Skip to main content

อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”


แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร

 

ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ

 


ที่บ้านตีนผา บ้านหลังดอยอินทนนท์ ชาวบ้านส่วนหนึ่งปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด และในช่วงหน้าแล้งก็ทำอะไรไม่ได้เพราะขาดน้ำ จึงต้องออกไปทำงานรับจ้างนอกชุมชน บางคนเดินทางเข้าเมือง


เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ถูกกำหนดเงื่อนไขจากภายนอกชุมชน ไม่สามารถอยู่รอดด้วยเศรษฐกิจภายในชุมชน หรืออยู่แบบพึ่งตนเองไม่ได้เหมือนเดิม


แต่หมู่บ้านนี้ยังรักษาความเขียวของหมู่บ้านเอาไว้ได้บางส่วน คือบริเวณที่เป็นชุมชนตั้งบ้านเรือน และผู้คนส่วนหนึ่งทำการเกษตรผสมผสาน

 

ชาวบ้านตีนผามีที่ดินทำกินไม่มากนัก ครอบครัวหนึ่งประมาณ 5-6 ไร่ มีเพียงหนึ่งหรือสองครอบครัวที่มีมากที่สุดคือ 15 ไร่ ทุกครอบครัวจะปลูกข้าวเป็นหลัก ทั้งนาข้าวและข้าวไร่ ดังนั้นทุกครอบครัวจึงมีข้าวกิน


แม้จะปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือปลูกพืชชนิดอื่น แต่พื้นที่ส่วนหนึ่งต้องกันไว้ปลูกข้าว เพราะการมีข้าวกินคือหลักประกันของชีวิต

ซื้อแต่เกลือกับผงชูรส อย่างอื่นไม่ซื้อก็อยู่ได้ มีพริกมีผัก” พะตีคนหนึ่งว่า

 

หลายครอบครัวหันไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ และประสบกับปัญหาหนี้สินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะลงทุนสูง และสูงขึ้นเรื่อยๆ ปุ๋ยมีราคาสูง ในทุกปีการใช้ปุ๋ยจะเพิ่มขึ้นเพราะพื้นดินเสื่อมลงเรื่อยๆ ดินแข็งและแห้ง นอกจากปุ๋ยแล้วยังต้องใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงด้วย อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรอย่างข้าวโพดก็ราคาตกต่ำลงด้วย


ที่หมู่บ้านแห่งนี้มีอัตราการแลกเปลี่ยนปุ๋ยกับข้าวเปลือก คือปุ๋ยหนึ่งกระสอบต่อข้าวเปลือก 13 กระสอบ และหากซื้อเป็นเงินก็ 1,300 บาท

 

อย่างเช่น ชุมพล และผ่องศรี นัดดาศรี สามีภรรยาที่มีลูกชายสองคน


ผ่องศรีบอกว่า “ปีนี้ทำข้าวสองไร่ครึ่ง แค่พอกิน แต่ยังต้องปลูกข้าวโพดอยู่เพราะว่ามีหนี้เยอะ เผื่อข้าวโพดราคาดีจะได้ใช้หนี้ เป็นหนี้จากซื้อรถมอเตอร์ไชค์ ไปยืมเงินของญาติพี่น้องมาซื้อก็เลยติดหนี้ญาติพี่น้องหลายราย ไม่ซื้อก็ไม่ได้เพราะลูกป่วยบ่อย ไปโรงพยาบาลบ่อย เป็นโรคหืดหอบ”

 

แต่ชุมพลสามีของเธอบอกว่า “ข้าวโพดราคาตกต่ำเหลือ 4 บาท คิดแล้วไม่คุ้ม ปีนี้ขาดทุนเพราะปุ๋ยแพง ราคาข้าวโพดถูก ใช้ปุ๋ยไป 11 กระสอบ กระสอบละ 1,300 บาท ที่คิดว่าจะใช้หนี้ก็ไม่ได้ใช้”

 

หนี้สินของผู้คนที่นี่ส่วนหนึ่งมาจากการกู้เงินกองทุนของรัฐบาล เช่น กองทุน กขคจ (กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน) แต่กลายเป็นหนี้กัน

 


ชาวบ้านตีนผาส่วนหนึ่งจึงหันกลับมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน แทนพืชเชิงเดี่ยว อย่างเช่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านนายยืนยง ลำเนาพงศ์ไพรงาม

 

 

ผู้ช่วยเล่าว่า “เคยปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือปลูกข้าวโพด ปลูกอยู่ปีเดียวและเลิกกลับมาทำการเกษตรผสมผสานเหมือนเก่าเพราะคิดดูแล้วไม่คุ้ม มันเป็นของคนอื่น จะเอาของคนอื่นมาเป็นของเราจะได้อย่างไร ทุกอย่างเป็นของเขาหมดเลย”


ผู้ช่วยยืนยงกลับมาทำการเกษตรผสมผสานเหมือนเดิม ทำข้าวไร่ ปลูกผักต่างๆ ไว้กินและขาย ในสวนของผู้ช่วยมีทั้งถั่ว มะเขือ และที่มีมากเป็นไร่ๆ คือ ฟักทอง และเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ


การกลับมาทำการเกษตรผสมผสานหรือการทำเกษตรยั่งยืนน่าจะเป็นทางรอดหนึ่งเพราะเป็นการพึ่งตนเองมากกว่าการพึ่งตลาดภายนอก ปลูกเพื่อกินก่อนที่จะปลูกเพื่อขาย ทำปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี และหยุดการใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ต้องใช้สารเคมีใด ๆ ในการเร่งผลผลิต ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรก็ลดน้อยลง

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
ถ้าฉันพูดว่า อย่าเอาดอกไม้มาให้ฉันถ้าเธอไม่ได้ปลูกเอง เธออย่าโกรธฉันนะ ฉันจะเล่าให้เธอฟัง วันหนึ่งก่อนฤดูฝน ฉันเดินทางไปหมู่บ้านหลังดอยอินทนนท์  ฉันพบผู้ชายคนหนึ่ง เขาพูดว่า"เอาดอกไม้ของฉันออกจากหน้าอกเธอ"หนุ่มใหญ่คนหนึ่งพูดขึ้น หญิงสาวมีสีหน้าแปลกใจคงสงสัยว่าเธอทำอะไรให้เขาไม่พอใจ จึงไม่ยอมเอาดอกไม้ออกจากกระเป๋าเสื้อ "เอาออกเถอะ" เขายืนยันอีกครั้ง แต่หญิงสาวยังไม่ทำตาม ยังคงเอาดอกไม้เหน็บในกระเป๋าเสื้อตรงหน้าอกต่อ ในที่สุดเขาก็บอกว่า " มันอันตราย ดอกไม้ฉันมีแต่ยา"
แพร จารุ
หมู่บ้านหายโรงเรียนร้าง เดือนก่อนฉันเดินทางไปที่หมู่บ้านหนึ่ง แถวเชียงดาว ไกลเข้าไปในป่า พบโรงเรียนร้างไม่มีเด็ก ไม่มีครู โรงเรียนถูกปิดเพราะไม่มีเด็กเรียน และไม่ใช่แค่โรงเรียนร้างเท่านั้น หมู่บ้านก็หายไปด้วย  ผู้ชายคนหนึ่งเล่าให้ฉันฟังว่าหมู่บ้านนี้ถูกซื้อไปแล้ว "จริงเหรอ เหมือนโฆษณาเลย โฆษณาอะไรนะ ที่ผู้ชายคนหนึ่งถามซื้อเกาะให้ผู้หญิง" ใครคนหนึ่งพูดขึ้น"ไม่ใช่แค่โฆษณาหรอก ละครโทรทัศน์ก็มีเหมือนกัน ชายหนุ่มคนหนึ่งเขาซื้อเกาะให้หญิงสาวเป็นของขวัญหากเธอแต่งงานกับเขา" ฉันบอกพวกเขา
แพร จารุ
แปลกใจใช่ไหมค่ะ ต้นไม้ใหญ่ อ่างเก็บน้ำและหมีแพนด้า  มันเกี่ยวกันอย่างไร  เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  เดือนฉันก่อนไปศาลากลางมา  ที่หน้าศาลากลางมีคนมากมาย มีชาวบ้านมาประท้วงเรื่องการสร้างอ่างเก็บน้ำ 
แพร จารุ
ในขณะที่ผู้คนที่มาดูต้นไม้ ต่างตื่นเต้นกับต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ใหญ่ที่สุดที่นี่คือต้นจามจุรีหรือต้นก้ามปูที่สโมสรเชียงใหม่ยิมคานา เป็นสนามกอล์ฟเก่า เขาเล่ากันว่าต้นไม้นี้มีอายุมากกว่าร้อยปี ส่วนสูง 15 เมตร ผ่านการประกวดต้นไม้ใหญ่ที่ได้รับรางวัลของเทศบาลมาแล้ว
แพร จารุ
"ที่ซึ่งหนุ่มสาวหอบฝันมาทิ้ง" ฉันบอกเพื่อน ฟังดูน่าตกใจและดูจะเป็นคนใจร้ายไปสักหน่อย และหากว่าน้อง ๆ หนุ่มสาวที่นี่ได้ยินฉันพูดทำนองนี้ พวกเธออาจเสียกำลังใจ เพราะการเดินทางครั้งนี้เราพบหนุ่มสาวพวกที่ฉันคิดว่าเป็นพวก"หอบความฝัน"มากมายหลายคนทีเดียว
แพร จารุ
"ปายแบบเมื่อก่อนจะไม่กลับมาอีกแล้ว เรามาค้นหาคุณค่าใหม่กันเถอะ" เพื่อนคงรำคาญที่ฉันพร่ำเพ้อถึงความหลังครั้งก่อน (ฉันเขียนมาถึงตอนนี้เมื่อฉบับที่แล้ว )  เราได้เพื่อนใหม่ทันที เธอชื่อเนเน่ เธอบอกว่า เธอเดินทางมาที่นี่ปีละหลาย ๆ ครั้ง และแม้ปายจะเปลี่ยนไปอย่างไรเธอก็ยังชอบปาย เธอมาเพื่อหาที่นั่งอ่านหนังสือสบาย ๆ ช่วง เย็น ๆ ก็ออกเดินเล่นไปตามถนน เดินคุยกับคนโน้นคนนี้เพราะผู้คนส่วนมากเป็นมิตร
แพร จารุ
  1 ปาย เปลี่ยนไปมาก และที่ฉันไม่กล้าไปปายก็เพราะกลัวความเปลี่ยนแปลง กลัวจะเสียใจกับความเปลี่ยนแปลงก็เลยพยายามจะลืมปายทำเหมือนหนึ่งว่าไม่เคยมี ไม่เคยไป
แพร จารุ
"ป้าไฟไหม้ ไฟไหม้ " หลานสาวส่งเสียงอยู่หน้าบ้าน "ไฟไหม้ที่ไหน" ฉันถาม เดี๋ยวนี้อาการตื่นกลัวเรื่องไฟไหม้ป่าหลังบ้านลดลงไปแล้ว หากเป็นเมื่อสองปีก่อน ฉันจะกลัวมาก กลัวจนตัวสั่นและรีบโทรศัพท์ไปแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายทันที และบางครั้งก็ลงมือดับไฟเองก่อนที่รถดับเพลิงจะมา พร้อมกับบ่นด่าคนที่ทำไฟไหม้ คนที่มาเก็บของกินในสวนร้างแต่ไม่เคยสนใจหน้าแล้งยามที่ไม่ค่อยมีอะไรเก็บกิน และเจ้าของสวนที่ทิ้งสวนตัวเองไว้แล้วไม่มาดูแล  รวมถึงดับเพลิงที่มาช้าไม่ทันใจ
แพร จารุ
"อย่าลืมเอาถุงผ้าไปซื้อของ" ฉันเคยบอกใครต่อใครจนเขาเบื่อหน่ายกันแล้ว "อย่าเอาถุงพลาสติกเข้าบ้านถ้าไม่จำเป็น"และทุกครั้งที่ฉันเห็นถุงพลาสติกที่ใส่อาหารแล้ววางทิ้งไว้บนโต๊ะ ก็จะรู้สึกโกรธขึ้นมาทันทีและรีบเก็บแต่ถุงพลาสติกก็ไม่เคยหมดไปจากบ้านฉัน มันวางอยู่ตรงโน้นตรงนี้เสมอ ๆ
แพร จารุ
ผู้ชายคนหนึ่งนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เขาขยันมาก นั่งทำงานทุกวัน เขามีเมียขี้คร้านกับหมาพุดเดิ้ลตัวเล็ก ๆ ที่ส่งเสียงเห่าแหลมเล็กทั้งวันทั้งคืน เสียงหมาเห่าดังมาก  แต่เขายังนั่งทำงานอย่างไม่สนใจ  เมียเขานอกจากขี้คร้านแล้วขี้รำคาญด้วย เธอจึงลุกขึ้นไปที่ประตูอย่างหงุดหงิดรำคาญใจเพราะเธอกำลังนอนอ่านหนังสืออย่างสำราญอยู่ ประตูบ้านยังไม่ปิด บ้านนี้ประตูจะไม่ปิดจนกว่าเจ้าของบ้านจะนอน  ลักษณะพิเศษคือเจ้าของบ้านไม่ชอบปิดประตู เปิดไว้ทั้งวันทั้งคืน
แพร จารุ
 หน้าร้อนใคร ๆ ก็ไม่อยากมาเชียงใหม่ อย่าว่าแต่นักท่องเที่ยวเลย คนที่อยู่เชียงใหม่ที่พอออกจากเมืองได้ก็จะพากันออกจากเมืองไปพักผ่อนที่อื่นฉันเป็นคนหนึ่งที่หนีออกจากเมืองเชียงใหม่ในช่วงหน้าร้อนเสมอ ให้เหตุผลกับตัวเองว่า ถือโอกาสกลับใต้ เป็นการกลับบ้านปีละครั้ง
แพร จารุ
“บ้านฉันไม่ได้อยู่ใกล้สถานบันเทิงเลยค่ะ แต่หนวกหูมากเหมือนกัน” ฉันบอกเพื่อนที่โทรศัพท์มาปรึกษาเรื่องที่บ้านของเธออยู่ใกล้สถานบันเทิง หลังจากที่ ฟังเธอบ่นปรับทุกข์ เรื่องเสียงเพลงหนวกหูจากสถานบันเทิง เธอเล่าว่าย้ายบ้านจากกรุงเทพฯ มาอยู่ต่างจังหวัดได้ไม่นาน ร้านอาหารคาราโอเกะก็มาเปิดข้างบ้าน