Skip to main content

 

"The disgraced values of the company man
Are why you fight and sacrifice
Don't bend or break for their one-way rules
Or run from battles you know you'll lose"

"คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอน
คือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอน
คุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้
หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"

- Tomorrow's Industry

Dropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston" นักวิจารณ์บางแห่งบอกว่าเพลงนี้ส่งกลิ่นอายของความกร้าวแกร่งแบบคนงานคอปกน้ำเงิน

dropkick-murphys.jpg

วงชื่อแปลกวงนี้รวมตัวกันครั้งแรกในช่วงกลาง 90's พวกเขาเริ่มเล่นดนตรีกันโดยอาศัยชั้นใต้ดินในร้านตัดผมของเพื่อนเป็นที่จัดแสดง พอพบว่ามีคนชอบก็เริ่มอัดอัลบั้มและออกทัวร์ โดยในยุดแรก ๆ Dropkick Murphys เล่นพังค์ในแนวย่อยที่เรียกว่า Oi!

ต้องอธิบายสักนิดว่าแนวที่ชื่อว่า Oi! (แปลกพอ ๆ กับชื่อวง)  นี้เป็นพังค์ที่เดิมทีมาจากชนชั้นแรงงานอังกฤษ พวกแนวนี้ไม่ค่อยเล่นเนื้อหาการเมืองเท่าไหร่ แต่จะเน้นพูดถึงชีวิตประจำวัน บางครั้งก็พูดถึงฟุตบอล เหล้ายาปลาปิ้ง มีบ้างที่บางครั้งก็ต่อยอดไปถึงสังคมได้อย่างเรื่องถูกปลดจากงาน ด่าตำรวจ จิกรัฐบาล (สองอย่างหลังนี้ก็มีในพังค์แนวอื่น ๆ เหมือนกันครับ)

จะว่าบางทีในความเป็นเนื้อหาแบบ Oi! มันก็เป็นภาพสะท้อนสังคมในอีกแบบ ที่อาจไม่สวยงามแบบเพื่อชีวิต มีท่าทีขี้เล่นแบบลูกทุ่งไทย ขณะเดียวกันก็แฝงอารมณ์ไม่พอใจสภาพความเป็นอยู่จากเบื้องลึกภายใน มาจากการเก็บกดไม่มีที่ระบาย จนไม่พ้นต้องมาระบายกับคนที่ต้องทนอยู่กับความเจ็บปวดเหมือนกัน เพลงอย่าง FightStarter Karaoke ก็ชวนให้นึกถึงภาพแบบนั้นอยู่

"Riot tonight
everybody let's go gonna start a fight
but with who I don't know

This world is not what it seems
These beer balls are ruining my dreams."

"ออกลุยในคืนนี้
ทุกคนพร้อมจะมีเรื่องต่อยตี
กับคนที่ไม่รู้กระทั่งว่าเป็นใคร

เพราะโลกมันไม่เป็นดังที่คาดไว้
เหล้ายาก็ไม่อาจบรรเทา
ความฝันที่ถูกทำลาย"

- FightStarter Karaoke

ด้วยความเป็นวัยเฮ้ว เนื้อหายุคแรก ๆ ของ Dropkick Murphys เลยแสดงออกอย่างวัยรุ่น ด้วยท่าทีดิบ ๆ แบบเพลงที่ว่ามา มีบ้างที่เป็นเรื่องเซ็งตำรวจ เบื่ออำนาจรัฐบาล เช่นเดียวกับวงแนวนี้โดยทั่วไป แต่พอพวกเขาเติบโตขึ้น พื้นเพชีวิตพวกเขาที่มาจากคนระดับล่าง ๆ ของสังคมก็เริ่มทำให้พวกเขามองอะไรลึกขึ้น หรืออย่างน้อยก็มองผ่านชีวิตจริงมากขึ้น

จนกระทั่งสหพันธ์แรงงานและสภาอุตสาหกรรมสหรัฐฯ (AFL-CIO) ได้ ชวนให้พวกเขาไปเล่นในวันแรงงานสากลปี ค.ศ. 2001 พวกเขาดีใจมาก ไม่คิดว่าวงที่เคยเล่นเหมือน "หนูในชั้นใต้ถุน" (เป็นคำที่พวกเขาตัวเรียกเองตอนนั้น-ผมไม่ได้ตั้งให้นะ) จะมีโอกาสได้เล่นโชว์ในงานที่เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย

Dropkick Murphys ไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับวันแรงงานเท่านั้น พวกเขายังมีส่วนร่วมกับสหภาพ International Brotherhood of Electrical Workers (IBEW) อีกด้วย เนื้อหาในอัลบั้มหลัง ๆ ของวงพังค์ไอริชก็เริ่มพูดถึงชีวิตแบบปากกัดตีนถีบของคนงาน อิสรภาพและทางเลือกที่จำกัดเพราะฐานะทางเศรษฐกิจ อย่างเนื้อเพลง Worker's Song หรือ "เพลงคนงาน" ยังคงพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับกรรมาชีพระดับล่างในหลายประเทศได้อย่างจริงแท้

"We're the first ones to starve the first ones to die
The first ones in line for that pie-in-the-sky*
And always the last when the cream is shared out
For the worker is working when the fat cat's** about"

"พวกเราจะเป็นพวกแรกที่อดอยาก พวกแรกที่จะตาย
เป็นพวกแรกที่ไปต่อแถวรับฟังคำสัญญาอันงมงาย
แต่จะเป็นพวกสุดท้าย ที่ได้ลิ้มรสครีมที่ได้แบ่งคนอื่นไป
เพราะคนงานต้องก้มหน้าทำงาน ขณะที่แมวอ้วนอยู่เฉยไม่ทำอะไร"

- Worker's Song

(*pie-in-the-sky เป็นสำนวนแปลว่า ขนมพายบนสรวงสวรรค์ สื่อถึงการให้คำสัญญาแบบที่ไม่สามารถทำได้ในความเป็นจริง)

(** Fat Cat หรือแมวอ้วน เป็นสำนวนใช้เรียก คนรวยที่แสวงหาหนทางสู่อำนาจ)

กลุ่มแฟนเพลงของพวกเขาก็หลากหลายขึ้น ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจทำให้ทั้งคนงานคอปกน้ำเงิน (ที่ทำงานใช้แรงงานในโรงงาน ยามรักษาความปลอดภัย ฯลฯ) และคนงานคอปกขาว (พนักงานออฟฟิศ เลขาฯ เสมียน ฯลฯ) ต้องประสบปัญหาอะไรใกล้เคียงกัน ไม่แปลกหากเพลงของ Dropkick จะสามารถเป็นเพื่อนใจ ร่วมเรียงเคียงบ่ากับคนทำงานทั้งสองรูปแบบได้

dropkick-murphys-03-st-patrick-day.jpg

Dropkick Murphys ในงาน St. Patrick Day 2002

(รูปถ่ายโดย Angela Giovine , ที่มา http://www.dropkickmurphys.com/)

ในอัลบั้มล่าสุดของ Dropkick คือ The Meanest of Times นั้น Ken Casey บอกว่า มีเนื้อหาที่สะท้อนเรื่องราวของกรรมชาชีพออกมาในมุมมองที่มองโลกในแง่ดี เท่าที่ได้ฟังมาบางเพลงของ Dropkick ก็มีเนื้อหาแฝงเรื่องของชาวไอริชอพยพไว้ด้วย

ดนตรีส่วนใหญ่ของ Dropkick Murphys ไม่พ้นเป็นพังค์ที่ Live and Loud แต่ก็ยังได้ผสานดนตรีพื้นบ้านของไอริช-เชื้อชาติเดิมของพวกเขาลงไปด้วย อย่างบางเพลงก็มีปี่แบ๊กไปป์ (บ้านเราเรียกปี่สก็อตฯ) ก็ลอยเด่นออกมาน่าจดจำ ตรงนี้ถือเป็นการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่มีความหมาย และในปี ค.ศ. 2002 แสดงในงาน St. Patrick's day ที่รัฐบอสตัน ซึ่งมันคงเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาภาคภูมิใจไม่น้อย เพราะงาน St. Patrick เป็นการเฉลิมฉลองที่สำคัญของชาวไอริชทั่วโลก ซึ่งเป็นทั้งงานรื่นเริงและงานแสดงทางวัฒนธรรม

ใช่ที่ว่าตัวดนตรีเองไม่อาจเปลี่ยนโลกแบบปุบปับหรือทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้นอย่างทันตาเห็นได้ แต่วงดนตรีชาวไอริชวงนี้ก็ได้ใช้เป็นเครื่องมือรวบรวมเงินทุนช่วยเหลือให้หน่วยงานที่เคลื่อนไหว หรือแม้แต่เป็นหมุดหมาย เป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ ของคนที่รวมตัวกัน

ศิลปะทุกอย่างมันทำเพื่อศิลปะในตัวมันเองอยู่แล้ว แต่หากศิลปะกับชีวิตคนมันยังแยกกันไม่ขาด มันก็ต้องเกี่ยวพันกับสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างน้อยสำหรับคนอเมริกัน Dropkick Murphys ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในทางเลือก สำหรับวันพรุ่งนี้ของยุคอุตสาหกรรม

บล็อกของ Music

Music
     จำได้ว่าเทปเพลงที่ผมได้ฟังเป็นม้วนสุดท้ายคือเทปรวมเพลงของ Bob Dylan ซึ่งผมไปอัดเอามาจากคนอื่นอีกที  ผมฟังมันจากเครื่องเล่นเทปพกพา (Walkman-ของปลอมเท่านั้น) แบบเปิดลำโพงได้ รถที่ผมใช้นั้นเครื่องเล่นเทปมันพังไปตั้งแต่ช่วงที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ช่วงหนึ่งผมจึกมักจะเอา Walkman ตัวนี้มาวางเปิดไว้ในรถแทน และเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์หรือรถไฟก็มักจะติดเจ้าเครื่องเล่นนี้เสียบหูฟัง ฟังเทปที่ว่านี้ไปขณะเดินทางทุกครั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น เทป Cassette คู่การเดินทางของผมไม่ว่าจะในระยะใกล้หรือระยะไกลเลยก็ว่าได้คุณภาพเสียงจากเครื่องเล่นของผมในตอนนั้น…
Music
 ที่ผ่านมาผมพูดถึงการที่ดนตรีไม่ได้ทำให้ใครกลายเป็นปัจเจกเทียมก็แล้ว พูดถึงโลกอันหลากหลายหลังปี 1970 ก็แล้ว พูดถึงการที่ตัวดนตรี Serious Music หรือ Popular Music ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ Liberate อะไรโดยตรง (เว้นแต่วัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย จะว่าไป หากนับวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย Popular Music น่ะ ช่วย “ปลดปล่อย” ผู้คนได้มากกว่าด้วยซ้ำ) ก็แล้วสำหรับในบทนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่อดอร์โนทำผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการปฏิเสธดนตรีป็อบโดยสิ้นเชิง ไม่ร่วมสังฆกรรมใด ๆ กับมันอีก เพราะเขาได้ตีกรอบมาแล้วว่าดนตรีป็อบมันย่อมเป็นอะไรที่ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน (Standardize) และความที่มันมีมาตรฐานเดียวกันนี่เอง…
Music
   In The Flesh?"Tell me is something eluding you sunshine?Is this not what you expected to see?If you'd like to find out what's behind these cold eyesYou'll just have to claw your way through this disguise"จากเพลง ‘In The Flesh?'ของ Pink Floydอดอร์โน...ผมศึกษาและเขียนแย้งแนวคิดของคุณในเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคมาพอสมควร แต่สิ่งที่ผมค้นพบได้จากตัวคุณมันมีแต่เรื่องเกี่ยวกับความคิดทฤษฎีทั้งนั้นบางขณะที่ผมเคาะแป้นคีย์บอร์ดถกเถียงกับทฤษฎีของคุณ ผมก็ไพล่นึกไปว่า ในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่นั้น อะไรที่ทำให้คุณบันเทิงใจกับดนตรีที่มีซาวด์แบบ Atonal จนคุณถึงกับเขียนชมมันเป็นวรรคเป็นเวรขนาดนี้ (…
Music
    Arnold Schoenberg(นักประพันธ์เพลงคนโปรดของ Adorno)ดูเหมือนความตายของ Adorno ในปี 1969 จะทำให้ผู้ที่ใช้แนวคิดของ Adorno มาวิพากษ์ Popular Music หยุดเติบโตไปด้วย พวกเขามักจะมองดนตรีที่มีอิทธิพลตั้งแต่ยุค 70's เป็นต้นมาอย่างเหมารวมและติ้นเขิน พวกเขาถึงขั้นจัด The Beatles, Nirvana และ Linkin Park ไว้ในประเภทเดียวกันผมไม่ปฏิเสธความเป็นป็อบและร็อคของทั้งสามวงที่ยกตัวอย่างมานี้ หากความเป็นร็อคคือความหนัก และการมีจังหวะที่ชัดเจน หากความป็อบคือความติดหู ฟังง่าย ผมก็เชื่อว่าทั้ง สี่เต่าทอง, กรันจ์เจอร์นิพพาน และ สวนสาธารณะของลินคอร์น ต่างก็มีความเป็นป็อบและความเป็นร็อคทั้งสิ้น (…
Music
Theodor W. Adornoผมได้อ่านบทความเรื่อง "ทบทวนแนวคิด ‘อุตสาหกรรมวัฒนธรรม' : เมื่อวัฒนธรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างวัฒนธรรม" ของ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ จากวิภาษาฉบับที่ 7 แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเรื่องของนักคิด/นักวิจารณ์ ที่ชื่อ Theodor Adorno นี้ จากบทความชื่อ "อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม (Popular Music)" ในหนังสือชื่อ "เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป็อบ" ซึ่งเป็นบทความที่พูดถึงเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะAdorno เป็นนักคิดสังคมนิยมชาวเยอรมัน ผู้นำเอาแนวคิดของทั้ง Max Waber, Marx และ แม้แต่ Sigmund Freud เข้ามาจับในงานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของเขา…
Music
ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแลเพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์…
Music
"ถึงรู้ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น แต่ก็ยากจะทำใจ"คำๆ นี้ใช้ได้ดีกับสถานการณ์ในช่วงวันที่ 19-21 ที่ผ่านมา กับการที่พวก Elite ทั้งหลายที่นั่งเออออห่อหมกกับร่างกฏหมายที่จะมีผลกับประชาชนทั้งประเทศ ดูตัวเลขก็รู้แล้วว่าพวกเขาเออออห่อหมกกันขนาดไหน ไม่โปร่งใสมากขนาดไหน และเผด็จการกันขนาดไหน!เป็นที่รู้กันว่า พวก Elite ทั้งหลายนี้มาจากการคัดเลือกแต่งตั้งกันเองของคนบางกลุ่ม ซึ่งทำให้ได้กลิ่นคณาธิปไตยตุๆ แล้ว กระบวนการพิจารณากฏหมาย ที่พากันออกถี่ระรัว จนราวกับว่าพวกเขาไม่ได้คลอด กม.ลูกทั้งหลายอย่างมีสติ แต่เหมือนคนเมาสำรอกอาเจียนเอาทุกสิ่งทุกอย่างในใส้ในพุงออกมา!ใช่แล้ว!…
Music
นึกย้อนไปถึงวันที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยวันแรกๆ ชุดยูนิฟอร์มถูกระเบียบกับตำราเรียนเล่มใหญ่ๆ หอพักในมหาวิทยาลัยที่ทำให้พานพบกับผู้คนมากหน้าหลายตา ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ต่างไปจากตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม คือความรู้สึกว่า ที่นี่ ฉันจะมีเสรีภาพมากขึ้น มีชีวิตที่หลากหลายกว่าเก่า และพื้นที่ทางความคิดที่จะปลดปล่อยฉันจากกรงขังอันแปลกแยกของโลกใบเดิมได้แต่แล้วก็ได้พบว่า สิ่งที่คาดหวังเอาไว้มันเป็นความจริงเพียงแค่บางส่วน นอกนั้นเป็นมายาภาพที่ฉันนึกฝันเอาเองใช่ๆ ฉันเคยถูกเสี้ยมสอนเช่นเดียวกับอีกหลายๆ คนว่าผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ สิ่งที่พวกเขามอบให้เราต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ…
Music
"ไม่ว่าจะสูงต่ำดำขาว ทุกคนล้วนมีชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน ไม่มีชีวิตของใครที่มีค่ามากกว่าของใคร ท่านทั้งหลาย...ประโยคสุดท้ายในเพลง Imagine ของ จอห์น เลนนอน ไม่ได้มีความหมายแบบนี้หรอกหรือ"
Music
Magic เป็นชื่ออัลบั้มล่าสุดของ Bruce Springsteen (หรือที่เรียกกันว่า The Boss*) ในอัลบั้มนี้เขากลับมาร่วมงานกับวงแบ็คอัพที่ชื่อ E Street band อีกครั้ง ทำให้ทิศทางของอัลบั้มนี้เน้นไปที่แนวทางของร็อคอีกครั้ง หลังจากอัลบั้มที่แล้วคือ Devils and Dust ออกเป็นงานแนวโฟล์คมากกว่าแต่ไม่ว่าจะเป็น Bruce Springsteen ในแบบของโฟล์คหรือ Bruce Springsteen ในแบบของร็อค ผมก็รู้สึกว่าดนตรีของ The Boss ผู้นี้ก็ช่างเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นอเมริกันอยู่เสมอมาซึ่งดนตรีในอัลบั้ม Magic นี้ไม่เพียงแค่กลิ่นของความเป็นอเมริกันที่ยังคงมีอยู่ถ้วนทั่วอย่างเดียวเท่านั้น แต่ละเพลงที่ถ่ายทอดออกมาจาก The Boss กับวง E…
Music
ในคืนวันที่ 10 ของเดือนที่แล้ว (ตุลาคม)...ผมนั่งหน้าจอคอมพ์ใจจดใจจ่ออยู่กับเว็บไซต์ http://www.inrainbows.com/ เพราะได้ข่าวว่าวง Radiohead จะประกาศขายเพลงแบบ Digital Download ผ่านทางเว็บไซต์นี้และที่ทำให้คนตื่นเต้นกันอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทางวง Radiohead ประกาศว่า จะสามารถสั่งซื้อในแบบที่ผู้ซื้อสามารถให้ราคาเองได้ตามใจชอบ ...ตามใจชอบในที่นี้หมายความว่า แม้แต่จะใส่เงินเป็น 0.00 (ซึ่งก็เหมือนขอโหลดมาฟรี ๆ นั่นแหละ) ก็สามารถทำได้ ! ซึ่งจะว่าไปเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ขนาดนั้น เพราะผมเคยเจอวงที่ชื่อว่า Craw เปิดเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อง่าย ๆ ว่า http://www.craw.com/…
Music
"ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี" วง Porcupine Tree อาจจะเป็นที่รู้จักน้อยมากสำหรับคนทั่วไป และอาจจะเป็นที่รู้จักบ้างพอสมควรสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนว Progressive Rock ซึ่ง Porcupine Tree ถือเป็นวงที่มีแนวทางของ Psychedelic/Space อันหลอนและล่องลอยแบบ Pink Floyd เป็นหลัก…