Skip to main content

ภาพรวมของปัญหา

แม้ทรัพยากรธรรมชาติส่วนหนึ่งจะถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินส่วนรวม (common property) แต่ว่าก็อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานดังกล่าวสามารถอนุญาตให้หน่วยราชการอื่นนำทรัพยากรดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้

ในขณะเดียวกันทรัพยากรที่เป็นทรัพย์สินส่วนรวมซึ่งโดยหลักการแล้วชาวบ้านจะต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน แต่โดยปกติแล้วพื้นที่ดังกล่าวจะมีชาวบ้านเข้าไปลงหลักปักฐานทั้งสร้างชุมชนและสร้างที่ทำกิน และไม่เพียงการเข้ามาถือครองที่ดินเพื่อการทำกินเท่านั้น แต่ว่ามักมีการซื้อขายสิทธิการครอบครองอย่างซับซ้อนด้วย

สภาพการณ์ดังกล่าวนี้มักนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชาวบ้านในที่สุด โดยความขัดแย้งจะเริ่มจากมีหน่วยงานทางราชการต้องการที่ดินบริเวณดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ และทำหนังสือขอใช้ที่ดินจากหน่วยงานที่ดูแลที่ดินบริเวณนั้นอยู่ ซึ่งหน่วยงานที่ดูแลก็จะอนุญาต โดยการอนุญาตดังกล่าวรัฐจะใช้หลักคิดที่เรียกว่าการกำหนดอาณาเขตดินแดน (teritorialization) คือ รัฐคิดว่าเมื่อที่ดินเป็นทรัพย์สินอยู่ในการดูแลของรัฐตามกฎหมายกำหนด รัฐก็สามารถจะนำที่ดินไปทำอะไรก็ได้ โดยไม่สนใจพิจารณาเลยว่าที่ดินในพื้นที่ต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีชาวบ้านเข้าไปถือครองอยู่ก่อนแล้ว โดยหลักคิดเรื่องสิทธิอีกแบบหนึ่งที่สืบทอดมาแต่เดิมคือสิทธิการถือครองที่เกิดจากการเข้ามาทำประโยชน์

กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนจากกรณีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งต้องการขยายวิทยาเขตไปสู่พื้นที่ที่กว้างขวางกว่าที่เดิม และที่ดินสาธารณะแห่งหนึ่งจำนวน 3,500 ไร่ในเขตจังหวัดพัทลุงเป็นพื้นที่เป้าหมาย มหาวิทยาลัยดังกล่าวจึงทำเรื่องขอใช้ที่ดินต่อผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ ซึ่งผู้ว่าราชการก็อนุมัติให้ใช้ที่ดินได้โดยไม่ได้พิจารณาว่า ในความเป็นจริงนั้นที่ดินบริเวณดังกล่าวมีชาวบ้านเข้าไปถือครองหมดแล้ว

และสถานการณ์ยิ่งซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อแต่เดิมที่ทางราชการประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่สาธารณะสำหรับเลี้ยงสัตว์และต่อมาชาวบ้านเข้าไปถือครองนั้น บริเวณนี้ยังเป็นที่ห่างไกลความเจริญ ต่อมามีถนนสายสำคัญของภาคใต้ตัดผ่านคือถนนเพชรเกษม 41(ถนนสายเอเชีย) บริเวณดังกล่าวจึงกลายเป็นทำเลทอง ที่ดินจึงมีการซื้อขายกันในราคาแพง รวมทั้งมีผู้เข้าไปซื้อสิทธิครอบครองในที่ดินสาธารณะดังกล่าวด้วย

เมื่อทางราชการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวสร้างมหาวิทยาลัยและดำเนินการขอที่ดินคืนจากชาวบ้านจึงนำไปสู่ความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง แม้ทางราชการจะยอมจ่ายค่าผลอาสินและทรัพย์สิน แต่ก็มีชาวบ้านบางส่วนเท่านั้นที่ยอมรับ และบางส่วนถึงรับไปแล้วก็ยังคงอยู่ในพื้นที่ต่อไป แม้ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยจะสร้างอาคารต่างๆและเปิดทำการสอนแล้ว แต่ว่าที่ดินส่วนอื่นมหาวิทยาลัยก็ยังไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ และทั้ง 2 ฝ่ายต่างพยายามเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตัวเอง โดยฝ่ายมหาวิทยาลัยพยายามที่จะนำที่ดินที่ได้รับอนุญาตมาใช้ประโยชน์ทั้งหมด ในขณะที่ชาวบ้านก็พยายามรักษาที่มั่นไม่ยอมให้มหาวิทยาลัยไปแย่งยึดที่ดินเพิ่มขึ้นอีก ปัจจุบันความขัดแย้งดังกล่าวยังเข้มข้นและไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ 

ความขัดแย้งในกรณีที่ว่านี้อาจเกิดขึ้นในพื้นที่อื่น ๆ ได้ต่อไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่รัฐยังใช้ความคิดแบบการกำหนดอาณาเขตดินแดน ในขณะที่ชาวบ้านมีความจำเป็นที่จะต้องมีที่ทำกินและมีรายได้เพื่อตอบสนองการพัฒนาสมัยใหม่ที่รัฐเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดขึ้น ดังนั้นจึงสมควรมีการศึกษากรณีความขัดแย้งระหว่างมหาวิทยาลัยกับชาวบ้านดังที่กล่าว เพื่อให้สังคมได้เข้าใจความซับซ้อนของปัญหาที่เกิดขึ้นและตระหนักได้ว่าควรหาทางออกอย่างไร 


ความสำคัญของปัญหา

ในประเทศไทยมักมีความขัดแย้งในเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างรัฐกับชาวบ้าน ซึ่งมีให้เห็นอยู่หลายกรณี เช่น  กรณีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาประเทศ ความขัดแย้งจากการประกาศเขตป่าอนุรักษ์และเขตป่าสงวน  รวมทั้งการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับที่ทำกินของชาวบ้านในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นต้น  บางกรณีเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงถึงขั้นมีการปะทะกันด้วยกำลัง เช่น ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชาวบ้านกรณีเขื่อนปากมูล  ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชาวบ้านกรณีการวางท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย  และกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยเช่นกันคือการที่รัฐนำที่ดินที่รัฐดูแลไปสร้างสถานที่ราชการ  โดยที่ที่ดินดังกล่าวมีชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน

การที่รัฐกระทำเช่นนี้เป็นเพราะรัฐได้ใช้หลักคิดในการกำหนดอาณาเขตดินแดน (teritorialization) คือ รัฐคิดว่า เมื่อที่ดินเป็นทรัพย์สินอยู่ในการครอบครองหรือดูแลโดยรัฐ  รัฐก็สามารถจะนำที่ดินไปทำอะไรก็ได้  ในขณะที่ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนและทำกินอยู่นั้นป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเพราะบุกรุกที่ดินของรัฐ  ส่วนฝ่ายชาวบ้านก็ถือว่าตนเองนั้นได้ตั้งถิ่นฐานและทำกินในบริเวณนั้นมาแต่ดั้งเดิม หรือสืบทอดมาตามระบบสิทธิของชุมชน  ฉะนั้นพวกตนจึงมีสิทธิที่จะทำกินในที่ดินดังกล่าว  การคิดบนฐานคิดคนละแบบดังกล่าวนี้จึงนำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา  รัฐจึงไม่สนใจว่าที่ดินแห่งนั้นจะมีชาวบ้านตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน หรือทำกินอยู่ในพื้นที่นั้นก่อนหรือไม่  ในขณะที่ชาวบ้านก็ใช้หลักสิทธิในการใช้ประโยชน์ (usufruct rights) จึงไม่ยอมรับอำนาจของรัฐที่เข้าไปขับไล่และลุกขึ้นมาต่อต้านจนนำไปสู่ความขัดแย้งและยุ่งยากในการหาทางออก

กรณีมหาวิทยาลัยทักษิณต้องการขยายงานเพื่อดำเนินการขยายพื้นที่การศึกษาไปอีกจังหวัดพัทลุง จึงได้ดำเนินการขออนุมัติใช้ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันและขอจัดขึ้นทะเบียนในที่ดินของรัฐจากกระทรวงมหาดไทยผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเมื่อทางจังหวัดได้สำรวจเบื้องต้นแล้วเห็นว่าเป็นสถานที่อันเหมาะสมจึงอนุญาตให้มหาวิทยาลัยใช้เนื้อที่ เพื่อดำเนินการก่อตั้งคณะวิชาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาการอุดมศึกษาที่อาศัยฐานในพื้นที่จังหวัด ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวถึงแม้ว่าตามเอกสารหลักฐานจะเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ที่รัฐเป็นผู้ดูแลและทางจังหวัดสามารถอนุญาตให้ใช้ที่ดินได้  ในขณะที่พื้นที่ดังกล่าวก็เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านได้ถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อน และการถือครองของชาวบ้านก็ไม่ได้เรียบง่าย คือ ไม่ได้สืบทอดมาด้วยสิทธิของการทำกินหรือสืบทอดมาจากบรรพบุรุษตามสิทธิของชุมชนเพียงอย่างเดียว แต่ได้มีการซื้อขายสิทธิในการถือครองของชาวบ้านหลาย ๆ กลุ่มกันอย่างซับซ้อนเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนความหมายจากพื้นที่ทำกินที่กันดารให้เป็นพื้นที่ทำเลทองสามารถเดินทางได้สะดวกหลังจากมีถนนเพชรเกษม 41(เอเซีย) ตัดผ่าน

ฉะนั้นเมื่อรัฐเรียกเก็บคืนที่ดินจากชาวบ้าน สิทธิต่าง ๆ ในที่ดินก็เกิดการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงสิทธิในที่ดินดังกล่าวนั้นได้นำมาสู่ความขัดแย้งอย่างซับซ้อนหลากหลายรูปแบบโดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชาวบ้านหลายกลุ่ม แม้รัฐจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ที่มหาวิทยาลัยขอใช้โดยจ่ายชดเชยค่าผลอาสินและทรัพย์สินไปแล้วบางส่วนก็ตาม

ภาพประกอบจาก : ฮาริ บัณฑิตา


 

 

 

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ ปรเมศวร์ กาแก้ว

ปรเมศวร์ กาแก้ว
ผมเริ่มรับพฤติกรรมหล่อนไม่ได้เสียแล้ว ยิ่งนานวันเข้า รากฝอยของความเกียจคร้านก็ชอนไชแตกงามไปทั่วฝ่ามือและฝ่าเท้าบอบบางของหล่อน การงานทุกอย่างจึงต้องตกเป็นหน้าที่ของผมไปโดยปริยาย ทั้งที่ก่อนนั้นหล่อนเองต่างหากที่เป็นฝ่ายคิดเสนอโปรเจ็กยั่วใจเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อหวังพัฒนาหน้าที่การงานที่หล่อนรับผิดชอบอยู่ ผมเริ่มสงสัยถึงเรื่องการมีจิตสาธารณะ จิตอาสาหรือการมีหัวใจ ความเป็นมนุษย์ของตัวเองว่ามันบกพร่อง หรือสั่นคลอนไปแล้วหรือไร ถึงได้คิดประหวั่นพรั่นพรึงกับพฤติกรรมของหล่อนได้ถึงเพียงนี้ หรืออีกนัยหนึ่ง ความละเอียดอ่อนต่อมิติทางสังคมบางอย่างของผมอาจหล่นหายไประหว่างการร่วมงานกับหล่อนเสียบ้างแล้ว
ปรเมศวร์ กาแก้ว
แม้ผ่านวันเพ็ญเดือนสิบสองที่น้ำนองเต็มตลิ่งไปนานแล้ว แต่น้ำในคลองข้างบ้านผมยังนองปริ่มตลิ่งอยู่เช่นเดิม แถมลมมรสุมยังพัด "ฝนหยาม"(ฝนประจำฤดู) มาซัดหลังคาบ้านให้คนเหงาได้นอนฟังกล่อมใจไม่สร่างมาหลายวันแล้วแน่นอนว่าฤดูฝนหยามจะพา "น้ำพะ"(น้ำนอง) มาด้วย ทุ่งข้าวสีเขียวจมอยู่ใต้น้ำ และแน่นอนคนหาปลาทุกเพศทุกวัยจะออกมาดักปลากันอย่างสนุกสนานดั่งรอคอยมาแรมปีปีนี้ฝนโปรยปักษ์ใต้อยู่แรมเดือน ยางพาราราคาต่ำ นาข้าวเสียหาย กระนั้นเลย คนที่นี่ก็ยังพอมีความสุขพอประทังกันบ้าง "กัด"(ตาข่ายดังปลา) ถูกนำมาชะล้างและ "วาง"ลงในห้วยเดิม คัน "เบ็ดทง"(เบ็ดสำหรับปักทิ้งไว้กลางทุ่งและค่อยกลับไปตรวจตราเป็นช่วง ๆ บน "ผลา"(…
ปรเมศวร์ กาแก้ว
สวัสดีครับพี่... ผม..เมศเองครับ ผมยังรู้สึกเหมือนเสียงหัวเราะและแรงมือที่ตบลงบนบ่าผม ก่อนเสียง “ไอ้เมศ...กูรักมึง...กูรักมึง” ของพี่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน... ในเสียงนั้นยังคงไหวหวานมาตลอด แม้ผมจะไม่ได้ยินเสียงพี่มานานแล้วก็ตามที สิ่งเดียวที่ทำให้ผมเชื่อว่าพี่จะอยู่กับเราไปตลอด คือความรักที่เราแลกเปลี่ยนกันตอนพี่บียังอยู่กับเรา หนึ่งปีผ่านไปแล้ว ดูเหมือนผมจะรู้สึกว่าเราใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ทั้งที่ไม่ได้เจอกันเลยสักครั้งแม้ในยามค่ำคืนที่โลกของความฝันชวนดวงดาวพริบแสงมาเยือนก็ตาม
ปรเมศวร์ กาแก้ว
เมื่อเดือนแปดตามจันทรคติมาถึง “ลมหัวษา” (ลมต้นฤดูพรรษา) โหมแรงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ พัดจีวรและผ้าอาบน้ำฝนใหม่ของพระหนุ่มแรกพรรษาและพระเก่าหลายพรรษาพลิ้วลมอยู่ไหวๆ ลมช่วงนี้อาจพัดแรงไปจนถึงปลายเดือนเก้าที่ “ลมออก” พัด “ฝนนอก” (มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) ห่าใหญ่มาเติมทะเลสาบสงขลา (ที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดพัทลุง) อีกครั้งตอนผมยังเด็กกว่านี้ (เมื่อสองสามปีก่อน.....ฮา) ผ้าเหลืองบนกุฏิไหวลมไม่เคยสวยเท่าตอนนี้มาก่อน แม้ครอบครัวของผมจะคุ้นชินกับผ้าเหลือง (จีวร) เพราะ “พ่อเฒ่า” (ตา) ของผมบวชครองผ้าเหลืองมาตั้งแต่วัยหนุ่มใหญ่จนปลิดลมหายใจชราของชีวิตสิ้นไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน…
ปรเมศวร์ กาแก้ว
เ ชิ ญ ช ว น กั น สั ก ห น่ อ ยด้วยหัวใจผมรักธรรมชาติ และแน่นอนผมรักบทเพลงของชีวิตรวมถึงบทกวีที่ไหวเต้นเป็นจังหวะมาจากส่วนลึกของจิตใจผู้เป็นกวีจริง ๆ แล้วผมอยากบอกเล่าเรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่ง แถบบ้านผม"คนเขาปู่" (บ้านเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง) ที่ตัวผมเองก็จำชื่อกลุ่มของพวกเขาได้ไม่แน่ชัดนัก (น่าจะชื่อเครือข่ายคนต้นน้ำ/หรืออะไรสักอย่างที่คล้ายชื่อนี้) เรามีโอกาสพบปะพูดคุยกัน 2-3 ครั้งก่อนหน้านี้และบ่อยขึ้น จนพบหัวใจบางอย่างในดวงตาพวกเขา จึงคิดเรื่องกิจกรรมบางอย่างร่วมกันเพื่อผืนป่าเล็ก ๆ เด็กๆ…
ปรเมศวร์ กาแก้ว
ปรเมศวร์ กาแก้ว
ช่วงเดือนหกตามจันทรคติที่ผ่าน ดอกผักบุ้งกลางทุ่งทางปักษ์ใต้ได้บานรับฝนโปรยกันทั่ว เป็นสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูฝนปรัง  เติมความชุ่มชื่นให้ผืนดินหลังฤดูเก็บเกี่ยว รอการไถปลูกนอกฤดูกาล แม้ในบางพื้นที่ ทุ่งนาได้กลายเป็นกล้าข้าวพื้นเมืองสีเขียวจำพวก ‘ข้าวเล็บนก’ ‘ข้าวสังข์หยด’ ‘ข้าวเฉี้ยง’ ‘ข้าวไข่มดริ้น’ ฯลฯ ไปแล้ว ที่ลุ่มริมทะเลสาบเจิ่งนองด้วยน้ำที่เอ่อมาจากพรุ  วาระอย่างนี้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาทุกปีไม่เหนื่อยหน่าย
ปรเมศวร์ กาแก้ว
หลังมื้อค่ำ ดาวไถทอประกายวาวอยู่บนฟ้าทางทิศเหนือแทนดวงไฟในคืนแรม ปู่เคยเล่าว่ามันเป็นสัญลักษณ์ให้นัก เดินทางกลางราตรีได้จดจำเส้นทางเพื่อความอุ่นใจขณะที่เรากำลังนอนดูดาวอยู่ระเบียงนอกชานหลังบ้าน สายลมบางเบาพัดเอาควันไฟจากกองที่จุดไว้ไล่ยุงให้วัว สามตัวในคอกของปู่ผ่านร่องกระดานไม้เก่าคร่ำโชยผ่านจมูกของเรา  หลังมื้อค่ำเรามักมานอนนับดาวเล่นอย่างนี้เสมอๆ ปู่นั่งถัดขึ้นไปที่ประตูซึ่งยกระดับขึ้นเหนือระเบียงนอกชานไม้เล็กน้อย  เราทั้งสามลุกขึ้นมานั่งใกล้ๆ ปู่  ปู่ลูบหัว เราทั้งสามเบาๆ แล้วโอบตัวบ่าวมาแนบกาย นัยน์ตาปู่ใสและเปล่งประกายอย่างอ่อนโยน  “อยู่บ้านปู่สนุกมั๊ย” …
ปรเมศวร์ กาแก้ว
ขณะที่แดดเช้าเก็บผีตากผ้าอ้อมไม่ทันหมด เครื่องจักรลูกหมาสีแดงยังคำรามเสียงดังไปทั่วท้องนา มันคำรามมาตั้งแต่เมื่อค่ำวานจนตลอดทั้งคืน  ปู่ออกจากบ้านมาตั้งแต่เมื่อค่ำวานพร้อมกับเพื่อนบ้านคนอื่นๆ เพื่อมาเฝ้ามองมันอย่างตั้งอกตั้งใจ เราเดินเลาะชายป่าไปทางท้ายวัด  ท้องนาสีเหลืองถูกเก็บเกี่ยวเหลือแต่ซังข้าวรอการไถกลบเพื่อ ปลูกใหม่อีกครั้งในฤดูทำนา   ปู่นั้งอยู่ริมบึงถัดจากที่เรายืนไปสองบิ้งนารวมอยู่กับตาเขียว ตาไข่ และคนอื่นๆ คนชนบททางภาคใต้เรียกรถไถนาเดินตามกันว่า “รถจักรลูกหมา” ปู่เคยบอกว่าประโยชน์ของมัน มากมาย นอกจากไถนาได้แล้ว …
ปรเมศวร์ กาแก้ว
ผมผลักประตูออกจากบ้านตั้งแต่เช้า  จ้อยนัดพวกเราไว้ที่ศาลากลางหมู่บ้านเหมือนทุกวัน  วันนี้บอยจัดแจงเตรียมเม็ดหัวครกมาด้วย แปลกจริงขณะที่บอยบอกชื่อของมัน บ่าวหัวเราะกับชื่อ แปลกๆ แล้วบอกบอยว่าที่บ้านเราเขาเรียกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ วันนี้เราจะเล่นขว้างหัวงูระหว่างทางสู่ศาลากลางหมู่บ้านกระจัดกระจายไปด้วยผีตากผ้าอ้อมขาวไปทั้งทุ่ง  บ่าว นั่งลงจ้องมองอย่างพินิจและยิ้มก่อนที่แดดเช้าจะรีบเก็บผีตากผ้าอ้อมเสียหมดทีละน้อยตั้งแต่เมื่อวานที่เราพากันไปเก็บเม็ดหัวครกหลังบ้านจ้อย เราเลือกเอาผลสุกที่เม็ดจะเป็น สีน้ำตาลเข้มแล้ว …
ปรเมศวร์ กาแก้ว
บนศาลากลางหมู่บ้านวันนี้ไม่มีเสียงเอ็ดตะโรของเด็กๆ  ขณะที่ฟ้าใส ดวงอาทิตย์คล้อยบ่ายทิ้งไว้เพียงเศษเปลือกลูกยางที่แหลกแล้วและ ใบตองห่อขนมเกลื่อนพื้นอีกฟากหนึ่งเป็นถนนสายเล็กๆ เราเดินตามทางนั้นไปเลี้ยวอ้อมป่าละเมาะสู่อีกหมู่บ้านทางตะวันตกตามคำชวนของขาว สองข้างทางเป็นผืนนาไกลสุดตา  ปู่เคยบอกว่าแถวนี้มีที่นาของปู่รวมอยู่ด้วยแล้วช่วงเก็บเกี่ยวจะพาเรามาเที่ยวเล่นกันเด็กๆ ชักย่านเดินตามกันเต็มถนนตัดกลางทุ่งนาไปทางตะวันตกขณะที่แดดบ่ายโดนเมฆขาวบดบังเป็นร่มเงาและลมทุ่งผัดแผ่วๆ  ไล้เนื้อตัวเรา  อีกไม่ไกลข้างหน้าเป็นหมู่บ้านริมธารเล็กๆ ที่ขาวและเพื่อนๆ อาศัยอยู่…
ปรเมศวร์ กาแก้ว
เหมือนฟ้าดำเก็บดาววิบวาวดวงและเหมือนแดดโชติช่วงกลับหุบหายเมื่อผีเสื้อปีกงามพบความตายและเหมือนฝันเกลื่อนรายเส้นทางจรใต้ใจรู้สึกโลกหมุนกลับขาวพลิกดำขลับใจโหยอ่อนดูสิน้ำตาฉันหลั่งบทกลอนผ่าวแต่ไม่ร้อนอย่างเคยเป็นยินไหม “จเรวัฒน์  เจริญรูป”ใจดั่งจะจูบแม้ทุกข์เข็ญโลกทั้งโลกรู้ความเยียบเย็นใครเล่ารู้ความเป็นของกวีเถิดพรุ่งนี้พบกันบนฟ้ากว้างพบในความอ้างว้างโค้งรุ้งสีฉันจะจำเธอไว้-ใจกวีพบในงามความดี-ฤดีดาล“จเรวัฒน์” จากแล้วเหมือนยังอยู่เหมือนยังนั่งเคียงคู่ ครูเขียนอ่านเรารู้เธอจะเป็นเช่นตำนานผู้สร้างความต้านทานทระนงอาลัยยิ่งกับการจากไปของกวีหนุ่มผู้มุ่งมั่นในงานกวีนิพนธ์ป ร เ ม ศ ว ร์ …