Skip to main content

หลังจากอุตสาหรรมเหมืองแร่หดตัวลงและค่อย ๆ สลายไปในช่วงปี พ.ศ.2518 จังหวัดภูเก็ต    ก็หันมาให้ความสนใจและเปิดตัวอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขึ้นในปี พ.ศ.2522 เพื่อเป็นตลาดท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประเทศไทยและขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นปรากฎการณ์จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวของโลก  กระนั้นก็ตามในห้วงเวลาไม่นานนักของการขยายตัว  ผู้คนทั้งนักท่องเที่ยวและนักลงทุน ทั้งในประเทศและทั้งข้ามพรมแดนรัฐชาติก็หลั่งไหลข้ามฝั่งมาเสริมความนิยมให้กับเมืองการท่องเที่ยวแห่งนี้อย่างไม่หยุดหย่อนให้ท้องถิ่นได้หยุดพัก จนส่งผลให้จังหวัดภูเก็ตเจริญเติบโตจากเมืองท้องถิ่นเป็นเมืองของโลกได้ในระยะเวลาไม่นานนัก

 

อย่างที่รับรู้ว่า โลกาภิวัตน์ข้ามพรมแดนนั้นได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนเมืองหลักทั่วโลกที่ต่างก็รองรับการย้ายถิ่นฐานข้ามชาติของผู้คนที่ข้ามชาติมาในหลายรูปแบบทั้งในรูปของนักท่องเที่ยวหรือแรงงานข้ามชาติที่เลื่อนไหลไปมา  ซึ่งกล่าวได้ว่าทุกวันนี้ "โลกาภิวัตน์" เริ่มเป็นคำที่คุ้นหูผู้คนมากขึ้นเรื่อย  ๆ ในทางสังคมศาสตร์ โลกาภิวัตน์ถูกนำมาใช้ในการสร้างกรอบทางความคิดที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง  ๆ ทั่วโลกโดยไม่มีข้อยกเว้น  ทั้งนี้เพราะโลกาภิวัตน์ได้ทลายพรมแดนของทุกอย่างลงแล้วเสียสิ้นไปพร้อม ๆ กัน ทั้งพรมแดนทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรมแดนทางวัฒนธรรมและการเปิดเสรีเพื่อการส่งออกวัฒนธรรมจำหน่ายในต่างแดนผ่านช่องทางสื่อต่าง  ๆ  ของโลกโลกาภิวัฒน์ข้ามพรมแดนรวมถึงส่งออกวัฒนธรรมผ่านผู้คนที่เดินทางย้ายถิ่นข้ามชาติด้วย  ฉะนั้นจึงไม่แปลกนักที่จังหวัดภูเก็ตนั้นหลากหลายไปด้วยผู้คนที่ผสมกลมกลืนทั้งเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีหมู่บ้านข้ามท้องถิ่นดังเห็นได้แพร่หลายในจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน

 

เรื่องของโลกาภิวัตน์ข้ามพรมแดนั้น  Appadurai ชี้ให้เห็นว่าในโลกของยุคโลกาภิวัตน์นั้นผู้คนไม่ได้ถูกจำกัดขอบเขตอยู่แต่ภายใต้เส้นแบ่งพรมแดนของรัฐชาติสมัยใหม่เท่านั้น หากแต่มีการอพยพโยกย้ายและเดินทางไปมาหาสู่กันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การไหลลื่นของวัฒนธรรมของผู้คนจึงถูก ปฏิบัติการผ่านกลไกหลักห้าอย่างด้วยกัน คือ  1.เครือข่ายความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnoscapes) ซึ่งจะเกิดการเคลื่อนไหวของผู้คน เช่น นักท่อง เที่ยว  คนอพยพ คนถูกเนรเทศ  คนย้ายถิ่นอาศัย และคนทำงาน  ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของมวลชนจำนวนมาก    2.ระบบการสื่อสาร (mediascapes) กล่าวคือ ภาพลักษณ์ของความจริงถูกสร้างขึ้นและถูกเผยแพร่ออกไปมากมายโดยหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และภาพยนตร์  พรมแดนสื่อทำให้เรื่องราวของผู้คนจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นที่ รับรู้ในวงกว้าง และทำให้คนท้องถิ่นมีโอกาสเผยแพร่เรื่องราวของตัวเองได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน    3.ระบบเทคโนโลยี (technoscapes) ของการผลิต 4.เครือข่ายเงินทุนหรือธุรกิจ (financescapes) ที่มีการหลั่งไหลของเงินตราจำนวนมากในตลาดการค้าการลงทุน  การเคลื่อนไหวของเงินตรากลายเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดขอบเขต เพราะนายทุนต้องการผลกำไรมากโดยต้องติดต่อกับต่างประเทศ มิใช่ลงทุนในประเทศอย่างเดียว  และ 5.เครือข่ายอุดมการณ์ (ideoscapes)

บทความชิ้นนี้ผู้เขียนจึงอยากจะชวนให้ผู้อ่านได้มองเห็นกลุ่มทุนกลุ่มหนึ่งที่ข้ามพรมแดนของรัฐชาติเข้ามาสร้างชุมชนใหม่ขึ้นมาในรูปแบบของหมู่บ้านเรือสำราญ หรือนิคมเรือยอร์ชที่สร้างมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน  แต่สิ่งที่สนใจให้คิดต่อนั้นไม่เพียงแต่ปรากฎการณ์ชุมชนข้ามพรมแดนของกลุ่มทุนที่ข้ามพรมแดนมาเท่านั้น หากแต่เพราะทุนข้ามพรมแดนเหล่านี้ล้วนข้ามมาเชื่อมต่อและสัมพันธ์ทุนท้องถิ่นพร้อมกับสงครามการแย่งชิงทรัพยากรท้องถิ่นกับชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย 

มากไปกว่านั้นสงครามการแย่งทรัพยากรครั้งนี้ยังต่างไปจากเดิมมาก ก็คือที่ผ่านมามันเป็นเรื่องระหว่างชุมชนกับทุนท้องถิ่น ใหญ่สุดก็คือทุนชาติ และตัวประเด็นปัญหามันซึ่งน่าเห็นได้เลยในพื้นที่เดียวกัน แต่ว่าปัญหาที่เจอกรณีเรือยอร์ชมันเป็นเรื่องของชุมชนกับกลุ่มเศรษฐีโลก หากแต่เป็นเสมือนกับสงครามการแย่งชิงทรัพยากรท้องถิ่นของคนจนของโลกกับกลุ่มคนรวยสุดของโลกมาสู้กันบนพื้นที่ทรัพยากรในหมู่บ้านเล็ก ๆ

 


 

 

 

อ่าวพังงา พื้นที่ขยายตัวของการท่องเที่ยวเรือรำราญ

 

 

กล่าวได้ว่าหลังภัยภิบัติคลื่นสึนามิโถมถล่มฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ตเมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 การท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ตั้งแต่เขตหาดกะตะ หาดกะรน หาดป่าตอง และยาวมาถึง   เขาหลักเริ่มซบเซา พื้นที่การท่องเที่ยวเสียหายจำนวนมากประกอบกับหลังการฟื้นฟูแล้ว อัตราการขยายพื้นที่ก็เต็มเอียดจนไม่สามารถขายออกไปได้มากนักเป็นเหตุให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยย้ายฐานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเข้ามาอยู่ในอ่าวพังงา ทั้งนี้ก็เพราะว่าโดยสภาพพื้นที่ของอ่าวพังงาที่ต่อเนื่อง 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต พังงา กระบี่ นั้นปลอดภัยจากการโถมซัดของคลื่นยักษ์สึนามิและเหมาะแก่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญ

 

ความจริงแล้วท่าเรือสำราญนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีการเริ่มมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวช่วงทศวรรษที่ 2520 ท่าเรือแห่งแรกอยู่ตรงข้ามบ้านแหลมหินซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับจังหวัดพังงา เวลาข้ามสะพานสารสินก็จะเห็นท่าเรือยอร์ชแห่งแรก ท่าเรือนี้มีการซื้อขายเปลี่ยนเจ้าของแล้วหลายชั้น  ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นของคุณประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ แล้วก็ขายหลายทอดจนไม่รู้เป็นของใครในปัจจุบัน และมันก็มีการขยายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังปี 2535 ก็ยังมีการขยาย แต่ว่ามันไม่ได้ขยายโดดๆ มันขยายโดยเชื่อมต่อกับตัวนโยบายระหว่างประเทศด้วย ขยายโดยเชื่อมโยงกับเรื่องข้อตกลงทางการค้าหรือ FTA ด้วย ในปี 2538 ตัวจักรสำคัญที่ขับเคลื่อนเรื่องเรือยอร์ชหรือว่าการท่องเที่ยวประเภทนี้ก็คือ WTO ซึ่งมีบทบาทมาก ทีนี้มันจะไม่เกิดผลกระทบมากนักถ้ามันไม่ทะลักเข้ามาในอ่าวพังงา

หลังจากนั้นก็ขยับขยายเพิ่มจำนวนขึ้นจนในปัจจุบันมีท่าเรือสำราญประเภทนี้แล้วจำนวน 3 แห่งใหญ่ ๆ แล้วในอ่าวพังงา ได้แก่ 

1. ภูเก็ต โบ๊ท ลากูน ซึ่งเป็นที่จอดเรือยอร์ช ที่จอดได้ 170 ลำ แบ่งออกได้เป็น  2 แบบ คือ แบบที่หนึ่ง เป็นที่จอดเรือแบบนอกประกอบด้วย ที่จอดเรือสาธารณะรวมกับที่พักจะเลือกแบบเป็นบ้านส่วนตัวหรือเป็นพักแบบกลุ่ม ส่วนแบบที่สอง เป็นที่จอดเรือภายใน เฉพาะผู้ที่ต้องการที่พักอาศัยแบบส่วนตัว พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน รวมถึงอู่เรือที่ทันสมัยด้วย 

2. รอยัล ภูเก็ต มารีน่า  ซึ่งเป็นท่าจอดเรือที่มีพร้อมไปด้วยการบริการสำหรับเรืออย่างครบครัน รองรับเรือได้ถึง 150 ลำ ตั้งแต่เรือใบลำเล็กๆ ไปถึงเรือยอร์ชขนาดใหญ่ และยังเป็นที่หลบภัยจากมรสุมได้เป็นอย่างดี

 

 

3. ยอร์ช เฮเว่น ซึ่งเป็นที่จอดเรือที่แรกบนเกาะภูเก็ต และมีการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบสำหรับเรือยอร์ชขนาดใหญ่ มีการจัดการแบบสากลและได้มาตรฐาน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำจืดสะอาด ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งการรักษาความปลอดภัย มีระบบที่คอยดูแลจัดการและคอยให้ความสะดวกสบายแก่ผู้มาใช้บริการ

 

 

ซึ่งดังที่กล่าวถึงเรื่องการกำลังขยับขยายฐานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเรือสำราญมายังอ่าวพังงาแล้วข้างต้นก็พอจะสังเขปได้ถึงภาพกว้างของการขยับขยายเพื่อรองรับการเติบโตของโลกาภิวัตน์ได้ในอนาคต  หากแต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงของทุนโลกาภิวัตน์ข้ามพรมแดนนั้นไม่ได้มาพร้อมภาพความหรูหราของเรือสำราญหรือโรงแรมระดับ 5 ดาวเพียงอย่างเดียว แต่ทุนประเภทนี้ยังมาพร้อมกับสงครามการแย่งชิงทรัพยากรกับชาวบ้านท้องถิ่นในฐานะที่เป็นทรัพยากรของโลกอีกด้วย

 

 

          เมื่อโครงการหมู่บ้านเรือสำราญ ปะทะ ท้องถิ่นแหลมหินอ่าวพังงาบนฐานทรัพยากร

            การเข้ามาสร้างหมู่บ้านข้ามท้องถิ่นของเหล่าบรรดามหาเศรษฐีที่ข้ามพรมแดนเพื่อมาแสวงหาความสุขและความสวยงามจากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวพังงาเพียงอย่างเดียวของทุกวันนี้คงไม่สร้างปัญหาความไม่สบายใจอะไรมากนักให้กับคนท้องถิ่น หากการข้ามพรมแดนมานั้นไม่ได้มาพร้อมผลกระทบกับแหล่งทรัพยากรประมงพื้นบ้านของท้องถิ่น  ทั้งนี้เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งที่ต้องพึ่งพิงอยู่กับทรัพยากรทางทะเลเป็นสำคัญ  


 

 

ฉะนั้นจึงเห็นได้ชัดว่ามีการให้ความหมายของทะเลของทั้งสองฝ่ายที่ต่างกัน  กล่าวคือเหล่านักท่องเที่ยวบรรดามหาเศรษฐีที่ข้ามพรมแดนมาแสวงความสุขนั้นให้ความหมายของทรัพยากรว่าความสวยงาม เป็นรสนิยมที่หรูหรากับเรือสำราญ แต่สำหรับชาวบ้านแหลมหินทรัพยากรนั้นหมายถึงที่ทำกิน หมายถึงวิถีวีชิต  และเหตุดังกล่าวนั้นจึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับทุนโลกาภิวัตน์ที่เปิดเสรีให้ผู้คนไหลผ่านช่องทางต่าง ๆ มาแย่งชิงทรัพยากรกันบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง

แม้ว่ากระแสและกรณีการไหลข้ามมาสร้างท่าเรือสำราญของทุนโลกาภิวัตน์ข้ามพรมแดน ณ บ้านแหลมหินในช่วงที่ผ่านมานั้น  ทุนได้เลือกสรรพื้นที่เอกชนเพื่อสร้างบ้านพักตากอากาศม่ได้มีการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ หากแต่ชาวบ้านก็รู้ว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเหล่านั้นเดินทางมาทางทะเลกับเรือสำราญ แน่นอนเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อเรือสำราญที่บางลำราคาแพงพอ ๆ กับนิคมอุตสาหกรรมนับ 10,000 ล้าน เรือก็ลำใหญ่เกินจนเข้าฝั่งไม่ได้จึงจำเป็นต้องสร้างสะพานยื่นออกมีในทะเลซึ่งเป็นทรัพยากรส่วนรวมเพื่อรองรับการจอดเรือสำราญที่ไม่สามารถเข้าฝั่งได้  ในขณะที่การสร้างสะพานนั้นก็จะกีดขวางการทำประมงชายฝั่งของชาวบ้าน จึงเกิดความขัดแย้งกันในเรื่องของสิทธิการเข้าถึงและสิทธิการใช้ประโยชน์ขึ้นมา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศอันจะส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตได้ 

ฉะนั้นชาวบ้านจึงรวมตัวกันเคลื่อนไหวคัดค้านการก่อสร้างสะพานท่าจอดเรือเพื่อปกป้องทรัพยากรส่วนรวมของชุมชนเรื่อยมา

 

 

 

 



 

 

 

 

 



 

บล็อกของ ปรเมศวร์ กาแก้ว

ปรเมศวร์ กาแก้ว
ผมเริ่มรับพฤติกรรมหล่อนไม่ได้เสียแล้ว ยิ่งนานวันเข้า รากฝอยของความเกียจคร้านก็ชอนไชแตกงามไปทั่วฝ่ามือและฝ่าเท้าบอบบางของหล่อน การงานทุกอย่างจึงต้องตกเป็นหน้าที่ของผมไปโดยปริยาย ทั้งที่ก่อนนั้นหล่อนเองต่างหากที่เป็นฝ่ายคิดเสนอโปรเจ็กยั่วใจเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อหวังพัฒนาหน้าที่การงานที่หล่อนรับผิดชอบอยู่ ผมเริ่มสงสัยถึงเรื่องการมีจิตสาธารณะ จิตอาสาหรือการมีหัวใจ ความเป็นมนุษย์ของตัวเองว่ามันบกพร่อง หรือสั่นคลอนไปแล้วหรือไร ถึงได้คิดประหวั่นพรั่นพรึงกับพฤติกรรมของหล่อนได้ถึงเพียงนี้ หรืออีกนัยหนึ่ง ความละเอียดอ่อนต่อมิติทางสังคมบางอย่างของผมอาจหล่นหายไประหว่างการร่วมงานกับหล่อนเสียบ้างแล้ว
ปรเมศวร์ กาแก้ว
แม้ผ่านวันเพ็ญเดือนสิบสองที่น้ำนองเต็มตลิ่งไปนานแล้ว แต่น้ำในคลองข้างบ้านผมยังนองปริ่มตลิ่งอยู่เช่นเดิม แถมลมมรสุมยังพัด "ฝนหยาม"(ฝนประจำฤดู) มาซัดหลังคาบ้านให้คนเหงาได้นอนฟังกล่อมใจไม่สร่างมาหลายวันแล้วแน่นอนว่าฤดูฝนหยามจะพา "น้ำพะ"(น้ำนอง) มาด้วย ทุ่งข้าวสีเขียวจมอยู่ใต้น้ำ และแน่นอนคนหาปลาทุกเพศทุกวัยจะออกมาดักปลากันอย่างสนุกสนานดั่งรอคอยมาแรมปีปีนี้ฝนโปรยปักษ์ใต้อยู่แรมเดือน ยางพาราราคาต่ำ นาข้าวเสียหาย กระนั้นเลย คนที่นี่ก็ยังพอมีความสุขพอประทังกันบ้าง "กัด"(ตาข่ายดังปลา) ถูกนำมาชะล้างและ "วาง"ลงในห้วยเดิม คัน "เบ็ดทง"(เบ็ดสำหรับปักทิ้งไว้กลางทุ่งและค่อยกลับไปตรวจตราเป็นช่วง ๆ บน "ผลา"(…
ปรเมศวร์ กาแก้ว
สวัสดีครับพี่... ผม..เมศเองครับ ผมยังรู้สึกเหมือนเสียงหัวเราะและแรงมือที่ตบลงบนบ่าผม ก่อนเสียง “ไอ้เมศ...กูรักมึง...กูรักมึง” ของพี่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน... ในเสียงนั้นยังคงไหวหวานมาตลอด แม้ผมจะไม่ได้ยินเสียงพี่มานานแล้วก็ตามที สิ่งเดียวที่ทำให้ผมเชื่อว่าพี่จะอยู่กับเราไปตลอด คือความรักที่เราแลกเปลี่ยนกันตอนพี่บียังอยู่กับเรา หนึ่งปีผ่านไปแล้ว ดูเหมือนผมจะรู้สึกว่าเราใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ทั้งที่ไม่ได้เจอกันเลยสักครั้งแม้ในยามค่ำคืนที่โลกของความฝันชวนดวงดาวพริบแสงมาเยือนก็ตาม
ปรเมศวร์ กาแก้ว
เมื่อเดือนแปดตามจันทรคติมาถึง “ลมหัวษา” (ลมต้นฤดูพรรษา) โหมแรงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ พัดจีวรและผ้าอาบน้ำฝนใหม่ของพระหนุ่มแรกพรรษาและพระเก่าหลายพรรษาพลิ้วลมอยู่ไหวๆ ลมช่วงนี้อาจพัดแรงไปจนถึงปลายเดือนเก้าที่ “ลมออก” พัด “ฝนนอก” (มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) ห่าใหญ่มาเติมทะเลสาบสงขลา (ที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดพัทลุง) อีกครั้งตอนผมยังเด็กกว่านี้ (เมื่อสองสามปีก่อน.....ฮา) ผ้าเหลืองบนกุฏิไหวลมไม่เคยสวยเท่าตอนนี้มาก่อน แม้ครอบครัวของผมจะคุ้นชินกับผ้าเหลือง (จีวร) เพราะ “พ่อเฒ่า” (ตา) ของผมบวชครองผ้าเหลืองมาตั้งแต่วัยหนุ่มใหญ่จนปลิดลมหายใจชราของชีวิตสิ้นไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน…
ปรเมศวร์ กาแก้ว
เ ชิ ญ ช ว น กั น สั ก ห น่ อ ยด้วยหัวใจผมรักธรรมชาติ และแน่นอนผมรักบทเพลงของชีวิตรวมถึงบทกวีที่ไหวเต้นเป็นจังหวะมาจากส่วนลึกของจิตใจผู้เป็นกวีจริง ๆ แล้วผมอยากบอกเล่าเรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่ง แถบบ้านผม"คนเขาปู่" (บ้านเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง) ที่ตัวผมเองก็จำชื่อกลุ่มของพวกเขาได้ไม่แน่ชัดนัก (น่าจะชื่อเครือข่ายคนต้นน้ำ/หรืออะไรสักอย่างที่คล้ายชื่อนี้) เรามีโอกาสพบปะพูดคุยกัน 2-3 ครั้งก่อนหน้านี้และบ่อยขึ้น จนพบหัวใจบางอย่างในดวงตาพวกเขา จึงคิดเรื่องกิจกรรมบางอย่างร่วมกันเพื่อผืนป่าเล็ก ๆ เด็กๆ…
ปรเมศวร์ กาแก้ว
ปรเมศวร์ กาแก้ว
ช่วงเดือนหกตามจันทรคติที่ผ่าน ดอกผักบุ้งกลางทุ่งทางปักษ์ใต้ได้บานรับฝนโปรยกันทั่ว เป็นสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูฝนปรัง  เติมความชุ่มชื่นให้ผืนดินหลังฤดูเก็บเกี่ยว รอการไถปลูกนอกฤดูกาล แม้ในบางพื้นที่ ทุ่งนาได้กลายเป็นกล้าข้าวพื้นเมืองสีเขียวจำพวก ‘ข้าวเล็บนก’ ‘ข้าวสังข์หยด’ ‘ข้าวเฉี้ยง’ ‘ข้าวไข่มดริ้น’ ฯลฯ ไปแล้ว ที่ลุ่มริมทะเลสาบเจิ่งนองด้วยน้ำที่เอ่อมาจากพรุ  วาระอย่างนี้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาทุกปีไม่เหนื่อยหน่าย
ปรเมศวร์ กาแก้ว
หลังมื้อค่ำ ดาวไถทอประกายวาวอยู่บนฟ้าทางทิศเหนือแทนดวงไฟในคืนแรม ปู่เคยเล่าว่ามันเป็นสัญลักษณ์ให้นัก เดินทางกลางราตรีได้จดจำเส้นทางเพื่อความอุ่นใจขณะที่เรากำลังนอนดูดาวอยู่ระเบียงนอกชานหลังบ้าน สายลมบางเบาพัดเอาควันไฟจากกองที่จุดไว้ไล่ยุงให้วัว สามตัวในคอกของปู่ผ่านร่องกระดานไม้เก่าคร่ำโชยผ่านจมูกของเรา  หลังมื้อค่ำเรามักมานอนนับดาวเล่นอย่างนี้เสมอๆ ปู่นั่งถัดขึ้นไปที่ประตูซึ่งยกระดับขึ้นเหนือระเบียงนอกชานไม้เล็กน้อย  เราทั้งสามลุกขึ้นมานั่งใกล้ๆ ปู่  ปู่ลูบหัว เราทั้งสามเบาๆ แล้วโอบตัวบ่าวมาแนบกาย นัยน์ตาปู่ใสและเปล่งประกายอย่างอ่อนโยน  “อยู่บ้านปู่สนุกมั๊ย” …
ปรเมศวร์ กาแก้ว
ขณะที่แดดเช้าเก็บผีตากผ้าอ้อมไม่ทันหมด เครื่องจักรลูกหมาสีแดงยังคำรามเสียงดังไปทั่วท้องนา มันคำรามมาตั้งแต่เมื่อค่ำวานจนตลอดทั้งคืน  ปู่ออกจากบ้านมาตั้งแต่เมื่อค่ำวานพร้อมกับเพื่อนบ้านคนอื่นๆ เพื่อมาเฝ้ามองมันอย่างตั้งอกตั้งใจ เราเดินเลาะชายป่าไปทางท้ายวัด  ท้องนาสีเหลืองถูกเก็บเกี่ยวเหลือแต่ซังข้าวรอการไถกลบเพื่อ ปลูกใหม่อีกครั้งในฤดูทำนา   ปู่นั้งอยู่ริมบึงถัดจากที่เรายืนไปสองบิ้งนารวมอยู่กับตาเขียว ตาไข่ และคนอื่นๆ คนชนบททางภาคใต้เรียกรถไถนาเดินตามกันว่า “รถจักรลูกหมา” ปู่เคยบอกว่าประโยชน์ของมัน มากมาย นอกจากไถนาได้แล้ว …
ปรเมศวร์ กาแก้ว
ผมผลักประตูออกจากบ้านตั้งแต่เช้า  จ้อยนัดพวกเราไว้ที่ศาลากลางหมู่บ้านเหมือนทุกวัน  วันนี้บอยจัดแจงเตรียมเม็ดหัวครกมาด้วย แปลกจริงขณะที่บอยบอกชื่อของมัน บ่าวหัวเราะกับชื่อ แปลกๆ แล้วบอกบอยว่าที่บ้านเราเขาเรียกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ วันนี้เราจะเล่นขว้างหัวงูระหว่างทางสู่ศาลากลางหมู่บ้านกระจัดกระจายไปด้วยผีตากผ้าอ้อมขาวไปทั้งทุ่ง  บ่าว นั่งลงจ้องมองอย่างพินิจและยิ้มก่อนที่แดดเช้าจะรีบเก็บผีตากผ้าอ้อมเสียหมดทีละน้อยตั้งแต่เมื่อวานที่เราพากันไปเก็บเม็ดหัวครกหลังบ้านจ้อย เราเลือกเอาผลสุกที่เม็ดจะเป็น สีน้ำตาลเข้มแล้ว …
ปรเมศวร์ กาแก้ว
บนศาลากลางหมู่บ้านวันนี้ไม่มีเสียงเอ็ดตะโรของเด็กๆ  ขณะที่ฟ้าใส ดวงอาทิตย์คล้อยบ่ายทิ้งไว้เพียงเศษเปลือกลูกยางที่แหลกแล้วและ ใบตองห่อขนมเกลื่อนพื้นอีกฟากหนึ่งเป็นถนนสายเล็กๆ เราเดินตามทางนั้นไปเลี้ยวอ้อมป่าละเมาะสู่อีกหมู่บ้านทางตะวันตกตามคำชวนของขาว สองข้างทางเป็นผืนนาไกลสุดตา  ปู่เคยบอกว่าแถวนี้มีที่นาของปู่รวมอยู่ด้วยแล้วช่วงเก็บเกี่ยวจะพาเรามาเที่ยวเล่นกันเด็กๆ ชักย่านเดินตามกันเต็มถนนตัดกลางทุ่งนาไปทางตะวันตกขณะที่แดดบ่ายโดนเมฆขาวบดบังเป็นร่มเงาและลมทุ่งผัดแผ่วๆ  ไล้เนื้อตัวเรา  อีกไม่ไกลข้างหน้าเป็นหมู่บ้านริมธารเล็กๆ ที่ขาวและเพื่อนๆ อาศัยอยู่…
ปรเมศวร์ กาแก้ว
เหมือนฟ้าดำเก็บดาววิบวาวดวงและเหมือนแดดโชติช่วงกลับหุบหายเมื่อผีเสื้อปีกงามพบความตายและเหมือนฝันเกลื่อนรายเส้นทางจรใต้ใจรู้สึกโลกหมุนกลับขาวพลิกดำขลับใจโหยอ่อนดูสิน้ำตาฉันหลั่งบทกลอนผ่าวแต่ไม่ร้อนอย่างเคยเป็นยินไหม “จเรวัฒน์  เจริญรูป”ใจดั่งจะจูบแม้ทุกข์เข็ญโลกทั้งโลกรู้ความเยียบเย็นใครเล่ารู้ความเป็นของกวีเถิดพรุ่งนี้พบกันบนฟ้ากว้างพบในความอ้างว้างโค้งรุ้งสีฉันจะจำเธอไว้-ใจกวีพบในงามความดี-ฤดีดาล“จเรวัฒน์” จากแล้วเหมือนยังอยู่เหมือนยังนั่งเคียงคู่ ครูเขียนอ่านเรารู้เธอจะเป็นเช่นตำนานผู้สร้างความต้านทานทระนงอาลัยยิ่งกับการจากไปของกวีหนุ่มผู้มุ่งมั่นในงานกวีนิพนธ์ป ร เ ม ศ ว ร์ …