับที่ 7 แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเรื่องของนักคิด/นักวิจารณ์ ที่ชื่อ Theodor Adorno นี้ จากบทความชื่อ "อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม (Popular Music)" ในหนังสือชื่อ "เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป็อบ" ซึ่งเป็นบทความที่พูดถึงเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะAdorno เป็นนักคิดสังคมนิยมชาวเยอรมัน ผู้นำเอาแนวคิดของทั้ง Max Waber, Marx และ แม้แต่ Sigmund Freud เข้ามาจับในงานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของเขา…
Music
ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแลเพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์…
Music
"ถึงรู้ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น แต่ก็ยากจะทำใจ"คำๆ นี้ใช้ได้ดีกับสถานการณ์ในช่วงวันที่ 19-21 ที่ผ่านมา กับการที่พวก Elite ทั้งหลายที่นั่งเออออห่อหมกกับร่างกฏหมายที่จะมีผลกับประชาชนทั้งประเทศ ดูตัวเลขก็รู้แล้วว่าพวกเขาเออออห่อหมกกันขนาดไหน ไม่โปร่งใสมากขนาดไหน และเผด็จการกันขนาดไหน!เป็นที่รู้กันว่า พวก Elite ทั้งหลายนี้มาจากการคัดเลือกแต่งตั้งกันเองของคนบางกลุ่ม ซึ่งทำให้ได้กลิ่นคณาธิปไตยตุๆ แล้ว กระบวนการพิจารณากฏหมาย ที่พากันออกถี่ระรัว จนราวกับว่าพวกเขาไม่ได้คลอด กม.ลูกทั้งหลายอย่างมีสติ แต่เหมือนคนเมาสำรอกอาเจียนเอาทุกสิ่งทุกอย่างในใส้ในพุงออกมา!ใช่แล้ว!…
Music
นึกย้อนไปถึงวันที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยวันแรกๆ ชุดยูนิฟอร์มถูกระเบียบกับตำราเรียนเล่มใหญ่ๆ หอพักในมหาวิทยาลัยที่ทำให้พานพบกับผู้คนมากหน้าหลายตา ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ต่างไปจากตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม คือความรู้สึกว่า ที่นี่ ฉันจะมีเสรีภาพมากขึ้น มีชีวิตที่หลากหลายกว่าเก่า และพื้นที่ทางความคิดที่จะปลดปล่อยฉันจากกรงขังอันแปลกแยกของโลกใบเดิมได้แต่แล้วก็ได้พบว่า สิ่งที่คาดหวังเอาไว้มันเป็นความจริงเพียงแค่บางส่วน นอกนั้นเป็นมายาภาพที่ฉันนึกฝันเอาเองใช่ๆ ฉันเคยถูกเสี้ยมสอนเช่นเดียวกับอีกหลายๆ คนว่าผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ สิ่งที่พวกเขามอบให้เราต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ…
Music
"ไม่ว่าจะสูงต่ำดำขาว ทุกคนล้วนมีชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน ไม่มีชีวิตของใครที่มีค่ามากกว่าของใคร ท่านทั้งหลาย...ประโยคสุดท้ายในเพลง Imagine ของ จอห์น เลนนอน ไม่ได้มีความหมายแบบนี้หรอกหรือ"
Music
Magic เป็นชื่ออัลบั้มล่าสุดของ Bruce Springsteen (หรือที่เรียกกันว่า The Boss*) ในอัลบั้มนี้เขากลับมาร่วมงานกับวงแบ็คอัพที่ชื่อ E Street band อีกครั้ง ทำให้ทิศทางของอัลบั้มนี้เน้นไปที่แนวทางของร็อคอีกครั้ง หลังจากอัลบั้มที่แล้วคือ Devils and Dust ออกเป็นงานแนวโฟล์คมากกว่าแต่ไม่ว่าจะเป็น Bruce Springsteen ในแบบของโฟล์คหรือ Bruce Springsteen ในแบบของร็อค ผมก็รู้สึกว่าดนตรีของ The Boss ผู้นี้ก็ช่างเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นอเมริกันอยู่เสมอมาซึ่งดนตรีในอัลบั้ม Magic นี้ไม่เพียงแค่กลิ่นของความเป็นอเมริกันที่ยังคงมีอยู่ถ้วนทั่วอย่างเดียวเท่านั้น แต่ละเพลงที่ถ่ายทอดออกมาจาก The Boss กับวง E…
Music
ในคืนวันที่ 10 ของเดือนที่แล้ว (ตุลาคม)...ผมนั่งหน้าจอคอมพ์ใจจดใจจ่ออยู่กับเว็บไซต์ http://www.inrainbows.com/ เพราะได้ข่าวว่าวง Radiohead จะประกาศขายเพลงแบบ Digital Download ผ่านทางเว็บไซต์นี้และที่ทำให้คนตื่นเต้นกันอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทางวง Radiohead ประกาศว่า จะสามารถสั่งซื้อในแบบที่ผู้ซื้อสามารถให้ราคาเองได้ตามใจชอบ ...ตามใจชอบในที่นี้หมายความว่า แม้แต่จะใส่เงินเป็น 0.00 (ซึ่งก็เหมือนขอโหลดมาฟรี ๆ นั่นแหละ) ก็สามารถทำได้ ! ซึ่งจะว่าไปเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ขนาดนั้น เพราะผมเคยเจอวงที่ชื่อว่า Craw เปิดเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อง่าย ๆ ว่า http://www.craw.com/…
Music
"ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี" วง Porcupine Tree อาจจะเป็นที่รู้จักน้อยมากสำหรับคนทั่วไป และอาจจะเป็นที่รู้จักบ้างพอสมควรสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนว Progressive Rock ซึ่ง Porcupine Tree ถือเป็นวงที่มีแนวทางของ Psychedelic/Space อันหลอนและล่องลอยแบบ Pink Floyd เป็นหลัก…